news on August 09, 2018, 04:03:33 PM

ที่สองจากซ้าย-ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล รองผู้อำนวยการ สวทช. รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาตร์ฯ  ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองเลขาธิการ สกศ. และดร.โชติมา หนูพริก ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ


ผู้แทนหน่วยงานต่างๆ ที่ร่วมจัดงานประชุม APCG2018


บรรยากาศการแถลงข่าวAPCG2018


วท. ผนึก ศธ. จัดประชุมนานาชาติพัฒนาเด็กความสามารถพิเศษ 20 - 24 ส.ค. นี้ ระดมกูรูทั่วโลก “สร้างคน” ตอบโจทย์ไทยแลนด์ 4.0

(9 สิงหาคม 2561) ที่ห้องโถง ชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับ กระทรวงศึกษาธิการ โดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้ นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) แถลงข่าวการจัดงาน “การประชุมวิชาการนานาชาติด้ านการพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ ครั้งที่ 15 (The 15th Asia-Pacific Conference on Giftedness 2018: APCG2018)” ซึ่งจัดขึ้นทุกๆ 2 ปี เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ ยนประสบการณ์ทางวิชาการด้ านการวิจัยและพัฒนาผู้มี ความสามารถพิเศษ เผยแพร่องค์ความรู้พัฒนาเครือข่ ายการทำงานระดับนานาชาติด้ านการส่งเสริมผู้มีความสามารถพิ เศษ ตลอดจนเพิ่มพูนศักยภาพและสร้ างแรงบันดาลใจให้เยาวชนได้พั ฒนาศักยภาพตนเองถูกหลักและเต็ มความสามารถ โดยมี รศ.นพ.สรนิต  ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เป็นประธานแถลงข่าว โดยงานประชุม APCG2018 ในปีนี้ ประเทศไทยได้รับคัดเลือกให้เป็ นเจ้าภาพจัดงานระหว่างวันที่ 20 - 24 สิงหาคม 2561 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี ซึ่งจะมีนักวิชาการ และเยาวชนที่มีความสามารถพิ เศษด้านต่างๆ อาทิ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ดนตรี กีฬา และศิลปะ ในระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลายถึ งมัธยมศึกษาตอนปลาย จากทั่วโลกเข้าร่วมงานกว่า 800 คน
 

รศ.นพ.สรนิต ศิลธรรม ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี กล่าวว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ให้ความสำคัญในด้านการพัฒนากำลั งคนเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะเด็กที่มีความสามารถพิ เศษ เป็นกลุ่มเด็กที่มี ความสามารถทางสติปัญญาสูงกว่ าเด็กทั่วไป   มีความเป็นเลิศและทักษะเชิ งพฤติกรรมที่สะท้อนให้เห็นถึ งความสามารถในการทำงาน มีความคิดสร้างสรรค์และความมุ่ งมั่น สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ได้ดำเนินการโครงการสนับสนุ นการจัดตั้งห้องเรียนวิ ทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) ซึ่งเป็นโครงการที่ส่งเสริมให้ มีการจัดการศึกษาด้านวิ ทยาศาสตร์และเทคโนโลยีโดยมีหลั กสูตรที่เฉพาะเจาะจง เพื่อรองรับนักเรียนที่มี ความสามารถพิเศษด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย นอกจากนี้มีมหาวิทยาลั ยโดยคณะหรือภาควิชาทางวิ ทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่มีศั กยภาพและความโดดเด่นทางวิชาการ เป็นผู้สนับสนุนและดูแลการจัดตั้ งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ขึ้ นในโรงเรียนที่เป็นเครือข่าย หรือโรงเรียนในกำกับของมหาวิ ทยาลัย โดยขณะนี้มีห้องเรียนโครงการ วมว. จำนวน 24 ห้อง 18 คู่โรงเรียน-มหาวิทยาลัย มีนักเรียนที่อยู่ในความดู แลจำนวน 2,323 คน และในเดือนสิงหาคมนี้กำลังเปิ ดรับสมัครนักเรียนอีก 900 คน โดยเพิ่มห้องเรียนเป็น 30 ห้องเรียน ใน 19 คู่โรงเรียน-มหาวิทยาลัย และเป็นโรงเรียนที่กระจายอยู่ทั่ วประเทศ ทั้งนี้ประเทศไทยกำลังก้าวเข้ าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ที่ขับเคลื่อนประเทศด้วยนวั ตกรรม จึงจำเป็นต้องเตรียมความพร้ อมในด้าน “พัฒนาคน” เพื่อให้มีทักษะความสามารถสูงขึ้ น รู้จักใช้เทคโนโลยีใหม่ในการผลิ ตสินค้า บริการ หรือสร้างสรรค์ธุรกิจใหม่ บนฐานนวัตกรรมที่มีมูลค่าสูง หากเด็กที่มีความสามารถพิเศษได้ รับการพัฒนาอย่างถูกทาง พวกเขาจะเติบโตไปเป็นกำลังสำคั ญในการยกระดับประเทศไทยให้ก้ าวไปสู่การเป็นประเทศที่ใช้นวั ตกรรมเพื่อสร้างขี ดความสามารถในการแข่งขันต่อไป


ดร.ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า การประชุมวิชาการนานาชาติด้ านการพัฒนาผู้มีความสามารถพิเศษ ครั้งที่ 15 หรือ APCG 2018 ในปีนี้ ประเทศไทยได้รับการคัดเลือกให้ เป็นเจ้าภาพจัดประชุม โดยได้รับการสนับสนุนจากหลายหน่ วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนอย่างเข้มแข็ง ซึ่งไฮไลท์ของงาน APCG 2018 มีกิจกรรมสำคัญ 2 ส่วน ได้แก่ การประชุมวิชาการ จัดขึ้น ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และค่ายเยาวชนนานาชาติ จัดที่บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี มีวิทยากรด้านการศึกษาและการพั ฒนาการเรียนรู้ชั้นแนวหน้ าของโลกและจากประเทศไทย จำนวน 19 ท่าน จาก 9 ประเทศ ซึ่งจะมาสร้างแรงบันดาลใจให้กั บผู้เข้าร่วมงานประชุมวิ ชาการและกิจกรรมค่ายเยาวชน อาทิ Prof. C. June Maker จาก Department of Disability and Psychoeducational Studies, University of Arizona ที่จะมานำเสนอแนวคิดด้านจิตวิ ทยาการศึกษาด้านอัจฉริยภาพ ได้แก่ ทฤษฎี Prism ซึ่งเปรียบเที ยบการตกกระทบของแสงบนแท่งแก้ว Prism ทำให้เกิดแสงสะท้อนหลากหลายสี เหมือนกับความสนใจที่แตกต่างกั นของแต่ละคน โดยการบ่มเพาะศักยภาพเหล่านี้ต้ องอาศัยการดูแลทั้งจิตใจและสิ่ งแวดล้อม รวมทั้งจะมีการประเมินเพื่อบ่ งชี้อัจฉริยภาพในแต่ละด้าน ที่สามารถนำไปใช้ได้กับนักเรี ยนทุกกลุ่มด้วย

Prof. Jin Akiyama จาก Tokyo University of Science นักคณิตศาสตร์และนักสื่อสารวิ ทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสี ยงจากประเทศญี่ปุน จะมาบรรยายและยกตัวอย่างให้เห็ นแนวทางการบ่มเพาะเด็กอัจฉริ ยะทางคณิตศาสตร์ที่มีไอคิว (IQ) สูง ให้เป็นนักวิจัยที่มีศักยภาพสูง รวมทั้งร่วมจัดค่ายบู รณาการศาสตร์ทั้งคณิตศาสตร์ ศิลปะ และดนตรี สำหรับเยาวชนเพื่อจุดประกายให้ เยาวชนได้สนุกกับคณิตศาสตร์ รอบตัวจากสื่อการเรียนการสอน นอกจากนั้นแล้วยังมีวิทยากรด้ านการพัฒนาการศึกษาจากประเทศไทย คือ นายมีชัย วีระไวทยะ นายกสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ผู้ก่อตั้งโรงเรียนมีชัยพัฒนา หรือ Mechai Bamboo School จ.บุรีรัมย์ ปัจจุบันโรงเรียนมีชัยพัฒนา เป็นต้นแบบที่ได้รั บการขยายผลไปถึง 100 โรงเรียน โดยมุ่งหวังสู่การพั ฒนาประเทศอย่างยั่งยืน

รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวต่อว่า สำหรับ สวทช. ให้ความสำคัญและมีบทบาทในการพั ฒนาเด็กผู้มีความสามารถพิเศษด้ านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้ดำเนินโครงการพัฒนาอัจฉริ ยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำหรับเด็กและเยาวชน (Junior Science Talent Project: JSTP) หรือโครงการเจเอสทีพี ตั้งแต่ปี 2541 ซึ่งโครงการ JSTP มีเป้าหมายในการค้นหาและคัดเลื อกเด็กและเยาวชนที่มี ความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีตั้งแต่ระดับมั ธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และปริญญาตรี เพื่อเข้ามารับการส่งเสริมและพั ฒนาในรูปแบบที่หลากหลาย ปัจจุบันมีเยาวชนไทยผู้ได้รั บการสนับสนุนในระยะยาว โดยได้รับทุนสนับสนุนการศึ กษาและทุนสนับสนุนการวิจัยจนกว่ าจะสำเร็จการศึกษาระดับปริ ญญาเอกจากสถาบันการศึ กษาภายในประเทศ รวมทั้งสิ้น 317 คน โดยปีนี้ สวทช. ได้ถอดบทเรี ยนของเยาวชนในโครงการ JSTP จัดทำเป็นหนังสือ “บ่มเพาะนักวิทย์ คิดเพื่อสังคม” เพื่อเป็นต้นแบบและสร้างแรงบั นดาลใจให้เยาวชนรุ่นหลังต่อไปด้ วย


ดร.โชติมา หนูพริก ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาการศึกษาสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้ นพื้นฐาน (สพฐ.) กล่าวว่า สพฐ. เป็นหน่วยงานมีภารกิจหลั กในการจัดการศึกษาให้แก่เด็ กเยาวชนตั้งแต่อนุบาลถึงชั้นมั ธยมศึกษาปีที่ 6 ปัจจุบันจำแนกได้ทั้งด้านวิ ทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี ดนตรี ศิลปะ และด้านกีฬามีโรงเรียนที่จั ดการเรียนการสอนส่งเสริมศั กยภาพแก่นักเรียนกลุ่มนี้ เช่น กลุ่มโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิ ทยาลัย 12 โรงเรียนทั่วประเทศ ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของนั กเรียนด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อมมีนักเรียนที่อยู่ ในความดูแลประมาณกว่า 8,000 คน นอกจากนี้ยังมีโครงการห้องเรี ยนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (Enrichment Program of Science Mathematics Technology and Environment : SMTE) จำนวน 220 โรงเรียนทั่วประเทศ   มีนักเรียนในโครงการกว่า 20,000 คน โรงเรียนเหล่านี้จะจัดรายวิ ชาเพิ่มเติมด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม การทำโครงงานวิทยาศาสตร์ โครงงานคณิตศาสตร์และโครงงาน ด้านเทคโนโลยีเพื่อเตรี ยมความพร้อมในการสร้างวิ ญญาณความเป็นนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย และมุ่งสู่ความเป็นมาตรฐานสากล


ด้าน ดร.ชัยยศ อิ่มสุวรรณ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้จัดทำข้อเสนอเชิงนโยบาย รวมทั้งแผนจัดการศึกษาสำหรับผู้ มีความสามารถพิเศษมาอย่างต่อเนื่ อง มากกว่า 40 ฉบับ เช่น การพัฒนามาตรฐานการศึกษาสำหรั บผู้มีความสามารถพิเศษ แผนจัดการเรียนรู้เกี่ยวกับคณิ ตศาสตร์ รวมทั้งรายงานการวิจัยเรื่ องการขับดันระบบเศรษฐกิ จฐานความรู้ด้วยกำลังคนระดับสู งด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ มีความสามารถพิเศษ ซึ่งการจัดประชุม APCG2018 ในครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสดีอย่างยิ่งที่ สภาการศึกษาและหน่วยงานทั้งหมด จะได้รับทราบข้อมู ลจากการบรรยายโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ด้าน Gifted Education จาก 9 ประเทศ ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เข้ าร่วมการประชุมจาก 27 ประเทศ ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะได้นำมาวิเคราะห์ ในบริบทของประเทศไทย เพื่อการจัดทำนโยบายและผลักดั นการจัดการศึกษาสำหรับผู้มี ความสามารถพิเศษแบบบูรณาการเพื่ อรองรับการขับเคลื่ อนประเทศไทยเข้าสู่ Thailand 4.0 ต่อไป
« Last Edit: August 10, 2018, 01:29:36 PM by news »