MSN on January 05, 2016, 02:45:58 PM
ภาคเอกชนจับมือรัฐเดินเครื่องผลักดัน “สร้างระบบรับรองไม้เศรษฐกิจ” สร้างใบเบิกทางบุกตลาดโลก – เพิ่มป่าในที่ดินเอกชน





ผศ.ดร.นิคม แหลมสัก รองคณบดีฝ่ายเสริมสร้างศักยภาพ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / ประธานคณะกรรมการประสานการพัฒนานวัตกรรม  เปิดเผยว่า ปัจจุบันความต้องการใช้ไม้เป็นวัตถุดิบในการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ มีอัตราเพิ่มขึ้นทั่วโลก แต่ปริมาณไม้ วัตถุดิบกลับมี ไม่เพียงพอต่อความต้องการดังกล่าว นับเป็นปัญหาที่สำคัญของอุตสาหกรรม ไม้ในประเทศ ต่างๆ โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งในส่วนของประเทศไทยเอง ก็มีการผลิตไม้เศรษฐกิจเพื่อส่งออกไป ยังตลาดโลกด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้หลายปีที่ผ่านมา ไม้เศรษฐกิจของไทยประสบปัญหาด้านการส่งออก เหตุเพราะประเทศไทยขาด ระบบการรับรองด้านป่าไม้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการรับรองไม้ถูกกฏหมาย และมีระบบการจัดการอย่างยั่งยืน ซึ่งถือว่ามีความสำคัญยิ่ง ต่อการส่งออกสู่ตลาดโลก

จากปัญหา ดังกล่าว ทำให้หลายหน่วยงาน เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.), กรมป่าไม้, องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้(ออป.), การยางแห่งประเทศไทย(กยท.), สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม(สมอ.), คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และภาคเอกชน โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจไม้ยางพารา กลุ่มเยื่อและกระดาษ กลุ่มไม้สับและกลุ่มพลังงานไฟฟ้าชีวมวล ร่วมกันผลักดันให้เกิด “ระบบการรับรองไม้เศรษฐกิจของประเทศ และได้รับการรับรองจากองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อให้มี การส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจ ที่ถูกต้องตามกฏหมาย สามารถขายได้ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ สร้างความมั่นคง ของรายได้ และความยั่งยืนให้เกษตรกร ลดการปลูกพืชเกษตรซึ่งราคาตกต่ำ โดยไม้เศรษฐกิจจะให้ผลได้ทั้งช่วงน้ำท่วม หรือหน้าแล้งจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ประเทศไทย ต้องดำเนินการให้มีระบบการรับรองไม้เศรษฐกิจ ภายใต้กรอบการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน เกิดการยอมรับและเกิดความ เป็นธรรมแก่ทุกภาคส่วน ภายใต้กฎหมาย และระเบียบที่เกี่ยวข้อง

ทุกประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญเกี่ยวกับความถูกต้องตามกฎหมาย และการจัดการอย่างยั่งยืน สำหรับไม้และ ผลิตภัณฑ์จากไม้ โดยกำหนดให้ต้องมีระบบในการรับรองไม้ ซึ่งเป็นระบบที่สากลให้การยอมรับ ซึ่งในประเทศไทยเป็นที่รู้จักดี ในวงการป่าไม้ คือ FSC และ PEFC ซึ่งทั้ง 2 ระบบมีการสร้างมาตรฐานเพื่อใช้ในการ ตรวจประเมินและให้การรับรองด้านป่าไม้ ซึ่งใช้บุคคลที่สามที่ได้รับการรับรอง หรือ Third Party ในการตรวจ ประเมิน โดย 2 ระบบดังกล่าวนี้ มีข้อแตกต่างตรงที่ FSC มีการกำหนดมาตรฐานที่เป็นมาตรฐานในระดับสากล เพื่อให้ผู้ที่ต้องการขอการรับรองนำไปใช้ปฏิบัติ แต่ในขณะที่ PEFC นั้นเป็น มาตรฐานที่ทำการเทียบเคียงหรือ ให้การรับรองมาตรฐานของประเทศนั้นๆ โดยกำหนดให้ประเทศที่ต้องการขอการรับรองต้อง ให้มีหน่วยงาน อิสระ (Independent Organinzation) เป็นหน่วยงานปกครอง หรือ National Governing body: NGB และ เป็นสมาชิกของ PEFC โดยจะทำหน้าที่ดำเนินการเพื่อให้การรับรองนั้นเป็นไปตามมาตรฐานที่ถูกกำหนดไว้  อย่างไรก็ตามผู้ประกอบการ เกษตรกร ต้องศึกษาและทำความเข้าใจในกลไก กระบวนการโดยเฉพาะอย่างยิ่งตลาดปลายทาง หรือผู้ซื้อเป็นสำคัญ ซึ่งบางประเทศนั้นกำหนดให้ต้องเป็นไม้ที่ผ่านการรับรองในระบบ FSC เท่านั้น เป็นต้น 

สำหรับประเทศไทยมีการตื่นตัวเรื่องระบบการรับรองเป็นประเทศแรกๆ ในภูมิภาคนี้ แต่ปัจจุบันพบว่าบางประเทศ ได้ใช้ระบบการรับรองแล้ว เช่น ประเทศมาเลเซีย ใช้ MTCC อินโดนีเซีย ใช้ IFCC จีน ใช้ CFCC และเวียดนามกำลังดำเนินการ VFCC สำหรับประเทศไทยนั้นมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องมีระบบการรับรอง โดยดูได้จากประมาณการส่งออกไม้และผลิตภัณฑ์ จากไม้ไปต่างประเทศ จากที่มีมูลค่ามากกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี กลับเหลือไม่ถึงร้อยละ 25 นอกจากนี้พบว่าประเทศญี่ปุ่น มีความต้องการไม้เพื่อเป็นเชื้อเพลิง   สำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวล มากกว่า 6 ล้านต้นต่อปี แต่มีเงื่อนไขว่าต้องเป็นไม้ที่ได้รับการรับรอง เท่านั้น ที่ผ่านมา สำนักงานมาตรฐาน อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้พยายาม สร้างมาตรฐานไม้เศรษฐกิจซึ่งเป็นมาตรฐานของประเทศ หรือ มอก.14061 ซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับระบบการรับรองในปัจจุบันได้

นอกจากนี้ยังพบว่า กรมป่าไม้ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่กำกับดูแล ให้การส่งเสริมการปลูกไม้เพื่อเศรษฐกิจและมีกฎหมาย  ที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งอาจมีข้อกำหนดบางประการที่ยังเป็นอุปสรรคสำหรับการปลูกไม้เศรษฐกิจโดยเฉพาะไม้ ที่อยู่นอกเขตพื้น ที่ป่าไม้ ซึ่งคาดว่าจะได้รับการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล    หากระบบการรับรองไม้เศรษฐกิจของประเทศ สามารถดำเนินการไปแล้ว ประสบผลสำเร็จ โดยมอบหมายให้ องค์กรอิสระทำหน้าที่เป็น NGB และมีมาตรฐานการรับรองนานาชาติ ให้การยอมรับ รวมถึงการปรับปรุง แก้ไข กฎหมายกฎระเบียบที่เป็นอุปสรรคต่อการปลูกไม้เศรษฐกิจโดย เฉพาะไม้นอกเขตพื้นที่ป่าไม้ ก็จะก่อให้เกิด รายได้จากการส่งออกไม้น้อยกว่า 1 แสนล้านบาท เกิดพื้นที่ป่าไม้ (พื้นที่สีเขียว) นอกเขตพื้นที่ป่าไม้ซึ่งกรมป่าไม้ รับผิดชอบดูแล รักษา หรือ Tree Outside Forest ไม่น้อยกว่า 22 ล้านไร่ ซึ่งมีการหมุนเวียน ปรับเปลี่ยนไปตามรอบตัดฟัน ประมาณ 5 ปี มีการเปลี่ยนพื้นที่จากเกษตรที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม มาเป็นพื้นที่ป่าไม้หรือเกษตรป่าไม้ (Agro-Forestry) ไม้สามารถตัดขาย ได้ตลาดเวลา ทั้งในช่วงแล้งหรือน้ำท่วม และหากปล่อยทิ้งไว้ก็จะมีแต่เพิ่ม มูลค่า  TFCC หรือ Thailand Forest Certification Council จึงเป็นทางออกหนึ่ง ในการพัฒนาไม้เศรษฐกิจบนฐานความยั่งยืนและการประกันว่าถูกกฏหมาย สำหรับการส่งออกไม้เศรษฐกิจ ของประเทศไทย โดยจะเป็นองค์กรอิสระที่มีทุกภาคส่วนเข้ามาเป็นสมาชิก และมีหน้าที่ในการสนับสนุน ส่งเสริมให้มีการปลูกไม้ เศรษฐกิจ อย่างถูกกฎหมายและมีการจัดการอย่างยั่งยืน เพิ่มมูลค่าโดยใช้ระบบของการรับรองเพื่อให้ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ สามารถขายให้กับตลาดในต่างประเทศตามความต้องการ ของตลาดได้อย่างสมดุล
« Last Edit: January 05, 2016, 02:50:27 PM by MSN »

MSN on January 05, 2016, 02:51:07 PM
เปิดประชุมจัดทำโครงสร้างระบบรับรองไม้เศรษฐกิจของประเทศไทย




ผศ.ดร.นิคม แหลมสัก (ที่ 2 จากซ้าย) รองคณบดีฝ่ายเสริมสร้างศักยภาพ คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ / ประธานคณะกรรมการประสานการพัฒนานวัตกรรม  พร้อมด้วย นายบรรจง วงศ์ศรีสุนทร (ที่ 4 จากซ้าย) ผอ.สำนักรับรองการป่าไม้ กรมป่าไม้ และ นายสุนันท์ นวลพรหมสกุล (ที่ 1 จากขวา) ผอ.ฝ่ายวิจัยและแผนการยางแห่งประเทศไทย ร่วมเปิดการประชุม “จัดทำโครงสร้างระบบรับรองไม้เศรษฐกิจของประเทศไทย” เพื่อร่วมผลักดันให้เกิดระบบการรับรองไม้เศรษฐกิจของประเทศ และได้รับการรับรองจากองค์กรระหว่างประเทศ ให้มีการส่งเสริมการปลูกไม้เศรษฐกิจที่ถูกต้องตามกฏหมาย สามารถขายได้ทั้งตลาด ในประเทศและต่างประเทศ ณ ห้องประชุม FORTROP ตึกวนศาสตร์ 60 ปี คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อเร็วๆนี้