happy on December 17, 2017, 10:45:12 PM
เนร่าเผยผลศึกษา "ความเสี่ยงจากการประมูลคลื่นความถี่ทำให้ประเทศไทยประสบกับการใช้งานดาต้าที่ช้า"


15 ธันวาคม 2560 - ฮานส์ อีลเล (Hans-Martin Ihle) ที่ปรึกษาอาวุโสประจำสำนักงานเนร่า (NERA) ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาชั้นนำของโลกที่เชี่ยวชาญและวิเคราะห์ พร้อมทั้งออกแบบการประมูลคลื่นความถี่ทั่วโลกทั้ง เอเชียแปซิฟิก ยุโรป อเมริกา และแอฟริกา เปิดเผยผลการศึกษาต่อมุมมองในการประมูลคลื่นความถี่ 1800MHz และ 900MHz ของประเทศไทยที่จะจัดขึ้นในปี 2561 โดยจัดทำรายงาน (Whitepaper) ในหัวข้อ "ความเสี่ยงจากการประมูลคลื่นความถี่ทำให้ประเทศไทยประสบกับการใช้งานดาต้าที่ช้า" พร้อมทั้งพูดคุยให้รายละเอียดต่อประเด็นต่างๆ จากมุมมองผู้เชี่ยวชาญระดับโลก

ข้อมูลสรุปจากการวิเคราะห์จาก บจ.เนร่า (www.nera.com)

"ความเสี่ยงจากการประมูลคลื่นความถี่ทำให้ประเทศไทยประสบกับการใช้งานดาต้าที่ช้า"

โดย ฮานส์ อีลเล ที่ปรึกษาอาวุโส







คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ("กสทช.") กำลังเตรียมการเปิดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 MHz และ 1800 MHz ในปี 2561 ซึ่งเป็นคลื่นความถี่ที่ดีแทคใช้ในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2G และ 4G ภายใต้สัญญาสัมปทานกับ กสท ซึ่งจะหมดสัมปทานในปี 2561 ซึ่งไม่มีการต่อสัมปทานและนำคลื่นความถี่มาประมูล ทั้งนี้ ถ้าดีแทคต้องชนะการประมูลถ้าต้องการที่จะนำคลื่นความถี่ดังกล่าวไม่ว่าจะทั้งหมดหรือบางส่วนมาใช้งานต่อ

การออกแบบการประมูลในชั้นแรกของ กสทช. มีข้อเสนอซึ่งผู้เขียนคิดว่าอาจทำให้เกิดข้อโต้เถียงสองประการ เนื่องจากข้อเสนอดังกล่าวไม่สนับสนุนกระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่ที่มีประสิทธิภาพ

• กรณีที่มีผู้เข้าร่วมประมูลน้อยราย จะไม่นำคลื่นความถี่บางคลื่นเข้ามาประมูล (ที่เรียกว่ากฎ N-1) และ

• กำหนดราคาตั้งต้นที่สูงเป็นพิเศษ โดยอาศัยราคาจากการประมูลในปี 2558

ข้อกำหนดในการประมูลนี้มีขึ้นเพื่อให้ได้เงินจากการประมูลสูงสุด แต่อย่างไรก็ดี การกำหนดเช่นนี้อาจทำให้เกิดผลที่ไม่พึงประสงค์ กล่าวคือ ได้เงินจากการประมูลน้อยลง มีคลื่นความถี่ที่ไม่สามารถประมูลได้ ตลาดที่ไม่มีประสิทธิภาพ และผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต้องแบกรับภาระทางการเงิน ซึ่งลดแรงจูงใจในการลงทุนและแข่งขันกันในการให้บริการข้อมูลผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ในยุคต่อไป

งานเอกสารนี้ ผู้เขียนประสงค์จะแสดงให้เห็นว่าการบังคับใช้กฎเกณฑ์ดังกล่าวอาจทำให้ประเทศไทยต้องประสบกับช่องทางการการใช้งานดาต้าที่เชื่องช้า เป็นการจำกัดขอบเขตในการเติบโตของเศรษฐกิจในอนาคต และส่งผลกระทบต่อวิสัยทัศน์ของรัฐบาลในการก้าวสู่ยุคประเทศไทย 4.0 และทำให้ประชาชน ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ และธุรกิจได้รับความผลเสียหาย

ประเทศไทยยังไม่ได้มีการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่สำหรับ 4G และยังตามหลังเศรษฐกิจประเทศตะวันตกและอีกหลายประเทศในเอเชียในการจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่เพื่อตอบสนองต่อความต้องการการใช้งานการใช้ดาต้าที่เพิ่มขึ้น ผลที่ไม่ได้ตั้งใจของกฎ N-1 คือ อาจจะทำให้มีช่องว่างนี้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากจะเป็นผลให้คลื่นความถี่อย่างน้อย 10% ไม่ได้ถูกนำมาใช้งานในตลาด

ราคาตั้งต้นการประมูลที่สูงอาจไม่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการเข้าร่วมประมูล และนำไปสูงผลลัพธ์ที่เป็นผลเสียต่อผู้ใช้บริการชาวไทย เมื่อเร็ว ๆ นี้ผู้เขียนได้มีทำการศึกษาสำหรับ GSMA ในหัวข้อเกี่ยวกับการกำหนดราคาคลื่นความถี่ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นการชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างค่าคลื่นความถี่ที่สูง คุณภาพโครงข่ายที่ต่ำลง และค่าบริการที่สูงขึ้น ความเคลื่อนไหวในตลาดของประเทศไทยสอดคล้องกับความสัมพันธ์เช่นว่านี้

• ประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีค่าคลื่นความถี่สูงที่สุดในโลก

• ผู้ใช้บริการชาวไทยได้จ่ายค่าใช้บริการดาต้าสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่แพงกว่าประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียหลายๆ ประเทศ

• ข้อมูลจาก OpenSignal แสดงให้เห็นว่าความเร็วและคุณภาพของโครงข่าย 4G ในไทยล้าหลังกว่าประเทศในระดับเดียวกัน

จากการประมาณการอย่างระมัดระวังและมีเหตุผลแสดงให้เห็นว่า การลดราคาตั้งต้นในการประมูลที่จะมาถึงนี้สามารถนำไปสู่การลดราคาค่าบริการดาต้าสำหรับโทรศัพท์เคลื่อนที่ซึ่งคิดเป็นประโยชน์ที่ผู้บริโภคจะได้รับอย่างน้อย 3,643 บาทต่อประชากรหนึ่งคน ภายในระยะเวลา15 ปีของใบอนุญาต

รายงานฉบับนี้แนะนำให้ยกเลิกการใช้กฎ N-1 และตั้งราคาตั้งต้นการประมูลที่สมเหตุสมผล ซึ่งในที่สุดแล้วจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคชาวไทยและเศรษฐกิจองค์รวม

ในการประมูลในอนาคต กสทช. ควรพิจารณา แบ่งย่อยช่วงคลื่นความถี่มาประมูล ให้มากกว่าการประมูลจำนวนมากต่อใบอนุญาต โดยยังสามารถนำมารวมเป็นช่วงคลื่นที่ติดกันได้ วิธีการนี้ได้รับการนำมาใช้งานโดยหลายองค์กรกำกับดูแลทั่วโลก ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้ผู้ให้บริการมีความยืดหยุ่นสูงสุดในการกำหนดเป้าหมายจำนวนคลื่นความถี่ที่ตนเองต้องการและเพิ่มการแข่งขันในการประมูลของช่วงความถี่ที่เพิ่มขึ้น แม้ว่าจะมีผู้เข้าร่วมประมูลน้อยราย




"Spectrum Auction Risks Leaving Thailand Stranded in a Mobile Data Slow Lane"


Hans Ihle, senior consultant of NERA Economic Consulting, joins the press conference to reveal the white paper report on "Spectrum Auction Risks Leaving Thailand Stranded in a Mobile Data Slow Lane", which gives a broader view on the upcoming auctions on 900 and 1800-MHz spectra in Thailand next year.

NERA Economic Consulting is a global firm of experts dedicated to designing the spectra auctions across the world, including APAC, Europe, the US and Africa.







Summary – Whitepaper : "Spectum Auction Risks Leaving Thailand Stranded in a Mobile Data Slow Lane"

The Thai communications regulator, NBTC, plans to sell spectrum in the 900 MHz and 1800 MHz bands in 2018. This is spectrum already used by dtac to provide 2G and 4G services, under a concession from CAT expiring in 2018. Dtac has no right of renewal and must compete in the auction if it wants to win back some or all of the spectrum.

NBTC's initial design of the award includes two proposals that may not support an efficient award process:

•         to withhold some spectrum from the award in case of low participation in the auction (the so-called "N-1 rule"); and

•         to adopt exceptionally high prices from a similar auction in 2015 as reserve prices.

These rules appear designed to maximise revenues from the auction. However, the unintended consequences may be lower auction revenue, unsold spectrum, an inefficient market outcome and mobile operators burdened with financial obligations that depress incentives to invest and compete in providing next-generation mobile broadband.

In this paper, expert economists from NERA Economic Consulting highlight research that suggests that enforcing such rules could leave Thailand stranded in a mobile data slow lane, constraining scope for future economic growth and putting at risk the government's vision for Thailand 4.0. The ultimate losers would be Thai taxpayers, subscribers and businesses.

Thailand has not released any new spectrum for 4G and is lagging far behind Western economies and many other Asian economies in releasing spectrum necessary to meet the growth in consumer demand for mobile broadband. The unintended consequence of the N-1 rule is that it may widen this gap further as it will likely lead to at least 10% of existing spectrum capacity being withheld from the market.

High reserve prices may also deter participation and lead to outcomes ultimately damaging to Thai consumers. The authors recently concluded a study for the GSMA on effective spectrum pricing which identified a relationship between high spectrum costs, lower network quality and higher retail prices. Recent developments in the Thai market are consistent with this relationship:

•         Thailand has amongst the highest levels of spectrum prices in the world;

•         it appears that Thai consumers already pay more for mobile data than their peers in many other Asian countries; and

•         data gathered by OpenSignal suggests that Thailand is falling behind its peers in terms of 4G network speed and quality.

A plausible conservative estimate suggests that lowering reserve prices in the upcoming auction could lead to lower prices for mobile data and in turn create consumer benefits of at least THB 3,643 per capita over a 15-year licence term.

The paper recommends to abandon the N-1 rule and set reasonable reserve prices. This is ultimately to the benefit of Thai subscribers and the economy as a whole.

For future auctions, the NBTC should consider offering spectrum in smaller units that bidders can aggregate on a contiguous basis. This approach, which is used by many regulators worldwide, gives operators maximum flexibility to target different amounts of spectrum and allows for competition for incremental spectrum even in low participation scenarios.