happy on April 29, 2016, 07:52:04 PM
ดีแทคจัดทำ White Paper "เส้นทางสู่ดิจิทัลไทยแลนด์" ผลักดันร่วมวาระของรัฐบาล


29 เมษายน 2559 – ประเทศไทยพร้อมยกระดับศักยภาพสู่ผู้นำทางด้านดิจิทัลในกลุ่มประเทศอาเซียนภายในปี พ.ศ. 2563 ดีแทคพร้อมนำเสนอผ่าน White Paper บรรจุวิสัยทัศน์และข้อเสนอแนะนำประเทศไทยไปสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลสู่ระดับสากล

รายงานหัวข้อ "เส้นทางสู่ดิจิทัลไทยแลนด์ อินเทอร์เน็ตเพื่อทุกคน" ได้ถูกนำเสนออย่างเป็นทางการในงาน Asia Pacific Digital Societies Policy Forum 2016 ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27-28 เมษายน 2559 โดยกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารและ สมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) ในรายงานฉบับดังกล่าวดีแทคได้จัดทำข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมและกำหนดเป็น 6 ยุทธศาสตร์หลักเพื่อให้รัฐบาลพิจารณาสู่การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ในปี พ.ศ. 2563 ตลอดจนข้อเสนอแนะและบทพิสูจน์ทุกยุทธศาสตร์อย่างครอบคลุม



นายลาร์ส  นอร์ลิ่ง

นายลาร์ส  นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า "การนำเสนอ 'สมุดปกขาว' หรือ 'White Paper' ในหัวข้อ 'เส้นทางสู่ดิจิทัลไทยแลนด์' เป็นคำมั่นสัญญาและแผนระยะยาวที่ดีแทคจะสนับสนุนประเทศไทยไปสู่สังคมเศรษฐกิจดิจิทัล รวมถึงร่วมผลักดันและส่งเสริมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐที่เป็นผู้ออกกฎหมายและกำหนดนโยบาย ภาคเอกชน และภาคสังคมต่างๆ สำหรับวิสัยทัศน์ของรัฐบาลในการสร้างเศรษฐกิจดิจิทัลนั้นก็เพื่อส่งเสริมให้เกิดประโยชน์กับประเทศชาติ ประชาชน เศรษฐกิจ รวมทั้งเพิ่มโอกาสทางการแข่งขันทางธุรกิจในภูมิภาค ในรายงานฉบับนี้ดีแทคจึงมุ่งเน้นที่จะสรรหาแผนงานในอนาคตที่สามารถปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม  เพื่อจะนำประเทศไทยไปสู่สังคมดิจิทัลอย่างสมบูรณ์แบบภายในปี พ.ศ. 2563"

รายงานนี้จะช่วยผลักดันประสิทธิภาพของเศรษฐกิจดิจิทัล ที่จะมีบทบาทต่อการเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมและส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ชัดเจนยิ่งขึ้น และทำหน้าที่เป็นแรงผลักดันสู่นวัตกรรมเชิงมหภาคและการเติบโตที่สำคัญของชาติ ซึ่งดำเนินการสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในรายงาน White Paper ยังระบุถึงความท้าทายและโอกาสที่จะพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลของชาติ และเพิ่มศักยภาพทางการแข่งขันสำหรับอุตสาหกรรมไทยในกลุ่มประเทศอาเซียน หรือประเทศอื่นอีกด้วย

นายลาร์ส กล่าวเพิ่มเติมว่า "รายงานฉบับนี้เป็นข้อเสนอที่เป็นรูปธรรมชัดเจน และการสนับสนุนจากดีแทคเพื่อให้สังคมไทยก้าวไปสู่สังคมเศรษฐกิจดิจิทัลได้สำเร็จ จากการที่ได้ดำเนินธุรกิจมาเป็นเวลายาวนานในประเทศไทย พร้อมมุมมองในเศรษฐกิจดิจิทัลเกิดใหม่ด้านอื่นๆ การที่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลจะประสบความสำเร็จได้จำเป็นจะต้องดำเนินไปพร้อมกัน  ดีแทคมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายเพื่อจะร่วมผลักดันให้เกิดเศรษฐกิจดิจิทัลที่แท้จริงเพื่อให้เกิดประโยชน์กับคนไทยทั้งประเทศ" 


วิสัยทัศน์ร่วมกันเพื่อโครงการดิจิทัลไทยแลนด์

เศรษฐกิจดิจิทัลมีผลต่อการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคม และผลิตผลของตลาดแรงงาน การจ้างงานและความสามารถทางการแข่งขันในสังคมเศรษฐกิจอาเซียนและประเทศอื่นๆ และเพื่อปฏิบัติตามร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล พ.ศ. 2559 เพื่อการสร้างเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลในประเทศไทย และเป็นผู้นำด้านดิจิทัลในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ซึ่งดีแทคได้กำหนด 6 ยุทธศาสตร์สำคัญ พร้อมข้อเสนอดังนี้

ยุทธศาสตร์ที่ 1: โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล (Digital Infrastructure)

ประเทศไทยยังมีอุปสรรคต่อการก้าวสู่เศรษฐกิจดิจิทัลทั้งในแง่ของการขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ทั้งเครือข่ายดิจิทัลแบบพื้นฐาน (Fixed Infrastructure) และโมบายล์ (Mobile Infrastructure) ที่ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วโดยเฉพาะในเทคโนโลยี 4G ดังนั้น ข้อเสนอแนะของดีแทคคือ รัฐบาลจะต้องพิจารณากำหนดแผนจัดสรรคลื่นความถี่ (Spectrum Roadmap) และจัดการประมูลคลื่นความถี่คลื่น 700, 850, 1800, 2300 และ 2600 MHz เพื่อสนับสนุนการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรทั้งแบบโครงสร้างพื้นฐานและอินเทอร์เน็ตบนมือถือในราคาที่เหมาะสม ซึ่งจะเพิ่มการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของประชากรในทุกระดับของสังคม และสะท้อนถึงการสนับสนุนเป้าหมายของรัฐบาลที่กำหนดไว้ภายในปี พ.ศ. 2559 จะนำอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงหรือบรอดแบนด์สู่ 30,000 หมู่บ้านทั่วประเทศเพื่อยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล ทั้งนี้ดีแทคยังสนับสนุนภาครัฐสำหรับการจัดทำกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานโทรคมนาคมในการสร้างเสาสถานีฐานในพื้นที่ห่างไกล และพัฒนาโครงสร้างเครือข่ายเคเบิ้ลใต้น้ำร่วมกัน

ยุทธศาสตร์ที่ 2: ระบบนิเวศเชิงนวัตกรรมดิจิทัล (Digital Innovation Ecosystem)

เพื่อให้เศรษฐกิจไทยบรรลุเป้าหมายและเพิ่มศักยภาพสูงสุด เทคโนโลยีดิจิทัลจะต้องเข้าถึงภาคธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจ SME ซึ่งถือเป็นจำนวนมากกว่าร้อยละ 99 ของธุรกิจในประเทศไทย ในรายงานฉบับนี้ดีแทคได้มุ่งเน้นส่งเสริมระบบนิเวศดิจิทัลของธุรกิจสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการโดยความร่วมมือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดยในปี พ.ศ. 2556 เป็นต้นมาดีแทคได้จัดตั้งโครงการดีแทค แอคเซอเลอเรท ส่งเสริมธุรกิจสตาร์ทอัพต่างๆ และแอปพลิเคชั่นชั้นนำ มากมาย เช่น แอปพลิเคชั่นสำหรับจัดการด้านการเงินจาก Piggipo แอปพลิเคชั่นเคลมประกันรถยนต์จาก Claim Di และอุปกรณ์ช่วยดูแลรถยนต์ผ่านสมาร์ทโฟนจาก Drivebot ทั้งนี้ ดีแทคได้ผลักดันเป็นรูปธรรมด้วยการจัดตั้ง บริษัท ดีแทค แอคเซอเลอเรท จำกัด ส่งเสริมนโยบายภาครัฐที่สนับสนุนสตาร์ทอัพไทย โดยเร่งสนับสนุนสร้างนักรบทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องสู่เศรษฐกิจดิจิทัล โดยตั้งเป้าปี พ.ศ. 2563  จะผลักดันเหล่าสตาร์ทอัพไทยให้มีมูลค่า 2,000 ล้านบาท และก้าวสู่อันดับ 1 ของสตาร์ทอัพกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พร้อมทั้งดีแทค แอคเซอเลอเรท มุ่งตั้งเป้าสู่การสร้าง Tech Giant ให้เกิดขึ้นในไทย

ยุทธศาสตร์ที่ 3: เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสังคมที่เท่าเทียม (Digital Technology for an Equitable Society)

ใน พ.ศ. 2558 มีคนไทยจำนวน 48 ล้านคน ยังคงไม่ได้รับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตและยังไม่ได้รับประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เศรษฐกิจดิจิทัลประสบความสำเร็จ คือ เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลต้องเป็นหนึ่งเดียวโดยมุ่งที่จะลดช่องว่างความเหลื่อมล้ำระหว่างประชากรในเมืองและชนบท และเพิ่มรายรับของประชากรในชนบทโดยเฉพาะในกลุ่มเกษตรกรที่เป็นกระดูกสันหลังของประเทศไทย นอกจากการดำเนินงานตามวิสัยทัศน์ของโครงการ Internet For All  ข้อเสนอของดีแทคยังรวมถึงการเชื่อมต่อคนไทยจากการดำเนินงานทั้งภาครัฐและเอกชนสู่บริการด้านสุขภาพ การศึกษา การเงิน และการเกษตร ด้วยการส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมกันในสังคม

ยุทธศาสตร์ที่ 4: บริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ (eGovernment Services)

ปัจจัยหลักของโครงการดิจิทัลไทยแลนด์คือ ข้อมูลที่โปร่งใสและทุกกลุ่มสามารถเข้าถึงได้ โดยเฉพาะการเข้าถึงข้อมูลและบริการสาธารณะผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประเทศไทยยังคงตามหลังประเทศพัฒนาแล้วในด้านบริการสาธารณะออนไลน์พื้นฐานต่างๆ โดยข้อมูลสาธารณะส่วนใหญ่ยังคงไม่ได้รับการปรับเปลี่ยนไปสู่รูปแบบดิจิทัลที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ ในส่วนของ  "เครือข่ายซูเปอร์ไฮเวย์" แห่งชาติ หรือที่เรียกอย่างเป็นทางการว่า ระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลเชื่อมโยงหน่วยงานภาครัฐ (Government Information Network - GIN) หรือ Super GIN กำลังอยู่ระหว่างการจัดตั้งเพื่อเชื่อมต่อระบบข้อมูลรัฐที่มีอยู่เดิม ซึ่งจะทำให้เข้าถึงข้อมูลสาธารณะต่างๆ ได้ง่ายดายยิ่งขึ้น ช่วยกระตุ้น และสนับสนุนรัฐบาล ดีแทคเสนอแนะทำความร่วมมือกับภาคเอกชน ซึ่งมีทรัพยากรที่จำเป็นต่อการให้บริการอิเล็กทรอนิกส์ของภาครัฐ เช่นบริการเพย์สบาย (Paysbuy) ของดีแทคที่ขยายบริการด้านการเงินการธนาคารผ่านบริการบนมือถือ

ยุทธศาสตร์ที่ 5: ทุนมนุษย์ (Human Capital)

การสร้างเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัลของไทยนั้นอาจต้องชะงักด้วยช่องว่างในระบบการศึกษาและความพร้อมเชิงดิจิทัลของแรงงาน ความท้าทายหลักอีกประการของประเทศไทยคือการเสริมความแข็งแกร่งทั้งด้านความรู้ดิจิทัลและภาษาอังกฤษเพื่อให้แรงงานไทยสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพในโลกที่เชื่อมต่อ การศึกษาระดับสูงมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่ง และต้องเริ่มจากการสร้างเสริมทักษะพื้นฐานไอซีทีแก่ประชากรทั้งหมด ข้อเสนอทางหนึ่งคือให้ภาคเอกชนสามารถเข้ามามีบทบาทสำคัญในส่วนนี้ด้วยการจัดหาผู้ที่มีความเชี่ยวชาญและทรัพยากรบุคคลที่สามารถให้คำแนะนำที่เกี่ยวข้องและทันสมัย เหมือนเช่นที่เกิดขึ้นในโครงการเน็ตอาสาของดีแทค ที่มีอาสาสมัครเป็นผู้สอนการใช้อินเทอร์เน็ตมากกว่า 60 คน และช่วยเชื่อมต่อคนไทยมาแล้วกว่า 50,000 คนทั่วประเทศ

ยุทธศาสตร์ที่ 6: กรอบการทำงานองค์รวมเพื่อดิจิทัลไทยแลนด์ (Holistic Frameworks for a Digital Thailand)

เพื่อให้เกิดเศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล ประเทศไทยต้องการกรอบการทำงานองค์รวมที่สนับสนุนสำหรับกฎหมาย กฎระเบียบ และข้อกำหนดที่จะกำกับดูแลภาคอุตสาหกรรมดิจิทัล ดีแทคเสนอแนะให้มีการปรับปรุงร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัลผ่านกระบวนการที่โปร่งใสและรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การสร้างความเท่าเทียมในการแข่งขันที่เป็นธรรมทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงความเป็นอิสระของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ที่จะจัดสรรคลื่นความถี่ผ่านการประมูลแข่งขันที่โปร่งใสควรเป็นสิ่งที่ได้รับความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ เพื่อให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ในการขยายโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในประเทศไทย



dtac Publishes Whitepaper on Realizing Thailand's Digital Economy;
Pledges Commitment to Government-led Agenda


April 29, 2016 - April 29, 2016 – Thailand can and should reasonably expect to be the leading digital nation in ASEAN by 2020, according to a whitepaper released today by dtac (Total Access Communication PLC) which sets out a projected vision and recommendations for realizing a world-class Digital Economy and Society in Thailand.

Thailand can and should reasonably expect to be the leading digital nation in ASEAN by 2020, according to a whitepaper released today by dtac (Total Access Communication PLC) which sets out a projected vision and recommendations for realizing a world-class Digital Economy and Society in Thailand. The report, 'REALIZING DIGITAL THAILAND: An Internet not for the few, but for the many,' was formally presented at the Asia Pacific Digital Societies Policy Forum 2016 in Bangkok on 27-28 April, hosted by the GSMA and MICT.  In the document, dtac outlines concrete propositions within six key government-defined pillars for building a Digital Economy in Thailand by 2020, alongside proof points in each area to illustrate a wide-ranging commitment.
 
"This Digital Thailand whitepaper is part of our long-term commitment helping realize the country's digital future and encourage cooperation from multiple stakeholders, including policy-makers, the private sector and civil society,"
said Lars  Norling, Chief Executive Officer, Total Access Communication PLC (dtac). "The Royal Thai Government's vision for a Digital Economy will benefit the nation, its people, the economy and regional competitiveness. We therefore focused this report on providing a tangible roadmap for accelerating the efforts that will make it possibly to achieve nationwide digitalization by 2020."
 
The report articulates Digital Economy's ability to transform industries and impact people's lives in clear-cut, positive ways, underscoring its importance as a driver of macro innovation and growth. In line with initiatives set out by the Royal Government of Thailand and reinforced by the Ministry of Information and Communication Technology (MICT), dtac's Digital Economy whitepaper further outlines the challenges and opportunities to develop a national digitized economy and enhance Thai industrial competitiveness within the ASEAN Economic Community and beyond.
 
"This report presents dtac's concrete recommendations and support for achieving the process of digitalization, formulated by our long partnership with Thailand and experience in other emerging digital economies. Achieving a Digital Economy and Society must be a collaborative effort, and dtac is committed to working with all stakeholders to see the construction of a truly Digital Thailand that will benefit the entire population," concluded Norling.


The Shared Vision for Digital Thailand The emergence of a Digital Thailand will have direct benefits in the areas of GDP growth and broad-based socioeconomic prosperity and inclusion; labor productivity and employment and competitiveness within the ASEAN Economic Community and beyond. In order to realize the ICT Ministry's draft 2016 Development Plan for Economy and Digital Society and become a digital leader within the ASEAN Economic Community, dtac is outlining recommendations and is committed to contributing under six primary pillars.

Pillar 1: Digital Infrastructure

Thailand is lacking in both fixed and mobile digital infrastructure coverage and mobile penetration compared to developed nations, particularly at the 4G level. To address this, dtac recommends the development of a spectrum roadmap for the allocation and auction of 700, 850, 1800, 2300, 2600 MHz bands to support affordable and universal fixed and mobile broadband internet access. This will increase online access at all levels of Thai society, mirroring the government's 2016 aim to bring broadband to 30,000 villages through national basic digital infrastructure upgrades. dtac also supports the government's National Infrastructure Fund initiative to promote tower sharing in remote areas and develop submarine connectivity infrastructure sharing.

Pillar 2: Digital Innovation Ecosystem

For the Thai economy to attain and increase its full potential, digital technology must be further incorporated within the Thai business community—specifically within SMEs which account for more than 99% of all businesses in Thailand. Within the report, dtac endorses the promotion of the digital startup ecosystem through multiple partnerships with all stakeholders. As an example, since 2013 dtac Accelerate has enabled multiple Thai tech companies, including personal finance app Piggipo, insurance claim app Claim Di, and car diagnostic device outfit Drivebot.

Pillar 3: Digital Technology for an Equitable Society

In 2015, 48 million Thais remained unconnected to the internet and thus unable to avail themselves to the socioeconomic and cultural benefits of this technology.[1] The parameters of a successful Digital Economy is that it must be inclusive, aimed at alleviating urban-rural disparity and boosting rural incomes, particularly among Thailand's agricultural backbone. In line with the company's Internet For All strategy, dtac recommends undertaking public/private partnerships to digitize health, education, financial and agricultural services that promote greater equity amongst Thais.

Pillar 4: eGovernment Services

Thailand is currently placed behind developed nations in the online availability of basic public services, with the majority of public records not digitally available to citizens. The national "superhighway network"– or Super GIN – is currently being established to link existing government data systems.

To support this governmental work, dtac recommends engaging the private sector to accelerate the provision of e-government services, as seen in the creation of dtac's 'Paysbuy', a Mobile Financial Service.


Pillar 5: Human Capital

Thailand's Digital Economy could be hampered by gaps in the educational system and workforce digital readiness. A further challenge will be strengthening both digital literacy and English language skills for Thais, beginning with building basic ICT skills for the population. One way to initiate this is sourcing private sector expertise and human capital to deliver up-to-date and relevant instruction, such as dtac's Net Arsa. To date, this has helped connect more than 50,000 Thais through more than 60 volunteer internet coaches.

Pillar 6: Holistic Frameworks for a Digital Thailand

To implement a Digital Society, Thailand requires holistic frameworks for laws, regulations, and criteria governing the digital sector. dtac recommends revising Thailand's digital economy laws in a transparent manner through public consultation that offers a level playing field for state and private companies. As well as guaranteeing the independence of the National Broadcasting and Telecommunications Commission in ensuring allocation of spectrum through transparent and competitive auctions.