MSN on September 29, 2015, 02:59:40 PM
ตำรวจ บก.ปอศ. ใช้โซเชียลมีเดียและเทคโนโลยีเพิ่มการดำเนินคดีละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในปี 2558 ได้ถึงร้อยละ 20



พ.ต.อ. ดร.กิตติศักดิ์ ปลาทอง รองผู้บังคับการ บก.ปอศ.


(ซ้าย) พ.ต.อ. อภิวิชญ์ ภัทรกุล ผู้กำกับการ กองกำกับการ 3 (กลาง) พ.ต.อ. ดร.กิตติศักดิ์ ปลาทอง รองผู้บังคับการ บก.ปอศ. (ขวา) พ.ต.อ. ธีระ ทองระย้า ผู้กำกับการ กองบังคับการ 4

กรุงเทพฯ 29 กันยายน2558 - กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) รายงานความคืบหน้าผลการปราบปราบการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ พร้อมประกาศเดินหน้ากวาดล้างการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายต่อภายใต้ชื่อ “Crackdown 2.0” โดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพิ่มช่องทางให้ความรู้แก่นักธุรกิจเรื่องความเสี่ยงจากการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและรวบรวมเบาะแสเกี่ยวกับองค์กรธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

บก.ปอศ. ใช้ประโยชน์ของโซเชียลมีเดียเพื่อรวบรวมเบาะแสโดยมุ่งเน้นไปยังองค์กรธุรกิจในทุกภาคอุตสาหกรรม คาดว่าจะเพิ่มการดำเนินคดีกับองค์กรธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ราวร้อยละ 20 จากปี 2557  บก. ปอศ. กล่าวว่าจะรักษาอัตรานี้ไว้ไปให้ถึงปีหน้า

ความคืบหน้าสถานการณ์การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในปี 2558
เพื่อสนับสนุนภาระกิจของรัฐบาลเรื่องการสร้างระบบเศรษฐกิจดิจิทัลที่ยั่งยืนในประเทศไทย
บก.ปอศ. ภายใต้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังคงเดินหน้าปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อย่างจริงจังในปี 2558 การปราบปรามของเจ้าหน้าที่ตำรวจภายใต้ชื่อ Crackdown 2.0 จะมุ่งเน้นไปยังองค์กรธุรกิจที่ต้องสงสัยว่าใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย และจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับการรณรงค์ให้องค์กรธุรกิจเข้าใจถึงอันตรายที่เชื่อมโยงระหว่างซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิและอาชญากรรมไซเบอร์

ข้อมูลของ บก.ปอศ. ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงเดือนกันยายน 2558 รายงานว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ดำเนินคดีกับองค์กรธุรกิจจำนวน 166 แห่ง เพิ่มขึ้นราวร้อยละ 20 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันเมื่อปีที่แล้ว และมีมูลค่าของซอฟต์แวร์ที่ถูกละเมิดลิขสิทธิ์สูงราว 358 ล้านบาท

จนถึงขณะนี้ องค์กรธุกิจที่ถูกดำเนินคดีส่วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมการผลิต คิดเป็นร้อยละ 34 ตามด้วยอุตสาหกรรมก่อสร้างและออกแบบร้อยละ 32 ภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ประกอบไปด้วย ตัวแทนจำหน่ายและบริษัทค้าส่งร้อยละ 7 วิศวกรรมร้อยละ 7 อสังหาริมทรัพย์ร้อยละ 4
ไอทีและโทรคมนาคมร้อยละ 2 และอื่นๆ ร้อยละ 14 ผู้ถือหุ้นในองค์กรธุรกิจที่ถูกดำเนินคดีแบ่งเป็นชาวไทยร้อยละ 83.15 เกาหลีใต้ร้อยละ 1.20 จีนร้อยละ 0.60 และบริษัทร่วมทุนร้อยละ 15.05

การใช้งานสื่อดิจิทัลที่ขยายวงกว้างขึ้นและความร่วมมือจากสังคมดิจิตอลช่วยเจ้าหน้าที่ตำรวจเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมายกับองค์กรธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิ เจ้าหน้าที่ของ บก.ปอศ. ได้เพิ่มช่องทางการสื่อสารทั้งสายด่วน เว็บไซต์ และสื่อโซเชียลมีเดียเพื่อสื่อสารและให้ความรู้แก่ประชาชนและองค์กรธุรกิจเรื่องความเสี่ยงของซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิ ทั้งนี้ประชาชนยังสามารถแจ้งเบาะแสการละเมิดลิขสิทธ์ซอฟต์แวร์ภายในองค์กรธุรกิจผ่านทางช่องทางเหล่านี้ได้อีกด้วย

การละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์
การปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่ผ่านมา มุ่งเน้นไปยังองค์กรธุรกิจในภาคการผลิตและก่อสร้าง แต่ในปี 2558 การปราบปรามได้ขยายวงกว้างขึ้นโดยครอบคลุมองค์กรธุรกิจทั้งหมดโดยไม่คำนึงถึงขนาดของธุรกิจ

การปราบปรามการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ยังเป็นความพยายามที่จะจัดการกับความเชื่อมโยงกันระหว่างการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์กับการจู่โจมของมัลแวร์และภัยไซเบอร์อื่นๆ ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งมาก การใช้ซอฟต์แวร์ที่ได้รับอนุญาตและถูกต้องตามกฎหมายเป็นการป้องกันภัยในขั้นแรกที่ดีและลดช่องโหว่ที่จะถูกโจมตีทางไซเบอร์ องค์กรธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิละเมิดลิขสิทธิ์กำลังทำให้ข้อมูล รวมถึงข้อมูลทางการเงินขององค์กรตกอยู่ในความเสี่ยง จากรายงานของไอดีซี (IDC) พบว่าร้อยละ 70 ของซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายมีมัลแวร์ฝั่งตัวอยู่ เป็นต้นหตุหนึ่งของการโจรกรรมในภาคการเงินและการธนาคาร การขโมยข้อมูล การโกงในการซื้อขายบนออนไลน์ และคดีอื่นๆ

ซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับอนุญาตและความปลอดภัยด้านไอทีขององค์กรธุรกิจ
เมื่อพูดถึงการดำเนินคดีในปี 2558  พ.ต.อ. ดร.กิตติศักดิ์ ปลาทอง รองผู้บังคับการ บก.ปอศ. ได้แสดงความคิดเห็นว่า “อัตราการดำเนินคดีในปี 2558 ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 20 จากปีที่แล้ว แสดงให้เห็นความมุ่งมั่นที่จะปราบปรามการเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อย่างจริงจังและต่อเนื่องของเจ้าหน้าที่ และให้ความรู้แก่ประชาชนและองค์กรธุรกิจเรื่องความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจริงจากการใช้งานซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย บก.ปอศ. ได้ลดอัตราการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์อย่างเห็นได้ชัดในระยะเวลา 8 ปีที่ผ่านมา อัตราการปราบปรามที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นราวร้อยละ 20 ในปีนี้นั้น จึงถือว่าเป็นตัวเลขที่มีสาระสำคัญ”

พ.ต.อ. ดร.กิตติศักดิ์ กล่าวว่า “การใช้ช่องทางการสื่อสารที่มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น เว็บไซต์ สายด่วน และโซเชียลมีเดีย รวมถึงเฟซบุ๊ค และการสื่อสารให้ข้อมูลแก่ประชาชนนั้น ทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในทุกภาคส่วนธุรกิจที่ใช้ซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ได้อย่างทั่วถึง ไม่เพียงแต่องค์กรธุรกิจเท่านั้นแต่ยังรวมถึงธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางอีกด้วย”

“การลดปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ยังคงเป็นวัตถุประสงค์หลักของ บก.ปอศ. ซึ่งหากปัญหานี้ไม่ได้รับการแก้ไข อาจส่งผลต่ออุตสาหกรรมดิจิทัลของประเทศไทยที่กำลังเติบโตขึ้น และยังนำมาซึ่งความเสี่ยงต่อองค์กรธุรกิจในด้านความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์อีกด้วย”
พ.ต.อ. ดร.กิตติศักดิ์ กล่าว

รองผู้บังคับการ บก.ปอศ. กล่าวเพิ่มเติมว่า “ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายส่งผลกระทบต่อองค์กรธุรกิจไม่ว่าขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ ไวรัสหรือมัลแวร์ทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลที่เป็นความลับตกอยู่ในความเสี่ยงและอาจก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงตามมา เจ้าหน้าที่ตำรวจขอความร่วมมือจากผู้บริหารและผู้จัดการในองค์กรธุรกิจต่างๆ ให้ศึกษาถึงความเสี่ยงจากการใช้ซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับอนุญาต และตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีการป้องกันองค์กรจากอันตรายที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ของอาชญกรรมบนโลกไซเบอร์ โดยใช้แต่ซอฟต์แวร์ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิเท่านั้น”

พ.ต.อ. ดร.กิตติศักดิ์ กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจจะเดินหน้าปราบปรามการใช้ซอฟต์แวร์ที่ไม่ได้รับอนุญาตอย่างต่อเนื่อง “เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังบังคับใช้กฎหมายและปกป้องลิขสิทธิ์ของผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ การใช้งานซอฟต์แวร์โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นการลักทรัพย์รูปแบบหนึ่ง โดยบริษัทซอฟต์แวร์ไทยก็ได้รับผลกระทบจากการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ด้วยเช่นกัน องค์กรธุรกิจที่ไม่สามารถจัดการตัวเองและไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะต้องเสี่ยงต่อการถูกดำเนินคดี และเนื่องด้วยการสื่อสารให้ข้อมูลระหว่างเจ้าหน้าที่ตำรวจและประชาชนในเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์เพิ่มมากขึ้น ความเป็นไปได้ที่องค์กรธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์จะถูกดำเนินคดีตามกฎหมายก็เพิ่มมากขึ้นด้วยเช่นกัน” พ.ต.อ. ดร.กิตติศักดิ์ กล่าว

สุดท้ายนี้ พ.ต.อ. ดร.กิตติศักดิ์ ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้ความร่วมมือในการแจ้งเบาะแสการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ “ช่องทางสำหรับการแจ้งข้อมูลเบาะแสการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการใช้งานโซเชียลมีเดียนั้น เพิ่มโอกาสสำหรับการแจ้งข้อมูลเบาะแสการใช้งานซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย ทางเจ้าหน้าที่ขอขอบทุกท่านที่ให้ความร่วมมือและขอให้ทุกคนช่วยเหลือและสนับสนุนเจ้าหน้าที่ตำรวจในการบังคับใช้กฎหมายและสร้างความปลอดภัยทางด้านไซเบอร์แก่ประเทศไทย”
« Last Edit: September 29, 2015, 03:02:30 PM by MSN »

MSN on September 29, 2015, 03:00:08 PM
ECD Police use social media and technology to ramp up crackdown on companies using unlicensed software



พ.ต.อ. ดร.กิตติศักดิ์ ปลาทอง รองผู้บังคับการ บก.ปอศ.


(ซ้าย) พ.ต.อ. อภิวิชญ์ ภัทรกุล ผู้กำกับการ กองกำกับการ 3 (กลาง) พ.ต.อ. ดร.กิตติศักดิ์ ปลาทอง รองผู้บังคับการ บก.ปอศ. (ขวา) พ.ต.อ. ธีระ ทองระย้า ผู้กำกับการ กองบังคับการ 4

BANGKOK, 29 September, 2015 - The Thai Economic Crime Suppression Division (ECD) updated the results of software piracy suppression and announced a new Software Piracy Crackdown in 2015, dubbed “Crackdown 2.0” for its use of digital technology to educate business people about the risks of unlicensed software and gather intelligence about companies violating the law.

Leveraging social media to gather intelligence and target all business sectors, ECD projects to increase total raids of businesses that infringe software copyrights by 20 percent in 2015 over last year’s results.  ECD says they will continue this positive momentum into the next year.

Software piracy 2015 update

Supporting the Government mission to create a sustainable digital economy for Thailand, the Economic Crime Suppression Division (ECD) of the Royal Thai Police has continued to intensify its war on software piracy in 2015.  The crackdown 2.0 will target all businesses suspected of using illegal software, and will place special emphasis on helping companies understand the dangerous link between unlicensed software and cyber-crime.

ECD September 2015 data revealed 166 ECD raids in 2015 with an infringement value of 358 million THB. The frequency of raids in 2015 to date represented a 20% increase on 2014.

So far this year, the industries raided were predominantly manufacturing (34%) and construction and design (32%). Other industries featured distributor and wholesale (7%); engineering (7%); real estate (4%); IT & telecommunications (2%) and others 14%. The shareholders of raid companies included 83.15% Thai; South Korean 1.20%; Chinese 0.60% and joint ventures 15.05%.

Expanded use of digital media and Thai public support have helped police to increase the effectiveness of law enforcement versus companies and organizations using unlicensed software. ECD police have developed communication approaches using hotlines, websites and social media to engage and educate the public and business about the risks of unlicensed software. These digital channels have allowed the public to actively report software piracy related crimes within corporate end-users.

Software Piracy

Previous crackdowns on corporate software piracy focused on the manufacturing and construction sectors. The dragnet widened in 2015 to include all businesses regardless of size.  This has included all business organizations using unlicensed software.

The crackdown on unlicensed software tackles the correlation between software piracy and the prevalence of malware and cyber threats.  Use of legal licensed software ensures a good first line of defense and reduces vulnerability against cyber attack. Companies using unlicensed software are putting their data and finances at risk. According to a recent report by IDC, upwards of 70 percent of illegal software is loaded with Malware, which can lead to banking and financial fraud, data theft, e-commerce fraud and a variety of other issues.

Unlicensed software and company IT security

Speaking about the 2015 raids, the ECD Deputy Commander, Police Colonel Dr. Kittisak Plathong, commented that, “a projected 20% increase in raids in 2015 demonstrates our continuing commitment to actively fight software piracy and educate the public and companies on the tangible risks associated with using illegal software.  Given that we have reduced software piracy significantly over the last eight years, a 20 percent increase in enforcement this year is substantial.”

Police Colonel Dr. Kittisak explained that, “greater use of communication channels, including websites, a hotline and social media, including Facebook, and engagement with the Thai public, have allowed us to increase our targeting of all businesses using unlicensed software; not only corporations, but also SMEs.”

Police Colonel Dr. Kittisak noted that, “tackling software piracy remains a core ECD objective that if unaddressed, could harm Thailand’s growing digital industries and represent a security risk to business.”

The ECD Deputy Commander commented that, “pirate software impacts companies regardless of size. Viruses or malware makes personal and confidential information vulnerable and can cause critical operational failures. We encourage CEOs and managers in all companies and organizations to be educated on the very real dangers of unlicensed software, and to ensure that their organizations protect themselves from the growing danger of cyber crime by using licensed software”.
   
Police Colonel Dr. Kittisak noted that ECD action against companies using unlicensed software would continue. “We are enforcing the rule of law and protecting software developers’ copyrights. Use of unlicensed software is a form of theft and Thai software companies are also hurt by software piracy. Those companies that fail to self-regulate and comply, risk being raided.  And as our engagement with the Thai public on this important issue grows, so does the probability of the parties using pirate software being caught.”

Finally Police Colonel Dr. Kittisak thanked the Thai public for coming forward to report instances of software piracy. He said, “increased use of reporting channels, including social media, have empowered the Thai public to report use of unlicensed software. We are thankful to the Thai public and encourage them to keep helping us enforce the rule of law and protect Thailand’s cyber security.”
« Last Edit: September 29, 2015, 03:02:43 PM by MSN »