happy on December 18, 2012, 03:47:45 PM
คำแถลงข่าว
กิจกรรมส่งเสริมเมืองต่อยอดนวัตกรรมสร้างสรรค์ด้วยทรัพย์สินทางปัญญา
วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2555 เวลา 14.00 น.
ณ ห้องประชุม 2 ชั้น 8 กรมทรัพย์สินทางปัญญา

ท่านกรรมการคัดเลือกเมืองต่อยอดนวัตกรรมสร้างสรรค์ด้วยทรัพย์สินทางปัญญา
ท่านผู้บริหาร และคณะเจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา
สื่อมวลชน และ แขกผู้มีเกียรติทุกท่าน



               รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของการนำความคิดสร้างสรรค์มาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่สินค้าและบริการของชุมชนในท้องถิ่นต่างๆ รวมถึงเพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ในจังหวัดต่างๆ ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ อันจะนำมาซึ่งการสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าและบริการและการเพิ่มขึ้นของรายได้ของประชาชนในพื้นที่ ด้วยการต่อยอดภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และการท่องเที่ยว ให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยการกำหนดให้การส่งเสริมการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์เป็นหนึ่งในหัวข้อด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ภายในแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ซึ่งมีผลบังคับใช้ระหว่างปี พ.ศ. 2555 – 2559 โดยกำหนดทิศทางการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้อยู่บนพื้นฐานความรู้ที่เน้นการใช้ความคิดสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างสินค้าและบริการ รวมถึงพัฒนาปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ของท้องถิ่น ทั้งทางด้านกายภาพ ทรัพยากรมนุษย์ การบริหารจัดการที่เอื้อต่อการพัฒนาเครือข่ายธุรกิจ และการสร้างเอกลักษณ์ที่สามารถสะท้อนให้เห็นถึงตัวตนของพื้นที่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดึงดูดการลงทุนเข้าไปยังพื้นที่ หรือสร้างบรรยากาศหรือสภาวะที่เอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเป็นช่องทางสำหรับการแสดงออกของผู้สร้างสรรค์ในสาขาต่างๆ ตามเกณฑ์ของการเป็นเมืองสร้างสรรค์ขององค์การอังก์ถัดและองค์การยูเนสโก




               การส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์นี้ จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการยกระดับอุตสาหกรรมและบริการไทยให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น ตลอดจนสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าและบริการของไทยให้มีขีดความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศคู่แข่งทางการค้าอย่างยั่งยืน และแม้ว่าการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทยในปัจจุบันจะยังอยู่ในระยะเริ่มต้น แต่ถือได้ว่าเป็นการพัฒนาที่ต่อเนื่องและต่อยอดจากแนวทางการพัฒนาด้วยการเพิ่มคุณค่าสินค้าและบริการบนฐานความรู้และนวัตกรรม ซึ่งจากผลการรวบรวมข้อมูลอุตสาหกรรมสร้างสรรค์โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่าในปี พ.ศ. 2552 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยมีมูลค่าสูงถึง 9.12 แสนล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ โดยกลุ่มอุตสาหกรรมงานสร้างสรรค์ตามลักษณะของงาน (Functional Creation) เช่น การออกแบบ New Media การบริการความคิดสร้างสรรค์ เป็นสาขาที่มีมูลค่าสูงที่สุด รองลงมา คือ กลุ่มมรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) กลุ่มสื่อ (Media) และกลุ่มศิลปะ (Art) และในปี พ.ศ. 2553 การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของไทยก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในแต่ละอุตสาหกรรมรวมกันสูงถึง 1.11 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 10.33 ของสัดส่วนมูลค่าเพิ่มต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ

               นอกจากนี้ จากข้อมูลรายงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ Creative Economy Report ปี พ.ศ. 2553 ซึ่งจัดทำโดยองค์การอังก์ถัดพบว่า ในปี พ.ศ. 2551 ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในอันดับที่ 19 ของโลก โดยคิดเป็นมูลค่าถึง 5,077 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.25 ของส่วนแบ่งในตลาดโลก และในกลุ่มประเทศกําลังพัฒนาประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสร้างสรรคอันดับที่ 6 และมีอัตราเติบโตจากปี พ.ศ. 2546 คิดเป็นร้อยละ 10.3 และเมื่อพิจารณาสัดส่วนการส่งออกสินค้าที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยเปรียบเทียบกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วพบว่า ไทยมีมูลค่าการส่งออกสูงที่สุดและมีแนวโน้มเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอัตราดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของไทยในการใช้การสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รองลงมาได้แก่ ประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ โดยประเทศที่นําเข้าสินค้าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สูงที่สุด คือ ประเทศสิงคโปร์ รองลงมาได้แก่ ประเทศมาเลเซีย และไทย ตามลำดับ

               ซึ่งจากตัวเลขมูลค่าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยข้างต้น  ได้สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสและศักยภาพของประเทศไทยที่จะใช้อุตสาหกรรมสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในด้านของการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ การเพิ่มระดับการจ้างงาน สร้างอาชีพ นอกจากนี้ อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ยังมีบทบาทในมิติอื่นๆ เช่น มิติทางด้านสังคมและวัฒนธรรม โดยประเทศไทยสามารถใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือในการยกระดับการศึกษา การพัฒนาแรงงานภายใน ประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำภายในสังคม การแสดงออกซึ่งวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น รวมทั้งการสร้างความร่วมมือทางด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

               และเพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการใช้การสร้างสรรค์เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ กรมทรัพย์สินทางปัญญาได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมและพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมแขนงต่างๆ ในแต่ละจังหวัดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการของท้องถิ่น ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจและการแข่งขันในตลาด รวมถึงเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จัก จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมเมืองต่อยอดนวัตกรรมสร้างสรรค์ด้วยทรัพย์สินทางปัญญาขึ้น โดยเป็นการดำเนินกิจกรรมต่อเนื่องจากโครงการเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วระหว่างปี พ.ศ. 2553 – 2554 เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์และพัฒนาต่อยอดเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ดังกล่าวให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าและบริการเพื่อให้มีศักยภาพในเชิงเศรษฐกิจ และสามารถแข่งขันในตลาดทั้งภายในและต่างประเทศได้อย่างมีศักยภาพ รวมทั้งเป็นการสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือระหว่างกันในทุกภาคส่วน อันจะก่อให้เกิดแบบอย่างที่ดีแก่จังหวัดอื่นๆ ในการนำภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม หรือประเพณีท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานมาใช้เป็นพื้นฐานในการสร้างสรรค์สินค้าและบริการเพื่อเพิ่มมูลค่าและต่อยอดไปสู่การแข่งขันในระดับสากล

               ทั้งนี้ การดำเนินกิจกรรมส่งเสริมเมืองต่อยอดนวัตกรรมสร้างสรรค์ด้วยทรัพย์สินทางปัญญาในปีนี้จะดำเนินการโดยการเชิญจังหวัดที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์จำนวน 10 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท เชียงราย เชียงใหม่ น่าน เพชรบุรี มหาสารคาม ยะลา ลพบุรี ลำปาง และอ่างทอง ให้ส่งข้อเสนอเพื่อเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกให้เหลือจังหวัดที่มีแนวคิดในการต่อยอดสินค้าหรือบริการโดยการใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมสร้างสรรค์ด้านทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้การร่วมมือกันของทุกภาคส่วนในการพัฒนาชุมชนโดยให้ความสำคัญกับการนำแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรมที่มีอยู่มาใช้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจ มีศักยภาพในการแข่งขันทั้งในตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ และสามารถเชื่อมโยงกับการเปิดตลาดภายใต้การรวมกลุ่มประชาคมอาเซียน หรือ AEC ซึ่งจะเกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2558 จำนวน 3 จังหวัด ซึ่งการคัดเลือกดังกล่าวจะดำเนินการโดยคณะกรรมการคัดเลือกเมืองต่อยอดนวัตกรรมสร้างสรรค์ด้วยทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒติในสาขาต่างๆ โดยทั้ง 3 จังหวัดที่ได้รับการคัดเลือกนี้ จะได้รับการสนับสนุนงบประมาณสำหรับการดำเนินกิจกรรมพัฒนาต่อยอดสินค้าหรือบริการจังหวัดละประมาณ 2 ล้านบาท พร้อมทั้งจะได้รับโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมซึ่งจัดขึ้นในประเทศหรือต่างประเทศเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการของจังหวัดให้เป็นที่รู้จักอีกด้วย








happy on December 18, 2012, 03:48:25 PM
)

กิจกรรมส่งเสริมเมืองต่อยอดนวัตกรรมสร้างสรรค์ด้วยทรัพย์สินทางปัญญากระทรวงพาณิชย์
เดินหน้าผลักดัน 10 เมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์
สู่เมืองต่อยอดนวัตกรรมสร้างสรรค์ด้วยทรัพย์สินทางปัญญา


               นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า  “กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา จัดกิจกรรมส่งเสริมเมืองต่อยอดนวัตกรรมสร้างสรรค์ด้วยทรัพย์สินทางปัญญา ภายใต้โครงการส่งเสริมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ด้วยทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์และการพัฒนาต่อยอดเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ผ่านการคัดเลือกจากโครงการเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative City) ซึ่งดำเนินการระหว่างปี 2553 – 2554 จำนวน 10 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท เชียงราย เชียงใหม่ น่าน เพชรบุรี มหาสารคาม ยะลา ลพบุรี ลำปาง และอ่างทอง ให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าหรือบริการของจังหวัดและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันอย่างต่อเนื่องทั้งในตลาดภายในและต่างประเทศ และเพื่อกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมและให้ความสำคัญกับการนำเศรษฐกิจสร้างสรรค์และทรัพย์สินทางปัญญามาเป็นเครื่องมือในการสร้างรายได้และเพิ่มศักยภาพให้แก่ท้องถิ่น รวมทั้งสร้างแบบอย่างที่ดีในการใช้ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม หรือประเพณีท้องถิ่นมาสร้างสรรค์สินค้าและบริการให้แก่จังหวัดอื่นๆ เพื่อเป็นต้นแบบสำคัญสำหรับการพัฒนาสินค้าและบริการที่มีความคล้ายคลึงกันให้เกิดมูลค่าเพิ่มและต่อยอดไปสู่ระดับสากล

               นอกจากนี้จากข้อมูลรายงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ Creative Economy Report ปี พ.ศ. 2553 ซึ่งจัดทำโดยองค์การอังก์ถัดพบว่า ในปี พ.ศ. 2551 ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในอันดับที่ 19 ของโลก โดยคิดเป็นมูลค่าถึง 5,077 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นร้อยละ 1.25 ของส่วนแบ่งในตลาดโลก และในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์อันดับที่ 6 ทั้งนี้การส่งออกสินค้าที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยเปรียบเทียบกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วพบว่า ไทยมีมูลค่าการส่งออกสูงที่สุดและมีแนวโน้มเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของไทยในการใช้ความคิดสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รองลงมาได้แก่ ประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ โดยประเทศที่นําเข้าสินค้าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สูงที่สุด คือ ประเทศสิงคโปร์ รองลงมาได้แก่ ประเทศมาเลเซีย และไทย ตามลำดับ เป็นเรื่องที่น่าภูมิใจอย่างยิ่งในการเดินหน้าขับเคลื่อนโครงการการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ด้วยทรัพย์สินทางปัญญา

               อย่างไรก็ตามการดำเนินกิจกรรมในปีนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะดำเนินการเชิญ 10 จังหวัดข้างต้น ให้ส่งข้อเสนอเพื่อเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกให้เหลือ 3 จังหวัด ที่มีแนวคิดในการต่อยอดสินค้าหรือบริการโดยการใช้องค์ความรู้หรือนวัตกรรมสร้างสรรค์ด้านทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้การร่วมมือกันของทุกภาคส่วนในการพัฒนาชุมชน โดยให้ความสำคัญกับการนำแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และศิลปวัฒนธรรมที่มีอยู่มาใช้เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่มีมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจ มีศักยภาพในการแข่งขันทั้งในตลาดภายในประเทศและต่างประเทศ และสามารถเชื่อมโยงกับการเปิดตลาดภายใต้การรวมกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 2558 โดยการคัดเลือกจะดำเนินการโดยคณะกรรมการคัดเลือกเมืองต่อยอดนวัตกรรมสร้างสรรค์ด้วยทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งมีพลเรือเอกฐนิธ กิตติอำพล อดีตผู้อํานวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (OKMD) เป็นประธาน พร้อมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ ทั้งจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรมพัฒนาชุมชน กรมส่งเสริมวัฒนธรรม การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และกรมทรัพย์สินทางปัญญา โดย 3 จังหวัดที่ได้รับการคัดเลือกจะได้รับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาต่อยอดสินค้าหรือบริการ จังหวัดละประมาณ 2 ล้านบาท พร้อมทั้งจะได้รับโอกาสในการเข้าร่วมกิจกรรมซึ่งจัดขึ้นในประเทศหรือต่างประเทศเพื่อประชาสัมพันธ์สินค้าหรือบริการของจังหวัดให้เป็นที่รู้จักอีกด้วย

               การดำเนินงาน “กิจกรรมส่งเสริมเมืองต่อยอดนวัตกรรมสร้างสรรค์ด้วยทรัพย์สินทางปัญญา” ในครั้งนี้ เป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญ ที่แสดงให้เห็นว่าการนำความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในการพัฒนาประเทศและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ จะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในภูมิภาคอาเซียน และเป็นการเตรียมความพร้อมในการร่วมพัฒนาอาเซียนให้เป็นศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ต่อไป ”  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวสรุป
« Last Edit: December 18, 2012, 03:53:42 PM by happy »

happy on December 18, 2012, 03:58:01 PM
1.   ความเป็นมา

               รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของการนำความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศเพื่อสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่สินค้าและบริการของชุมชนในท้องถิ่นรวมถึงส่งเสริมการท่องเที่ยวในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วทุกภูมิภาค เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและรายได้ให้แต่ละพื้นที่ด้วยการต่อยอดภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และการท่องเที่ยว ให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ โดยกำหนดให้การส่งเสริมการพัฒนาเมืองสร้างสรรค์ เป็นหนึ่งในหัวข้อสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ  ภายใต้การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (2555 – 2559) ที่กำหนดทิศทางการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศบนฐานความรู้ที่เน้นการใช้ความคิดสร้างสรรค์และการสร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างสรรค์สินค้าและบริการ รวมถึงการพัฒนาปัจจัยแวดล้อมต่างๆ ของพื้นที่ทั้งด้านกายภาพ ทรัพยากรมนุษย์ การบริหารจัดการที่เอื้อต่อการพัฒนาเครือข่ายธุรกิจที่มีเอกลักษณ์และสามารถสะท้อนถึงตัวตนของพื้นที่ดังกล่าวเพื่อดึงดูดการลงทุนให้เข้ามายังพื้นที่หรือสร้างบรรยากาศหรือสภาวะที่เอื้อต่อการเรียนรู้และพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เพื่อเป็นช่องทางสำหรับการแสดงออกของผู้สร้างสรรค์ในสาขาต่าง ๆ

               ทั้งนี้ จากการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพบว่า ในปี 2552 สินค้าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยมีมูลค่าสูงถึง 912,378 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 12 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ ประกอบกับผลการศึกษาของ UNCTAD ได้จัดอันดับผู้ส่งออกสินค้าที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยไว้ในลำดับที่ 19 ของโลก โดยคิดเป็นมูลค่าถึง 5,077 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือร้อยละ 1.2 ของส่วนแบ่งในตลาดโลก และคิดเป็นลำดับที่ 6 ของกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและเมื่อพิจารณาสัดส่วนการส่งออกสินค้าที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของไทยเปรียบเทียบกับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แล้วพบว่าไทยมีมูลค่าการส่งออกสูงที่สุด และมีแนวโน้มเพิ่มระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องซึ่งอัตราดังกล่าวได้สะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพของไทยในการใช้การสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

               เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการใช้การสร้างสรรค์เป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ กรมทรัพย์สินทางปัญญาจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของการส่งเสริมและพัฒนาต่อยอดภูมิปัญญาและศิลปวัฒนธรรมแขนงต่าง ๆ ในแต่ละจังหวัดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการของท้องถิ่น ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจและการแข่งขันในตลาด รวมถึงเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่นให้เป็นที่รู้จัก จึงได้จัดกิจกรรมส่งเสริมเมืองต่อยอดนวัตกรรมสร้างสรรค์ด้วยทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อพัฒนาศักยภาพและสร้างโอกาสให้แก่ท้องถิ่นต่าง ๆ ในการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์โดยอยู่บนพื้นฐานของการใช้ภูมิปัญญา รวมถึงส่งเสริมให้รู้จักและตระหนักถึงความสำคัญของการปกป้องคุ้มครองความคิดสร้างสรรค์ของตนภายใต้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อเป็นการหวงแหนภูมิปัญญาให้เป็นมรดกของท้องถิ่นของตนและประเทศชาติต่อไป

2.   วัตถุประสงค์

2.1   เพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์และการพัฒนาต่อยอดเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ผ่านการ           คัดเลือกจากโครงการเมืองต้นแบบเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative City) ในปี 2554 ให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มในสินค้าหรือบริการของจังหวัดและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันอย่างต่อเนื่องทั้งในตลาดภายในและต่างประเทศ
2.2   เพื่อกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจให้ผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมและให้ความสำคัญกับการนำเศรษฐกิจสร้างสรรค์และทรัพย์สินทางปัญญามาเป็นเครื่องมือในการสร้างรายได้และเพิ่มศักยภาพให้แก่ท้องถิ่น
2.3   เพื่อสร้างแบบอย่างที่ดีในการใช้ภูมิปัญญา ศิลปวัฒนธรรม หรือประเพณีท้องถิ่นมาสร้างสรรค์สินค้าและบริการให้แก่จังหวัดอื่น ๆ เพื่อเป็นต้นแบบสำคัญสำหรับการพัฒนาสินค้าและบริการที่มีความคล้ายคลึงกันให้เกิดมูลค่าเพิ่มและต่อยอดไปสู่ระดับสากล