YAHOO on April 10, 2011, 04:41:56 PM
MOVIE: Enemies of the People 19 พฤษภาคม

ภาพยนตร์สารคดีโดย ร็อบ เลมกิ้น และ เต็ต สัมบัท "ศัตรูประชาชน"


 
 
          ศัตรูประชาชน

          อังกฤษ/กัมพูชา • ปี 2553 • 95 นาที
          16:9 • Stereo • ดิจิตัล
          ภาษาเขมรและอังกฤษ มีคำบรรยายภาษาไทยและอังกฤษ

          เข้าฉายในประเทศไทย วันที่ 19 พฤษภาคม 2554 ที่โรงภาพยนตร์ SF World เซ็นทรัลเวิลด์ เรต 18+

          อำนวยการสร้างโดย โอลด์สตรีทฟิล์ม ประเทศอังกฤษ
          จัดจำหน่ายในประเทศไทยโดย เอ็กซ์ตร้า เวอร์จิ้น

          กำกับ / อำนวยการสร้าง / เขียนบท: Rob Lemkin, Thet Sambath
          ตัดต่อ: Stephan Ronowicz
          ดนตรีประกอบ: Daniel Pemberton

          ติดต่อ - บริษัท เอ็กซ์ตร้า เวอร์จิ้น จำกัด - ผู้ประสานงานโครงการ – คุณไพลิน
          ซอยพหลโยธิน 33, ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
          โทร: 02 939 4343 แฟ็กซ์: 02 939 5573 E-mail: office@extravirginco.com  www.extravirginco.com/enemiesofthepeople

เรื่องย่อ

          ในปี 1974 พ่อของเต็ต สัมบัทกลายเป็นหนึ่งในผู้คนราว 2 ล้านคนที่ถูกเขมรแดงสังหาร เพียงเพราะไม่ยอมส่งมอบควายให้ส่วนกลาง ในขณะที่แม่ของเขาถูกบังคับให้แต่งงานกับนายทหารของกองทัพเขมรแดงและตายจากการคลอดลูกในปี 1976 ส่วนพี่ชายของเขาหายสาบสูญไปในปี 1977 สำหรับตัวของเขาได้หนีออกจากกัมพูชาภายหลังการล่มสลายของระบอบเขมรแดงในปี 1979 ซึ่งในขณะนั้นเขามีอายุเพียงแค่ 10 ขวบ

          เวลาผ่านไปถึงปี 1998 เต็ตกลายเป็นผู้สื่อข่าว เขาได้มีโอกาสรู้จักกับลูกของนายทหารอาวุโสของกองทัพเขมรแดง จนเมื่อสนิทสนมและได้รับความไว้วางใจ เขาจึงได้รับโอกาสในการเดินทางไปพบกับนายนวนเจีย 'พี่ชายหมายเลข 2’ ผู้นำของเขมรแดงที่อาวุโสที่สุดที่ยังมีชีวิตอยู่
 
ประวัติผู้กำกับ

          ร็อบ เลมกิ้น (Rob Lemkin) เป็นผู้ก่อตั้งและผู้กำกับของ Old Street Films เขาเคยเป็นโปรดิวเซอร์และกำกับสารคดีกว่า 50 เรื่อง ให้กับ บีบีซี, Channel 4, ITV, Sky, The History Channel และ Arts & Entertainment ผลงานของเขากวาดรางวัลมาแล้วทั้งในอังกฤษและต่างประเทศ รวมถึงฉายในสถานีโทรทัศน์ที่ฉายรายการสารคดี อย่าง C4, BBC และ ITV งานของเลมกิ้นมักพูดถึงประวัติศาสตร์และการเมืองในภูมิภาคเอเชีย เช่นใน “The Real Dr Evil” (2003) “Who Really Killed Aung San?” (1997) “Malaya: The Undeclared War” (1998) “China: Handle with Care” (2001) และ “Bearers of the Sword” (2002) ทุกวันนี้เลมกิ้นพำนักในเมืองอ๊อกซ์ฟอร์ดกับภรรยาและลูกๆ อีกสี่คน

          เต็ต สัมบัท (Thet Sambath) เป็นนักข่าวอาวุโสของหนังสือพิมพ์พนมเปญ โพสต์ ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษที่เก่าแก่ที่สุดของกัมพูชา เขาเป็นที่รู้จักในฐานะของนักข่าวแนวสืบสวนที่เก่งที่สุดคนหนึ่งของกัมพูชา งานข่าวของเขาถูกขายไปยังสำนักข่าวทั่วทุกมุมโลก นอกจากนี้เขายังเคยเป็นเจ้าหน้าที่กู้ชีพขั้นสูงในค่ายผู้ลี้ภัยชายแดนไทย-กัมพูชา เป็นล่ามตำรวจให้องค์การบริหารชั่วคราวของสหประชาชาติในกัมพูชา และเจ้าหน้าที่สอบสวนด้านสิทธิมนุษยชนให้กับกลุ่มลิคาโดซึ่งเป็นองค์กรเอกชนทางด้านสิทธิมนุษยชนในกัมพูชา ตั้งแต่ปี 1994 เขาเป็นโปรดิวเซอร์ ล่าม และตากล้องให้กับสถานีโทรทัศน์ อย่าง BBC WGBH Frontline NHK และ NBC ในปี 2002 เขาได้เดินทางไปสหรัฐอเมริกาด้วยทุนเจฟเฟอร์สัน ปัจจุบัน เต็ตอาศัยอยู่ที่กรุงพนมเปญกับภรรยาและลูกอีกสองคน
 
สารจากผู้กำกับ

          Thet Sambath
          พ่อของผมเป็นชนชั้นกรรมาชีพคนหนึ่ง เขาถูกเขมรแดงฆ่าในปีค.ศ. 1974 เพราะปฎิเสธไม่ยอมยกควายให้ แม่ของผมถูกบังคับให้แต่งงานกับนายทหารเขมรแดง และเสียชีวิตหลังคลอดลูกในปี 1976 ขณะที่พี่ชายของผมหายสาบสูญไปเมื่อปี 1977 โดยผมมาทราบตอนหลังว่าเป็นช่วงการกวาดล้างใหญ่ของพรรคคอมมิวนิสต์ในหมู่บ้านของเรา
          เมื่อตอนที่เขมรแดงล่มสลายในปี 1979 ผมซึ่งตอนนั้นอายุ 10 ขวบ ได้หลบหนีไปอยู่ในค่ายผู้อพยพติดกับชายแดนไทย ผมเรียนภาษาอังกฤษจากมิชชั่นนารี่ชาวอเมริกันแล้วก็ค่อยๆ เริ่มทำงานเป็นผู้ประสานงานให้กับองค์กรสื่อต่างๆ ในพนมเปญในช่วงปี 1990
          ตลอดช่วงเวลานั้นผมไม่เคยเข้าใจจริงๆ ว่าเกิดอะไรขึ้นในยุคเขมรแดง ผมอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ ซึ่งแทบทั้งหมดเขียนโดยชาวต่างชาติ แต่มันก็ยังดูไม่เป็นเหตุผลสำหรับผม ว่าทำไมถึงมีคนถูกฆ่ามากมายถึงขนาดนี้ มันคงไม่ใช่แค่ว่าเขมรแดงเป็นคนไม่ดี
          ในปี 1998 เนื่องจากผมทำงานเป็นนักข่าว ผมจึงได้มีโอกาสรู้จักกับหลายๆ คนที่เป็นลูกของอดีตนายทหารเขมรแดงระดับสูง แม้ภรรยาของผมจะไม่พอใจค่อนข้างมาก แต่ในช่วง 4 ปีหลังจากนั้น ผมก็ได้ใช้เวลาทุกสุดสัปดาห์ไปกับการไปเยี่ยมบ้านของนวนเจีย หรือ พี่ชายหมายเลขสอง ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้นำเขมรแดงอาวุโสที่สุดที่ยังชีวิตอยู่
          แต่เขาเองไม่เคยพูดอะไรมากไปกว่าเรื่องเดิมๆ ที่เขาบอกกับนักข่าวต่างชาติมาตลอด เช่น “ฉันเป็นแค่เจ้าหน้าที่ระดับล่าง” “ฉันไม่รู้อะไรเลย” “ฉันไม่ได้ฆ่าใคร”
          จนวันหนึ่งเขาบอกผมว่า “สัมบัท ฉันเชื่อใจเธอ เธอเป็นคนที่ฉันอยากจะเล่าเรื่องของฉันให้ฟัง ถามฉันมาว่าเธออยากรู้อะไรบ้าง” และในระหว่าง 5 ปีต่อจากนั้นมาเขาก็เล่าความจริงให้ผมฟังตามสิ่งที่เขาประสบมา รวมถึงรายละเอียดเรื่องการสั่งฆ่าด้วย
          ตลอดช่วงเวลานั้นผมเองก็ได้ใช้ความพยายามอย่างสาหัสในการสร้างเครือข่ายกับเหล่านักฆ่าเขมรแดงเพื่อจะหาคนที่ยอมคุยกับผมเรื่องนี้ ในกัมพูชามีคนเหล่านี้อยู่หลายพันคนแต่ไม่เคยมีใครยอมรับสารภาพ การหาตัวคนเหล่านี้มาได้นั้นเหมือนต้องงมเข็มในมหาสมุทร
กลุ่มคนสุดท้ายที่ผมเจอคือคนที่เป็นผู้วางแผน เป็นพวกที่พยายามจะล้มพลพตกับนวนเจีย ถ้าขาดคนเหล่านี้ไปเราจะไม่สามารถเข้าใจความเป็นไปของทุ่งสังหารได้ แต่อย่างไรก็ตาม คนที่เหลือรอดมาได้เหล่านั้นต่างไม่มีใครที่ยอมพูดเรื่องนี้เลย
แหล่งข่าวของผมล้วนแต่เป็นคนชนบท เพราะสมาชิกเขมรแดงประกอบด้วยคนชนบททั้งหมด พวกเขาจะไม่ยอมพูดกับคนเมืองเลยด้วยซ้ำ อย่าว่าแต่คนต่างชาติเลย ตัวผมเองก็เป็นคนชนบท ผมคิดว่านั่นเป็นสาเหตุที่ท้ายที่สุดแล้วพวกเขาเหล่านั้นยอมพูดกับผม เพราะผมเองก็เหมือนกับเขา
          ในปี 2005 ผมเริ่มวางแผนจะเขียนเรื่องนี้เป็นหนังสือ แต่ผมก็กังวลว่าจะไม่มีใครเชื่อสิ่งที่ผมเล่า ผมเลยเริ่มอัดเสียงบทสัมภาษณ์ทั้งหมดที่ผมทำ แต่ผมก็ยังกังวลอยู่ว่าคนอาจจะยังไม่เชื่ออีก ดังนั้น ในปี 2006 ผมเริ่มถ่ายบทสัมภาษณ์และการพูดคุยของผมเป็นวิดีโอเทปไว้ด้วย
          ในปีเดียวกันนั้น ผมได้พบกับร๊อบ และเราตัดสินใจทำเรื่องนี้ออกมาเป็นภาพยนตร์สารคดีเกี่ยวกับผลงานที่ผมทำและเรื่องความลับของเขมรแดง
          หลายคนอาจบอกว่าการไปพูดคุยกับฆาตกรและยึดติดกับความเลวร้ายในอดีตไม่ได้ส่งผลดีอะไรขึ้นมา แต่ผมมองว่าบุคคลเหล่านั้นเขาเสียสละอย่างมากในการมาเล่าความจริง พวกเขาทำดีที่กล้าสารภาพ อาจจะเป็นความดีอย่างเดียวที่เหลือที่ยังทำได้อยู่ด้วยซ้ำ พวกเขาเหล่านี้ และรวมไปถึงเหล่านักฆ่าคนอื่นๆ จะต้องเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการปรองดองหากต้องการให้ประเทศของเราเดินหน้าต่อไป

          Rob Lemkin
          เมื่อสิบปีที่แล้วผมเคยทำสารคดีให้ BBC เกี่ยวกับนักปฎิวัติลึกลับมาเลเซียชื่อ จินเป็ง เขาได้มาร่วมงานตอนที่หนังฉายเปิดตัวที่ลอนดอน และตอนที่กำลังนั่งแท๊กซี่กลับสนามบิน เขาเล่าให้ผมฟังว่าเมื่อปี 1975 ประธานเหมา เจ๋อตุงได้ส่งเขาไปอยู่กับพลพต เขาบอกผมว่าในความเป็นจริงนั้น พลพตต่างจากที่คนส่วนใหญ่คิดไว้มาก พลพตเคยยอมรับกับเขาว่า หลังจากได้รับอำนาจมาแล้วก็ทำอะไรไม่ถูก ไม่เข้าใจความเป็นไปของเหตุการณ์รอบตัว เหมือนกระต่ายที่โดนแสงไฟรถส่องเข้าตาจนตกใจลนลานนึกอะไรไม่ออก ซึ่งชินเป็งคิดว่านี่เป็นสาเหตุให้เกิดโศกนาฎกรรมทุ่งสังหารขึ้น
          ภาพของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่เกิดจากความสับสนวุ่นวายและไร้ประสบการณ์ของผู้เกี่ยวข้องเหล่านี้ฝังอยู่ในใจของผม จนในปี 2006 ผมเดินทางไปพนมเปญและได้พบกับสัมบัท ผมพบว่าเราสองคนมีความคิดเรื่องการศึกษาประวัติศาสตร์ในมุมมองใหม่ๆ ตามแบบของนักข่าวสืบสวนสอบสวนเหมือนกัน และผมก็พบด้วยว่าเขาเองก็กำลังเดินไปในเส้นทางเดียวกันเพื่อเข้าถึงหัวใจของทุ่งสังหาร แต่ตัวเขาถลำเข้าไปลึกกว่ามาก และมันเป็นเรื่องความเป็นความตายของตัวเขาเองด้วย
          ตัวผมเองแม้แทบไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับประเทศกัมพูชาเลย แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เพราะครอบครัวทางฝั่งพ่อของผมหลายคนก็ถูกกองทัพนาซีฆ่า รวมถึงญาติห่างๆ ของผมคนหนึ่ง คือ Raphael Lemkin ก็เป็นผู้บัญญัติคำว่า “genocide” ในภาษาอังกฤษด้วย
          ผมมองสัมบัทในฐานะคนที่กำลังพยายามหาเหตุผลให้กับฝันร้ายในวัยเด็กของเขา เมื่อใดที่เขาเข้าใจความหมายของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เขากำลังตามหามันอยู่ มันจะทำให้เขาบรรลุถึงความสงบภายใน ในการที่จะสามารถเอาความสูญเสียในชีวิตส่วนตัวเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์โดยรวม
          นอกจากนี้ผมยังมองเขาในฐานะตัวแทนของคนรุ่นที่สอง ที่กำลังพยายามค้นหาความจริงจากคนรุ่นแรก เพื่อที่จะได้นำความหมายของเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ไปถ่ายทอดให้กับคนรุ่นที่สามต่อไป ซึ่งในทางนี้ก็จะเหมือนกับเรื่องที่เกิดขึ้นในประเทศอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น เยอรมัน อาฟริกาใต้ ไอร์แลนด์เหนือ ยูโกสลาเวีย ระวันด้า อิรัก หรือซูดาน

          เหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์
          ในปี 2006 หลังจากที่มีการเจรจาในระดับนานาชาติมาหลายสิบปี สหประชาชาติและรัฐบาลกัมพูชาได้ร่วมกันจัดตั้งศาลพิเศษเพื่อทำการดำเนินคดีกลุ่มผู้นำเขมรแดงระดับสูงในคดีนานาชาติ เรียกว่า องค์คณะไต่สวนพิเศษของศาลกัมพูชา (Extraordinary Chambers in the Courts of Cambodia หรือ ECCC)
          เดือนกันยายน 2007 ศาลได้ควบคุมตัวนวนเจีย ร่วมกับอดีตผู้นำเขมรแดงคนอื่นๆ ในข้อหาอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และอาชญากรรมสงคราม และศาลมีกำหนดไต่สวนคดีในช่วงต้นปี 2011 นี้
          คดีนี้ ปัจจุบันกำลังเป็นที่จ้องจับตาในประชาคมโลก และหลายฝ่ายต่างคาดหวังว่าการไต่สวนในชั้นศาลจะนำไปสู่ความยุติธรรมให้กับผู้สูญเสีย แต่ก็มีข้อเคลือบแคลงว่าความจริงทั้งหมดในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก็อาจจะยังไม่ได้ถูกเปิดเผยออกมา

          ความคืบหน้าล่าสุด
          ในระหว่างปี 2009 ทาง ECCC ได้ดำเนินการไต่สวนคดีแรก คือคดีของสหายดุช อดีตผู้คุมเรือนจำตวลสเลง ซึ่งถูกตั้งข้อหาในฐานะเป็นผู้รับผิดชอบในความตายของนักโทษกว่า 10,000 คนในพนมเปญ โดยในวันที่ 26 กรกฎาคม 2010 ศาลได้ตัดสินให้ดุชมีความผิด ต้องโทษจำคุก 35 ปี และล่าสุดผู้ต้องหาได้ยื่นอุทธณ์ โดยมีกำหนดการพิจารณาคดีในขั้นต่อไปในเดือนมีนาคม 2011 นี้
          ในขณะเดียวกันก็มีการเตรียมการไต่สวนคดีใหญ่คู่ไปด้วย โดยในเดือนธันวาคม 2009 ECCC ได้มีการเพิ่มข้อหาการฆ่าล้างผ่าพันธุ์เข้าไปในเอกสารคดีของนวนเจีย และอดีตผู้นำเขมรแดงอีกสามคน ประกอบด้วย เขียว สัมพัน อดีตประมุขกัมพูชา, เอียง ธิริธ อดีตรัฐมนตรีกิจการสังคม และสามี เอียง ซารี อดีตรัฐมนตรีต่างประเทศ ศาลมีกำหนดสิ้นสุดการสืบสวนคดีในเร็วๆ นี้
          ปัจจุบันคาดว่าการไต่สวนคดีของนวนเจียและผู้นำคนอื่นๆ ซึ่งจะเปิดเผยออกสู่สาธารณะ จะเริ่มขึ้นในช่วงกลางปี 2011
          หลายๆ คนเกรงว่าจำเลยวัยอาวุโสเหล่านั้นอาจมีชีวิตอยู่ไมถึงทันฟังคำตัดสินคดี

ประวัติบุคคลในเรื่อง
          นวนเจีย หรือ “พี่ชายหมายเลขสอง” เกิดในปี 1925 ที่พระตะบอง และศึกษาวิชากฎหมายที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในกรุงเทพฯ เข้าร่วมกองกำลังต่อต้านเขมรในปี 1949 และเป็นผู้นำขบวนการใต้ดินในพนมเปญในช่วงปี 1950 เขาได้รับการแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์กัมพูชา ในปี 1960 และเป็นผู้ตัดสินใจแต่งตั้งพลพตเป็นเลขาธิการพรรคในปี 1962 รวมถึงเป็นประธานคณะกรรมการสมัชชาแห่งชาติกัมพูชาระหว่างปี 1976-1979
          เขาออกจากเขมรแดงเมื่อระบอบล่มสลายในปี 1998 และถูกจับกุมในเดือนกันยายน 2007 โดยศาลพิเศษของสหประชาชาติกรณีเขมรแดง เขาถูกตั้งข้อหาอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ และคดีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในเดือน ธันวาคม 2003 ปัจจุบันเขาถูกจำคุกในพนมเปญ โดยมีกำหนดเริ่มไต่สวนในปี 2011

          คูน เข้าร่วมคณะทหารเขมรแดงในปี 1970 และหลังจากชัยชนะของเขมรแดงในปี 1975 เขาได้เข้าเป็นเจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองทหารของฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ และถูกแต่งตั้งให้มาควบคุมดูแลสหกรณ์ช่วงระหว่างปี 1976 – 1978 เขาเป็นผู้คุมการสังหารหมู่ทหารจากระบอบเดิม รวมถึงชนกลุ่มน้อยที่ต้องสงสัย และผู้ที่ถูกเนรเทศจากฝั่งตะวันออก เขาได้ยอมรับว่าเป็นผู้คุมการสังหารกว่า 3500 คนในยุคเขมรแดง

          สูน เข้าร่วมคณะทหารเขมรแดงในปี 1970 ต่อมาปี 1975 ได้ขึ้นเป็นผู้นำกองทหารของสหกรณ์ในฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือ ในระหว่างปี 1976 ถึง 1978 เขาได้ยอมรับว่าเป็นผู้สังหารชาวเขมรกว่า 200 คน ที่ถูกกล่าวหาว่าเป็น “ศัตรูประชาชน” และเขาทำงานอยู่ในคณะสังหารที่ดำเนินการโดยคูน
          ตั้งแต่ปี 1979 เขาใช้ชีวิตเป็นเกษตรกรในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกัมพูชา

          พี่ “เอม” เข้าร่วมฝ่ายการเมืองของเขมรแดงในปี 1973 และทำงานเป็นหัวหน้าเขตในฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือระหว่างปี 1975 – 1979 ซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้สั่งการฆ่าบุคคลจำนวนหลายพันที่ถูกต้องสงสัยว่าเป็นศัตรูของพรรค ปัจจุบันเขาใช้ชีวิตในชื่อใหม่ในกัมพูชา ในฐานะนักการเมืองอาวุโสในการปกครองท้องถิ่น

          เทศกาลและรางวัล
          ภาพยนตร์เรื่อง ศัตรูประชาชน (Enemies of the People) ฉายเปิดตัวที่เทศกาลสารคดี IDFA ประเทศเนเธอร์แลนด์ และต่อมาฉายเข้าประกวดที่ Sundance Film Festival ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้รับรางวัล Special Jury Prize for World Cinema Documentary
          ในรอปปีที่ผ่านมา ภาพยนตร์ได้เข้าร่วมฉายในหลากหลายเทศกาลทั่วโลก รวมถึงได้รับรางวัลมากมาย อาทิ รางวัล Best Documentary ที่งาน 2010 British Independent Film Awards, รางวัลOutstanding Documentary ที่งาน 2010 Hong Kong International Film Festival และรางวัล Grand Jury Award ที่งาน 2010 Full Frame Documentary Festival
          ภาพยนตร์เรื่องนี้ได้ออกฉายที่ประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา และการเข้าฉายในประเทศไทยนี้ ถือเป็นการฉายครั้งแรกในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้นอกประเทศกัมพูชา
          ปัจจุบัน ทางทีมงานกำลังอยู่ในระหว่างการเตรียมการและถ่ายทำภาพยนตร์ภาคต่อ
          สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถชมได้ที่เว็บไซท์ www.enemiesofthepeoplemovie.com
 
          สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 029394343 Extra Virgin
« Last Edit: May 15, 2011, 06:23:05 PM by happy »

PR on May 07, 2011, 06:55:51 PM
A film by Rob Lemkin & Thet Sambath "Enemies of the People"


 
          Enemies of the People
          UK/Cambodia • 2010 • 95 minutes
          16:9 • Stereo • Digital
          In English and Cambodian with Thai and English subtitles

          Thailand Theatrical Release Date: 19 May 2011 (Rate: 18) at SF World cinema, CentralWorld

          An OLD STREET FILMS Production (UK)
          An EXTRA VIRGIN Release (Thailand)

          Directors / Producers / Writers: Rob Lemkin, Thet Sambath
          Editors: Stephan Ronowicz
          Music: Daniel Pemberton

          Contact: 99 Soi Phaholyothin 33, Phaholyothin Road, Bangkok 10900 THAILAND
          Tel: 02 939 4343, Fax: 02 939 5573, office@extravirginco.comwww.extravirginco.com/enemiesofthepeople

          Synopsis

          In 1974, Thet Sambath's father became one of the nearly two million people who were murdered by the Khmer Rouge when he refused to give them his buffalo.

          Sambath's mother was forced to marry a Khmer Rouge militiaman and died in childbirth in 1976, while his eldest brother disappeared in 1977. Sambath himself escaped Cambodia at age 10 when the Khmer Rouge fell in 1979.

          Fast forward to 1998, and Sambath, now a journalist, got to know the children of some senior Khmer Rouge cadre and gradually earned their trust. Then, for a decade, he spent weekends visiting the home of the most senior surviving leader, Nuon Chea, aka Brother Number Two under Pol Pot.
 
Directors’ Biography

          Rob Lemkin

          Rob Lemkin is the founder and director of Old Street Films. He has produced and directed over 50 documentaries for BBC, Channel 4, ITV, Sky, The History Channel (US) and Arts & Entertainment. He has won numerous awards in Britain and abroad, and his work has appeared in major documentary strands for C4, BBC and ITV. He has made several films about the history and politics of Asia including The Real Dr Evil (BBC/Arts & Entertainment 2003), Who Really Killed Aung San? (BBC2 1997), Malaya: The Undeclared War (BBC2 1998), China: Handle with Care (C4 2001) Bearers of the Sword (C4 2002). He lives in Oxford with his partner and their four children.

          Thet Sambath

          Thet Sambath is a senior reporter with the Phnom Penh Post, Cambodia's premier English-language newspaper. He is widely regarded as one of Cambodia's best investigative reporters and his stories have been syndicated all over the world. He has worked for the American Refugee Committee as a paramedic on the Thai-Cambodia border; as police interpreter for the United Nations Transitional Authority in Cambodia (UNTAC); and as a human rights investigator for LICADHO. Since 1994 he has worked as producer, translator and camera operator for many world broadcasting organizations including BBC, WGBH Frontline, NHK and NBC. In 2002 he travelled to the US on a Jefferson Scholarship. He lives in Phnom Penh with his wife and their two children.
 
Directors’ Statements

          Rob Lemkin
          Ten years ago I made a BBC documentary about a mysterious Malaysian revolutionary called Chin Peng. Chin Peng came to London for the premiere and in a taxi back to the airport told me that in 1975 Chairman Mao had sent him to stay with Pol Pot. He told me the truth about Pol Pot was very different from popular opinion. He said Pol Pot was like rabbit in the headlights and admitted to him he was out of his depth after seizing power. That was why, Chin Peng thought, the killing fields had happened.
          This image of a genocide caused by chaos and inexperience stayed with me. In 2006 I visited Phnom Penh and met Sambath. I discovered he and I shared the natural revisionism of the investigative journalist. I also discovered he was on the same road to the heart to the killing fields. Only he was much further along; and for him, it was a matter of life and death.
          My personal connection with Cambodia is non-existent. But my connection with genocide is not: many of my father’s family died at the hands of the Nazis and a rather remote relative, Raphael Lemkin, even coined the term ‘genocide’.
          I see Sambath as a man trying to make sense of the nightmare of his childhood. When he finally understands the genocide, as he says he does, he is achieving inner peace and coherence by being able to situate his personal loss in the wider sweep of history.
          I also see him as a representative of the Second Generation, working to ferret out the truth from the First Generation, in order to convey the meaning of history to the Third Generation. In this sense this story could be from Germany, South Africa, Northern Ireland, Yugoslavia, Rwanda, Iraq, Sudan.
 
Thet Sambath
          My father, a middle income peasant, was killed by the Khmer Rouge in 1974 when he refused to give them his buffalo. My mother, forced to marry a Khmer Rouge militiaman, died in childbirth in 1976. My eldest brother disappeared in 1977 in a party purge in our area, I later found out.
          When the Khmer Rouge fell in 1979, I escaped – aged 10 – to a refugee camp on the Thai border. I learnt English from American missionaries and eventually started working as a fixer for media organisations in Phnom Penh in the 1990s.
          Throughout that time I never really understood what happened under the Khmer Rouge. I read history books – almost all by Westerners – but it still didn’t make sense to me: why were so many people killed? It could not be just because the Khmer Rouge were ‘bad people’.
          In 1998 through my work as a journalist I got to know the children of some senior Khmer Rouge cadres. For the next four years and much to my wife’s annoyance, I spent most weekends visiting the home of the most senior surviving leader, Nuon Chea aka Brother Number Two.
But he never used to say anything different from what he told Western journalists: ‘I was low-ranking’, ‘I knew nothing’, ‘I am not a killer’.
          Then one day he said me ‘Sambath, I trust you, you are the person I would like to tell my story to. Ask me what you want to know.’ For the next five years he told me the truth, as he saw it, including all the details of killing.
          Throughout this time I also took pains to create a network of Khmer Rouge killers who would talk to me. There are thousands of people like these in Cambodia but none had ever confessed and finding them is like looking for a needle in the sea.
          My last group of sources was the plotters, the people who were trying to overthrow Pol Pot and Nuon Chea. Without them you cannot understand the Killing Fields. But again, none of the survivors had ever talked.
          My sources are country people. The Khmer Rouge was all country people. They don’t talk to people from the city, let alone foreigners. I am a country person. I think that’s why, in the end, they talk to me. I am one of them.
          In 2005 I started to plan a book. But I worried no-one would believe me. So I began tape-recording all my interviews. Then I worried they still might not believe. So, in 2006, I began videotaping my interviews and meetings.
          That same year (2006) I met Rob and we decided to make this documentary film about my work and the secrets of the Khmer Rouge.
          Some may say no good can come from talking to killers and dwelling on past horror, but I say these people have sacrificed a lot to tell the truth. In daring to confess they have done good, perhaps the only good thing left. They and all the killers like them must be part of the process of reconciliation if my country is to move forward.

          Background

          In 2006, after decades of international negotiations, the United Nations and the Cambodian government set up a unique hybrid tribunal to try the senior leaders of the Khmer Rouge for international crimes. It is called the Extraordinary Chambers in the Courts of Cambodia, or ECCC for short.
In September 2007, the ECCC ordered the arrest of Nuon Chea. He was charged with crimes against humanity and war crimes. His trial is due to begin soon.
          The trials are widely expected to deliver a form of justice but fewer expect the truth finally to come out through this process.
 
           Latest Developments
          During the course of 2009 the ECCC has processed its first case: the trial of Comrade Duch, the prison chief at Tuol Sleng Detention Centre, who is charged with responsibility for the deaths of over 10,000 prisoners in Phnom Penh. On 26 July 2010, he was convicted and sentenced to 35 years of imprisonment. His appeal hearings before the Supreme Court Chamber is scheduled to be held in late March 2011.
          In December 2009, the charge of genocide was added to the indictment sheet against Nuon Chea and three other former senior leaders of the Khmer Rouge: former President and Prime Minister Khieu Samphan, former Minister of Social Action Ieng Thirith and her husband/ former Minister of Foreign Affairs Ieng Sary. The closing order of the investigating judges is expected be completed shortly.
Currently, it is anticipated the public trial of Nuon Chea and the other leaders will start in mid-2011.
Many fear the elderly defendants may not live that long.
 
           Characters’ Biography

          NUON CHEA aka “Brother Number Two” was born in 1925 in Battambang, Cambodia. Studied law at Thammasat University, Bangkok. Joined Khmer resistance in 1949. Led urban underground in Phnom Penh in 1950s. Appointed Deputy Secretary of the Communist Party of Kampuchea (CPK) in 1960. Decided appointment of Pol Pot as Secretary of CPK in 1962. President of the Standing Committee of the National Assembly of Democratic Kampuchea 1976-1979.

          Left the Khmer Rouge as it collapsed in 1998.
          Arrested in September 2007 by the United Nations-backed Khmer Rouge tribunal and charged with international crimes and crimes against humanity. Charged with genocide in December 2009. In prison in Phnom Penh awaiting trial, expected 2011.

          KHOUN joined Khmer Rouge military wing in 1970. After Khmer Rouge liberation in 1975 became a military intelligence commissar in the North-West zone. Assigned to investigate co-operatives from 1976 to 1978. Oversaw killing of soldiers from previous regime, suspect ethnic minorities and deportees from Eastern Zone. Admits to managing killing of over 3,500 people during Khmer Rouge rule.
Briefly arrested in 1979 for mass murder but released for lack of evidence. From 1979 has lived as a peasant farmer in north-west Cambodia.

          SUON joined Khmer Rouge military wing in 1970. In 1975 became militia commander in co-operative in north-west Cambodia. Between 1976 and 1978 admits to killing over 200 Cambodians designated ‘enemies of the people’. Worked in killing units managed by Khoun (above).
Has lived since 1979 as a peasant farmer in north-west Cambodia.

          SISTER ‘EM’ joined Khmer Rouge political wing in 1973. Worked as a District Chief in northwest Cambodia from 1975 to 1979. In that role was responsible for the ordering of many thousands of deaths of suspected enemies of the party.
          Now lives and works under another name elsewhere in Cambodia where she is a senior politician in local government.

Festivals & Awards

          ENEMIES OF THE PEOPLE had its World Premiere at the 2009 International Documentary Festival Amsterdam (IDFA) and North American Premiere at the 2010 Sundance Film Festival, where it won the Special Jury Prize for World Cinema Documentary.
          Since then, the film has been travelling extensively in the international film festivals circuit and won an array of awards including Best Documentary at the 2010 British Independent Film Awards, Outstanding Documentary at the 2010 Hong Kong International Film Festival and Grand Jury Award at the 2010 Full Frame Documentary Festival.
          The film has previously been released theatrically in the UK and the USA and the Thai theatrical release in April 2011 will be the first time the film is screened in Southeast Asia apart outside Cambodia.
The filmmakers are currently in the process of shooting the follow-up film.
          For more information, please visit: www.enemiesofthepeoplemovie.com
 
          Tel: 029394343 Extra Virgin

PR on May 07, 2011, 06:57:03 PM
มองประวัติศาสตร์เขมร เบื้องหลังความขัดแย้งภายในชาติ กับ "ศัตรูประชาชน"
 
          ประเทศเพื่อนบ้านของไทยอย่างกัมพูชานั้น ได้ผ่านยุคดำมืดในประวัติศาสตร์ครั้งใหญ่ในช่วงระหว่างปี 2518-2522 ที่ประเทศอยู่ภายใต้การปกครองของระบอบเขมรแดง โดยจากความขัดแย้งของสองกลุ่มการเมืองที่อยู่กันคนละขั้วอุดมการณ์ ที่แย่งชิงอำนาจปกครองในช่วงที่สถานการณ์ทางการเมืองของประเทศกำลังสั่นคลอนและอยู่ในจุดหัวเลี้ยวหัวต่อ จนเมื่อกลุ่มหนึ่งได้ชัยชนะ และได้นำลัทธิการปฎิรูปเปลี่ยนแปลงประเทศขนานใหญ่ที่มีความเป็นอุดมคติทางทฤษฎีเข้ามาใช้ แต่ในทางปฏิบัติกลับแปรเปลี่ยนมาเป็นความโหดร้ายทารุณต่อเพื่อนร่วมชาติ ที่ถูกมองว่าเป็น “ศัตรูประชาชน” จนนำไปสู่โศกนาฎกรรมการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งใหญ่ของโลก และเป็นรอยร้าวในเบื้องลึกของจิตใจประชาชนชาวเขมรทั้งชาติจนมาถึงปัจจุบันนี้แม้เวลาจะล่วงมากว่า 30 ปี

          ความเป็นมาส่วนหนึ่งของเหตุการณ์เหล่านี้ ได้ถูกถ่ายทอดไว้ในภาพยนตร์สารคดีเรื่อง ศัตรูประชาชน (Enemies of the People) ที่มีกำหนดเข้าฉายในไทย ตั้งแต่วันที่ 19 พ.ค. 2554 นี้ ที่โรงภาพยนตร์เอสเอฟ เวิลด์ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์

          ผลงานร่วมสร้างของผู้กำกับชาวอังกฤษ ร็อบ เลมกิ้น และนักข่าวชาวเขมร เต็ต สัมบัท ที่ติดตามสัมภาษณ์หนึ่งในอดีตผู้นำระดับสูงของเขมรแดง คือ นวนเจีย ซึ่งเป็นมือขวาของพลพต และเป็นอดีตนักศึกษาธรรมศาสตร์ โดยวิธีการของการตั้งคำถามในแนวสืบสวนสอบสวน อันมีที่มาจากความไม่เข้าใจถึงเหตุการณ์ในอดีตที่เกี่ยวข้องกับ ประวัติศาสตร์ของการสังหารหมู่ในยุคเขมรแดง โดยเฉพาะในส่วนของหนึ่งในผู้สร้าง คือ เต็ต สัมบัทเอง ซึ่งก็สูญเสียครอบครัวของตนไปในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ ทำให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่เพียงนำเสนอมุมมองต่อประวัติศาสตร์ในฉบับประชาชน ขยายขอบเขตมากขึ้น อีกทั้งยังสะท้อนภาพของสังคมเขมรในยุคปัจจุบัน ที่พยายามจะเยียวยาบาดแผลในอดีต เพื่อก้าวไปสู่อนาคตของคนรุ่นปัจจุบัน

          โดยประเด็นที่กำลังเป็นข่าวร้อนในขณะนี้คือ องค์คณะไต่สวนพิเศษของศาลกัมพูชา (ECCC) ซึ่งเป็นศาลพิเศษในความร่วมมือของสหประชาชาติและรัฐบาลกัมพูชา กำลังเตรียมการนำตัวนวนเจีย ในฐานะหนึ่งในผู้นำระดับสูงของเขมรแดงที่ยังมีชีวิตอยู่ ร่วมกับ เขียว สัมพัน, เอียง ธิริธ และ เอียง ซารี ขึ้นไต่สวนในคดีอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ในช่วงกลางปี 2554 นี้ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้มีคำตัดสินจำคุกสหายดุช อดีตผู้คุมเรือนจำตวลเสลง ในคดีแรกไปแล้ว โดยทางศาลได้ขอใช้ฟุตเทจบางส่วนจากภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นหลักฐานในการไต่สวน รวมถึงทางผู้สร้างก็กำลังเตรียมการถ่ายเหตุการณ์ช่วงการไต่สวนไว้เป็นส่วนหนึ่งในภาพยนตร์ภาค 2 ที่จะใช้ชื่อว่า Suspicious Minds ซึ่งจะเจาะลึกถึงเบื้องหลังการตัดสินใจสั่งการฆ่าประชาชนของกลุ่มผู้นำเขมรแดงยิ่งขึ้น

          ผู้กำกับภาพยนตร์ทั้งสอง มีกำหนดจะเดินทางมาประเทศไทยระหว่างวันที่ 17-20 พ.ค. 2554 โดยภาพยนตร์มีกำหนดฉายทุกวัน เวลา 19:00 น. และวันเสาร์อาทิตย์เพิ่มรอบ 14:00 น. จำหน่ายบัตรที่โรงภาพยนตร์ โดยในรอบฉายของวันที่ 19 พ.ค. ผู้กำกับจะมาร่วมพูดคุยตอบคำถามกับผู้ชมหลังจบภาพยนตร์อีกด้วย

          สอบถาม ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ 083 429 8002 (คุณไพลิน)
          บริษัท เอ็กซ์ตร้า เวอร์จิ้น จำกัด
          โทร 02 939 4343 แฟกซ์ 02 939 5573
          E-mail: office@extravirginco.com Web Site: www.extravirginco.com/enemiesofthepeople

happy on May 15, 2011, 06:26:51 PM
 ::) ::)

PR on May 19, 2011, 02:04:00 PM
Cambodian Documentary Film ENEMIES OF THE PEOPLE to be Released in Thailand on 19 May

          Award-winning Cambodian/British documentary feature film ENEMIES OF THE PEOPLE will be released in cinema in Thailand on 19 May 2011 by independent distributor Extra Virgin.

          Winner of the Special Jury Prize at the 2010 Sundance Film Festival, the film follows the dedicated and at times personal pursuit of Cambodian journalist Thet Sambath, the co-director of the film along with British filmmaker Rob Lemkin, in his mission to look back and rediscover the truth behind one of the darkest periods in his country’s – and the world’s – history. At the centerpiece of the matter is high-level Khmer Rouge cadre Nuon Chea – aka Pol Pot’s Brother Number Two, who for the first time opened up on camera his testimony of the regime’s devastating atrocities on the killing fields.

          Nuon Chea’s trial for crimes against humanity at the United Nations-backed court as one of the last remaining Khmer Rouge leaders is expected to begin this year.

          After heavy international presence on the festival circuit throughout 2010, the theatrical release in Thailand will be the first time the film is screened in Southeast Asia outside Cambodia, where it is also the first Cambodian film to be released in Thailand in 40 years.

          The film will be on exclusive release at SF World cinema, CentralWorld, as part of Extra Virgin’s Director’s Screen Project of independent films distribution in Thailand. The project is a collaboration with SF Cinema where 2 other Thai films will also be released subsequently: Aditya Assarat’s sophomore outing HI-SO and Sivaroj Kongsakul’s Rotterdam Tiger Award winner ETERNITY. The Thai release of ENEMIES OF THE PEOPLE is also supported by Novotel Bangkok Fenix Ploenchit and White Light Studio.