news on April 04, 2019, 08:41:16 AM

พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ เปิดตัว Cortex ระบบการจัดการความปลอดภัย พัฒนาบนพื้นฐานของ AI แพลตฟอร์มเดียวในตลาดระบบเปิด



กรุงเทพฯ , ประเทศไทย – วันที่ 3 เมษายน 2562: พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ (Palo Alto Networks) ผู้นำด้านโซลูชันแพลตฟอร์มความปลอดภัยระดับโลก เปิดตัว 3 นวัตกรรมใหม่ ได้แก่ Cortex™ , Cortex XDR™ และ Traps™ 6.0 ซึ่งถูกคิดค้นและพัฒนาบนพื้นฐานของระบบปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) และ เทคโนโลยีด้านการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning)  เพื่อเปลี่ยนแปลงระบบการจัดการด้านการรักษาความปลอดภัยขององค์กรในอนาคต

ในปัจจุบันองค์กรจำนวนมากตื่นตัวกับปัญหาและภัยคุกคามไซเบอร์ที่เกิดขึ้นในหลากหลายรูปแบบและทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น  จึงจำเป็นที่จะต้องหาแนวทางป้องกันและแก้ไขหากเกิดเหตุ รวมทั้งกำหนดมาตรการด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ขึ้น สำหรับประเทศไทย ในปี 2561 ที่ผ่านมา มีการคุกคามทางไซเบอร์ที่ได้บันทึกไว้ในสถิติแล้วจำนวนทั้งหมด 2,520 ครั้ง   จากรูปแบบภัยคุกคามที่เปลี่ยนแปลงไป พบว่าเหล่าผู้โจมตีได้มีการนำเทคโนโลยีด้านการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) และการทำงานแบบอัตโนมัติมาใช้ จึงทำให้สามารถเรียนรู้ ผู้ดูแลระบบรักษาความปลอดภัยไม่สามารถตรวจจับอัตโนมัติ และตอบสนองได้ทันท่วงที การที่ระบบไม่สามารถป้องกันภัยคุกคามได้อย่างมีประสิทธิภาพพบว่าเกิดจากสาเหตุดังต่อไปนี้

   ระบบรักษาความปลอดภัยแบบไซโล: เกิดจากการที่แต่ละอุปกรณ์ใช้ระบบรักษาความปลอดภัยแยกจากกัน ทำให้ไม่สามารถบูรณาการข้อมูลการตรวจพบเข้าด้วยกันและสั่งการเพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันแบบอัตโนมัติได้ 

   การขาดแคลนด้านทรัพยากรบุคคล: บุคลากรเฉพาะทางด้าน Cyber Security ที่มีจำนวนไม่เพียงพอต่อความต้องการของแต่ละองค์กรเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะองค์กรขนาดใหญ่มีข้อมูลปริมาณมหาศาล ทำให้บุคลากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไม่สามารถรับมือกับปริมาณข้อมูลเหล่านั้นได้

   ข้อมูลไม่เพียงพอสำหรับตรวจสอบ: ในการตรวจจับภัยคุกคามที่เกิดขึ้น การตั้งค่าระบบงานที่สําคัญให้บันทึกเหตุการณ์ หรือเรียกว่า Logs ไม่เพียงพอในการใช้ตรวจสอบและตัดสินใจในการตอบสนองต่อภัยคุกคามที่เกิดขึ้น และหากจะต้องรวบรวมข้อมูลจากจุดกำเนิดหลายจุด ต้องใช้ผู้ที่มีประสบการณ์ในระดับสูง และใช้ระยะเวลาตรวจสอบมากขึ้น

Cortex™ คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร
Cortex™
เป็นเพียงระบบรักษาความปลอดภัยแพลตฟอร์มเดียวในตลาดที่เป็นระบบเปิด ที่บูรณาการเข้ากับระบบปัญญาประดิษฐ์ Cortex สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับ Application Framework ออกแบบขึ้นมาเพื่อทำให้ระบบความปลอดภัยสามารถใช้งานง่ายมากขึ้น (Simplified) และปรับปรุงให้ได้ผลลัพธ์แบบอัตโนมัติ (Automated Outcome) ดังนั้น Cortex จึงอาศัยระบบการทำงานคลาวด์เพื่อรองรับการเติบโตของปริมาณข้อมูล ทำให้สามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณมหาศาลได้ถูกต้อง รวดเร็วและแม่นยำ การทำงานของ Cortex ประกอบด้วย

   Cortex XDR ทำหน้าที่ในการตรวจจับและตอบสนองที่ทำงานร่วมกันในระดับ เอนด์พอยท์ (Endpoint) เน็ตเวิร์ค (Network) และ คลาวด์ (Cloud) 

   Cortex Data Lake ทำหน้าที่เก็บรวบรวมข้อมูลจาก Cortex XDR เข้าด้วยกันและวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ ทั้งในเชิงของพฤติกรรมผ่านระบบปัญญาประดิษฐ์ หลังจากนั้นส่งข้อมูลที่ประมวลผลได้กลับไปยัง Cortex XDR เพื่อทำการป้องกันภัยคุกคามที่ตรวจพบได้แบบอัตโนมัติและทันท่วงที

   Traps 6.0 ทำหน้าที่เป็นทั้งระบบป้องกัน (ระดับอุปกรณ์) ตรวจจับ และตอบสนองต่อผลการวิเคราะห์จาก Cortex นอกจากนั้น Traps 6.0 ยังทำหน้าที่ในการเป็นเซนเซอร์รวบรวมข้อมูลบนอุปกรณ์ต่างๆ เพื่อนำไปใช้ในการวิเคราะห์ และการเก็บหลักฐานสำหรับการสอบค้นต้นตอของปัญหาในระดับขั้นสูงต่อไป


นางสาวธิติรัตน์ ทองถาวร ผู้จัดการประจำประเทศไทย และภูมิภาคอินโดจีน พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ กล่าวว่า “การตรวจพบการโจมตี และการตอบสนองต่อภัยคุกความ เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์  ในปัจจุบันรูปแบบการป้องกันความปลอดภัยของแต่ละอุปกรณ์แยกจากกันในรูปแบบ Standalone จึงทำให้เกิดจุดบอดขึ้นในองค์กร เกิดความขัดแย้งด้านข้อมูล (Data Conflict) เราเชื่อว่าวิธีจัดการกับปัญหานี้ได้ดีที่สุดคือใช้ความสามารถในการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณมหาศาล ผนึกกับขีดความสามารถในการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence:AI) และเทคโนโลยีด้านการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) ในการตรวจพบ และตอบสนองต่อภัยคุกคามโดยอัตโนมัติทันที”

เกี่ยวกับ พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ (Palo Alto Networks)
พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ (Palo Alto Networks) บริษัทผู้นำระดับโลกด้านความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ มีความมุ่งมั่นในการป้องกันภัยคุกคามบนโลกออนไลน์ โดยได้ดูแลความปลอดภัยจากการคุกคามในโลกไซเบอร์ให้กับองค์กร รวมถึงลูกค้าขององค์กรทั่วโลกมากกว่าหนึ่งหมื่นองค์กร พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ (Palo Alto Networks) ให้บริการ Security Operating Platform สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในยุคติจิทัล ซึ่งนวัตกรรมด้านความปลอดภัย (Security) ระบบอัตโนมัติ (Automation) และระบบวิเคราะห์ข้อมูล (Analytics) ต้องได้รับการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ (Palo Alto Networks) นำเสนอนวัตกรรมด้านความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถใช้งานได้ผ่านระบบคลาวด์ (Cloud) ระบบเครือข่าย (Network) และอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่ (Mobile Devices)
« Last Edit: April 04, 2019, 08:43:57 AM by news »

news on April 04, 2019, 08:44:38 AM
ธิติรัตน์ ทองถาวร ผู้จัดการประจำประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์



คุณธิติรัตน์ ทองถาวร ผู้จัดการประจำประเทศไทย และภูมิภาคอินโดจีน พาโล อัลโต เน็ตเวิร์กส์ โดยดูแลประเทศเวียดนาม กัมพูชา เมียนมาร์ และ สปป.ลาว คุณธิติรัตน์ มีหน้าที่รับผิดชอบในด้านการขับเคลื่อนยอดขาย วางยุทธศาสตร์ทางการตลาด และดูแลความร่วมมือในภูมิภาคนี้

คุณธิติรัตน์ มีประสบการณ์ในการเป็นผู้นำด้านการตลาด โดยเคยดำรงตำแหน่งผู้นำในองค์กรชั้นนำ อาทิ Infoblox และ F5 Networks ก่อนที่จะเข้าร่วมงานกับ พาโล อัลโต เน็ตเวิร์ก ในปี 2016 คุณธิติรัตน์ มีประสบการณ์ในการนำแผนยุทธศาสตร์ลงสู่ปฎิบัติ ทั้งในด้านการตลาด และด้านการขายทั่วภูมิภาคในประเทศไทย และอินโดจีน นอกจากนี้คุณธิติรัตน์มีส่วนร่วมในการก่อตั้งระบบนิเวศน์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ในประเทศไทยอีกด้วย คุณธิติรัตน์เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดของบริษัท Enterprise System Division VST ECS (Thailand) รับผิดชอบในการจัดการสินค้า การวางแผนก่อนการขาย และประสานงานร่วมกับทีมการตลาดให้กับบริษัททางด้านเทคโนโลยี อาทิเช่น ออเรเคิล (Oracle) เรดแฮท (Redhat) HP/Software และ ซีทริค (Citrix)

คุณธิติรัตน์ มีความมุ่งมั่นในการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับความปลอดภัยบนไซเบอร์ และสนับสนุนการสร้างบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถในการจัดการกับปัญหาความมั่นคงปลอดภัยบนไซเบอร์ทั้งในประเทศไทยและในภูมิภาคอินโดจีน คุณธิติรัตน์ได้ร่วมก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้ที่ได้รับการรับรองจาก พาโล อัลโต เน็ตเวิร์ค (Palo Alto Networks Authorised Academy Centre – AAC Program) ในประเทศไทยและประเทศเวียดนาม และได้ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยในการออกแบบหลักสูตร และเนื้อหาในการฝึกอบรมเพื่อเตรียมพร้อมในการพัฒนาบุคลากรด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในอนาคต

คุณธิติรัตน์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีทางด้านบริหารธุรกิจ (ธุรกิจระหว่างประเทศ) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิศวกรรมการจัดการคอมพิวเตอร์) จากมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

หากมีเวลาว่างจากการทำงาน คุณธิติรัตน์จะใช้เวลากับการท่องเที่ยว และออกรอบตีกอล์ฟเป็นประจำ