sianbun on January 25, 2010, 03:23:22 PM
ข่าวประชาสัมพันธ์: เทรนด์ซอฟต์แวร์ปี 2553 ในมุมมองของ CEO เซฟคอมส์

ข้อคิดเรื่องซอฟต์แวร์ปี 2553 ในมุมมองของที่ปรึกษาด้านไอทีมือโปร

โดย คุณเบอร์นาร์ด คอลลิน ซีอีโอ บริษัทเซฟคอมส์ เน็ตเวิร์ค ซีคิวริตี้ คอนซัลติ้ง

กรุงเทพฯ (25 มกราคม พ.ศ. 2553) – ช่วงต้นปี ถือเป็นเวลาที่องค์กรธุรกิจมักทบทวนผลงานในปีที่ผ่านมาและวางยุทธศาสตร์การค้าสำหรับปีต่อๆไป ผมจึงอยากรวบรวมข้อสังเกต แนวโน้มสถานการณ์ และข้อคิดหลักๆ ในเรื่องซอฟต์แวร์มาฝากผู้บริหารองค์กร โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนดำเนินธุรกิจของท่านในปี 2553 ดังต่อไปนี้

หนึ่งในเรื่องที่ยังคงโต้กันอย่างเผ็ดร้อนต่อไปในปี 2553 คือ การเลือกใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ซ (open-source software) หรือซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ (licensed software) ประเด็นก็คือ จริงหรือไม่ที่ว่าการเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สเพื่อแก้ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์นั้น เป็นทางออกที่สะดวก ง่าย และไม่ต้องเสียสตางค์สักบาทเดียว จากประสบการณ์ของบริษัท เราให้คำปรึกษาและติดตั้งซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ซแก่องค์กรในประเทศไทยมามาก และเห็นด้วยว่าการใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ซนั้น ย่อมต้องดีกว่าการใช้ซอฟต์แวร์เถื่อนอยู่แล้ว แต่ข้อเท็จจริงอีกประการหนึ่งก็คือ “ของฟรีดีๆนั้นไม่มีในโลก” เจ้าของธุรกิจควรรู้ไว้ว่า การเปลี่ยนมาใช้ซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ซในการดำเนินธุรกิจ มีต้นทุนแฝงอยู่ ซึ่งจะมากหรือน้อยกว่าการใช้ซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์นั้น ต้องพิจารณาเป็นกรณีๆไป

สำหรับบริษัทที่กำลังตัดสินใจว่าจะนำซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ซมาใช้ คุณควรต้องระบุเป้าหมายที่ชัดเจนว่าอยากได้อะไรจากการตัดสินใจครั้งนี้ แล้วชั่งน้ำหนักให้ดีว่าคุ้มค่ามากน้อยเพียงใด  หากเป็นเป้าหมายระยะสั้น คุณสามารถลดต้นทุนได้แน่นอน แต่ในระยะยาวแล้ว คุณอาจต้องเผชิญกับอุปสรรคในเรื่องต่างๆ เช่น การฝึกอบรมพนักงาน การโอนถ่ายข้อมูลมาสู่ระบบใหม่ การทำงานร่วมกับระบบของลูกค้า และท้ายที่สุด คือการสรรหาผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องของซอฟต์แวร์นั้นเป็นอย่างดี เพื่อให้คำแนะนำในการบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง สามารถการันตีความมั่นคงตรงนี้ให้กับธุรกิจของคุณได้ ซึ่งอาจมีอยู่ไม่มาก

ข้อดีก็คือ ตอนนี้ ภาครัฐกำลังเร่งผลักดันนโยบายเศรษฐกิจที่เน้นสร้างมูลค่าจากสิทธิด้านทรัพย์สินทางปัญญา ผมมองว่าประเทศไทยมีคนเก่งๆเยอะมาก สามารถผลิตสินค้าให้ทันกับความต้องการของตลาดโลกได้ ดังนั้น นโยบายเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) และแผนกระตุ้นเศรษฐกิจนั้นคือความหวังของประเทศไทย ผมอยากเรียกร้องให้ทุกฝ่ายในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้การสนับสนุนโครงการเหล่านี้ เพราะหากการละเมิดลิขสิทธิ์ยังคงดำเนินต่อไปแบบนี้เรื่อยๆ มันจะกลายเป็นดาบสองคมทำลายขวัญ และกำลังใจของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยด้วยกันเอง

หากภาครัฐดำเนินการอย่างต่อเนื่อง หวังว่าในปี 2553 นี้ เราจะเห็นการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาด้านซอฟต์แวร์ที่เข้มข้นยิ่งขึ้นไปอีก ตั้งแต่ผมเปิดบริษัทมา เซฟคอมส์ไม่เคยให้บริการแก่ลูกค้าที่ใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน เราสนับสนุนให้ลูกค้าและคนทั่วไปใช้แต่ซอฟต์แวร์ของแท้เท่านั้น เพราะในวงการนี้ รู้กันอยู่ว่า ไม่มีระบบอะไรที่จะสามารถการันตีความปลอดภัยได้หนึ่งร้อยเปอร์เซ็น ยิ่งเป็นระบบที่มีซอฟต์แวร์เถื่อนรวมอยู่ด้วย ยิ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้ ดังนั้นนโยบายของเราจึงกำหนดไว้ว่าจะไม่ให้บริการแก่บริษัทที่ใช้ซอฟต์แวร์เถื่อน เพราะมันเสี่ยงเกินไป       

เมื่อเราผ่านภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในปี 2552 มาได้แล้ว ผมจึงอยากแนะนำให้ผู้บริหารองค์กรหันมาตรวจสอบระบบไอที และสินทรัพย์ประเภทซอฟต์แวร์ที่ใช้ในองค์กรของท่านอย่างละเอียด และเริ่มวางแผนการลงทุนสำหรับปีปัจจุบัน บริษัททั่วๆ ไปจะมีค่าใช้จ่ายด้านไอทีและซอฟต์แวร์เฉลี่ยราว 5% ของต้นทุนในการดำเนินงานทั้งหมด การลงทุนด้านไอทีและซอฟต์แวร์นับว่าเป็นหนึ่งในการลงทุนที่คุ้มค่าที่สุดเพราะช่วยลดต้นทุนในระยะยาว เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงาน และยังเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของบริษัทกับคู่แข่งในตลาดโลก

ผมเชื่อว่าประเด็นเรื่องความปลอดภัย จะยังคงเป็นเรื่องที่ต้องจับตามองกันต่อไป มั่นใจได้ว่าจำนวนผู้ส่งอีเมล์ขยะ  แฮกเกอร์ และไวรัสต่างๆ ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยที่คุณไม่สามารถรู้ได้เลยว่าจะโจมตีธุรกิจของคุณเมื่อไหร่ สิ่งเดียวที่คุณทำได้ คือเตรียมตั้งรับไว้ให้ดี จัดการพัฒนาระบบไอทีของตนให้มีประสิทธิภาพอย่างสม่ำเสมอ

ในส่วนของนโยบายภาครัฐนั้น มีหลายเสียงเรียกร้องให้รัฐส่งเสริมการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ซแทนที่ซอฟต์แวร์ประเภทอื่นๆ ผมเห็นด้วยว่าซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ซนั้นใช้ทำงานได้ แต่หากภาครัฐเลือกส่งเสริมเฉพาะซอฟต์แวร์ประเภทใดประเภทหนึ่งอาจส่งผลร้ายต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยได้ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยเองสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์หลากหลายประเภท ไม่ใช่เฉพาะซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์ซเท่านั้น และควรได้รับโอกาสและการสนับสนุนจากภาครัฐที่เท่าเทียมกัน

เรื่องสุดท้ายที่ผมอยากจะฝากไว้ เป็นสิ่งที่ผมพูดกับลูกค้าและเพื่อนร่วมงานอยู่เสมอ นั่นคือให้ทำการสำรองข้อมูลบริษัทไว้ยิ่งบ่อยยิ่งดี นอกจากทรัพยากรบุคคลในบริษัทแล้ว ข้อมูลในคอมพิวเตอร์นับเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าที่สุด ทุกปี คอมพิวเตอร์ราว 30% ต้องสูญเสียข้อมูลที่มีค่าในเครื่องไป หลายครั้งส่งผลกระทบทางธุรกิจที่ร้ายแรงได้อย่างคาดไม่ถึง ดังนั้นขอให้ยอมสละเวลาเพียงเล็กน้อย ดำเนินการสำรองข้อมูลให้ครบถ้วนเถิดครับ     

โดยภาพรวมแล้ว ผมมองว่าอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และไอทีของไทย กำลังก้าวไปในทิศทางที่ดี ผมเชื่อมั่นมาโดยตลอดว่าประเทศไทยมีศักยภาพเพียงพอที่จะเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมไอทีได้ ยิ่งมาถึงตอนนี้ที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต่างตื่นตัวกับการพัฒนาและปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา ความหวังของผมยิ่งสดใสขึ้นกว่าเดิม

(บริษัทเซฟคอมส์ เป็นบริษัทที่ให้คำปรึกษาด้านความปลอดภัยของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์และเว็บไซต์แก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาติดต่อคุณอนุตรา มหัทธนารักษ์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาดและประชาสัมพันธ์ ได้ที่ info@safecoms.com)
« Last Edit: January 25, 2010, 04:06:08 PM by sianbun »

sianbun on January 25, 2010, 03:34:04 PM
Software in Thailand for 2010: An IT Pros Viewpoint

By Bernard Collin, CEO, SafeComs Thailand
BANGKOK, January 12, 2009 –The start of every year is a sensible time for business people to reflect on the last twelve months and to make resolutions to better themselves and their businesses in the year ahead.
For those of us in the software and IT industry in Thailand, the start of the year is no different.
With that said, I've compiled a list of observations, resolutions and predictions about things happening in Thailand’s software and IT industry that I think will be important to business people in 2010.
One topic that is sure to remain a hot-button in 2010 is the debate over open source software and proprietary software.  Open source software is being promoted by some as the free and easy way to avoid the legal ramifications of software piracy.  We have helped companies in Thailand implement open source software systems.  It is without a doubt, better than violating software copyrights.  However, people should know —as the saying goes—there is no such thing as a free lunch.  The reality is that open source software applications for business come with their own costs, which may be more or less than those for comparable proprietary software, depending on the circumstances.

For those companies that are considering using open source software, here’s what I think you should know.  First, recognize that while there may be financial savings in initial costs, this must be weighed against challenges in learning a new software system, challenges collaborating with clients, challenges in moving data to your new open source system and, finally, challenges in finding capable service.  These challenges can be overcome with time, but I think it’s only fair that business people considering open source software know what hurdles they will face.

One thing that has given me hope for 2010 is the Thai government making efforts to implement economic policies that leverage intellectual property rights.  Thailand has the talent, the creativity and the youthful energy to make new products the world will want.  The Creative Economy policies and stimulus package are promising, and we encourage all of our colleagues in the IT industry to support this agenda.  As an entrepreneurial company, we have seen first-hand the way piracy can drain the enthusiasm from young software developers.  My wish is that the Creative Economy will foster an atmosphere in which software innovators can thrive.

I am also hopeful that in 2010 we will continue to see the growing enforcement of software intellectual property rights in Thailand.  Since the founding of our business, we have refused to provide IT consultation to any company that fails to fully license its software.  Ethical reasons aside, our rationale for requiring our clients to use genuine software is that it is impossible for us to secure pirated software.  We don’t want to be blamed for security lapses—so our policy is to steer clear of companies that use unlicensed software.

Now that the Great Recession of 2009 appears to be behind us, I resolve to encourage all business people in Thailand to assess their IT systems and software assets, and consider making investments for the year ahead.  An average company spends about 5 percent of its operating costs on software and IT.  Given the value that software and IT provides to business, this is one of the best investments a company can make.

I foresee security issues remaining a serious issue for the business community in the year ahead.  Spammers, hackers, creators of malicious software—they operate in growing numbers, and we all need to prepare our IT systems to withstand their attacks. 

There is a growing chorus among some policymakers to promote open source software over and above other forms of software.  I agree that open source software serves a purpose and I am fully supportive of government support for the software and IT industries.  But government favoritism for one type of business over another can be counter productive and actually undermine the growth of the Thai software industry.  There is a lot of great Thai talent making a wide range of software products.  They should all be given an equal and fair amount of government support.

My last observation is one that I share with clients and colleagues annually:  Back up your data.  After your people, your computer data is your most valuable asset. Yet every year, 30 percent of all PCs lose all their files, often due to events beyond their control.  For the sake of your business, make a small investment of time and energy to get your company fully backed up.

As I look ahead, I am excited and energized by the possibilities for Thailand’s software and IT industry.  I have always felt that Thailand has the natural ingenuity and competitive spirit to become a world class developer of intellectual property in the IT industry.  And now, with the momentum created by the government to get the public and business community thinking about the possibilities that exist in intellectual property development, I am more optimistic than ever about the years ahead.
(SafeComs is a software development and web security solutions company for small and medium sized businesses in Thailand.  For more information, Safecoms may be reached by email at info@safecoms.com.)