Factsheet
EcoStruxure™
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค วางเป้าหมายในการช่วยภาคธุรกิจต่างๆ และประเทศไทยให้สามารถขับเคลื่อนธุรกิจ และการดำเนินงานได้อย่างรวดเร็ว ตามแนวนโยบาย Thailand 4.0 ของภาครัฐ ด้วยการนำเสนอ EcoStruxure™: Innovation At Every Level แพลตฟอร์ม และสถาปัตยกรรมที่พัฒนาและออกแบบขึ้น เพื่อช่วยเหลือภาคธุรกิจ ตลอดจนภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ในการควบคุมการจัดการพลังงาน และระบบออโตเมชั่นด้วยโซลูชัน IIoT ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
EcoStruxure™ ประกอบไปด้วย 3 เลเยอร์หลัก ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์ที่สามารถเชื่อมต่อกับผลิตภัณฑ์ ไปถึงระบบตรวจสอบและควบคุมปลายทาง (Edge Control) ตลอดจนแอพพลิเคชัน ระบบวิเคราะห์ข้อมูล และบริการต่างๆ ซึ่งมาพร้อมกับคุณสมบัติที่เหนือชั้นด้านความปลอดภัย ความน่าเชื่อถือ ประสิทธิภาพการทำงาน ความยั่งยืน รวมถึงความสามารถในการเชื่อมต่อการทำงานร่วมกับฝ่ายปฏิบัติการที่มีการนำ IoT มาใช้งานตามคอนเซ็ปต์ Innovation At Every Level หรือนวัตกรรมในทุกระดับชั้น ดังนี้
• ลำดับชั้นแรกสร้างบนความสามารถหลักซึ่งเป็นจุดแข็งของชไนเดอร์ อิเล็คทริค ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมต่อการทำงานโดยมีระบบอัจฉริยะฝังอยู่ด้วยในตัวผลิตภัณฑ์ของชไนเดอร์ อิเล็คทริค เช่น เซ็นเซอร์ เบรกเกอร์ ไดร์ฟ และอุปกรณ์ควบคุมการทำงานของวาล์ว เพื่อให้อุปกรณ์ทั้งหมดสามารถพูดคุยเชื่อมต่อกันได้ (Connected product)
• ชั้นต่อมาในส่วนของ Edge Control ซึ่งเป็นระบบควบคุมการเชื่อมต่อกับระบบงานส่วนปฏิบัติการ สามารถบริหารงานส่วนปฏิบัติการทั้งบนระบบงานปกติและบนคลาวด์ได้ตามความต้องการ รวมถึงให้แพลตฟอร์มในการควบคุมให้สามารถเข้าถึงระบบจากระยะไกล ระบบออโตเมชั่นแบบล้ำหน้า อีกทั้งให้ผู้ดูแลสามารถเข้ามาปรับเปลี่ยนคำสั่งในระบบได้ นอกจากนี้ยังรวมระบบป้องกันไฟร์วอลล์และระบบควบคุมเครือข่ายภายในไว้ด้วย เพื่อช่วยให้ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่โดยเฉพาะในเรื่องของแอพพลิเคชันสำคัญสำหรับธุรกิจ
• ชั้นสุดท้าย เป็นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในส่วนที่เป็นหัวใจสำคัญทั้งซอฟต์แวร์ ระบบวิเคราะห์และการบริการ EcoStruxure ช่วยให้ใช้แอพพลิเคชันจากผู้จำหน่ายรายใดก็ได้ รวมถึงระบบวิเคราะห์และการบริการใช้งานได้อย่างกว้างขวางบนโปรโตคอล IP ระบบเปิด เพื่อทำงานร่วมกับระบบงาน ฮาร์ดแวร์ หรือระบบควบคุมใดก็ได้
ชไนเดอร์ อิเล็คทริค มั่นใจว่า EcoStruxure สามารถทำงานได้ทุกแพลตฟอร์ม และตอบโจทย์ทุกอุตสาหกรรมที่ต้องการ ซึ่งได้แบ่งเป็น EcoStruxure สำหรับอาคาร ดาต้าเซ็นเตอร์ อุตสาหกรรม และโครงข่ายไฟฟ้าเพื่อเมืองอัจฉริยะหรือ กริด ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าว ลูกค้า หรือผู้ที่สนใจ สามารถที่จะเข้ามาชมได้ที่โชว์รูมของชไนเดอร์ อิเล็คทริค
Factsheet
เมกะเทรนด์ที่ก่อให้เกิดความต้องการด้านพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น
การใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก กำลังถูกขับเคลื่อนโดยแนวโน้ม หรือเมกะเทรนด์ 3 ประการ นั่นคือเรื่องของการเติบโตของสังคมเมือง (Urbanization) การเติบโตขึ้นของระบบดิจิทัล (Digitization) และการเติบโตขึ้นของเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในประเทศเศรษฐกิจใหม่ (Growing trend of industrialization in new economies)
• ภายในปี 2050 สังคมเมือง (Urbanization) ทั่วโลกจะขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยจะมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นมากกว่า 2,500 ล้านคน
• ด้วยการใช้งานที่เพิ่มขึ้น และการขยายตัวของระบบดิจิทัล (Digitalization) เป็นที่คาดว่าอุปกรณ์ที่ต่อเชื่อมเข้าหาระบบจะมีสูงถึง 30,000 ล้านชิ้น ภายในปี 2020
• การเติบโตขึ้นของเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (Industrialization) ในประเทศเศรษฐกิจใหม่ จะทำให้การใช้งานด้านพลังงานเพิ่มขึ้นอีกกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ภายในปี 2050
ความท้าทายด้านพลังงานในปี 2050 หรืออีก 40 ปีข้างหน้าเมื่อเทียบกับตัวเลขในปี 2009
• การใช้ใช้พลังงานจะเพิ่มปริมาณขึ้น 1.5 เท่า
• การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีเป้าหมายที่จะต้องลดลงครึ่งหนึ่ง
• การดำเนินงานต้องมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น 3 เท่า
แนวโน้มของโลกพลังงานใหม่ประกอบด้วย
• More Electric:
o ความต้องการด้านการใช้พลังงานไฟฟ้าจะเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วมากกว่า 2 เท่าภายในปี 2040
o ปริมาณการใช้งานพลังงานสีเขียว (Green Energy) จะเพิ่มสูงขึ้น 40 เปอร์เซ็นต์ในอีก 25 ปีข้างหน้า
• More Digitized
o การปรับเปลี่ยนเข้าสู่ระบบดิจิทัลที่มากยิ่งขึ้น ด้วยจำนวนอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบที่สูงกว่าจำนวนประชากรถึง 20 เท่า
• More Decarbonized
o การลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เพิ่มมากขึ้นด้วยอัตรา 82 เปอร์เซ็นต์ของศักยภาพเชิงเศรษฐศาสตร์ด้านประสิทธิภาพการจัดการพลังงานในอาคาร และมากกว่าครึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมยังไม่เคยใช้ระบบการจัดการพลังงาน
• More Decentralized
o การมีศูนย์จ่ายพลังงานที่เพิ่มขึ้น โดยภายในปี 2040 ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ของกำลังการผลิตใหม่จะอยู่ในรูปของพลังงานทดแทน (Renewable)