sianbun on October 08, 2009, 04:16:48 PM
อีไอยูศึกษาไทยในฐานะส่วนหนึ่งของการศึกษาภาวะการแข่งขันทางด้านไอทีโลก

ภาคไอทียังคงเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย และเป็นหนทางหนึ่งในการเร่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศ ผู้นำภาครัฐควรส่งเสริมนโยบายด้านไอที  และนวตกรรมใหม่

(กรุงเทพฯ 8 ตุลาคม 2552) – รายงานการศึกษาฉบับใหม่นี้ให้ข้อมูลเจาะลึกถึงองค์ประกอบสำคัญสำหรับการแข่งขันในอุตสาหกรรมไอที และทำการวิเคราะห์เกณฑ์ที่สำคัญๆ เพื่อจัดอันดับให้กับ                66 ประเทศ

อีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต หรือ อีไอยู (Economist Intelligence Unit, EIU) เป็นผู้ทำรายงานการศึกษาฉบับใหม่นี้ โดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟท์แวร์ (บีเอสเอ) ในรายงานการศึกษา ได้จัดให้อุตสาหกรรมไอทีของประเทศไทยมีความสามารถในการแข่งขันเป็นอันดับที่ 49 ของโลก

การศึกษานี้ได้ดำเนินมาเป็นปีที่สามติดต่อกันแล้ว โดยประเมินค่าและเปรียบเทียบสภาพแวดล้อมต่างๆ ของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) เพื่อกำหนดขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ (ไอที) โดยมีสภาพแวดล้อมเหล่านี้เป็นตัวส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันดังกล่าว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ได้ตรวจสอบเกณฑ์สำคัญ 6 ประการของการแข่งขันในอุตสาหกรรม     ไอที ประกอบด้วย สภาพแวดล้อมทางธุรกิจ โครงสร้างพื้นฐานไอที ทรัพยากรบุคคล สภาพแวดล้อมทางกฎหมาย สภาพแวดล้อมทางการวิจัยและพัฒนา และการสนับสนุนอุตสาหกรรมไอที

ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค มี 5 ประเทศที่ได้รับการจัดให้อยู่ใน 20 อันดับแรกของประเทศที่มีภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมไอทีสูงที่สุดของโลกได้แก่ ออสเตรเลีย สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ไต้หวัน และเกาหลีใต้

รองประธานและผู้อำนวยการด้านนโยบายซอฟต์แวร์ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคของบีเอสเอ
มร. คาร์โร พาราเด กล่าวว่า “ด้วยสภาพเศรษฐกิจในทุกวันนี้ สิ่งที่สำคัญ คือ รัฐบาลของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคยังคงต้องสนับสนุนการเจริญเติบโตของภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีให้เข้มแข็งต่อไป ภาคอุตสาหกรรมไอทียังคงเป็นกลไกสำคัญของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ในภูมิภาคนี้ ที่พึ่งพิงกับนวัตกรรมใหม่ และดำเนินการเพื่อกระตุ้นให้ภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีมีการสร้างผลงานใหม่ๆ ออกมา กำลังสร้างจุดยืนที่เข้มแข็งให้กับตัวเอง เพื่อเร่งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวม”
 

มร. พาราเด กล่าวต่อว่า “อย่างไรก็ตาม รัฐบาลของประเทศในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายอยู่ต่อไป เศรษฐกิจของประเทศต่างๆ อย่างเช่น จีน และอินเดีย ต้องแก้ไขปัญหา เช่น การสร้างสมดุลระหว่างบุคลากรด้านไอทีที่มีทักษะซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนมากกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีให้ก้าวหน้า การที่บรอดแบนด์ได้กลายมาเป็นสิ่งจำเป็นอันดับแรกสำหรับหลายภาคส่วน ของภาคอุตสาหกรรมไอที ทำให้ประเทศที่มีการใช้บรอดแบนด์อย่างแพร่หลายมีความได้เปรียบในการแข่งขันมากกว่าประเทศที่ขาดโครงสร้างพื้นฐานในด้านนี้อย่างมาก”

มร. พาราเดเสริมว่า “นอกจากนี้ รายงานการศึกษาแสดงให้เห็นว่าประเทศที่มีกฎหมายที่เข้มงวดในการปกป้องทรัพย์สินทางปัญญา มักเป็นผู้นำด้านไอที และมีคะแนนในดัชนีที่สูงกว่าด้วย ในทางตรงข้าม ประเทศที่บังคับใช้กฎหมายปกป้องทรัพย์สินทางปัญญาไม่เต็มที่ก็มักจะไม่ใช้ประเทศที่คิดค้นหรือประดิษฐ์นวตกรรมใหม่ๆ มีบางประเทศที่อาศัยตลาดแรงงานราคาถูกของตนในการคงความความสามารถในการแข่งขันไว้ อย่างไรก็ตาม ตลาดแรงงานราคาถูกก็ใช้จะเป็นปัจจัยที่ยั่งยืนในระยะยาว ประเทศในภูมิภาคเอเชียจะต้องไม่พัฒนาปัจจัยต่างๆ ที่ส่งเสริมภาวะการแข่งขันในภาคอุตสหกรรม    เพียงเพื่อให้ประเทศของตนได้รับการจัดอันดับดีขึ้นเท่านั้น แต่ยังจะให้เศรษฐกิจมีการเจริญเติบโตในระยะยาวด้วย”

ประเทศไทยได้รับการจัดให้อยู่ที่อันดับ 49 ของโลก ในการจัดทำดัชนีการแข่งขันอุตสาหกรรมไอทีปี 2552 ตกลงจากอันดับที่ 42 เมื่อปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากการที่ทั้งอันดับในด้านนโยบายลงทุนต่างประเทศ และด้านการเป็นเจ้าของพีซีลดลง ทั้งคู่เป็นตัวชี้บ่งที่มีน้ำหนักความสำคัญมากในหมวดโครงสร้างพื้นฐานไอทีของดัชนี อันดับนโยบายลงทุนต่างประเทศของประเทศร่วงลงมาอยู่ในอันดับที่ 35 จากอันดับที่ 29 ในปีที่แล้ว และแทนที่การเป็นเจ้าของพีซี (คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล) จะเพิ่มมากขึ้นกลับลดลงมา 5 อันดับจากอันดับที่ 47 เมื่อปีที่แล้วเป็นอันดับที่ 52 ในปีนี้ตามลำดับกันไป

   ในภูมิภาคเอเชีย ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 11 ตามหลังอินเดีย (อันดับที่ 44 ของโลก) และนำหน้าฟิลิปปินส์ (อันดับที่ 51) และเวียดนาม (อันดับที่ 56)



ในกรณีของประเทศไทยนั้น ผลการศึกษาค้นพบว่า
คุณภาพของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจในภาพรวมของประเทศไทยได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 30 ของโลก ตกลงเล็กน้อยจากอันดับที่ 28 เมื่อปีที่แล้ว
ประเทศไทยได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 50 ของโลก ในด้านโครงสร้างพื้นฐานไอที ขยับลงเล็กน้อยจากอันดับที่ 49 ในปีที่แล้ว
ประเทศไทยได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 43 ของโลก ในด้านทรัพยากรบุคคลไอที ปรับขึ้นจากอันดับที่ 46 ในปีที่แล้ว
สำหรับด้านสภาพแวดล้อมการวิจัยและพัฒนา ประเทศไทยได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 58 ของโลก ขยับขึ้นเล็กน้อยจากอันดับที่ 59 ในปีที่แล้ว
ในด้านสภาพแวดล้อมทางกฎหมาย ประเทศไทยได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 57 ของโลกในปี 2552 ขยับลงจากอันดับที่ 56 เมื่อปีที่แล้วเพียงเล็กน้อย
ประเทศไทยได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับที่ 29 ของโลก ในด้านการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมไอที

ผลการศึกษาที่สำคัญเกี่ยวกับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค
ความร่วมมือกันของรัฐบาล มหาวิทยาลัย และบริษัทไอทีในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อพัฒนาคุณภาพการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยี และเพื่อเพิ่มจำนวนบุคคลากรด้านไอทีที่มีศักยภาพ ประเทศในภูมิภาคเอเชียยังคงผลิตบุคคลากรด้านไอทีจำนวนมาก แต่ยังตามหลังอเมริกาเหนือและยุโรปในด้านการให้การศึกษาด้านเทคโนโลยีได้อย่างรอบด้าน ในภูมิภาคเอเชีย การฝึกอบรมด้านไอทีควรจะเน้นการเพิ่มความรู้ด้านธุรกิจ และทักษะทางด้านภาษาให้มากขึ้น ก็จะได้ประโยชน์เป็นอย่างมาก
การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาอย่างจริงจังยังคงเป็นเรื่องสำคัญต่อการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรมไอที ในตลาดที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่จะมีระบบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาที่เข้มแข็ง ในขณะที่ในประเทศที่กำลังเจริญเติบโต เช่น ประเทศไทย ยังพัฒนาเรื่องการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาไปอย่างช้าๆ แต่ก็มีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในเรื่องของการบังคับใช้กฎหมาย เนื่องจากนวตกรรมใหม่กำลังมีความสำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเทียบกับแรงงานราคาถูกในโรงงานไอทีของจีนและอินเดีย จึงมีความคาดการณ์ว่า การบังคับใช้กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาจะต้องพัฒนาขึ้นในประเทศเหล่านี้ด้วยเช่นกัน
ประเทศที่มีบรอดแบนด์แพร่หลายจะได้รับการจัดให้อยู่ในอันดับสูงทั้งในหมวดโครงสร้างพื้นฐานไอที รวมถึงการจัดอันดับโดยรวมด้วย ออสเตรเลีย ที่ได้รับการจัดให้อยู่ใน 10 อันดับแรก นับเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความก้าวหน้าในเรื่องการพัฒนาบรอดแบนด์ได้อย่างโดดเด่นมากที่สุดในโลก ซึ่งแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลให้ความสำคัญต่อการมุ่งพัฒนาการใช้บรอดแบนด์มากเพียงใด
อัตราการเข้าถึงบรอดแบนด์และอัตราการมีเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลไว้ในครอบครองเพื่อใช้ยังมีอัตราที่น้อยในตลาดเกิดใหม่ ส่งผลให้ภาคไอทีต้องตกเป็นรองเมื่อเทียบกับตลาดที่มีการพัฒนาด้านนี้ไปมากแล้ว ในขณะที่ประเทศที่พัฒนาแล้วกล่าวอ้างว่าอัตราการเป็นเจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (แบบตั้งโต๊ะ และแล็บท็อป) อยู่ระหว่าง 60% และ 85% ของประชากร แต่อัตราในตลาดเกิดใหม่หลายๆ แห่งที่ภาคไอทีเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น จีน อินเดียและเวียดนาม กลับยังคงต่ำกว่า 20%
สิงคโปร์อยู่ในอันดับที่สามในหมวดสภาพแวดล้อมทางนวตกรรม ซึ่งได้อานิสงส์จากการที่งานด้านวิจัยและพัฒนาได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างมากจากรัฐบาล และปริมาณการจดสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ของบริษัทไอทีภายในประเทศ ส่วนบริษัทของไต้หวัน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น ก็ยังคงอยู่ในกลุ่มที่เป็นเจ้าของสิทธิบัตรสิ่งประดิษฐ์ด้านไอทีมากที่สุดในเอเชีย
อันดับของไต้หวันและเกาหลีใต้ร่วงหล่นลงมาอย่างฮวบฮาบ โดยไต้หวันจากอันดับ 2 ลงมาที่ 15 ส่วนเกาหลีใต้จากอันดับ 8 ลงมาที่ 16 โดยหลักๆ เป็นเพราะการลดลงเป็นอย่างมากของอันดับทางด้านการวิจัยและพัฒนา ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแหล่งข้อมูล ที่ใช้ในการจัดทำโมเดลดัชนี เพื่อให้คะแนนด้านสิทธิบัตรที่เกี่ยวข้องกับไอที

   “ในขณะที่เค้าโครงด้านนโยบายด้านไอทียังคงดีอยู่เหมือนเดิมทั้งในช่วงเวลาที่ดี และช่วงเวลาที่แย่ ภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยทั่วโลกขั้นรุนแรงได้ส่งผลให้การให้การสนับสนุนภาคอุตสาหกรรมเทคโนโลยีเป็นเรื่องเร่งด่วนลำดับหนึ่ง” มร. มาโนจ วอห์รา ผู้อำนวยการของอีไอยูกล่าว “รัฐบาลและผู้นำอุตสาหกรรมจะต้องเอาใจใส่ให้ใกล้ชิดมากขึ้นกว่าทีเคยเป็นมาเพื่อให้แน่ใจว่านโยบายที่ใช้อยู่นั้นเป็นผลดีที่สุดต่อการแข่งขันในอุตสาหกรรมไอทีระดับโลก”


กุญแจสำคัญ 6 ดอกสู่ความสามารถในการแข่งขัน

   หน่วยข่าวกรองเศรษฐศาสตร์ได้สรุปปัจจัย 6 ประการที่ต้องมีร่วมกันเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เข้มแข็งให้กับภาคไอที ได้แก่ การจัดหาบุคลากรมีทักษะได้มากพอ วัฒนธรรมที่ส่งเสริมนวตกรรม โครงสร้างพื้นฐานทางเทคโนโลยีระดับโลก ระบบกฎหมายที่คุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาได้อย่างจริงจัง เศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพ เปิดกว้างและแข็งขันได้ และผู้นำรัฐบาลที่สร้างสมดุลระหว่างการส่งเสริมเทคโนโลยีกับการปล่อยให้เป็นไปตามพลังตลาดได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

   ประเทศที่ “กุญแจสู่ความสามารถในการแข่งขัน” 6 ดอกนี้อยู่ในระดับดีมักจะมีอุตสาหกรรมไอทีที่มีประสิทธิภาพสูง การศึกษาครั้งนี้มีเจตนาที่จะให้แนวทางแก่รัฐบาลในการจัดการกับจุดแข็งและจุดแข็งของตนที่มีผลต่อการสนับสนุนภาคไอทีในประเทศที่เข้มแข็งได้

สิ่งที่น่าสนใจอื่นๆ จากการวิจัยของหน่วยข่าวกรองเศรษฐศาสตร์และข้อเสนอแนะจากกลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (บีเอสเอ)
เครือข่ายบรอดแบนด์เป็นปัจจัยที่ขาดไม่ได้ในการแข่งขันทางด้านไอที และประเทศที่นำมาใช้ช้ากว่าจะโดนนำห่างไปมากยิ่งขึ้น บริษัทเทคโนโลยีต้องการอินเตอร์เน็ตเร็ว เชื่อถือได้และปลอดภัย และบรอดแบนด์จะมีความสำคัญมากขึ้นไปตามบริการไอทีและโปรแกรมประยุกต์ที่จัดส่งไปทางอินเตอร์เน็ตที่มีมากขึ้น
การลงทุนในการพัฒนาทักษะยังคงเป็นสิ่งจำเป็นที่บังคับในระยะยาว ประเทศที่มีการฝึกอบรมผสมผสานทั้งไอที ธุรกิจ และทักษะทางภาษาจะสร้างบุคลากรไอทีที่เก่งกว่า
ระบบป้องกันตัวเองและการสนับสนุน “แชมเปี้ยนของชาติ” จะทำให้การฟื้นตัวชะลอลง และฉุดรั้งการแข่งขันของภาคธุรกิจในระยะยาว รัฐบาลจะต้องวางสมดุลระหว่างการสนับสนุนแบบที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมและการลงทุน กับแบบที่ทำให้เกิดตลาดที่แข่งขันอย่างไม่ยุติธรรมและระบบป้องกันตัวเองที่จะส่งผลเสียต่อความสามารถในการแข่งขัน
ระบบทรัพย์สินทางปัญญาในตลาดเกิดใหม่หลายๆ แห่งดีขึ้น แต่ยังต้องให้คืบหน้าต่อไป การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญายังคงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการแข่งขันทางด้านไอที และเป็นวิธีการที่ต้นทุกต่ำที่สุดของการกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจระยะยาว

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผลดัชนีและวิธีการคำนวณ ดูได้ที่ “การพลิกฟื้นท่ามกลางความผันผวน: เกณฑ์มาตรฐานเปรียบเทียบด้านการแข่งขันในอุตสาหกรรมไอทีปี 2552” ได้ฟรีที่ www.eiu.com หรือ www.bsa.org/globalindex

#  #  #

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับอีโคโนมิสต์ อินเทลลิเจนซ์ ยูนิต                                                                                                                             
Economist Intelligence Unit เป็นหน่วยงานที่เป็นศูนย์ข้อมูลด้านธุรกิจของกลุ่ม Economist ซึ่งเป็นผู้ผลิตนิตยสาร             The Economist และมีนักวิเคราะห์ในสังกัดมากกว่า 650 คนทั่วโลก EIU มีการประเมินและคาดการณ์ข้อมูลด้านการเมือง เศรษฐกิจ และเงื่อนไขทางธุรกิจในจำนวน 200 ประเทศอย่างต่อเนื่อง เนื่องด้วยเป็นผู้นำในการให้บริการด้านข้อมูลหรือหน่วยข่าวกรองระดับโลก ดังนั้นเราจึงมีส่วนช่วยทำให้ผู้บริหารตัดสินใจได้ดีขึ้น ด้วยเวลาที่เหมาะสม มีความน่าเชื่อถือ    อีกทั้งมีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างยุติธรรมตามแนวโน้มและกลยุทธ์ทางธุรกิจในตลาด   ทั่วโลก

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับบีเอสเอ

กลุ่มพันธมิตรธุรกิจซอฟต์แวร์ (www.bsa.org) เป็นผู้นำแถวหน้าที่ทุ่มเทให้กับการส่งเสริมโลกดิจิตอลที่ปลอดภัย และ     ถูกกฎหมาย บีเอสเอเป็นกระบอกเสียงของอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เชิงพาณิชย์ และคู่ค้าฮารด์แวร์ทั่วโลกต่อหน้ารัฐบาลของประเทศต่างๆ และในตลาดการค้าระหว่างประเทศ สมาชิกบีเอสเอ ประกอบด้วยผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดในโลก บีเอสเอสนับสนุนนวัตกรรมเทคโนโลยี ผ่านโครงการเพื่อการศึกษาและนโยบายที่ส่งเสริมการปกป้องลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ การรักษาความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ การค้าและ     อีคอมเมิร์ส สมาชิกบีเอสเอ รวมถึง อโดบี, อาจิเลนท์ เทคโนโลยี,   อัลเทียม, แอปเปิ้ล, ออโต้เดสค์, เบนลี่ ซิสเต็มส์, ซีเอ, คาร์เดนซ์ ดีไซน์ ซิสเต็มส์,ซิสโค ซิสเต็มส์, คอเรล, ไซเบอร์ลิงค์, แดสเซิลท์ ซิสเต็มส์ โซลิดเวิร์คส์ คอร์ปอเรชั่น,  เดล,     เอ็มบาร์คาเดโร, ฟรอนท์ไลน์ พีซีบี โซลูชั่นส์ ในเครือออร์โบเท็ค วาเลอร์ คัมปานี, เอชพี, ไอบีเอ็ม, อินเทล, อินทูต,        แมคอาฟี, ไมโครซอฟท์, ไมเจ็ท, มินิแทบ, เน็ดกราฟฟิคส์, พีทีซี, เคิร์ค, เควสท์ ซอฟต์แวร์, โรเซ็ตต้า สโตน,  เอสเอพี,  สเกลเอเบิล ซอฟต์แวร์, ซีเมนส์, ไซเบส, ไซแมนเทค, ไซนอปซิส, เทคล่า และเดอะ แมธเวิร์กส์  สมาชิกบีเอสเอในประเทศไทยคือไทยซอฟต์แวร์ เอ็นเตอร์ไพร์ส

sianbun on October 08, 2009, 04:17:12 PM
EIU Examines Thailand as Part of Global IT Competitiveness Study

IT sector still an important engine of Thai economic growth and means of accelerating Thailand’s economic recovery; government leaders urged to pursue pro-IT policies and support innovation
   
BANGKOK, 8 October 2009 — A new study offers insights into the key elements for IT Industry competitiveness and provides a ranking of 66 countries based on an analysis of key criteria.

The new study is issued by the Economist Intelligence Unit (EIU) and sponsored by the Business Software Alliance (BSA). According to the study, Thailand’s IT industry is ranked as the 49th most competitive in the world.
 
The study, now in its third consecutive years, assesses and compares the information technology (IT) industry environments to determine the extent to which they enable IT sector competitiveness.  Specifically, the study examines six key criteria for IT industry competitiveness, including business environment, IT infrastructure, human capital, legal environment, R&D environment and support for the IT industry.

Five countries in Asia-Pacific rank among the top 20 countries globally for having the most competitive IT industries, including Australia, Singapore, Japan, Taiwan and South Korea.

“In today’s economic climate, it is critical that governments in the Asia Pacific continue to support the growth of a strong technology sector. The IT sector remains an important engine of economic growth, and economies in the region that are supporting innovation and taking steps to stimulate technology sector output are placing themselves in a strong position to accelerate economic recovery,” said Carlo Parlade, BSA Director of Software Policy, Asia Pacific.

“However, challenges for Asia Pacific governments remain. Economies like China and India must address issues such as balancing large pools of skilled IT personnel with progress in IT infrastructure. With broadband access becoming a prerequisite for many parts of the IT sector, economies with pervasive broadband penetration have a big competitive advantage over those where the infrastructure is lacking,” he said.

“Additionally, the study shows that economies that have strong legal frameworks for the protection of intellectual property (IP) are generally the IT leaders and score higher in the index. In contrast, economies where IP protection has not been well enforced are not traditionally seen as innovators. Some rely instead on their low-cost labour markets to remain competitive but this is hard to sustain over time. By improving on the factors that contribute to IT competitiveness, Asian economies will not only improve their ranking but also generate long term economic growth,” said Parlade.


Thailand achieved a position of 49th in the world in the 2009 IT Industry Competitiveness Index, a drop from 42nd last year. This was a result of declines in both its foreign-investment policy ranking and PC-ownership ranking, which is a heavily weighted indicator in the IT-infrastructure category of the index. Thailand’s foreign-investment policy ranking slipped to 35th, from 29th last year. Despite improvement in PC (personal computer) ownership, its relative ranking declined five places, from 47th in 2008 to 52nd this year.   


Within Asia, Thailand was 11th, behind India (44th in the world) and ahead of the Philippines (51st) and Vietnam (56th).

Among the key findings for Thailand:
The quality of Thailand’s overall business environment was ranked 30th in the world, a slight drop from 28th last year.
Thailand ranked 50th in the world on IT infrastructure, a slight drop from 49th last year.
Thailand ranked 43rd in the world on IT human capital, a moderate improvement from 46th last year.
For its R&D environment, Thailand ranked 58th in the world, a slight rise from 59th last year.
For its legal environment Thailand ranked 57th in the world in 2009, a small drop from 56th last year.
Thailand ranked 29th in the world on support for IT industry development.


Among the key study findings for Asia Pacific:
Coordinated efforts among governments, universities and IT firms in the Asia Pacific are needed to improve the quality of technology training and expand the pool of potential hires. Asian economies continue to produce large numbers of IT employees but lag behind North America and Europe in providing well-rounded technology education. In Asia, IT training would benefit from greater investment in business studies and language skills.
Robust IP protection remains essential to IT sector competitiveness. IP regimes are strong in most developed markets, and emerging economies such as Thailand are also registering slow but steady progress, particularly in the area of enforcement. As innovation gradually becomes more important than low-cost labour to IT firms in China and India, IP enforcement is expected to improve in these economies as well.
Economies where broadbandare pervasive score highly in both the IT infrastructure category as well as the overall rankings. Australia, which falls within the overall top ten ranking, is among the world’s most prominent countries in developing broadband stimulus plans, showing how much importance their governments attach to improving broadband access.
Broadband penetration and PC ownership continue to languish in emerging markets, putting their IT sectors at a disadvantage vis-à-vis more developed markets. While most developed economies boast PC (desktop and laptop) ownership rates ranging between 60% and 85% of the population, rates in many emerging markets with rapidly growing IT sectors such as China, India and Vietnam languish stay at under 20%.
Singapore ranked third in the category of innovation environment, owing to its strong support for R&D and its IT firms’ record of patenting innovations. Taiwanese, South Korean and Japanese firms also remain the most prolific generators of IT patents in Asia.
Taiwan and South Korea have seen steep falls in their rankings — the former from 2nd to 15th and the latter from 8th to 16th — due predominantly to deterioration in their R&D environment scores. These are a result of a change in the data source used in the index model to score IT-related patents.

"While the outlines of good IT policy are the same in good times and bad, the deep global recession has made it all the more urgent to prioritize support for the technology sector," states Manoj Vohra, Director of Research with the Economist Intelligence Unit. "Governments and industry leaders must pay closer attention than ever to ensure they have the right policies in place to maximise the benefits of a globally competitive IT industry."

Six Key Competitiveness Enablers

According to the Economist Intelligence Unit, six factors work together to create a sound environment for the IT sector: an ample supply of skilled workers; an innovation-friendly culture; world-class technology infrastructure; a robust legal regime that protects intellectual property; a stable, open, and competitive economy; and government leadership that strikes the right balance between promoting technology and allowing market forces to work.

Those economies that perform well in these six “competitiveness enablers” generally are home to high-performance IT industries. The study is intended to provide a roadmap for governments in addressing their strengths and weaknesses when it comes to supporting a strong domestic IT sector.   

Other findings from the Economist Intelligence Unit research and BSA recommendations include:

Broadband networks are a vital factor for IT competitiveness, and the competitiveness gap could widen for economies with slower adoption. Technology firms demand fast, reliable, and secure Internet access, and the importance of broadband will grow as more IT services and applications are delivered over the Internet.
Investment in skill development remains a long-term imperative. Those economies that deliver a combination of IT, business and language skills training will generate a stronger IT workforce.
Protectionism and support for ‘“national champions” will hinder recovery efforts — and longer term sector competitiveness. Governments must strike a balance between support that encourages industry growth and investment, and that which introduces unfair market practices and protectionism that can harm competitiveness.
IP regimes are improving in many emerging markets, but further progress is needed. Intellectual property protection remains critically important to IT competitiveness and is a relatively low-cost way of stimulating long-term economic development.

For more information on the index results and the methodology, see “Resilience amid Turmoil: Benchmarking IT Industry Competitiveness 2009,” available free of charge at www.eiu.com or www.bsa.org/globalindex.

For further information, contact:
Artima Tantikul
(t) +66 (0) 2684 1551
(f) +66 (0) 2684 1553
(e)artima@veropr.com

About the Economist Intelligence Unit
The Economist Intelligence Unit is the business information arm of The Economist Group, publisher of The Economist. Through our global network of over 650 analysts, we continuously assess and forecast political, economic and business conditions in 200 countries. As the world's leading provider of country intelligence, we help executives make better business decisions by providing timely, reliable and impartial analysis on worldwide market trends and business strategies.

About the Business Software Alliance
The Business Software Alliance (www.bsa.org) is the foremost organization dedicated to promoting a safe and legal digital world. BSA is the voice of the world's commercial software industry and its hardware partners before governments and in the international marketplace. Its members represent one of the fastest growing industries in the world. BSA programs foster technology innovation through education and policy initiatives that promote copyright protection, cyber security, trade and e-commerce. BSA members include Adobe, Agilent Technologies, Altium, Apple, Autodesk, AVG Technologies, Bentley Systems, CA, Cadence Design Systems, Cisco Systems, Corel, CyberLink, Dassault Systèmes SolidWorks Corporation, Dell, Embarcadero, Frontline PCB Solutions - An Orbotech Valor Company, HP, IBM, Intel, Intuit, McAfee, Microsoft, Mindjet, Minitab, NedGraphics, PTC, Quark, Quest Software, Rosetta Stone, SAP, Scalable Software, Siemens, Sybase, Symantec, Synopsys, Tekla, ThaiSoftware Enterprise and The MathWorks.