ปอร์เช่ที่งานมหกรรมยานยนต์เจนีวา อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์
แชมป์รถสปอร์ตระดับโลก: 919 ไฮบริด (919 Hybrid) และ 911 อาร์เอสอาร์ (911 RSR) การเปิดตัวสู่สาธารณชนอย่างเป็นทางการกับ มาคันน์ เอส ดีเซล (Macan S Diesel) และ การเปิดตัวในยุโรปอย่างเป็นทางการกับ 911 ทาร์ก้า (911 Targa)
สตุ้ดการ์ด. ปอร์เช่ 919 ไฮบริด (Porsche 919 Hybrid) ฉลองการเปิดตัวอย่างเป็นทางการ ณ งานมหกรรมยานยนต์ เจนีวา มอเตอร์โชว์ (Geneva International Motor Show) ภายใต้รูปแบบรถไฮบริดต้นแบบที่จะใช้ในการแข่งขัน 2014 World Endurance Championships (WEC) ที่เปี่ยมไปด้วยนวัตกรรมชั้นสูง โดยมีการจัดแสดงโชว์ควบคู่ไปกับรุ่นปอร์เช่ 911 อาร์เอสอาร์ (911 RSR) บริเวณพื้นที่จัดงานแสดงจากปอร์เช่ที่เจนีวา พร้อมกับรถแข่ง WEC Series 8 รุ่น ที่เป็นรุ่นไฮไลท์ในงานแข่งรถ 24 Hours of Le Mans ไม่เพียงเท่านี้ ปอร์เช่จะจัดแสดงโชว์มาคันน์ เอส ดีเซล (Macan S Diesel(1) สู่สายตาสาธารณชนเป็นครั้งแรกและอีกหนึ่งรุ่นที่นำมาแสดงโชว์ คือรุ่น 911 ทาร์ก้า (911 Targa(2)) ที่เปิดตัวอย่างเป็นทางการในยุโรปเป็นครั้งแรกในงานที่เจนีวาครั้งนี้ด้วยเช่นกัน
ปอร์เช่ 919 ไฮบริด (919 Hybrid): ใช้เทคโนโลยีชั้นนำกับรถสายการผลิต
Matthias Müller ประธานกรรมการของปอร์เช่ได้กล่าวไว้ว่า "สิ่งสำคัญในการพัฒนารถต้นแบบLe Mansคือการทำตามกฎของรถแข่ง สำหรับคลาสรถที่เกี่ยวข้องกับการใช้พลังงานให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ที่สุด ในปี 2014 นั้น รถที่จะชนะการแข่งขัน World Endurance Championship series และ 24 hours of Le Mans จะไม่ใช่แค่เพียงรถที่เร็วที่สุดอีกต่อไป หากแต่จะเป็นรถที่จะวิ่งได้ไกลยิ่งกว่าด้วยพลังงานที่มีมากขึ้น และนี่คือความท้าทายที่ผู้ผลิตรถต้องทำให้ได้สำหรับ 919 ไฮบริด (919 Hybrid) ก็จะเป็นรถที่เร็วที่สุดของเรา และเป็นรถแข่งที่มีความท้าทายซับซ้อนที่สุดตั้งแต่ปอร์เช่เคยสร้างมาอีกด้วย"
ประสิทธิภาพและการประหยัดที่เหนือชั้นของปอร์เช่ 919 ไฮบริด (919 Hybrid) คือผลลัพธ์ของการรักษาความสมดุลของแนวคิดหลัก การรวมชิ้นส่วนแต่ละชิ้นทั้งหมดให้กลายมาเป็นชิ้นส่วนที่มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่เครื่องยนต์สันดาปไปจนถึงระบบการหมุนเวียนพลังงานเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ (Energy recover system), ตัวถังและระบบส่งกำลัง, หลักอากาศพลศาสตร์และหลักสรีรศาสตร์ของผู้ขับขี่ เครื่องยนต์สันดาปคือเครื่องยนต์ตัว V ขนาดกระทัดรัด 4 สูบ และทำงานร่วมกับตัวถังได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาเครื่องยนต์ตามหลักปรัชญาการลดขนาดเพื่อเน้นอนาคต โดยเครื่องยนต์มีขนาด 2 ลิตร มาพร้อมกับระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงโดยตรงและ Mono-turbocharging เครื่องยนต์สามารถวิ่งไปได้จนถึงความเร็วที่ 9000 รอบต่อนาที และมีกำลังขับประมาณ 500 แรงม้า
ไม่เพียงเท่านี้ รถต้นแบบ Le Mans ยังมีระบบการนำพลังงานกลับมาใช้อยู่ 2 ระบบ ซึ่งมีพื้นฐานการทำงานโดยนำพลังงานความร้อนจากแก๊สไอเสียผ่านตัวกำเนิดไฟฟ้ามาใช้ใหม่ โดยระบบไฮบริดรูปแบบที่ 2 นี้มีฟังก์ชั่นการทำงานคล้ายกับรุ่น 918 สไปเดอร์ (918 Spyder) โดยระบบนี้จะมีตัวสร้างพลังงานบนเพลาหน้า เมื่อเกิดการเบรกจะทำการเปลี่ยนพลังงานจลน์ไปเป็นพลังงานไฟฟ้า แบตเตอรี่ ลิเธียมไอออน จะทำหน้าที่เป็นแหล่งเก็บพลังงาน เมื่อผู้ขับขี่ต้องการพลังงานเหล่านี้ มอเตอร์ไฟฟ้าจะทำการขับเคลื่อนเพลาหน้า และทำให้ 919 ไฮบริด (919 Hybrid) กลายมาเป็นรถที่มีระบบการขับเคลื่อนสี่ล้ออย่างสมบูรณ์
ทีมงานปอร์เช่กว่า 200 คนได้ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อทำการพัฒนารถยนต์ต้นแบบ Le Mans ที่ศูนย์การพัฒนาเมือง Weissach โดย Friedrich Enzinger หัวหน้าโครงการ LMP1 ได้กล่าวไว้ว่า “ใน 2 ปีกว่าที่เราสร้างสิ่งเหนือชั้น โดยสร้างทีมงานขึ้นมาและสร้างรถแข่งที่มีความซับซ้อนสูงคันนี้ให้วิ่งได้ โดยพวกเราให้เกียรติต่อประสบการณ์การแข่งขันของคู่แข่งเสมอ ดังนั้นเป้าหมายของเราในปีแรกจึงมีความชัดเจน นั่นคือการจบการแข่งขันและขึ้นกลายมาเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว”
Romain Dumas (นักแข่งชาวฝรั่งเศส), Neel Jani (นักแข่งชาวสวิสเซอร์แลนด์) และ Marc Lieb (นักแข่งชาวเยอรมัน) จะช่วยกันทำการขับขี่รถยนต์ปอร์เช่ 919 ไฮบริด (919 Hybrid) โดยใช้รถเบอร์ 14 ส่วนรถเบอร์ 20 จะทำการขับขี่โดย Timo Bernhard (นักแข่งชาวเยอรมัน) Brendon Hartley (นักแข่งชาวนิวซีแลนด์) และ Mark Webber (นักแข่งชาวออสเตรีย)