วศ./ก.วิทย์ฯจัดอบรมพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ มุ่งต่อยอดการทดสอบสารmineral oil
และnon-intentionally added substances (NIAS) ในวัสดุสัมผัสอาหารเป็นแห่งแรกของไทย
วัสดุสัมผัสอาหารมีความสำคัญมากในอุตสาหกรรมอาหาร แต่บ่อยครั้งตัววัสดุสัมผัสอาหารกลับเป็นสาเหตุของการปนเปื้อนในอาหารเสียเอง เช่น การปนเปื้อนสาร mineral oil ในผลผลิตทางการเกษตรที่บรรจุกระสอบป่าน และ cereal breakfast สำหรับเด็กที่บรรจุในบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากกระดาษรีไซเคิล โดยแหล่งที่มาของสาร NIAS ได้แก่ ความบริสุทธิ์ของสารเติมแต่ง การเกิดปฏิกิริยาเคมีที่ไม่สมบูรณ์ เป็นต้น ซึ่งสามารถแบ่งสาร NIAS เป็นกลุ่มสารเคมีที่สามารถระเหยเป็นกลายไอได้ง่าย สารที่ระเหยได้ยาก และโลหะหนักชนิดต่างๆ ดังนั้นการทดสอบสาร NIAS จึงเป็นการประเมินความปลอดภัยของวัสดุสัมผัสอาหารอย่างครบถ้วนที่นอกเหนือจากสารเคมีที่คาดคะเนไว้ ซึ่งกำลังเป็นประเด็นสำคัญและสอดคล้องกับกฎ ระเบียบ ของสหภาพยุโรป
นางสาวเสาวณี มุสิแดง อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่าในฐานะที่กรมวิทยาศาสตร์บริการได้เข้าร่วมประชุมของคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านมาตรฐานและคุณภาพผลิตภัณฑ์อาเซียนด้านอาหารสำเร็จรูปที่ประเทศอินโดนีเซียพ.ศ.2555 ที่ ประชุมมีมติให้กรมวิทยาศาสตร์บริการจัดตั้งห้องปฏิบัติการอ้างอิงของอาเซียนด้านวัสดุสัมผัสอาหาร (ASEAN Food Reference Laboratory for Food Contact Materials, AFRL) ให้แล้วเสร็จในปี 2557 และได้บรรจุไว้ในAEC Scorecard แล้วนั้น ทางกรม วิทยาศาสตร์บริการได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการทดสอบวัสดุสัมผัสอาหารถ้ากล่าวถึงพิษของสารmineral oilนั้น ถือว่าเป็นเรื่องที่ควรให้ความสำคัญ การได้รับสารอะโรมาติคไฮโดรคาร์บอน (aromatic hydrocarbon) จะก่อให้เกิดการกลายพันธุ์และเกิดมะเร็งได้ส่วนการได้รับไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว (saturated hydrocarbon) จะทำให้เกิดการสะสมในเนื้อเยื่อสิ่งมีชีวิตเช่นม้ามตับต่อมน้ำเหลืองเกิดเป็นปุ่มก้อนไขมันทำให้อวัยวะนั้นเสื่อมสภาพถ้าสะสมเป็นเวลานานจะทำให้อวัยวะเสียหายได้ซึ่งการทดสอบสาร mineral oil และ NIAS ที่ปนเปื้อนในวัสดุสัมผัสอาหารนั้นยังไม่สามารถทดสอบได้ในประเทศไทย มีเพียงห้องปฏิบัติการในสหภาพยุโรปเท่านั้นที่สามารถทดสอบได้
ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทางกรมวิทยาศาสตร์บริการ ต้องพัฒนาขีดความสามารถในการทดสอบสารดังกล่าว ด้วยการจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การทดสอบสาร mineral oil และnon-intentionally added substances (NIAS) ในวัสดุสัมผัสอาหาร โดยเชิญ Mr. MaurusBiedermanผู้เชี่ยวชาญจาก Official Food Control Authority of the Canton of Zurich สมาพันธรัฐสวิส มาเป็นวิทยากร ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่มีความเชี่ยวชาญในด้านนี้เป็นอย่างดี มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารที่ยอมรับกันในระดับโลก อันจะเป็นการพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ของกรมวิทยาศาสตร์บริการให้มีผลการทดสอบเป็นที่ยอมรับระดับนานาประเทศ และทำให้โครงการวิทยาศาสตร์ชีวภาพ มีความพร้อมที่จะเป็นห้องปฏิบัติการอ้างอิงของอาเซียนด้านวัสดุสัมผัสอาหารตามนโยบายของ วศ.
สำหรับเทคนิคที่ได้รับจากการอบรมจะเป็นการแยกสารและกำจัดสิ่งรบกวนในตัวอย่างให้เหมาะสมกับการนำไปหาปริมาณวิเคราะห์โดยใช้เครื่องHigh Performance Liquid Chromatography ทำการแยกสารแบบเก็บFraction และนำสารที่ได้แต่ละFraction ไปทำปฏิกิริยาเพื่อหาปริมาณด้วยเครื่องGC-FID ต่อไปนอกจากนี้ได้ทำคุณภาพวิเคราะห์ด้วยเครื่องGC-MS เพื่อยืนยันชนิดสารที่พบในตัวอย่าง ซึ่งจะนำมาพัฒนาใช้ในอนาคต โดยทดสอบสารmineral oil และNIAS ในวัสดุสัมผัสอาหารประเภทต่างๆได้แก่พลาสติกกระดาษและกระป๋องโลหะบรรจุอาหารพร้อมทั้งให้บริการทดสอบต่อไป