“ชัมบาลา” มหัศจรรย์แห่งดินแดนบนหลังคาโลกที่ไม่ใช่ที่ที่ทุกคนจะไปถึง แต่คือดินแดนในฝันของ “อนันดา เอเวอริงแฮม” ที่จะพาทุกคนด่ำดิ่งสู่สรวงสวรรค์
“ชัมบาลา” มหัศจรรย์แห่งดินแดนบนหลังคาโลกที่ไม่ใช่ที่ที่ทุกคนจะไปถึง แต่คือดินแดนในฝันของ “อนันดา เอเวอริงแฮม” ที่จะพาทุกคนด่ำดิ่งสู่สรวงสวรรค์ ไปพร้อมกับเรื่องราวของตัวละครที่กระทบความรู้สึก และเป็นบทบาทที่เราอยากให้ทุกคนได้สัมผัสและมั่นใจจะรักผู้ชายคนนี้
Q. อยากให้เล่าถึงความเป็นมาของโปรเจ็คต์ “ชัมบาลา” และการที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในโปรเจ็คต์ภาพยนตร์เรื่องนี้
A. คือจริงๆ บทชัมบาลาก่อนมาถึงมือผมมันก็ผ่านคนมาเยอะเหมือนกัน มันก็ผ่านขั้นตอนต่างๆ มาเยอะมาก มันก็ไม่ได้เป็นเรื่องง่ายสักเท่าไหร่กว่ามันจะได้ทำ ซึ่งตัวพี่ปี๊ด-ผกก. (ปัญจพงศ์ คงคาน้อย) คงเล่าให้ฟังได้ดีกว่าว่าเขาไปวิ่งกระโดดโลดเต้นมาอย่างไรบ้างกว่าจะได้ทำ วันหนึ่งผมได้เจอ พี่ปี๊ดผกก. เขาเอาเรื่องมาคุยกับผม ซึ่งพี่ปี๊ดเองเขาเป็นรุ่นพี่ของซันนี่ที่เอแบค คือด้วยทัศนะแรกๆ ที่เจอกันผมก็ดูออกว่าตัวผกก.เองแกก็ออกแนวเด็กแนวหน่อยๆ ดูกวนๆ (หัวเราะ) ก็ยังรู้สึกว่าเอ๊ะเด็กแว๊นซ์ที่ไหนมาทำหนัง (หัวเราะ) แต่พอได้มีโอกาสคุย เราเกิดรู้สึกชอบในทัศนะ คือเรารู้สึกว่าเราคุยกันได้ลื่นไหลมากๆ สำหรับผมมันคือสิ่งสำคัญที่สุดนั่นคือถ้าเราจะทำงานด้วยกัน เราจะต้องมีเคมีที่ลงตัวกับผกก. นั่นคือก่อนที่จะคุยเรื่องเนื้อหาด้วยนะ ก็คุยกันคร่าวๆ เราก็มีโอกาสคุยถึงหนังนิดหน่อย ก็คร่าวๆ ว่าเป็นเรื่องของพี่น้องสองคนไปทิเบตมีปัญหาโน่นนั่นนี่กันคือยอมรับว่าตอนนั้นตัวเราเองก็รู้สึกสนใจในตัวโปรเจ็คต์มากด้วยนั่นเป็นเพราะว่าคือ1.ความที่มันได้เดินทางไปทิเบต 2 .เคมีกับผกก.คนนี้กับเรามันค่อนข้างมีเยอะ แล้วด้วยความที่เขาเป็นผกก.ใหม่ เราก็เลยคิดว่ามันอาจจะเจออะไรใหม่ๆจากมุมมองของเขา ก็ถูกคอกัน หลังจากนั้นเราก็คุยกันมาเรื่อยๆ แชร์ไอเดียกันมา พี่ปี๊ดเองก็เป็นคนที่เปิดเหมือนกัน เขาก็ให้ผมมาช่วยดูเรื่องบทกัน แกก็ให้ผมเสริมเข้าไป ก็คือจุดเริ่มต้นตั้งแต่นั้นมาเราก็รื้อทำบทมาด้วยกัน ตอนนั้นยังอยู่ในช่วงที่เราแก้กันเองอยู่สองคน
Q. เหมือนได้ยินได้ฟังว่าเป็นโปรเจ็คต์ในฝันของตัวผกก.เลยที่อยากทำมาเป็น10ปีแล้ว
A. น่าจะใช่นะฮะ พี่ปี๊ดก็ไม่ใช่คนที่แบบ ขายจิตวิญญาณตัวเองได้ง่ายๆ คือแกเป็นคนที่เก่ง แล้วผมก็รู้ว่าแกเองก็มีโอกาสทำหนังก่อนหน้านี้เหมือนกัน คือก็คงมีการไปเสนอในที่ต่างๆ แต่ว่าทุกคนก็พยายามที่จะบีบคั้นแกให้ทำในรูปแบบที่คนคุ้นเคย หรือว่าทางเจ้าของเงินต้องการ มาร์เกตติ้งต้องการ แต่แกก็ยืนพื้นว่านี่เป็นหนังเรื่องแรก ก็อยากจะทำเป็นหนังที่เขาภูมิใจเองได้ ก็เลย นั่นก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่เราอยากทำงานกับเขา และเราก็ไฟท์มาด้วยกัน ก็มีหลายคนพยายามเปลี่ยนเนื้อหา แต่เราก็ไฟท์มาโดยตลอด จนในที่สุดก็ได้ทำกับที่สหมงคลฟิล์มมันก็ออกมาเป็นชัมบาลาอย่างที่ทุกคนได้เห็นอยู่ในตอนนี้
Q. ส่วนตัวแล้วในความคิดของอนันดา อะไรคือความโดดเด่นหรือความน่าสนใจที่สุดของโปรเจ็คต์นี้ที่ทำให้มีความรู้สึกสนใจที่จะเอาตัวเราเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของโปรเจ็คต์ “ชัมบาลา”
A. คืออย่างแรกเลยสิ่งที่ทำให้เรารู้สึกอยากเข้ามาเกี่ยวข้องกับโปรเจ็คต์นี้ คือพอเขาพูดถึงเรื่องมันเกิดขึ้นในทิเบต สำหรับผม มันคือดินแดนในฝันอยู่แล้ว อยากไปมาก แล้วก็ไม่เคยได้มีโอกาสได้ไปสักที หลายๆ ครั้งก็ได้ไปใกล้ๆ ไปตรงชายแดน ฝั่งอินเดียบ้าง ฝั่งเนปาลบ้างแต่ไม่เคยข้ามไปทิเบตสักกะที เลยพอหนังมัน BASE อยู่ที่ทิเบต ลึกๆ ในใจเราอยากทำมากตอนนั้นแล้วก็ตามภาษาเราที่ต้องเล่นตัวหน่อย (หัวเราะ) ก็ต้อง ไหนเอาบทมาอ่านหน่อยซิ ขอดู เช็คทัศนะทีมงาน แต่หลักๆ คืออยากไปทิเบต อยากไปถ่ายรูปที่ทิเบต เราเห็นรูปที่ทิเบต พวกทิวทัศน์พวกภูเขาสุดลูกหูลูกตา มันอยากไปเห็นกับตา
Q. จริงๆ ดูเหมือนว่าอนันดาเป็นนักแสดงที่เดินทางตลอดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทำไมถึงยังไม่มีโอกาสไปเหยียบดินแดนบนหลังคาโลกสักที ทั้งๆ ที่น่าจะมีโอกาสได้ไปกว่าคนอื่น
A. ทิเบตเป็นประเทศที่ใหญ่นะ ทุกคนชอบคิดว่าทิเบตคงเหมือนเนปาล ภูฏาน ไม่ ทิเบตใหญ่โตมโหฬารมาก แล้ว LANDSCAPE ที่เราอยากเห็น อย่างเราไปเนปาล อะไรอย่างเนี่ยะ เราได้เห็นภูเขาหิมาลัย โน่น นี่ นั่น แต่ว่า มันก็ไม่เหมือนกับพวก LANDSCAPE ของทิเบตที่เป็นภูเขาดิน ไม่มีต้นไม้ ไม่มีหิมะ ไม่มีอะไรทั้งสิ้นแบบสุดลูกหูลูกตาเลย คือมันตะลึงเลย ซึ่งภาพนั้นผมเคยเห็นแต่ในโปสการ์ด ก็เลยอยากไปถ่ายรูป แต่นอกเหนือจากไอ้เรื่องของทิเบต มันก็มี พอเราได้คุยกับพี่ปี๊ดเรื่องตัวละคร แล้วแกมีความยืดหยุ่นในคาแรคเตอร์ของเรา เราแฮปปี้มาก มันทำให้ตัวละครมันมีมิติชีวิตแน่นอน เราอยากให้มันมีน้ำหนักจริงไง แล้วทุกคนก็จะเป็นห่วงว่าแบบไอ้ปมของมันจะเยอะเกินไปมั้ย มันจะดูเป็นเด็กมีปัญหาไปมั้ย มันจะซีเรียสไปมั้ย พอคุยไปคุยมาแล้วบอกว่าไอ้คนอย่างนี้มันกลบเกลื่อนด้วยความบ้าบิ่น ความกวนตีน ความเฮฮา เราก็เลยคุยกับพี่ปี๊ดว่า ถ้าเราทำให้ตัวละครมันมีสีสันกว่านี้หน่อย ไม่ต้องเป็นตัวละครขี้เก๊กเก็บอารมณ์ โฉ่งฉ่าง เสียงดังน่าหมั่นไส้เนี่ยะ เฮ้ยมันจะน่าเล่นมาก เราก็คุย แกก็แบบมีความยืดหยุ่นสูง เราก็ช่วยกันทำแหละ ก็คือปั้นตัวละครให้มันเป็น สมมติตัวละครของซันนี่ ไอ้วุฒิเนี่ยะมันเป็นผ้าขาว เป็นสีขาว ของเราก็คือดำเหมือกไปเลย
Q. ตัวบทเปิดโอกาสให้อนันดาถ่ายทอดให้ชีวิตกับตัวละครตัวนี่อย่างไรบ้าง ผกก. บอกว่าเป็นการพลิกบทบาทของ 2 นักแสดงนำเลย
A. ผมกับพี่ปี๊ดแก้กันอยู่หลายรอบเหมือนกัน ตอนแรกที่เราชอบนะคือพล็อต เส้นเรื่องของพี่น้องสองคนเดินทางไปในทิเบต ต่างคนมีปมต่างกันแล้วต่างคนต่างแสวงหาดินแดนชัมบาลา คอนเซ็ปท์นั่นนะมันดีมาก ยิ่งมีปม แกยิ่งชอบ ที่นี้พอปั้นตัวละคร ไอ้สองพี่น้องก็เริ่มฉีกออกจากกันมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งเป็นเรื่องดี ตอนแรกๆ มันยังมีความเป็นพระเอกขี่กัน ซึ่งเราแบบมันควรจะแบบอย่าเลย ไอ้นี่จะเป็นเนิร์ดก็ต้องให้มันเนิร์ดไป ไอ้นี่เป็นแบดบอยก็ต้องให้มันเป็นแบดบอยที่มันทุเรศไปเลยมั้ย ก็เลยมา DEVELOPE พัฒนาตัวละครกันหลังจากนั้น เราก็จะชอบบทมากขึ้น เราก็จะรู้สึกเออมันมีอะไรที่คือเราสามารถจินตนาการตัวละครได้ เป็นคนจริงๆ นะ พอเขาปล่อย freedom ให้เราทำตัวละครให้มันสุดกว่านี้เนี่ยะ เราก็สนุกแล้วไง เราก็แบบ เรารู้สึกว่าเรามีพื้นที่ขยับเยอะมาก เราก็เริ่มที่จะสร้างไดอาล็อคขึ้นมาเอง เริ่มมีท่าทาง พรอพ โน่น นั่นนี่ (หัวเราะ) เราก็เริ่มแบบต้องใส่แว่นไว้ตลอดเวลา ต้องมีหนวดยาวๆ (หัวเราะ) คือมันสนุกกับตัวละครไง มันควรจะต้องเมาตลอดเวลา คือมันต้องเป็นคนที่กวนโอ้ยมากๆ
คือจริงๆ ตอนเราสร้างตัวละคร บางทีเราจะไปยึดติดกับ1อารมณ์อะไรอย่างเนี่ยะ เราจะไปติดกับ1คำพูดที่มันบ่งบอกถึงอารมณ์ของตัวละครตัวนั้น คนเรามันมีอะไรหลากหลายอารมณ์ แล้วมันก็เปลี่ยนไปทุกวี่ทุกวันนะครับ คราวนี้คือ เราบอกว่าตัวละครมันโฉ่งฉ่างกวนก็ได้ แต่ว่ามันก็ต้องมีเหตุและผล มันก็ต้องมีที่มาที่ไป แล้วคราวนี้คือเราว่าคนทุกคนมันก็มีการแสดงออกที่แตกต่างกันหมด ของอย่างซันนี่มีปัญหา ของตัวละครวุฒิซันนี่มีปัญหาแล้วมันก็รู้สึกว่ามันใช้ตรรกะไปแก้ แล้วฉันจะแก้ปัญหา ถึงแม้ว่าของเขาก็อาจจะหลอกตัวเองอยู่ส่วนหนึ่ง แต่เขาก็ใช้เหตุผลที่ดูเหมือนจะถูกต้อง ไอ้ของเราเนี่ยะก็คือเราก็คุยกับพี่ปี๊ดว่าเราต้องฉีกไอ้สองตัวละครตัวนี้ออกห่างกัน ของตัวละครเราแก้ปัญหาด้วยประชด ด้วยวิธีฉาบฉวย มันไม่ใช่เรื่องผิดถูกหรอก จะครื้นเครง ซึ่งไอ้ตรงนั้นเราก็คุยกับพี่ปี๊ดว่าถ้าไปสุดเนี่ยะ มันจะเวิร์คกว่า แล้วพอเรื่อง develope ไป เราก็จะค่อยสังเหตุเห็นว่า มันสร้างเปลือกอันนี้เพื่อปกป้องอะไรอย่างอื่น ซึ่งไอ้ตัวน้องชายที่สนิทกับมันก็จะมีความรู้สึกสงสัยของมันตลอดว่าพี่กูทำตัวแบบนี้ทำไม ตัวละครเรามันช่างประชดประชันใช่มั้ย มันยิ่งผลัก เราก็ยิ่งแหย่มัน เรายิ่งเห็นมันพยายามจะนิ่ง พยายามจะมีสมาธิ พยายามจะใช้เหตุผล ก็ยิ่งทำให้เรารู้สึกว่ากูไม่ยอม อย่ามาทำตัวเก๊กมาก ซึ่งมันก็เลยเกิดความขัดแย้ง คือทั้งเรื่องมันก็จะมีไดนามิค (แรงเหวี่ยงกระทบกระทั่งกันระหว่างตัวละครทั้งคู่) อย่างนี้ไป มันก็ต้องเกิดเรื่องระหว่างสองพี่น้อง คือหนังมันก็จะ develope พัฒนามา มันก็หลากหลายครับ ดูเหมือนว่าจะเป็นหนังสนุก เหมือนหนังตลกทั่วไป พอไปสักพักหนึ่งมันก็จะเริ่มขุดคุ้ยเข้าไปในตัวละครลึกขึ้นเรื่อยๆ แล้วยิ่งตัวละครที่ถูกบังคับให้อยู่ด้วยกัน คือมันไม่ได้เลือกที่จะอยู่ด้วยกันนะ แรกๆมันก็สนุกด้วยแบบ 2 คนที่ด่ากันไปมา ทำอะไรแบบไม่ถูกใจกันพอไปเรื่อยๆ มันก็จะได้เห็นแบบว่าอ๋อมันมีที่มาที่ไป มันมีเหตุผลที่ไอ้น้องชายไม่อยากเห็น หรือเหม็นขี้หน้าพี่มัน ทำไมพี่มันมันพยายามจะเรียกร้องจากน้องชายเหรอ ทำไมพี่มันต้องถึงต้องติดมาทิเบตด้วย พอไปเรื่อยๆ คาแรคเตอร์มันก็จะเปลี่ยน คือมัน DEVELOPE ไปมันก็จะเห็นที่มาที่ไปของอารมณ์ต่างๆ ของเขา