pooklook on May 12, 2012, 07:49:48 PM
13 กลโกงอันตรายบนโลกไอที (โปรดระวัง)

Techno Update ฉบับครบรอบ 13 ปี ขอเล่นกับเลข 13 ที่ฝรั่งบางคนถือว่าเป็นเลขลางร้าย ด้วยการแฉกลโกงและอันตรายบนโลกออนไลน์ เพื่อที่ชาว Lisa จะได้รู้ทันและหาทางแก้ไขได้ถ้าเกิดขึ้นกับเรา

             1. หลอกลวงขายสินค้า การโกงเรื่องนี้มีมานานตั้งแต่โลกยังไม่มีอินเทอร์เน็ตเลยครับ ยิ่งพอมีโลกออนไลน์ให้ซื้อขายของกัน คนร้ายก็ฉวยโอกาสที่คนซื้อคนขายไม่ได้เห็นหน้ากัน ไม่รู้ว่าอยู่ที่ไหน ก็ยิ่งหลอกกันง่ายขึ้น เรื่องนี้มีเป็นประจำครับโดยเฉพาะกับสินค้าที่มีคนสนใจมากๆ อย่าง iPone หรือตุ๊กตา Blythe ที่มีหลายคนเสียเงินไปแต่ไม่ได้ของ ฟ้องร้องกันเป็นล้าน ๆ ก็มี

             2. การขโมยใช้เครดิตการ์ด เรื่องนี้เป็นเรื่องที่คนกลัวกันมากที่สุด เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้การค้าขายบนโลกออนไลน์ของไทยผ่านเครดิตการ์ดยังมีมูลค่าไม่มากนัก แต่ในความจริงแล้วไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะป้องกันคน Hack เอาเบอร์บัตรเครดิตเราไปใช้ได้ ชั้นแรกก็ต้องซื้อขายกับเว็บหรือร้านค้าออนไลน์ที่น่าเชื่อถือ มีระบบเข้ารหัสในการจ่ายเงิน โดยสังเกตที่หน้าที่อยู่เว็บจะต้องเป็น https:// ไม่ใช่แค่ http:// เฉยๆ อาจจะตั้งรหัส 4 หลักกับทางธนาคาร เพื่อการซื้อขายออนไลน์อีกทีก็ได้ แค่นี้คุณก็จะสะดวกสบายและปลอดภัยในการช้อปปิ้งมากขึ้นครับ

             3. การหลอกล่อให้ใช้บริการ วิธีนี้มักจะมาทางโทศัพท์ในรูปแบบ SMS, MMS หรือโทรมาจากระบบอัตโนมัติ เมื่อเรารับสายแล้วกดปุ่มตาม หรือกดที่ SMS, MMS โดยไม่ฟังหรืออ่านให้ดีก่อนก็จะกลายเป็นว่าเราสมัครรับบริการและเสียเงินไปแล้ว ทางที่ดีคืออย่ากด SMS หรือ MMS ที่ส่งมาจากคนที่ไม่รู้จัก หรือไม่ก็ไม่ต้องรับสายเบอร์แปลกๆ ไปเลยก็ได้ครับ

             4. ชวนให้ร่วมธุรกิจขายตรง แม้ธุรกิจขายตรงจะไม่ได้เป็นการทำผิดกฎหมาย แต่บางครั้งรูปแบบที่มาแบบออนไลน์ก็ทำให้เรารำคาญ หรือเสียเงินได้โดยไม่รู้ตัว ถ้าเราต้องกรอกข้อมูลที่อยู่ ประวัติบัตรประชาชนบัญชีธนาคารที่จะให้โอนเงินค่าตอบแทนให้ ก็เท่ากับเราปิดเผยความลับของเราให้คนอื่นรู้ ผู้ไม่ประสงค์ดี ก็จะสามารถเอาข้อมูลนี้ไปประกอบอาชญากรรมได้โดยที่เราไม่รู้ตัว

             5. การหลอกลวงจากประเทศในทวีปแอฟริกา ชาว Lisa อาจจะเคยได้รับจดหมายขอความช่วยเหลือในการขนทองหรือเงินอออกจากประเทศ โดยสัญญาว่าจะมีค่าตอบแทนให้ในมูลค่าที่สูง แต่เราจะต้องโอนเงินไปให้ส่วนหนึ่งก่อนเพื่อจัดเตรียมเอกสาร ฟังดูเหมือนเรื่องเหลือเชื่อแต่มีหลายคนที่โลภเห็นว่าค่าตอบแทนที่ได้สูงและหลงโอนเงินไปให้เยอะแล้วนะครับ

             6. การหลอกหลวงขายยา หรือสินค้ามหัศจรรย์ ผู้ป่วยหรือคนอ่อนแอมักโดนหลอกได้ง่ายเสมอ การโฆษณาเกินจริงบนโลกออนไลน์มีมากมายครับ ประเภทตัวยาแก้มะเร็ง เหรียญเครื่องรางวิเศษรักษาโรคสินค้าเหล่านี้ไม่ได้รับการตรวจสอบและไม่มีอย. อันตรายมากนะครับ

             7. หลอกลวงจากเว็บหาคู่ การหาเพื่อนหรือหาคนรักบนโลกออนไลน์เป็นเรื่องปกติแล้วในสมัยนี้ หลายคู่พบรักและแต่งงานกันได้เพราะอินเทอร์เน็ต แต่ก็มีอีกหลายคนถูกมิจฉาชีพในคราบนักรักมาหลอกลวงให้เสียเงินทอง มีทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เรื่องอ่อนไหวแบบนี้ ขอให้ชาว Lisa ระวังดีๆ นะครับ

             8. หลอกว่าได้ของรางวัล ถ้าคุณได้รับ E-Mail แจ้งว่าได้รับของรางวัลจากที่ใดก็ตาม แต้องโอนค่าส่งค่าภาษีให้สงสัยไว้ก่อน และตรวจสอบว่าเราได้เคยร่วมกิจกรรมที่เค้าอ้างมั้ย ค้นดูในอินเทอร์เน็ตว่ามีกิจกรรมนี้จริงมั้ย และดีที่สุดคือขอเข้าไปรับของรางวัลด้วยตัวเองและจะชำระค่าภาษีในวันที่ไปรับของ

             9. เทคนิค Phishing เป็นคำที่แผลงมาจากคำว่า Fishing ที่แปลว่าตกปลา โดยมิจฉาชีพจะสร้างเว็บที่หน้าตาเหมือนกับเว็บที่เราใช้ประจำขึ้นมา เช่น เว็บธนาคาร หรือเว็บอีเมล์ เมื่อเรากรอกข้อมูล Login เข้าไป ก็จะเหมือนเราใส่รหัสผิด ให้ใส่ใหม่ แต่จริงๆ แล้วระบบของมิจฉาชีพพวกนี้ก็จะเก็บข้อมูล Login ของเราไปเรียบร้อยแล้ว ผู้ร้ายก็จะเอาข้อมูลที่ได้ไป Login เข้าเว็บธนาคารจริงๆ อีกที วิธีการหลีกเลี่ยงไม่ให้โดนหลอกด้วย Phishing ก็ต้องตรวจสอบที่อยู่เว็บว่าเป็นเว็บที่เราต้องการเข้าจริงๆ เพราะถึงหน้าตาจะเหมือนกันแต่ชื่อ Domain ไม่มีทางเหมือนกันได้แน่นอน การเลือกใช้ Browser รุ่นใหม่ๆ ก็จะช่วยได้ เช่น Google, Chrome, Firefox 4, IE8 ซึ่งจะมีระบบป้องกันการ Phishing อยู่ด้วย

             10.หลอกล่อให้คลิกด้วยข้อความหรือรูป สำหรับสาวๆ แล้ว ข้อความประเภท “ลดราคากว่า 80% ทั้งร้าน” หรือสำหรับหนุ่มๆ อย่าง “ดาราญี่ปุ่นโชว์อึ๋มท้าลมร้อน” อาจจะกระต้นต่อมอยากรู้ของเราให้กดเข้าไป พอเข้าไปก็มีข้อความว่า “ต้องอัพเกรด Flash Player ก่อน” พอกดเข้าไปอีกแทนที่จะได้ดูกลับกลายเป็นรับเอาไวรัสเข้ามาในเครื่องโดยไม่รู้ตัว ดังนั้น ก่อนกดอะไรที่ดูดีเกินกว่าจะเป็นจริงได้ให้ระมัดระวังไว้ก่อนครับ

             11. หลอกลวงให้ทำบุญ ข้อความหรืออีเมล์ที่ชักชวนให้บริจาคเพื่อช่วยเหลือเด็กที่เป็นโรค โรงเรียนในถิ่นทุรกันดาร โครงการช่วยเหลือที่ประสบปัญหาไม่มีเงินทุนในการบริหาร ก่อนจะตัดสินใจโอนเงินบริจาคไปก็ควรศึกษาให้ดีก่อน โดยการค้นบนอินเทอร์เน็ตนี่แหละ มีหลายกรณีที่เอาเรื่องที่เคยเกิดขึ้นแล้วมาโพสต์เพื่อหลอกลวงเอาเงิน ทั้งๆ ที่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือได้เสียชีวิตไปแล้ว 

             12. วุฒิการศึกษาปลอม อยากเรียนจบระดับไหนบนอินเทอร์เน็ตทำให้ท่านได้ไม่ต้องไปนั่งเรียน ไม่ต้องไปสอบ แค่เรียนออนไลน์กับเราก็ได้แล้ว เรียนครบก็ออกวุฒิให้ คนเรียนก็ดีใจที่ได้วุฒิ แต่อาจไม่รู้ว่าวุฒิที่ได้นั้นไม่ได้รับการรับรองจากสถานบันการศึกษาอื่น จะเอาไปเรียนต่อก็ไม่ได้ จะเอาไปสมัครงานก็อาจโดนปฏิเสธตั้งแต่ยังไม่สัมภาษณ์ แต่ถ้าจะเรียน Online Course ต้องตรวจสอบให้ดีก่อนว่าสถานบันที่เปิดสอนนั้นได้รับการยอมรับจากองค์กรของรัฐหรือไม่นะครับ

             13. Identity Theft ปลอมแปลงบุคคล ในหนังที่พระเอกปลอมเป็นผู้ร้ายเพื่อเข้าไปขโมยความลับมาใช้ก็ดูเท่ดี แต่ถ้าเราโดนผู้ร้ายปลอมตัวเป็นเราคงไม่สนุกนัก ที่เขาเอาข้อมูลของเราไปหลอกลวงคนอื่น เพราะเมื่อมีปัญหาเราก็จะโดนก่อน ทางที่ดีที่สุดคือหากจะรับใครเป็นเพื่อน จะอกเล่าชีวิตส่วนตัวให้ใครฟังบนโลกออนไลน์ก็ต้องระมัดระวังนะครับ
 
เพิ่มเติม  http://www.itplaza.co.th/update_details.php?type_id=7&news_id=15513&page=1

na on May 13, 2012, 06:28:15 PM
 :)