This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.
Pages: [1]
1
ไร้สังกัด / ฝากข่าวโครงการฝึกงานภาคฤดูร้อนเครือCP
« on: March 10, 2011, 07:20:13 PM »
เปิดแล้วครับ โครงการฝึกงานภาคฤดูร้อน บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด รีบติดต่อหน่อยน๊ะครับ ไม่รู้เต็มหรือยัง
ที่มาของโครงการ
ด้วยทางบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ตระหนักดีว่าการจะพัฒนาบุคลากรที่เป็น “คนดีและคนเก่ง” ให้แก่สังคมและประเทศชาติของเรานั้น ต้องเริ่มจากการที่ทรัพยากรบุคคลของประเทศในระดับอุดมศึกษาซึ่งจะเป็นกำลัง ของชาติต่อไปในอนาคต ได้มีองค์ความรู้ ทักษะ ความชำนาญและความเข้าใจในสายวิชาชีพของตนเองอย่างแท้จริง และเรายังตระหนักดีว่าความรู้นั้นไม่ได้มีเฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น แต่การเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงก็ยังเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้และ พัฒนาตนเองอีกด้วย ดังนั้นโครงการฝึกงานภาคฤดูร้อน บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด จึงได้ถูกจัดทำขึ้นมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 และดำเนินการติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
วัตถุประสงค์โครงการ
1. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและสมรรถนะของเด็กไทยให้เท่าเทียมกับอารยะประเทศ
2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ระบบเศรษฐกิจไทยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบใช้ฐานความรู้เป็นหลักในการประกอบอาชีพ
3. เพื่อให้นิสิต นักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงในสายวิชาที่ได้เรียนรู้มา (Action Learning)
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ
นิสิต นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ Internship นี้ จะใช้เวลาในการเข้าร่วมโครงการเป็นเวลา 2 เดือน คือ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปีการศึกษา และทางบริษัทฯ ยังได้จัดพี่เลี้ยงผู้สอนงาน ทำหน้าที่สอนงานนิสิต นักศึกษาตลอดระยะเวลาของการฝึกงานนี้ ซึ่งทางบริษัทฯ ได้เล็งเห็นว่านิสิต นักศึกษาจะได้รับประโยชน์อย่างยิ่งจากการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง ดังนี้คือ
1. ได้ค้นหาตัวเอง
2. เตรียมความพร้อมก่อนก้าวเข้าสู่โลกของการทำงานจริง
3. มีเครือข่ายจากหลากหลายวิชาชีพ ซึ่งเป็นนิสิต นักศึกษาที่มาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศ
สิ่งที่นิสิต นักศึกษาจะได้รับเพิ่มเติมจากการเข้าร่วมโครงการ
1. การประกันอุบัติเหตุและค่ารักษาพยาบาล ตลอดระยะเวลา 2 เดือน ที่ฝึกงาน
2. ประกาศนียบัตรจากทางบริษัทหลังจากการฝึกงานเสร็จสิ้น
คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ
1. นิสิต นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 ของสถาบันการศึกษา (ในสาขาวิชาที่มีการเปิดรับสมัคร)
2. สามารถเดินทางไปฝึกงาน ณ สถานที่ปฏิบัติงานต่างจังหวัดได้
เอกสารการสมัคร
1. สำเนาหนังสือรับรองผลการเรียน (Transcript) ที่มีผลการเรียนสะสมตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ถึงปัจจุบัน
ขั้นตอนการคัดเลือก
1. ทำแบบทดสอบบุคลิกภาพ (Personality Test)
2. การสัมภาษณ์ (ในกรณีที่นิสิต นักศึกษาผ่านการคัดเลือกจากแบบทดสอบบุคลิกภาพ)
นิสิต นักศึกษาที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ หรือต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มกรุณาติดต่อ
คุณศรีทวิน นวลแจ่ม
สำนักพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์
เลขที่ 1 อาคารซีพี.ทาวเวอร์ 2 ชั้น 24 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์: 0-2699-5175
โทรสาร: 0-2699-5061 และ 0-2699-5182
E-mail Address: sritwin.n@cp.co.th
รีบสมัครกันน๊ะครับ ขอให้โชคดีทุกคน
ที่มาของโครงการ
ด้วยทางบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด ตระหนักดีว่าการจะพัฒนาบุคลากรที่เป็น “คนดีและคนเก่ง” ให้แก่สังคมและประเทศชาติของเรานั้น ต้องเริ่มจากการที่ทรัพยากรบุคคลของประเทศในระดับอุดมศึกษาซึ่งจะเป็นกำลัง ของชาติต่อไปในอนาคต ได้มีองค์ความรู้ ทักษะ ความชำนาญและความเข้าใจในสายวิชาชีพของตนเองอย่างแท้จริง และเรายังตระหนักดีว่าความรู้นั้นไม่ได้มีเฉพาะในห้องเรียนเท่านั้น แต่การเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงก็ยังเป็นส่วนหนึ่งในการเรียนรู้และ พัฒนาตนเองอีกด้วย ดังนั้นโครงการฝึกงานภาคฤดูร้อน บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด จึงได้ถูกจัดทำขึ้นมาตั้งแต่ปีการศึกษา 2546 และดำเนินการติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
วัตถุประสงค์โครงการ
1. เพื่อเพิ่มขีดความสามารถและสมรรถนะของเด็กไทยให้เท่าเทียมกับอารยะประเทศ
2. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ระบบเศรษฐกิจไทยเป็นระบบเศรษฐกิจแบบใช้ฐานความรู้เป็นหลักในการประกอบอาชีพ
3. เพื่อให้นิสิต นักศึกษาได้มีโอกาสเรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงในสายวิชาที่ได้เรียนรู้มา (Action Learning)
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากโครงการ
นิสิต นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ Internship นี้ จะใช้เวลาในการเข้าร่วมโครงการเป็นเวลา 2 เดือน คือ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปีการศึกษา และทางบริษัทฯ ยังได้จัดพี่เลี้ยงผู้สอนงาน ทำหน้าที่สอนงานนิสิต นักศึกษาตลอดระยะเวลาของการฝึกงานนี้ ซึ่งทางบริษัทฯ ได้เล็งเห็นว่านิสิต นักศึกษาจะได้รับประโยชน์อย่างยิ่งจากการเรียนรู้โดยการปฏิบัติจริง ดังนี้คือ
1. ได้ค้นหาตัวเอง
2. เตรียมความพร้อมก่อนก้าวเข้าสู่โลกของการทำงานจริง
3. มีเครือข่ายจากหลากหลายวิชาชีพ ซึ่งเป็นนิสิต นักศึกษาที่มาจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศ
สิ่งที่นิสิต นักศึกษาจะได้รับเพิ่มเติมจากการเข้าร่วมโครงการ
1. การประกันอุบัติเหตุและค่ารักษาพยาบาล ตลอดระยะเวลา 2 เดือน ที่ฝึกงาน
2. ประกาศนียบัตรจากทางบริษัทหลังจากการฝึกงานเสร็จสิ้น
คุณสมบัติของผู้สมัครเข้าร่วมโครงการ
1. นิสิต นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 ของสถาบันการศึกษา (ในสาขาวิชาที่มีการเปิดรับสมัคร)
2. สามารถเดินทางไปฝึกงาน ณ สถานที่ปฏิบัติงานต่างจังหวัดได้
เอกสารการสมัคร
1. สำเนาหนังสือรับรองผลการเรียน (Transcript) ที่มีผลการเรียนสะสมตั้งแต่ชั้นปีที่ 1 ถึงปัจจุบัน
ขั้นตอนการคัดเลือก
1. ทำแบบทดสอบบุคลิกภาพ (Personality Test)
2. การสัมภาษณ์ (ในกรณีที่นิสิต นักศึกษาผ่านการคัดเลือกจากแบบทดสอบบุคลิกภาพ)
นิสิต นักศึกษาที่สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการ หรือต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มกรุณาติดต่อ
คุณศรีทวิน นวลแจ่ม
สำนักพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพองค์กร เครือเจริญโภคภัณฑ์
เลขที่ 1 อาคารซีพี.ทาวเวอร์ 2 ชั้น 24 ถนนรัชดาภิเษก แขวงดินแดง เขตดินแดง กรุงเทพ 10400
โทรศัพท์: 0-2699-5175
โทรสาร: 0-2699-5061 และ 0-2699-5182
E-mail Address: sritwin.n@cp.co.th
รีบสมัครกันน๊ะครับ ขอให้โชคดีทุกคน
2
เทคโนโลยีใหม่ๆ - Smart Phone - PC - IT / Re: พบโทรจันโจมตีมือถือ Android
« on: February 17, 2011, 09:30:42 AM »
ขอบคุณครับ.
3
ไร้สังกัด / ข้อมูลเกี่ยวกับการขอทุนการศึกษา
« on: February 01, 2011, 08:28:15 AM »
20 คำถามเกี่ยวกับทุนในเมืองไทย
* หากต้องการจะหาข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับทุน ควรเริ่มได้ที่ไหนบ้าง
นอกจากสำนักงาน ก.พ. หรือตามเว็บไซต์ขององค์กรต่าง ๆ ที่เราต้องการขอทุนแล้ว ก็ยังมีวิธีทางอื่นในการเข้าถึงข้อมูลทุนการศึกษาอีก เช่น เว็บไซต์วิชาการดอทคอม (www.vchakarn.com), นิตยสารการศึกษาวันนี้, หนังสือทุนเรียนฟรีมีทั่วโลก เป็นต้น
* ตอนนี้มีศูนย์ที่ดูแลนักเรียนไทยในต่างประเทศที่ไหนบ้าง
สำหรับศูนย์ดูแลนักเรียนไทยในต่างประเทศของรัฐบาล (ก.พ.) มีอยู่ในประเทศต่าง ๆ ดังนี้ ประเทศอังกฤษ (ลอนดอน), ประเทศสหรัฐอเมริกา (วอชิงตัน ดี.ซี.), ประเทศออสเตรเลีย (แคนเบอร์รา), ประเทศญี่ปุ่น (โตเกียว), ประเทศฝรั่งเศส (ปารีส) นักเรียนไทยสามารถเข้าไปปรึกษาและให้ความช่วยเหลือเรื่องราวต่าง ๆ ในขณะที่เรียนอยู่ในประเทศนั้น ๆ ได้
* ทุนสำหรับนักศึกษาแพทย์และพยาบาลมีบ้างไหม
ทุนกองทัพ, ทุนวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า,วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก, วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ รวมถึงทุนไฟเชอร์ (Pfizer) ที่มีข้อแม้ว่าต้องเป็นนักศึกษาหรือนิสิตในคณะแพทยศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์เภสัชศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ ที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยมหิดล ขอนแก่น เชียงใหม่ และสงขลานครินทร์ และทุน GSK (เพื่อพยาบาลโดยเฉพาะ) เป็นทุนที่ต้องการสนับสนุนทางด้านการศึกษาในสาขาพยาบาลศาสตร์และกลับมาทำงาน เป็นพยาบาลชุมชน ทั้งสองทุนหลังนี้เป็นทุนเอกชนที่มอบให้สำหรับนักเรียนแพทย์และพยาบาล เพื่อการเรียนระดับปริญญาภายในประเทศ
* ศูนย์แนะแนวของ ก.พ. กับศูนย์แนะแนวการศึกษาของเอกชนต่างกันอย่างไร
แตกต่างกันตรงที่ศูนย์แนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศของ ก.พ. ไม่ได้ดูแลนักเรียนที่ไปเรียนต่อต่างประเทศโดยทุนส่วนตัวโดยตรง และการไปขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการเรียนต่อ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น และไม่ได้เป็นตัวแทนของสถาบันการศึกษาใด ๆ โดย ก.พ. จะให้ข้อมูลทั่วไป ในขณะที่เอกชนเป็นตัวแทนของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ
* ก.พ. มีหน้าที่อะไรบ้าง
สำนักงาน ก.พ. เป็นหน่วยงานของรัฐแห่งเดียวที่มีหน้าที่ดูแลจัดการการศึกษาแก่นักเรียนที่ ไปเรียนต่อยังต่างประเทศตามกฎหมาย และโดยหลักการแล้ว ก.พ. มีหน้าที่จัดการการศึกษาให้ความช่วยเหลือแก่นักเรียนที่เรียนต่อในต่าง ประเทศ และมีบทบาทสำคัญในการจัดสรรทุนต่าง ๆ ของรัฐบาลด้วย
* สามารถดูมาตรฐานของแต่ละสถาบันของประเทศต่าง ๆ ได้ที่ไหน
การตรวจสอบมาตรฐานสถาบันต่าง ๆ ที่เราต้องการไปเรียนต่อนั้น มีความสำคัญในเรื่องของการกลับมาใช้วิทยฐานะในการทำงาน ดังนั้นก่อนไปควรตรวจสอบให้ดีกว่าสถาบันเหล่านั้นได้รับการรับรองจากทาง ก.พ. หรือไม่สามารถตรวจสอบได้ที่ www.ocsc.go.th/structure/structure_assure_inter.asp
* นอกจากสำนักงาน ก.พ. ที่ถนนพิษณุโลกแล้ว ยังมีที่อื่น ๆ อีกไหมที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องทุนและการศึกษาต่อต่างประเทศ
เกี่ยวกับทุนต่าง ๆ สามารถสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับทุนรัฐบาลได้ที่ ศูนย์แนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศของสำนักงาน ก.พ. ได้ที่สยามสแควร์ ซอย 7 โทร. 0-2252-9737
* นอกจากทุนระยะยาวแล้ว มีทุนระยะสั้นบ้างหรือเปล่า
นอกเหนือไปจากทุนเพื่อไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี-เอกแล้ว ยังมีการให้ทุนประเภทฝึกอบรมดูงานอีก เช่น ทุนสำหรับผู้บริหาร, ทุนพัฒนาอาจารย์ เป็นต้น โดยทุนเหล่านี้ผู้ที่ขอรับทุนจะได้ศึกษาเพียงระดับประกาศนียบัตรเท่านั้น แต่จำนวนของทุนก็มีมากกว่าทุนที่ไปศึกษาต่อในระดับปริญญา
* ทางรัฐบาลมีทุนสำหรับผู้พิการบ้างหรือเปล่า
ปัจจุบันทางรัฐบาลมีการจัดสรรทุนเพื่อผู้พิการไว้ด้วย เพื่อเปิดโอกาสให้ไปศึกษาต่อในต่างประเทศ โดยใน ปี พ.ศ. 2550 ได้มีการจัดสรรทุนดังนี้ ทุนสำหรับผู้พิการทางการเห็น ในสาขาวิชา Linguistic จำนวน 2 ทุน ระดับปริญญาโทที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และทุนสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน ในสาขา ICT in Education ระดับปริญญาโท จำนวน 2 ทุน ที่ประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา
* ทุน ก.พ. เปิดรับสมัครช่วงไหน
ทุนรัฐบาลที่ทางสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ได้ประกาศเปิดรับสมัครแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับมัธยมศึกษา เพื่อรับทุนในการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี จะเปิดรับสมัครในช่วงเดือนพฤศจิกายน เช่น ทุนเล่าเรียนหลวง, ทุนไทยพัฒน์, ทุนกลาง, ทุน ODOS เป็นต้น ส่วนทุนรัฐบาลที่มอบให้สำหรับที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเพื่อรับทุนศึกษา ต่อในระดับที่สูงขึ้น จะเปิดรับสมัครรับทุนช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.ocsc.go.th และ www.scholar.ocsc.go.th
* เรียนไม่เก่งมีสิทธิ์ขอทุนไหม
สำหรับผู้ที่เรียนไม่เก่งมากนัก แต่ต้องการทุนการศึกษา ถ้าเป็นทุนรัฐบาลรับสมัครเป็นประจำทุกปี คิดว่าคงหมดสิทธิ์เนื่องจากทางรัฐบาลได้กำหนดเกรดเฉลี่ยสะสมไว้เกือบทุกทุน ว่าต้องได้ 3.00 ขึ้นไป หรือบางทุนต้องไม่ต่ำกว่า 3.50 แต่ถ้าเป็นคนที่มีความสามารถทางด้านกีฬาดนตรีหรืออื่น ๆ ในระดับยอดเยี่ยมก็สามารถสมัครรับทุนได้ในบางมหาวิทยาลัยที่มีทุนสนับสนุน ทางการศึกษาในส่วนนี้อยู่บ้าง
* ทุน ODOS คืออะไร
ทุน One Dicstrict One Scholarship หรือ ODOS เป็นทุนการศึกษาของรัฐบาลที่เปิดโอกาสให้แก่นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอน ปลายที่ได้รับคัดเลือกจากทุกอำเภอ และกิ่งอำเภอที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ทางการศึกษา แต่มีผลการเรียนและมีความประพฤติดี ได้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีทั้งในและต่างประเทศ สำหรับการศึกษาในต่างประเทศต้องเป็นประเทศกลุ่มที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ อาทิ เยอรมนี, ฝรั่งเศส, เนเธอร์แลนด์, จีน, ญี่ปุ่น, อิตาลี เป็นต้น ปัจจุบันมีนักเรียนทุน ODOS จำนวน 2 รุ่นแล้ว
* นักเรียนทุน ODOS มีการฝึกอบรมกันก่อนเดินทางไปเรียนต่างประเทศบ้างหรือเปล่า
ปัจจุบันทาง ก.พ. มีการจัดอบรมทางภาษาและมีการเรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศที่นักเรียนทุนได้ เลือกไปกันก่อนเป็นเวลา 3 เดือน ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒองครักษ์ ยกเว้นผู้ที่เดินทางไปประเทศจีนจะได้ไปฝึกอบรมที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ซึ่งการฝึกอบรมนี้จะช่วยลดปัญหาทางด้านภาษาเมื่อไปถึงในประเทศนั้น ๆ ได้
* ทุนเล่าเรียนหลวงกับทุนรัฐบาลต่างกันอย่างไร
ทุนเล่าเรียนหลวงกับทุนรัฐบาล (ก.พ.) เป็นทุนที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาลเช่นเดียวกัน แต่แตกต่างกันตรงที่วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งทุนนี้ขึ้น ทุนเล่าเรียนหลวงเป็นทุนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าได้จัดตั้งขึ้นเพื่อ พระราชทานแก่ผู้ที่มีผลการเรียนยอดเยี่ยมเพื่อไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ซึ่งต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นทุนที่มอบให้ผู้สมัครทุนที่มีผลการเรียนยอดเยี่ยมเช่นเดียวกันเพื่อ ศึกษาต่อในต่างประเทศระดับปริญญาตรี โดยต้องกลับมาทำงานที่เมืองไทยในระยะเวลาที่ทุนได้กำหนดไว้ แต่ไม่จำเป็นต้องทำงานในสังกัดในหน่วยงานของราชการเหมือนกับทุนรัฐบาลอื่น ๆ ที่มีสังกัดการทำงานไว้ในข้อผูกพัน
* ทุนไทยพัฒน์คืออะไร
ทุนนี้เป็นทุนการศึกษาที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราชพระราชทานชื่อทุน “ไทยพัฒน์” ซึ่งเป็นทุนที่ได้จัดสรรเพื่อนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอน ปลายกระจายทั่วทุกภาคของประเทศ เพื่อให้มีโอกาสไปศึกษาต่อในต่างประเทศ เพื่อเตรียมกำลังคนในการกลับมาพัฒนาประเทศในสาขาวิชาต่าง ๆ
* ทุนไทยพัฒน์กับทุนเล่าเรียนหลวงแตกต่างกันอย่างไร
แตกต่างกันตรงที่การจัดสรรทุน เนื่องจากที่ผ่านมาตั้งแต่เริ่มมีการให้ทุนเล่าเรียนหลวง ผู้ที่ได้รับทุนส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ แทบทั้งสิ้น ดังนั้น ผู้ที่อาศัยอยู่ในต่างจังหวัด และเรียนในต่างจังหวัดจึงมีโอกาสได้รับทุนเล่าเรียนน้อยกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราพระองค์ทรงเล็งเห็นว่านักเรียนทั่วทุกภาค ของประเทศควรได้รับสิทธิ์ในการรับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศเช่นกันพระองค์จึง ทรงพระราชทานชื่อทุนนี้ขึ้น โดยทุนนี้มีการกำหนดจำนวนนักเรียนผู้มีสิทธิ์รับทุนไว้อย่างเท่าเทียมทั่ว ทุกภาคของประเทศ
* ทุนรัฐบาลมีข้อผูกพันกับผู้ขอทุนอย่างไร
สำหรับทุนรัฐบาลทุกประเภทมีข้อผูกพันในเรื่องของการกลับมาทำงานใช้ทุนใน ประเทศไทย ส่วนมากแล้วต้องกลับมาทำงานรับราชการเพื่อชดใช้ทุนเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 เท่าของระยะเวลาที่ไปศึกษาต่อ เช่น ขอทุนจาก ก.พ. ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่สหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 2 ปี เราต้องกลับมาทำงานในหน่วยงานราชการที่ให้ทุนในเมืองไทยเป็นเวลา 4 ปี เป็นต้น
* เมื่อได้รับทุนรัฐบาลไปเรียนจนจบแล้ว ไม่กลับมาทำงานใช้ทุนที่เมืองไทยได้หรือไม่
ได้ แต่ถ้าผู้ที่ได้รับทุนไปแล้วไม่สามารถปฏิบัติตามข้อผูกพันของทุนรัฐบาลได้ นั้น ต้องชำระค่าปรับเต็มจำนวนกับทุนที่ได้รับแล้วและต้องจ่ายเพิ่มค่าปรับเพิ่ม อีก 2 เท่าของทุนที่ได้รับไป แต่ทางที่ดีก่อนสมัครรับทุนควรคิดอย่างรอบคอบเสียก่อนว่าต้องการกลับมาทำงาน รับราชการ หรือต้องการกลับมาช่วยทำงานพัฒนาประเทศไทยหรือไม่ ซึ่งถ้าตอบว่าไม่ ก็ไม่ควรสมัครขอรับทุนรัฐบาลตั้งแต่ต้น
* ทุนการศึกษาในเมืองไทยมีกี่ประเภท อย่างใดบ้าง
ทุนที่ให้โดยองค์กรในประเทศไทยนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ ทุนรัฐบาลและเอกชน โดยทุนทั้ง 2 ประเภทนี้มีทุนที่เป็นแบบมีข้อผูกพัน และเป็นทุนให้เปล่ากล่าวคือ ผู้ที่ขอทุนนั้น ๆ ไม่ต้องกลับมาทำงานชดใช้ทุนหรือปฏิบัติตามข้อกำหนดหลังจากได้รับทุนจนจบการ ศึกษาแล้ว
* อยากสอบถามข้อมูลเรื่องทุนสามารถสอบถามได้ที่ไหนบ้าง
ถ้าเป็นทุนรัฐบาลสามารถสอบถามข้อมูลโดยละเอียดได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ถนนพิษณุโลก (ตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล) โทร. 0-2281-3333 และศูนย์แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ สำนักงานก.พ. ที่ สยามสแควร์ ซอย 7 โทร. 0-2252-9737-8 หรือสายด่วน 1786 หรือที่เว็บไซต์ www.ocsc.go.th, www.studyabroad.ocsc.go.th
* หากต้องการจะหาข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับทุน ควรเริ่มได้ที่ไหนบ้าง
นอกจากสำนักงาน ก.พ. หรือตามเว็บไซต์ขององค์กรต่าง ๆ ที่เราต้องการขอทุนแล้ว ก็ยังมีวิธีทางอื่นในการเข้าถึงข้อมูลทุนการศึกษาอีก เช่น เว็บไซต์วิชาการดอทคอม (www.vchakarn.com), นิตยสารการศึกษาวันนี้, หนังสือทุนเรียนฟรีมีทั่วโลก เป็นต้น
* ตอนนี้มีศูนย์ที่ดูแลนักเรียนไทยในต่างประเทศที่ไหนบ้าง
สำหรับศูนย์ดูแลนักเรียนไทยในต่างประเทศของรัฐบาล (ก.พ.) มีอยู่ในประเทศต่าง ๆ ดังนี้ ประเทศอังกฤษ (ลอนดอน), ประเทศสหรัฐอเมริกา (วอชิงตัน ดี.ซี.), ประเทศออสเตรเลีย (แคนเบอร์รา), ประเทศญี่ปุ่น (โตเกียว), ประเทศฝรั่งเศส (ปารีส) นักเรียนไทยสามารถเข้าไปปรึกษาและให้ความช่วยเหลือเรื่องราวต่าง ๆ ในขณะที่เรียนอยู่ในประเทศนั้น ๆ ได้
* ทุนสำหรับนักศึกษาแพทย์และพยาบาลมีบ้างไหม
ทุนกองทัพ, ทุนวิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า,วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก, วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ รวมถึงทุนไฟเชอร์ (Pfizer) ที่มีข้อแม้ว่าต้องเป็นนักศึกษาหรือนิสิตในคณะแพทยศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์เภสัชศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์ ที่เรียนอยู่ในมหาวิทยาลัยมหิดล ขอนแก่น เชียงใหม่ และสงขลานครินทร์ และทุน GSK (เพื่อพยาบาลโดยเฉพาะ) เป็นทุนที่ต้องการสนับสนุนทางด้านการศึกษาในสาขาพยาบาลศาสตร์และกลับมาทำงาน เป็นพยาบาลชุมชน ทั้งสองทุนหลังนี้เป็นทุนเอกชนที่มอบให้สำหรับนักเรียนแพทย์และพยาบาล เพื่อการเรียนระดับปริญญาภายในประเทศ
* ศูนย์แนะแนวของ ก.พ. กับศูนย์แนะแนวการศึกษาของเอกชนต่างกันอย่างไร
แตกต่างกันตรงที่ศูนย์แนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศของ ก.พ. ไม่ได้ดูแลนักเรียนที่ไปเรียนต่อต่างประเทศโดยทุนส่วนตัวโดยตรง และการไปขอคำปรึกษาเกี่ยวกับการเรียนต่อ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น และไม่ได้เป็นตัวแทนของสถาบันการศึกษาใด ๆ โดย ก.พ. จะให้ข้อมูลทั่วไป ในขณะที่เอกชนเป็นตัวแทนของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ
* ก.พ. มีหน้าที่อะไรบ้าง
สำนักงาน ก.พ. เป็นหน่วยงานของรัฐแห่งเดียวที่มีหน้าที่ดูแลจัดการการศึกษาแก่นักเรียนที่ ไปเรียนต่อยังต่างประเทศตามกฎหมาย และโดยหลักการแล้ว ก.พ. มีหน้าที่จัดการการศึกษาให้ความช่วยเหลือแก่นักเรียนที่เรียนต่อในต่าง ประเทศ และมีบทบาทสำคัญในการจัดสรรทุนต่าง ๆ ของรัฐบาลด้วย
* สามารถดูมาตรฐานของแต่ละสถาบันของประเทศต่าง ๆ ได้ที่ไหน
การตรวจสอบมาตรฐานสถาบันต่าง ๆ ที่เราต้องการไปเรียนต่อนั้น มีความสำคัญในเรื่องของการกลับมาใช้วิทยฐานะในการทำงาน ดังนั้นก่อนไปควรตรวจสอบให้ดีกว่าสถาบันเหล่านั้นได้รับการรับรองจากทาง ก.พ. หรือไม่สามารถตรวจสอบได้ที่ www.ocsc.go.th/structure/structure_assure_inter.asp
* นอกจากสำนักงาน ก.พ. ที่ถนนพิษณุโลกแล้ว ยังมีที่อื่น ๆ อีกไหมที่ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องทุนและการศึกษาต่อต่างประเทศ
เกี่ยวกับทุนต่าง ๆ สามารถสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับทุนรัฐบาลได้ที่ ศูนย์แนะแนวการศึกษาต่อต่างประเทศของสำนักงาน ก.พ. ได้ที่สยามสแควร์ ซอย 7 โทร. 0-2252-9737
* นอกจากทุนระยะยาวแล้ว มีทุนระยะสั้นบ้างหรือเปล่า
นอกเหนือไปจากทุนเพื่อไปศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี-เอกแล้ว ยังมีการให้ทุนประเภทฝึกอบรมดูงานอีก เช่น ทุนสำหรับผู้บริหาร, ทุนพัฒนาอาจารย์ เป็นต้น โดยทุนเหล่านี้ผู้ที่ขอรับทุนจะได้ศึกษาเพียงระดับประกาศนียบัตรเท่านั้น แต่จำนวนของทุนก็มีมากกว่าทุนที่ไปศึกษาต่อในระดับปริญญา
* ทางรัฐบาลมีทุนสำหรับผู้พิการบ้างหรือเปล่า
ปัจจุบันทางรัฐบาลมีการจัดสรรทุนเพื่อผู้พิการไว้ด้วย เพื่อเปิดโอกาสให้ไปศึกษาต่อในต่างประเทศ โดยใน ปี พ.ศ. 2550 ได้มีการจัดสรรทุนดังนี้ ทุนสำหรับผู้พิการทางการเห็น ในสาขาวิชา Linguistic จำนวน 2 ทุน ระดับปริญญาโทที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และทุนสำหรับผู้พิการทางการได้ยิน ในสาขา ICT in Education ระดับปริญญาโท จำนวน 2 ทุน ที่ประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา
* ทุน ก.พ. เปิดรับสมัครช่วงไหน
ทุนรัฐบาลที่ทางสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ได้ประกาศเปิดรับสมัครแบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ ระดับมัธยมศึกษา เพื่อรับทุนในการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี จะเปิดรับสมัครในช่วงเดือนพฤศจิกายน เช่น ทุนเล่าเรียนหลวง, ทุนไทยพัฒน์, ทุนกลาง, ทุน ODOS เป็นต้น ส่วนทุนรัฐบาลที่มอบให้สำหรับที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีเพื่อรับทุนศึกษา ต่อในระดับที่สูงขึ้น จะเปิดรับสมัครรับทุนช่วงเดือนมีนาคมของทุกปี สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.ocsc.go.th และ www.scholar.ocsc.go.th
* เรียนไม่เก่งมีสิทธิ์ขอทุนไหม
สำหรับผู้ที่เรียนไม่เก่งมากนัก แต่ต้องการทุนการศึกษา ถ้าเป็นทุนรัฐบาลรับสมัครเป็นประจำทุกปี คิดว่าคงหมดสิทธิ์เนื่องจากทางรัฐบาลได้กำหนดเกรดเฉลี่ยสะสมไว้เกือบทุกทุน ว่าต้องได้ 3.00 ขึ้นไป หรือบางทุนต้องไม่ต่ำกว่า 3.50 แต่ถ้าเป็นคนที่มีความสามารถทางด้านกีฬาดนตรีหรืออื่น ๆ ในระดับยอดเยี่ยมก็สามารถสมัครรับทุนได้ในบางมหาวิทยาลัยที่มีทุนสนับสนุน ทางการศึกษาในส่วนนี้อยู่บ้าง
* ทุน ODOS คืออะไร
ทุน One Dicstrict One Scholarship หรือ ODOS เป็นทุนการศึกษาของรัฐบาลที่เปิดโอกาสให้แก่นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอน ปลายที่ได้รับคัดเลือกจากทุกอำเภอ และกิ่งอำเภอที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ทางการศึกษา แต่มีผลการเรียนและมีความประพฤติดี ได้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับปริญญาตรีทั้งในและต่างประเทศ สำหรับการศึกษาในต่างประเทศต้องเป็นประเทศกลุ่มที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ อาทิ เยอรมนี, ฝรั่งเศส, เนเธอร์แลนด์, จีน, ญี่ปุ่น, อิตาลี เป็นต้น ปัจจุบันมีนักเรียนทุน ODOS จำนวน 2 รุ่นแล้ว
* นักเรียนทุน ODOS มีการฝึกอบรมกันก่อนเดินทางไปเรียนต่างประเทศบ้างหรือเปล่า
ปัจจุบันทาง ก.พ. มีการจัดอบรมทางภาษาและมีการเรียนรู้วัฒนธรรมของประเทศที่นักเรียนทุนได้ เลือกไปกันก่อนเป็นเวลา 3 เดือน ที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒองครักษ์ ยกเว้นผู้ที่เดินทางไปประเทศจีนจะได้ไปฝึกอบรมที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ซึ่งการฝึกอบรมนี้จะช่วยลดปัญหาทางด้านภาษาเมื่อไปถึงในประเทศนั้น ๆ ได้
* ทุนเล่าเรียนหลวงกับทุนรัฐบาลต่างกันอย่างไร
ทุนเล่าเรียนหลวงกับทุนรัฐบาล (ก.พ.) เป็นทุนที่ได้รับการจัดสรรจากรัฐบาลเช่นเดียวกัน แต่แตกต่างกันตรงที่วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งทุนนี้ขึ้น ทุนเล่าเรียนหลวงเป็นทุนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าได้จัดตั้งขึ้นเพื่อ พระราชทานแก่ผู้ที่มีผลการเรียนยอดเยี่ยมเพื่อไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ซึ่งต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นทุนที่มอบให้ผู้สมัครทุนที่มีผลการเรียนยอดเยี่ยมเช่นเดียวกันเพื่อ ศึกษาต่อในต่างประเทศระดับปริญญาตรี โดยต้องกลับมาทำงานที่เมืองไทยในระยะเวลาที่ทุนได้กำหนดไว้ แต่ไม่จำเป็นต้องทำงานในสังกัดในหน่วยงานของราชการเหมือนกับทุนรัฐบาลอื่น ๆ ที่มีสังกัดการทำงานไว้ในข้อผูกพัน
* ทุนไทยพัฒน์คืออะไร
ทุนนี้เป็นทุนการศึกษาที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราชพระราชทานชื่อทุน “ไทยพัฒน์” ซึ่งเป็นทุนที่ได้จัดสรรเพื่อนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอน ปลายกระจายทั่วทุกภาคของประเทศ เพื่อให้มีโอกาสไปศึกษาต่อในต่างประเทศ เพื่อเตรียมกำลังคนในการกลับมาพัฒนาประเทศในสาขาวิชาต่าง ๆ
* ทุนไทยพัฒน์กับทุนเล่าเรียนหลวงแตกต่างกันอย่างไร
แตกต่างกันตรงที่การจัดสรรทุน เนื่องจากที่ผ่านมาตั้งแต่เริ่มมีการให้ทุนเล่าเรียนหลวง ผู้ที่ได้รับทุนส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ แทบทั้งสิ้น ดังนั้น ผู้ที่อาศัยอยู่ในต่างจังหวัด และเรียนในต่างจังหวัดจึงมีโอกาสได้รับทุนเล่าเรียนน้อยกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราพระองค์ทรงเล็งเห็นว่านักเรียนทั่วทุกภาค ของประเทศควรได้รับสิทธิ์ในการรับทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศเช่นกันพระองค์จึง ทรงพระราชทานชื่อทุนนี้ขึ้น โดยทุนนี้มีการกำหนดจำนวนนักเรียนผู้มีสิทธิ์รับทุนไว้อย่างเท่าเทียมทั่ว ทุกภาคของประเทศ
* ทุนรัฐบาลมีข้อผูกพันกับผู้ขอทุนอย่างไร
สำหรับทุนรัฐบาลทุกประเภทมีข้อผูกพันในเรื่องของการกลับมาทำงานใช้ทุนใน ประเทศไทย ส่วนมากแล้วต้องกลับมาทำงานรับราชการเพื่อชดใช้ทุนเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 2 เท่าของระยะเวลาที่ไปศึกษาต่อ เช่น ขอทุนจาก ก.พ. ไปศึกษาต่อในระดับปริญญาโทที่สหรัฐอเมริกา เป็นเวลา 2 ปี เราต้องกลับมาทำงานในหน่วยงานราชการที่ให้ทุนในเมืองไทยเป็นเวลา 4 ปี เป็นต้น
* เมื่อได้รับทุนรัฐบาลไปเรียนจนจบแล้ว ไม่กลับมาทำงานใช้ทุนที่เมืองไทยได้หรือไม่
ได้ แต่ถ้าผู้ที่ได้รับทุนไปแล้วไม่สามารถปฏิบัติตามข้อผูกพันของทุนรัฐบาลได้ นั้น ต้องชำระค่าปรับเต็มจำนวนกับทุนที่ได้รับแล้วและต้องจ่ายเพิ่มค่าปรับเพิ่ม อีก 2 เท่าของทุนที่ได้รับไป แต่ทางที่ดีก่อนสมัครรับทุนควรคิดอย่างรอบคอบเสียก่อนว่าต้องการกลับมาทำงาน รับราชการ หรือต้องการกลับมาช่วยทำงานพัฒนาประเทศไทยหรือไม่ ซึ่งถ้าตอบว่าไม่ ก็ไม่ควรสมัครขอรับทุนรัฐบาลตั้งแต่ต้น
* ทุนการศึกษาในเมืองไทยมีกี่ประเภท อย่างใดบ้าง
ทุนที่ให้โดยองค์กรในประเทศไทยนั้นแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทด้วยกันคือ ทุนรัฐบาลและเอกชน โดยทุนทั้ง 2 ประเภทนี้มีทุนที่เป็นแบบมีข้อผูกพัน และเป็นทุนให้เปล่ากล่าวคือ ผู้ที่ขอทุนนั้น ๆ ไม่ต้องกลับมาทำงานชดใช้ทุนหรือปฏิบัติตามข้อกำหนดหลังจากได้รับทุนจนจบการ ศึกษาแล้ว
* อยากสอบถามข้อมูลเรื่องทุนสามารถสอบถามได้ที่ไหนบ้าง
ถ้าเป็นทุนรัฐบาลสามารถสอบถามข้อมูลโดยละเอียดได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ถนนพิษณุโลก (ตรงข้ามทำเนียบรัฐบาล) โทร. 0-2281-3333 และศูนย์แนะแนวการศึกษาต่างประเทศ สำนักงานก.พ. ที่ สยามสแควร์ ซอย 7 โทร. 0-2252-9737-8 หรือสายด่วน 1786 หรือที่เว็บไซต์ www.ocsc.go.th, www.studyabroad.ocsc.go.th
4
ไร้สังกัด / สวยดีน๊ะ..เก็บมาฝากจ้า
« on: January 21, 2011, 10:49:54 AM »
เขาถ่ายไว้สวยดี..เห็นแล้วอยากไปจัง..จะหมดหนาวแล้ว จะได้ไปไม๊เนี่ย..
ไอหมอกบนดอยอินทนนท์ เชียงใหม่.
ขอบคุณภาพสวยจาก: peetim.multiply.com
ไอหมอกบนดอยอินทนนท์ เชียงใหม่.
ขอบคุณภาพสวยจาก: peetim.multiply.com
Pages: [1]