Show Posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - happy

Pages: 1 ... 2229 2230 [2231] 2232 2233 ... 2397
33451
Cast

นพชัย ชัยนาม
รับบท  ตุลย์
นพชัย หรือ ปีเตอร์ เกิดมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2516 เป็นนักแสดงที่มากความสามารถ และโด่งดังจากการรับบท พระราชมนู ในมหากาพย์ภาพยนตร์เรื่อง ตำนานสมเด็นพระนเรศวร ภาค 2 3 และ 4 และ องคุลีมาล อีกทั้งยังฝากผลงาน ทั้งโฆษณา ภาพยนตร์ ละครโทรทัศน ์และ มิวสิควีดีโอไว้อีกมากมาย ปีเตอร์ ได้มีโอกาสร่วมงานครั้งแรกกับผู้กำกับเป็นเอก รัตนเรือง ในภาพยนตร์เรื่อง นางไม้ ในปี 2009 และ สวัสดีบางกอก ตอน Silence ในปีเดียวกัน และ ภาพยนตร์เรื่อง “ฝนตกขึ้นฟ้า” เป็นเรื่องล่าสุดที่ปีเตอร์กลับมาพบกับผู้กำกับคู่ใจอีกครั้ง

Filmography
2011   ตำนานสมเด็ดพระนเรศวร 4
2011   ตำนานสมเด็นพระนเรศวร 3
2009   Sawasdee Bangkok (ตอน“Silence”)
2009   นางไม้
2007   ตำนานสมเด็นพระนเรศวร 2
2003   องคุลีมาล


คริส หอวัง
รับบท เอริน
คริส หอวัง เกิดเมื่อวันที่ 1 มกราคม 1985 จบการศึกษาจากโรงเรียนนานาชาติร่วมฤดี
ก่อนที่จะทุ่มเทความสนใจให้กับการเต้น ด้วยการเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนอารีย์นาฏยศิลป์ หลังจบการศึกษา คริสเดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศสหรัฐอเมริกา ณ Walnut hill Performance arts School Boston, USA และ California Institute of Arts LA, USA 
หลังกลับมายังประเทศไทย คริสเริ่มต้นชีวิตการสอนเต้นรำควบคู่ไปกับงานถ่ายแบบ และดีเจให้กับ คลื่นวิทยุ Fat Radio  คริสประสบความสำเร็จและโดดเด่นจากการรับบทแสดงนำในภาพยนตร์เรื่อง รถไฟฟ้ามาหานะเธอ

Filmography
2010 มือปืนดาวพระเสาร์
2009 รถไฟฟ้ามาหานะเธอ
2008 อีติ๋มตายแน่


ชนกพร  สยังกูล
รับบท ทิวา

ชนกพร หรือ ดรีม เกิดเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 1985 จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์  มหาวิทยาลัย พระจอมเกล้าฯธนบุรี  ดรีมฝากผลงานไว้กับวงการถ่ายแบบ และ พรีเซนเตอร์แบรนด์ชื่อดัง อยา่ง MAC  คอลเลคชั่น Fabulous Feline , LulaRock  and  Nunatanan ฯลฯ “ฝนตกขึ้นฟ้า” เป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของเธอ



โจอี้ บอย
รับบท ต่อพงษ์

อภิสิทธ์ โอภาสเอี่ยมลิขิต หรือ โจอี้ บอย เกิดมาในครอบครับลูกครึ่งจีน และมีความสนใจในดนตรีฮิพ ฮอพมาตั้งแต่เขาอายุ 14 ในปี 1994 โจอี้บอย ได้รับการเซ็นสัญญากับค่ายเพลง Bakery Music และ ออกอัลบั้มแรก ชื่อ Fun Fun Fun  ในปี 1995 โจอี้บอย ออกซิงเกิลร่วมกับศิลปิน เรกเก้ ชาวแคนาดา ชื่อว่า Snow และ เป็นซิงเกิลที่โด่งดังมากในประเทศไทย ในปี 2000 โจอี้ บอยย้ายมาอยู่ในสังกัดของ GMM Grammy และ ตั้งชื่อแบรนด์ของตัวเองว่า ก้านคอคลับ พร้อมกับ ผลักดันศิลปินรุ่นถัดๆ ไป
สำหรับวงการภาพยนตร์ โจอี้ บอย ฝากผลงานแสดงเรื่องแรกไว้กับภาพยนตร์เรื่อง  เก๋า  และ ตามด้วย ภาพยนตร์ทำเงินอย่าง หลวงพี่เท่ง 2 และ ผลงานการกำกับภาพยนตร์ด้วยตนเองเรื่องแรกชื่อ ก้านคอกัด

33452
Producers

พวัสส์ สวัสดิ์ชัยเมธ


พวัสส์ สวัสดิ์ชัยเมธ (ชื่อเดิม ศักดิ์ศิริ จันทรังษี) เกิดที่กรุงเทพฯ พวัสส์ สวัสดิ์ชัยเมธ เริ่มต้นอาชีพของตนโดยการเป็นผู้กำกับศิลป์ที่ Siam Studio ซึ่งเป็นหนึ่งในบริษัทผลิตภาพยตร์โฆษณาที่ก่อตั้งในยุคเริ่มแรกของประเทศไทย พวัสส์ เข้าศึกษาใน New York Institute of  Technologies ซึ่งเขาศึกษาปริญญาโทที่นั่น ซึ่งเน้นไปที่การผลิตภาพยนตร์และโทรทัศน์ เขากลับมาประเทศไทยและเริ่มงานกำกับศิลป์อีกครั้งให้กับบริษัท Matching Studio ในปี พ.ศ. 2542 เขาได้กำกับศิลป์ให้กับภาพยนตร์เรื่อง 6ixtynin9 ซึ่งเป็นการร่วมงานกับเป็นเอก รัตนเรือง และได้ทำงานร่วมกันมาตั้งแต่นั้น ในปี 2547 พวัสส์ ได้ทำงานเป็นผู้ออกแบบงานสร้าง เรื่อง Les Fils du vent (Sons of the Wind) ภาพยนตร์ฝรั่งเศสซึ่งถ่ายทำในประเทศไทย ต่อมาในปี 2549 พวัสส์ ก่อตั้งบริษัทของตัวเองชื่อว่า Local Color Films, 7 Nights (Nanayo) กำกับภาพยนตร์โดย Naomi Kawase (Cannes’s Grand Pix Award Winner) นับเป็นหนึ่งในภาพยนตร์เรื่องแรกที่เขาร่วมผลิตขึ้นมา หลังจากนั้นได้ไม่นาน พวัสส์ก็ได้เริ่มผลิตโครงการ Sawasdee Bangkok ซึ่งเป็นการรวมเอาเรื่องราวสั้นๆ เก้าเรื่องซึ่งแสดงให้เห็นประเทศไทยจากหลายๆมุมมองของผู้กำกับภาพยนตร์ไทยร่วมสมัย ผลงานการผลิตต่อจากนั้นของเขาประกอบไปด้วย “อินทรีแดง”  ภาพยนตร์โดย วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง, “นางไม้” ภาพยนตร์โดย เป็นเอก รัตนเรือง
Filmography
2011   Pen-ek Ratanaruang’s Headshot - Producer
2010   Wisit Sasanatieng’s Red Eagle - Producer & Production Designer
2009   Somkiat Vituranich’s October Sonata - Production Designer
   Pen-ek Ratanaruang’s Nymph - Producer & Production Designer
   Sawasdee Bangkok (omnibus) – Producer
2008   Naomi Kawase’s 7 Nights (Nanayomachi) – Associate Producer
2007    Pen-ek Ratanaruang’s Ploy – Production Designer
2006   Pen-ek Ratanaruang’s Invisible Waves – Production Designer
2005   Banjong Pisanthanakun and Parkpoom Wongpoom’s Alone – Production Designer
2004   Julien Seri’s Son of the Wind – Production Designer
Surapong Pinijkhar’s The Siam Renaissance – Production Designer
2004   Pen-ek Ratanaruang’s Last Life in the Universe – Production Designer
   Bangkok Confidential Film – Art Dept. Supervisor
2000   Pen-ek Ratanaruang’s 6ixtynin9 – Art Director


Raymond Phathanavirangoon

ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์และผู้จัดงานภาพยนตร์ระหว่างประเทศ Raymond Phathanavirangoon ปัจจุบันเป็นตัวแทนของ Cannes Critics’ Week และที่ปรึกษารายการของ งานภาพยนตร์ระหว่างประเทศของฮ่องกง เขายังทำงานเป็น Creative Consultant สำหรับ Asian Film Awards และ Reading Committee Member สำหรับ Hong Kong-Asia Film Financing Forum (HAF) ก่อนหน้านี้ เขาทำหน้าที่ผู้คัดเลือกภาพยนตร์ระหว่างประเทศสำหรับ Toronto International Film Festival และ Toronto Reel Asian Film Festival เขาเคยเป็นผู้อำนวยการของ Marketing & Special Projects สำหรับตัวแทนการขายระหว่างประเทศของ  Fortissimo Films ในปี พ.ศ 2550 เขาเคยเป็นสมาชิกของ Teddy Jury ที่งานภาพยนต์ Berlin และในปี 2553 เป็นสมาชิกของ International Jury ของงานภาพยนตร์ Antalya ผลงานการผลิตของเขาประกอบไปด้วย Kiyoshi Kurosawa’s Tokyo Sonata (2551, ผู้อำนวยการสร้างร่วม) Pang Ho-Cheung’s Dream Home (2553, ผู้อำนวยการสร้างร่วม) และ Boo Junfeng’s Sandcastle (2553, ผู้อำนวยการสร้างร่วม) เขาเป็นผู้ดำเนินรายการสำหรับการประชุม Network Breakfast ของ Cannes Producers ในปี 2552 และได้มีการออกไปกล่าวในงานต่างๆ ทั่วโลก

Filmography
2011   Pen-ek Ratanaruang’s HEADSHOT (Producer)
2010   Boo Junfeng’s SANDCASTLE (Associate Producer) – Cannes Critics’ Week
Pang Ho-Cheung’s DREAM HOME (Co-Producer) – Opening Film, Udine Film Festival
2008   Kiyoshi Kurosawa’s TOKYO SONATA (Associate Producer) – Cannes Un Certain Regard

33453

ชื่อภาพยนตร์   ฝนตกขึ้นฟ้า
ชื่อภาษาอังกฤษ         Headshot
บริษัทผู้ผลิต            บริษัท โลคอล คัลเลอ ฟิล์ม จำกัด
บทภาพยนตร์/กำกับภาพยนตร์      เป็นเอก รัตนเรือง
ควบคุมการผลิต         พวัสส์ สวัสดิ์ชัยเมธ
                                  Raymond Phathanavirangoon
ร่วมควบคุมการผลิต          Emilie Georges
                                  Tanja Mesissner
กำกับภาพ            ชาญกิจ ชำนิวิกัยพงศ์
ลำดับภาพ            ม.ร.ว.ปัทมนัดดา ยุคล
ออกแบบงานสร้าง         วิทยา ชัยมงคล
เครื่องแต่งกาย         วิสาข์ คงคา
ออกแบบเสียง         อัคริศเฉลิม กัลยาณมิตร
ดนตรีประกอบ         วิชญ วัฒนศัพท์
แนว                  ดราม่า-ทริลเลอร์
รูปแบบ               ดิจิตอล 4K
ความยาว               105 นาที
ภาษา                 ไทย, บรรยาย ภาษาอังกฤษ
วันที่เข้าฉาย            3 พ.ย.54

เรื่องย่อ


“ตุล” เป็นนายตำรวจหนุ่มมือสะอาด อนาคตไกล แต่วันหนึ่งเขาถูกบังคับให้ทิ้งคดียาเสพติดคดีใหญ่ เพราะจำเลยคือผู้มีอิทธิพลเหนือกฎหมาย ชีวิตของตุลจบลงในคุกเพราะไม่ยอมรับสินบน

ในประเทศเรามีองค์กรลับองค์กรหนึ่ง ตั้งขึ้นเพื่อ “เก็บ” มารสังคมที่กฎหมายทำอะไรไม่ได้ เช่น พวกนักการเมืองคอรัปชั่น พ่อค้ายาเสพติด หรือพวกร่ำรวยจากการค้าประเวณีเด็ก และอิทธิพลเหนือกฎหมายทั้งหลาย ตุลกลายมาเป็นมือสังหารขององค์กรลับแห่งนี้หลังออกจากคุก งานชิ้นล่าสุดของเขา ตุลพลาดท่าถูกยิงที่ศีรษะ แต่รอดตายหวุดหวิด เขานอนโคม่าอยู่ร่วมสามเดือน เมื่อฟื้นขึ้นมาตุลเห็นภาพทุกอย่างกลับหัว และมือสังหารไม่น่าจะเป็นอาชีพที่ดีนักสำหรับคนที่ เห็นทุกอย่างกลับหัว ตุลจึงตัดสินใจลาออกจากองค์กรนั้นและกลับไปบ้านเกิดในชนบทเพื่อมีชีวิตใหม่ที่สงบสุข

แต่ “กรรม” ที่ตุลทำไว้ในอดีตจะปล่อยให้เขาหลุดจากบ่วงของมันไปได้ง่ายๆ จริงหรือ ความชอบธรรมที่เขาเชื่ออย่างสนิทใจว่าเขามีส่วนสร้างมันขึ้นมานั้น เป็นความชอบธรรมจริงหรือ และสมณเพศที่ตุลตัดสินใจเข้าไปใช้ชีวิตอยู่นั้น จะสามารถให้ความสงบร่มเย็นกับคนบาปอย่างเขาได้จริงหรือ


บทนำจากผู้กำกับ เป็นเอก รัตนเรือง

แม้นวนิยายเรื่อง “ฝนตกขึ้นฟ้า” จะถูกเขียนขึ้นนานมาแล้ว แต่ปัจจุบันการเมืองในสังคมเราก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากนัก กฎหมายยังคงถูกกำหนดขึ้นโดยนักการเมืองผู้มีอิทธิพล รวมทั้งตำรวจ ทหาร และนักธุรกิจที่ร่ำรวย “การคอรัปชั่น” ถูกยอมรับว่าเป็นเรื่องปกติในสังคม กลโกง การข่มขู่คุกคาม แบล็คเมล์ และอาวุธทุกชนิดถูกใช้เป็นเครื่องมือมาตรฐานในการสร้างประชาธิปไตยแบบไทยๆ แทนที่จะใช้การศึกษา มนุษยธรรม และจริยธรรม จึงไม่แปลกที่การเลือกตั้งผู้แทนราษฎรทุกครั้ง “มือปืน” สามารถทำรายได้มากกว่ามนุษย์เงินเดือน และดูเหมือนว่าสิ่งนี้จะไม่เปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้นี้
การเห็นภาพกลับหัวที่พระเอกของเรื่องประสบอยู่ คือผลกรรมที่ติดตัวเขามาจากการมีอาชีพเป็นมือปืน ในภาพยนตร์เรื่องนี้ เราจะติดตามดูว่าเขาจะออกจากบ่วงกรรมนี้ได้อย่างไร ด้วยการเลิกอาชีพนี้ หรือด้วยการเข้าสู่สมณเพศ หรือด้วยการชดใช้กรรมที่เขาก่อไว้อย่างหมดจรดเสียก่อน?


Director & Producers

เป็นเอก รัตนเรือง

เป็นเอก รัตนเรือง เริ่มสร้างชื่อในฐานะผู้กำกับภาพยนตร์ จากเรื่อง “ฝัน บ้า คาราโอเกะ” ในปี พศ. 2540 นับเป็นภาพยนตร์ที่ฉีกความจำเจของวงการภาพยนตร์ไทยในขณะนั้น และสร้างกระแสความแปลกใหม่ ให้กับวงการภาพยนตร์ไทยเป็นอย่างมาก ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังได้รับเชิญให้ ฉายเปิดตัวในงานเทศกาล Berlin International Film Festival ในปีนั้น  ภาพยนตร์เรื่องที่สองของเขา “เรื่องตลก 69” ได้รับคัดเลือก เข้าประกวดในสาขา Tiger Competition ในเทศกาลภาพยนตร์ International Film Festival Rotterdam ในปี พ.ศ. 2542  ภาพยนตร์เรื่องที่สาม “มนต์รักทรานซิสเตอร์” ได้ถูกเชิญไปเปิดตัวในสาขา Director’s Fortnight ในเทศกาลภาพยนตร์ Cannes Film Festival ในปีพศ. 2545 “เรื่องรัก น้อยนิด มหาศาล” คือภาพยนตร์เรื่องที่สี่ของเขา ได้ถูกคัดเลือกให้เข้าประกวดในงาน Venice International Film Festival ในปีพศ. 2546 ภาพยนตร์เรื่องที่ห้า “คำพิพากษา จากมหาสมุทร” ได้ถูกเลือกให้เข้าประกวด ในเทศกาล ภาพยนตร์ Berlin International Film Festival ในปี พศ. 2549  และในปีถัดมา ภาพยนตร์เรื่อง “พลอย” ก็ได้ถูกคัดเลือกเพื่อเสนอต่อสายตาคอหนังในต่างประเทศ ในสาขา Director’s Fortnight ในเทศกาลภาพยนตร์ Cannes Film Festival ในปีพศ. 2550 และล่าสุด ภาพยนตร์เรื่อง “นางไม้” ได้รับเชิญให้เข้าร่วมประกวดในสาขา Un Certain Regards ในเทศกาลภาพยนตร์ Cannes Film Festival ปี พศ. 2551

เป็นเอก รัตนเรือง เป็นผู้กำกับภาพยนตร์คนแรก ที่ได้รับ รางวัล “ศิลปาธร” ในสาขาภาพยนตร์ ของสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร) กระทรวงวัฒนธรรม ในปีพ.ศ. 2547


Filmography
2011 ฝนตกขึ้นฟ้า (Headshot)
2010 Visual Telegram: Man who fell to earth - ภาพยนตร์สั้น
2009 สวัสดีบางกอก: ตอน Silence - ภาพยนตร์สั้น
2009 นางไม้ (Nymph)
2007 เสียงสว่าง (Luminous Sound) - ภาพยนตร์สั้น
2007 พลอย (Ploy)
2006 Total Bangkok - ภาพยนตร์สั้น
2006 12-20 - ภาพยนตร์สั้น
2005 คำพิพากษาจาก มหาสมุทร (Invisible Waves)
2003 เรื่องรัก น้อย นิด มหาศาล (Last Life in The Universe)
2002 มนต์รักทรานซิสเตอร์ (Mon-rak Transistor)
1999 เรื่องตลก 69 (6ixtynin9)
1997 ฝัน บ้า คาราโอเกะ (Fun Bar Karaoke)

33454
แวมไพร์สตอเบอรี่ (Trailer)

<a href="http://www.youtube.com/watch?v=uMQ1Ets4TGE" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=uMQ1Ets4TGE</a>

33456
คันไซ...เพลิดเพลินครบเครื่องทั้งเรื่องกินเรื่องเที่ยว


                ญี่ปุ่นมีอะไรมากมายที่น่าสนใจในเรื่องการท่องเที่ยว ทิวทัศน์ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี อาหาร ฯลฯ แต่หากจะใช้เวลาเพื่อความสุขพร้อมสรรพหลากรูปแบบให้อิ่มตา-อิ่มกาย-อิ่มใจ ก็น่าจะนึกถึง“เขตคันไซ”ก่อนเลย เพราะมีทุกสิ่งที่กล่าวมาอย่างครบถ้วน ทั้งยังผสมผสานคุณค่าความเก่าแก่แห่งประวัติศาสตร์กับความทันสมัยของยุคใหม่ได้อย่างกลมกลืน โดดเด่นด้วยความมีชีวิตชีวาและไมตรีจิตที่ประทับใจผู้มาเยือน

                เขตคันไซตั้งอยู่บริเวณภาคกลางตอนใต้ของเกาะฮอนชู ประกอบด้วย 8 Prefectures (เมืองระดับใหญ่กว่าจังหวัด) ได้แก่ Osaka, Kyoto, Hyogo, Nara, Shiga, Wakayama, Mie และ Fukui  เป็นศูนย์กลางทางการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรม และเป็นแหล่งอารยธรรมความเจริญในประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นตั้งแต่โบราณกาล


               สภาพอากาศของเขตคันไซค่อนข้างอบอุ่นตลอดปี ประกอบกับพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ มีภูเขาล้อมรอบ และมีเมืองสำคัญชายฝั่งทะเล จึงมีผลผลิตทางการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ แต่ละเมืองก็มีความพิเศษแตกต่างกันไป โดยเฉพาะ โอซาก้า เป็นศูนย์กลางการค้าและอุตสาหกรรมที่สำคัญ ขึ้นชื่อเรื่องอาหารอร่อยเพราะวัตถุดิบนานาชนิดจากทั่วทุกแห่งถูกลำเลียงมาขึ้นท่าที่นี่ และถูกปรุงเป็นอาหารรสเลิศโดยพ่อครัวชั้นนำจนได้รับการขนานนามว่าเป็น "ครัวของประเทศ" อันเป็นที่มาของชื่อ "Kuidaore" หรือเมืองแห่งการกิน ซึ่งหากแปลตามพจนานุกรมหมายความว่า “กินจนหมดเนื้อหมดตัว”   แต่คน    โอซาก้าหมายถึง "บรรจงกินแต่อาหารที่เอร็ดอร่อยจริงๆ"








                อาหารขึ้นชื่ออื่นๆ ของคันไซ ได้แก่ เนื้อวัวโออุมิ ของชิงะ ที่กล่าวกันว่าเป็นการลิ้มรสเนื้อวัวที่เปรียบเหมือนการดื่มด่ำกับงานศิลปะชั้นเลิศ, ปลามากุโระ จากวากายามะ, เนื้อวัวโกเบ จากเฮียวโงะ,  ลูกพลับหวานกรอบ, ผักมิบุนะ  ฯลฯ
               เขตคันไซเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงเก่าถึง 2 แห่งในยุคแรกๆ นับพันปี คือ
นารา และ เกียวโต ก่อนย้ายไปอยู่ที่โตเกียว มีความโดดเด่นด้านสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมประเพณี สถาปัตยกรรม และศิลปกรรมเก่าแก่ที่มีคุณค่ามากมาย มีมรดกโลกในญี่ปุ่นที่ขึ้นทะเบียนกับ UNESCO ถึง 5 แห่ง จากทั้งหมด 16 แห่ง ได้แก่ อนุสรณ์สถานของเมืองหลวงเก่าเกียวโต  อนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์วัดโทไดจิและพุทธสถานวัดโฮริวจิ เมืองนารา  ปราสาทฮิเมจิที่เก่าแก่และงดงามที่สุดแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น เมืองเฮียวโงะ เส้นทางจาริกแสวงบุญและสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์บริเวณเทือกเขาคิอิ และศาลเจ้านิอุสึฮิเมะ (Niutsuhime) เมืองวาคายามะ




               นอกจากนี้ยังมีวัดและศาลเจ้าที่สำคัญของคันไซ เช่น วัดชิเทนโนจิ (Shitennoji) วัดพุทธที่เก่าแก่ที่สุดของญี่ปุ่นใน โอซากา ศาลเจ้าอิมามิยะ เอบิสึ (Imamiya Ebisu) ที่นักธุรกิจและพ่อค้าแม่ขายจะพากันไปสักการะบูชาเทพ  Amaterasusume  Oomikami  Kotoshiro  Nushinomikoto และเทพ Hokasanjin และเทพ Ebisu ที่มือขวาถือเบ็ดตกปลา และอุ้มปลาไว้ที่สีข้างด้านซ้าย เป็นเทพที่มอบความอุดมสมบูรณ์ให้กับท้องทะเล เชื่อกันว่าช่วยให้ทำมาค้าขายรุ่งเรือง  จึงพากันไปขอพรจากเทพเจ้าในเทศกาล Toka Ebisu ทุกวันที่ 9-11 มกราคม ซึ่งมีผู้มาร่วมงานถึง 1 ล้านคน เป็นเทศกาลที่สร้างสีสันให้กับเมืองโอซาก้าเป็นอย่างมาก สำหรับศาลเจ้าแห่งเมืองอิเสะ (Ise Jingu Shrine) ประกอบด้วยศาลเจ้าใหญ่ 2 แห่ง  เป็นสถานที่สำหรับบูชาเทพแห่งเกษตรกรรม และสุริยเทพ  ก็เป็นที่เคารพสักการะอย่างยิ่งของชาวญี่ปุ่นอีกแห่งหนึ่ง

               สถานที่ท่องเที่ยวทางชมธรรมชาติทั้งป่าเขาลำเนาไพร บ่อน้ำแร่ออนเซ็น สวนสาธารณะ และทิวทัศน์ที่งดงามของเมืองต่างๆ ในคันไซก็มีแตกต่างหลากหลายในทุกฤดูกาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งโดยรอบบริเวณทะเลสาบบิวะ ที่ใหญ่ที่สุดของญี่ปุ่นในเมืองชิงะ  สวนสาธารณะนารา อยู่ในบริเวณเดียวกับวัดสำคัญและเต็มไปด้วยกวางที่อยู่กันอย่างอิสระ ทั้งยังเป็นหนึ่งในสถานที่ยอดนิยมสำหรับการชมดอกซากุระด้วย  สำหรับสถานที่น่าสนใจอื่นๆ ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ ที่เมืองฟูกุอิ ซึ่งใหญ่เป็น 1 ใน 3 ของโลก  และ ปราสาทวาคายามะ ที่สามารถชมทัศนียภาพของเมืองนี้ได้รอบทิศทางจากชั้นบน


               หากชอบเรื่องศิลปวัฒนธรรมประเพณี คันไซก็มีความโดดเด่นในหลายเมือง งานประเพณีประจำปีที่สำคัญของญี่ปุ่นหลายงานจัดขึ้นที่เกียวโต เช่น เทศกาลจิได (Jidai Matsuri) ในเดือนตุลาคม มีผู้ร่วมขบวนแห่แต่งกายแบบโบราณราว 2,000 คน โดยเริ่มจากหน้าพระราชวังเกียวโตไปสิ้นสุดที่ศาลเจ้าเฮอัน  ส่วนการแสดงที่เป็นเอกลักษณ์ทางศิลปวัฒนธรรม ได้แก่“คาบูกิ” (Kabuki)ละครร้องและรำโดยนักแสดงชายล้วน  ซึ่งโอซาก้าเป็นเมืองที่ขึ้นชื่ออย่างมากในเรื่องนี้

               ร่วมเพลิดเพลินกับสารพันความน่าสนใจของคันไซ และลิ้มลองอาหารรสเลิศนานาชนิดได้ในงาน “งาน “ออลคันไซ  เฟสติวัล” (All Kansai Festival) ระหว่างวันที่ 20 – 31 ตุลาคมนี้  ที่ห้างสรรพสินค้าอิเซตัน  โดยชั้น 1 เป็นพื้นที่นำเสนอสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมของคันไซ อาทิ จำลองบรรยากาศของศาลเจ้า Imamiya Ebisu, หอชมวิว Tsutenkaku และหุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นจากสุดยอดเทคโนโลยีของโอซาก้า, เทพ Biriken San – เทพแห่งความสุข ที่เชื่อกันว่าหากลูบฝ่าเท้าของท่านแล้วขอพรก็จะสมความปรารถนา
               ส่วนชั้น 5 สาธิตการแล่ปลามากุโระ สามารถระบุส่วนที่ต้องการซื้อได้ พร้อมทั้งมุมอาหารอร่อยสไตล์คันไซแท้ๆ จากร้านที่มีชื่อเสียง ทั้งทาโกะยากิ, ราเม็งยอดนิยมโดดเด่นที่เส้นโซบะแบบจีนหนากำลังดี กับน้ำซุปเข้มข้นแต่ ชุ่มคอ, คุชิคัทสึแบบยืนกินที่เป็นต้นตำรับ, ซูชิ–ซาชิมิที่พ่อครัวบริการทำตามสั่งแบบสดๆ, เนื้อวัวชั้นเลิศ “โออุมิกิว”   ที่จัดจำหน่ายในเมืองไทยเป็นครั้งแรก โดยหากเทียบกับเนื้อมัทสึซากะและเนื้อโกเบแล้วจะพบว่าเนื้อโออุมิกิวและลายชั้นไขมันมีความละเอียดมาก รู้สึกได้ถึงรสชาติหวานและนุ่มที่ละลายไปทั่วทั้งปาก, ของหวานและขนมนานาชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งช็อคโกแลตสดและชีสเค้กรสเข้มข้น  ผักผลไม้ต่างๆ พร้อมทั้งจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารคุณภาพส่งตรงจากคันไซ
               ช่วงวันหยุดจะมีกิจกรรมพิเศษมากมายสำหรับสมาชิกทุกคนในครอบครัว โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ที่บริเวณชั้น 1 และ ชั้น 6   อาทิ  พิธีสวดมนต์อวยพร โดย Fukumusume, Tsutenkaku Robot, การแสดงและเกมการละเล่นที่น่ารักและสนุกสนานจาก Kansai Mascot “Yuru Chara”, แสดงการต่อสู้ของซามูไร โดยนักแสดงจาก Uzumasa, Workshop การทำขลุ่ย Piro-Piro ที่ยืดหดได้เมื่อเป่าลมเข้าไป พร้อมบริการถ่ายภาพกับสถานที่ท่องเที่ยวของคันไซ  และยังมีการจับรางวัลสำหรับผู้ซื้อสินค้าครบ 1,000 บาท  ลุ้นรับตั๋วเครื่องบินพร้อมที่พักในคันไซอีกด้วย ซึ่งจะเป็นการท่องเที่ยวพักผ่อนที่น่าประทับใจ

                

33457
เผยโฉมหน้า มาริลิน มอนโร พร้อมเบื้องลึกที่หลายคนไม่เคยรู้
ในภาพยนตร์เรื่องใหม่ล่าสุด MY WEEK WITH MARILYN



               ที่สุดแล้วภาพยนตร์เรื่อง MY WEEK WITH MARILYN ได้เผยโฉมตัวอย่างล่าสุดตามอินเตอร์เน็ตให้ได้เห็น รวมทั้งผู้ที่รับบทเป็น มาริลิน มอนโร ด้วย ซึ่งจะเป็นใครไปไม่ได้ เมื่อ มิเชลล์ วิลเลียมส์ เข้าตาผู้กำกับอย่างไซมอน เคอร์ติส เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะงานแสดงของเธอจากเรื่อง BROKEBACK MOUNTAIN และ BLUE VALENTINE จนทำให้เธอถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ เธอก็มีอายุเหมาะกับมาริลิน ในปี 1956 ด้วย และมิเชลล์เองก็สนใจบทนี้ เธอเป็นคนที่ทำงานและค้นคว้าหนักอย่างเหลือเชื่อและเธอก็กล้าหาญมากที่ยอมรับบทที่เป็นไอคอนแบบนี้

               เรื่องราวการหายตัวไปของ มาริลิน มอนโร ในหนึ่งสัปดาห์ของการถ่ายทำภาพยนตร์ในอังกฤษเรื่อง The Prince and the Showgirl เธอหายไปกับ โคลิน คลาร์ค เด็กหนุ่มวัย 23 ปี เขาได้งานเป็นผู้ช่วยผู้ต่ำต้อยในกองถ่าย ความน่าสนใจในความสัมพันธ์ระหว่างคลาร์คและมอนโรอยู่ตรงที่ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขามันเหลือเชื่อขนาดไหน ดาราดังระดับโลกที่กำลังโด่งดังสุดๆ ใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ไปกับการเดินทางทั่วอังกฤษอย่างสนิทสนมกับช่างไฟจากกองถ่ายภาพยนตร์ของเธอได้อย่างไร คลาร์คเพิ่งจบการศึกษาจากอ็อกซ์ฟอร์ด และแม้ว่าเขาจะกลายเป็นผู้กำกับที่ประสบความสำเร็จในท้ายที่สุด

               เอ็ม พิคเจอร์ส เตรียมให้คอหนังได้ชม MY WEEK WITH MARILYN กลางเดือนพฤศจิกายนนี้ ในโรงภาพยนตร์

33458
ตัวอย่างล่าสุดจาก Apple.com ที่เพิ่มฉากแอ๊คชั่น กระตุ้นต่อมความอยากดูเพิ่มมากขึ้นกับงานแอ็คชั่น แอดแวนเจอร์ในแบบฉบับของปีเตอร์ แจ๊คสัน และ ผู้อำนวยการสร้างอย่างสตีเว่น สปีลเบิร์ก จะเป็นการการันตีถึงการทำงาน The Adventures  of TinTin ให้ผงาดในหน้าจอภาพยนตร์ในรูปแบบ 3D ได้อย่างเยี่ยมยอดขนาดไหน รอชมกัน 10 พฤศจิกายนนี้ ในโรงภาพยนตร์

http://trailers.apple.com/trailers/paramount/theadventuresoftintin/

http://www.tintin-movie.net/games/onlinemoviegame/en/

33459
7วัน...แล้วคิดถึงกันตลอดไป

หนังใหม่ MY WEEK WITH MARILYN
ระดมนักแสดงระดับคุณภาพไว้มากที่สุด

               MY WEEK WITH MARILYN (7วัน...แล้วคิดถึงกันตลอดไป) ได้นักแสดงแม่เหล็กระดับฝีมือไว้มากมายที่สุด และสร้างความฮือฮาตั้งแต่เริ่มสร้าง หนังเผยถึงเรื่องราวลับๆของ มาริลิน มอนโร ดาราดังระดับโลกที่โด่งดัง กับ โคลิน คลาร์ค เด็กหนุ่มช่างไฟในกองถ่าย ที่หายตัวไปขณะถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องหนึ่ง
           MY WEEK WITH MARILYN มีการเลือกนักแสดงที่เหมาะสมและลงตัวอย่างที่สุด ไม่ว่าจะเป็นบทเด่น มิเชลล์ วิลเลียมส์ ผู้ถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์จาก BLUE VALENTINE สวมบทเป็น มาริลิน มอนโร, เจ้าของรางวัลโทนี อวอร์ด เอ็ดดี้ เรดเมย์น มีผลงานมาแล้วจาก THE OTHER BOLEYN GIRL, ผู้ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลออสการ์ เคนเนธ บรานาห์ มีผลงานมาแล้วจาก THOR, นักแสดงเจ้าของรางวัลออสการ์ จูดี้ เดนช์ มีผลงานมาแล้วจาก SHAKESPEARE IN LOVE เสริมทีมด้วยนักแสดงชาวอังกฤษระดับแนวหน้า ซึ่งประกอบไปด้วย จูเลีย ออร์มอนด์ จาก THE CURIOUS CASE OF BENJAMIN BUTTON, ดูเกรย์ สก็อต จาก MISSION IMPOSSIBLE 2, เอ็มม่า วัตสัน จาก หนังชุด HARRY POTTER, ดีเร็ค จาโคบี้ จาก THE KING’S SPEECH และโดมินิค คูเปอร์ จาก MAMMA MIA


               เอ็ม พิคเจอร์ส เตรียมให้คอหนังได้ชม MY WEEK WITH MARILYN (7วัน...แล้วคิดถึงกันตลอดไป) กลางเดือนพฤศจิกายนนี้ ในโรงภาพยนตร์ 

33460

Emma Watson (เอ็มมา วัตสัน) รับบทเป็น  Lucy (ลูซี)

เอ็มมา วัตสัน เป็นที่รู้จักดีที่สุดจากบทเฮอร์ไมโอนี แกรนเจอร์ ที่เธอสร้างเป็นของเธอเองในภาพยนตร์ Harry Potter ทั้งแปดเรื่อง โดยที่เรื่องสุดท้าย Harry Potter and the Deathly Hallows – Part 2 เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อช่วงที่ผ่านมา และก็ประสบความสำเร็จอย่างดีวัตสันเปิดตัวในฐานะนักแสดงตั้งแต่อายุ 10 ขวบใน Harry Potter and the Philosopher’s Stone ภาคแรกของแฟรนไชส์ Harry Potter ซึ่งทำให้เธอได้รับรางวัลยัง อาร์ติสท์ อวอร์ดสาขานักแสดงนำหญิงรุ่นเยาว์ยอดเยี่ยม นอกจากนี้ วัตสันยังได้รับการเสนอชื่อชิงสองรางวัลคริติกส์ ชอยส์ อวอร์ด จากสมาคมนักวิจารณ์ภาพยนตร์บรอดคาสท์ จากผลงานของเธอใน Harry Potter and the Prisoner of Azkaban และ Harry Potter and the Goblet of Fire ผู้อ่านนิตยสารโททัล ฟิล์มได้โหวตให้เธอเป็นนักแสดงหน้าใหม่ยอดเยี่ยมจากผลงานของเธอในเรื่องแรกอีกด้วย ล่าสุด วัตสันเพิ่งได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัล 2011 นิคเคลโลเดียน คิดส์ ชอยส์ อวอร์ด และรางวัลเจมสัน เอ็มไพร์ อวอร์ด สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจากการแสดงของเธอใน Harry Potter and the Deathly Hallows – Part 1
   ล่าสุด วัตสันได้ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง The Perks of Being a Wallflower ในพิตส์เบิร์ก, อเมริกา โดยวัตสันรับบทซาแมนธาในภาพยนตร์ที่ดัดแปลงจากนิยาย coming-of-age ของสตีเฟน ชบอสกี้ ที่บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องราวการทดสอบในชีวิตของแกะดำวัย 15 ปีคนนี้ก่อนหน้านี้ วัตสันได้พากย์เสียงเจ้าหญิงพีในภาพยนตร์อนิเมชันปี 2008 เรื่อง The Tale of Despereaux นอกจากนี้ เธอยังได้แสดงประกบวิคตอเรีย วู้ด, ริชาร์ด กริฟฟิธส์และเอมิเลีย ฟ็อกซ์ในบทพอลลีน ฟอสซิลในดรามาทางบีบีซีเรื่อง Ballet Shoes เธอได้ร่วมงานอย่างใกล้ชิดกับแฟร์เทรดและพีเพิล ทรี ผู้ผลิตเสื้อผ้าออร์แกนิค ในการช่วยสร้างไลน์แฟชันสำหรับวัยรุ่น และในช่วงต้นปีนี้ เธอก็ได้ร่วมมือกับอัลแบร์ต้า เฟอร์เร็ตติในคอลเล็กชันออร์แกนิค Pure Threads เมื่อเร็วๆ นี้ วัตสันเพิ่งได้รับการประกาศให้เป็นทูตคนใหม่ของลังโคม และจะดำเนินรอยตามเพเนโลเป้ ครูซ, เคท วินสเล็ตและจูเลีย โรเบิร์ตส์ในการเป็นนางแบบโฆษณาแบรนด์ลังโคมต่อไป

33461

Kenneth Branagh เคนเนธ บรานาห์ รับบทเป็น        
Sir Laurence Olivier (เซอร์ลอว์เรนซ์ โอลิเวียร์)


เคนเนธ บรานาห์ เป็นหนึ่งในนักแสดงที่มีชื่อเสียงโด่งดังและได้รับเสียงวิจารณ์ชื่นชมอย่างต่อเนื่องสูงสุด และเป็นผู้กำกับเจ้าของผลงานที่โดดเด่นด้วยคุณภาพ ความจริงและความทุ่มเทล่าสุด บรานาห์ได้กำกับภาพยนตร์แอ็กชันผจญภัยที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงเรื่อง Thor ที่นำแสดงโดยนาตาลี พอร์ทแมน, เซอร์แอนโธนี ฮ็อปกินส์และคริส เฮมสเวิร์ธ การชิมลางงานภาพยนตร์ครั้งแรกของบรานาห์ประสบความสำเร็จในทันที งานสร้างภาพยนตร์เรื่อง Henry V ในปี 1989 ของเขา ซึ่งเขาดัดแปลงจากละครเชคสเปียร์และรับหน้าที่นำแสดงและกำกับ ได้รับรางวัลระดับนานาชาติมากมาย ซึ่งรวมถึงการได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลอคาเดมี อวอร์ดและได้รับรางวัลบาฟตา สาขาผู้กำกับยอดเยี่ยม และได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลอคาเดมี อวอร์ดและบาฟตา อวอร์ดสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม หลังจากนั้น เขาก็ได้รับคำเชิญจากฮอลลีวูดให้กำกับและนำแสดงใน Dead Again ซึ่งประสบความสำเร็จระดับนานาชาติ และหลังจากนั้น เขาก็กำกับตัวเองในภาพยนตร์รวมดาราเรื่อง Peter's Friends ซึ่งได้รับรางวัลอีฟนิง สแตนดาร์ด ปีเตอร์ เซลเลอร์ส อวอร์ดสาขาคอเมดี ภาพยนตร์เชคสเปียร์เรื่องที่สองที่บรานาห์ประสบความสำเร็จในฐานะนักแสดง ผู้กำกับ มือเขียนบทและผู้อำนวยการสร้างคือ Much Ado About Nothing ซึ่งได้รับเลือกให้เข้าฉายในงานเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ และในปีเดียวกันนั้นเอง ภาพยนตร์ขนาดสั้นที่สร้างจากละครไชคอฟเรื่อง Swan Song ของเขาได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลอคาเดมี อวอร์ด หลังจากนั้น เขาได้กำกับโรเบิร์ต เดอ นีโรในภาพยนตร์ฮิตเรื่อง Mary Shelley's Frankenstein และภาพยนตร์ขาวดำของเขา In the Bleak Midwinter (หรือ A Midwinter's Tale ในอเมริกา) ก็ได้เปิดงานเทศกาลภาพยนตร์ซันแดนซ์ปี 1996 และได้รับรางวัลโอเซลโล ดิ โอโรอันทรงเกียรติในงานเทศกาลภาพยนตร์เวนิส ภาพยนตร์เวอร์ชันเต็ม 70 ม.ม. เรื่อง Hamlet ของบรานาห์ ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลอคาเดมี อวอร์ด 4 สาขา ผลงานการดัดแปลงละครเชคสเปียร์เรื่องที่สี่ของเขาคือเวอร์ชันมิวสิคัลปี 1930 ของ Love's Labour's Lost ล่าสุด บรานาห์ได้กำกับภาพยนตร์เอชบีโอ ฟิล์มส์เรื่อง As You Like It, ภาพยนตร์ที่สร้างจากโอเปราของโมสาร์ทเรื่อง The Magic Flute และ Sleuth ที่เขียนบทโดยฮาโรลด์ พินเตอร์และนำแสดงโดยจู๊ด ลอว์และไมเคิล เคน
   ผลงานภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ได้แก่บทบาทการแสดงในภาพยนตร์โดยแพท โอ’ คอนเนอร์เรื่อง A Month in the Country, ภาพยนตร์โดยโอลิเวอร์ ปาร์คเกอร์เรื่อง Othello, ภาพยนตร์โดยโรเบิร์ต อัลท์แมนเรื่อง The Gingerbread Man, ภาพยนตร์โดยวู้ดดี้ อัลเลนเรื่อง Celebrity, ภาพยนตร์โดยแดนนี บอยล์เรื่อง Alien Love Triangle, ภาพยนตร์โดยพอล กรีนกราสเรื่อง The Theory of Flight, ภาพยนตร์โดยแบร์รี ซอนเนนเฟลด์เรื่อง Wild Wild West, ภาพยนตร์โดยฟิลิป นอยซ์เรื่อง Rabbit Proof Fence, Harry Potter and the Chamber of Secret, ภาพยนตร์คอเมดีโดยริชาร์ด เคอร์ติสเรื่อง The Boat That Rocked (หรือ Pirate Radio) และภาพยนตร์โดยไบรอัน ซิงเกอร์เรื่อง Valkyrie นอกจากนี้ บรานาห์ยังได้แสดงในซีรีส์ดรามาหลายเรื่อง ซึ่งรวมถึงบทประจำเป็นนักสืบเคิร์ท วอลแลนเดอร์ในซีรีส์รางวัลบาฟตาเรื่อง Wallander ซึ่งทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลเอ็มมีและลูกโลกทองคำและได้รับรางวัลบาฟตาสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม นอกจากนี้ เขายังได้รับบทนำใน Shackleton สำหรับแชนแนล โฟร์ ที่ทำให้เขาได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลบาฟตา, Conspiracy สำหรับบีบีซี ซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัลเอ็มมีสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยมและได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลลูกโลกทองคำและบาฟตา, Warm Springs ที่เขารับบทเอฟดีอาร์ และได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลเอ็มมีและลูกโลกทองคำ
   ผลงานละครเวทีของบรานาห์เริ่มต้นตอนที่เขาเปิดตัวบนเวทีเวสต์เอนด์ใน Another Country ซึ่งทำให้เขาได้รับรางวัลโซไซตี้ ออฟ เวสต์ เอนด์ เธียเตอร์ อวอร์ดสาขานักแสดงดาวรุ่งยอดเยี่ยม เขาก่อตั้งคณะเรเนซองส์ เธียเตอร์ คัมปะนี ซึ่งเขาได้แสดงหรือกำกับผลงานต่อไปนี้ให้ Public Enemy, Twelfth Night, Much Ado About Nothing, As You Like It, Hamlet, Look Back in Anger, Uncle Vanya, King Lear, A Midsummer Night's Dream และ Coriolanus นอกจากนี้ เขายังได้กำกับ The Life of Napoleon ซึ่งเขียนบทและนำแสดงโดยจอห์น เซสชันส์อีกด้วย
   ผลงานละครเวทีของเขาได้แก่ละครโดยอาร์เอสซีเรื่อง Henry V, Love's Labour's Lost และ Hamlet ผลงานละครเรื่องล่าสุดของเขาได้แก่การกำกับคอเมดีฮิตเรื่อง The Play What I Wrote ซึ่งย้ายจากเวทีเวสต์เอนด์ในลอนดอนมาสู่บรอดเวย์ ที่ซึ่งมันได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลโทนี รวมไปถึงการแสดงระดับห้าดาวบนเวทีอังกฤษในละครเรื่อง Richard III, ละครโดยมาเม็ตเรื่อง Edmund และ Ivanov เขาจะหวนคืนสู่เวทีอีกครั้งในซีซันที่กำลังเปิดนี้ที่ลิริค เธียเตอร์, เบลฟาสต์ ในคอเมดีเรื่องใหม่ Painkiller ในฤดูใบไม้ร่วงปี 2011
   บรานาห์สำเร็จการศึกษาจากรอยัล อคาเดมี ออฟ ดรามาติค อาร์ตส์และได้รับรางวัลไมเคิล บัลคอน อวอร์ดจากเวทีบาฟตา



Dame Judi Dench (ท่านผู้หญิงจูดี้ เดนช์) รับบทเป็น Sybil Thorndike (ซิบิล ธอร์นด์ไลค์)

จูดี้ เดนช์ เป็นหนึ่งในนักแสดงหญิงที่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดและเป็นที่รักมากที่สุดของโลก ด้วยผลงานการแสดงที่โดดเด่นทั้งบนเวทีและในจอเงิน เธอได้รับรางวัลเกียรติยศมากมาย ซึ่งรวมถึงรางวัลอคาเดมี อวอร์ด, เก้ารางวัลบาฟตาและสามรางวัลลอว์เรนซ์ โอลิเวียร์ อวอร์ด และความสำเร็จมากมายของเธอก็ส่งให้เธอได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้น OBE (ออเดอร์ ออฟ เดอะ บริติช เอ็มไพร์) ในปี 1970 กลายเป็นท่านผู้หญิงในปี 1988 และได้รับเครื่องราชฯ คอมพาเนียน ออฟ ออเนอร์ในปี 2005
   ผลงานของเธอได้แก่การแสดงยอดเยี่ยมในบทควีนวิคตอเรียใน Mrs. Brown ที่ทำให้เธอได้รับรางวัลบาฟตา อวอร์ด รางวัลลูกโลกทองคำ และได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลอคาเดมี อวอร์ดและบทควีนอลิซาเบธที่หนึ่งใน Shakespeare In Love ซึ่งทำให้เธอได้รับรางวัลอคาเดมี อวอร์ดและรางวัลบาฟตา อวอร์ดสาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม นอกจากนี้ เธอยังเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกจากบท 'เอ็ม' หัวหน้าหน่วยในภาพยนตร์เจมส์ บอนด์ห้าภาคที่ผ่านมา
   จูดี้ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลอคาเดมี อวอร์ดจากการแสดงของเธอในภาพยนตร์อีกสี่เรื่องได้แก่  Chocolat, Iris (ซึ่งทำให้เธอได้รับรางวัลบาฟตา), Mrs. Henderson Presents และ Notes On A Scandal และผลงานภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ของเธอได้แก่ Tea With Mussolini, A Room With a View และ A Handful of Dust (ซึ่งทั้งสองเรื่องทำให้เธอได้รับรางวัลบาฟตา อวอร์ดสาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม), 84 Charing Cross Road, Henry V, Hamlet และมิวสิคัลที่เพิ่งเข้าฉายเร็วๆ นี้เรื่อง Nine
   ผลงานของจูดี้ในแวดวงจอแก้วได้แก่  The Last of the Blonde Bombshells ซึ่งทำให้เธอได้รับรางวัลบาฟตา รางวัลลูกโลกทองคำ และได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลเอ็มมี รวมไปถึงซิทคอมบีบีซีเรื่อง As Time Goes By ล่าสุด เธอได้รับบทมิสแม็ตตี้ในซีรีส์ดังทางบีบีซีเรื่อง Cranford (ซึ่งทำให้เธอได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลบาฟตา รางวัลเอ็มมี รางวัลลูกโลกทองคำและรางวัลแซทเทิลไลท์ อวอร์ด) และ Cranford: Return to Cranford ซึ่งทำให้เธอได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลเอ็มมีและลูกโลกทองคำ
   นอกจากความสำเร็จบนจอเงินแล้ว จูดี้ยังประสบความสำเร็จบนเวทีไม่ต่างกันด้วย โดยเธอได้รับรางวัลลอว์เรนซ์ โอลิเวียร์ อวอร์ดจาก Anthony and Cleopatra, Absolute Hell และ A Little Night Music (ที่เนชันแนล เธียเตอร์) และการแสดงของเธอใน Amy's View ที่กำกับโดยริชาร์ด แอร์ ก็ทำให้เธอได้รับการยกย่องในกรุงลอนดอน (ที่เนชันแนลและอัลด์วิค) และบนเวทีบรอดเวย์ ที่ทำให้เธอได้รับรางวัลโทนี อวอร์ดสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ผลงานละครเวทีเรื่องอื่นๆ ของเธอได้แก่ The Royal Family ที่กำกับโดยปีเตอร์ ฮอล, The Breath of Life ที่กำกับโดยโฮเวิร์ด เดวีส์, All’s Well That Ends Well ให้กับอาร์เอสซี, Hay Fever ที่กำกับโดยปีเตอร์ ฮอล, The Merry Wives of Windsor สำหรับอาร์เอสซี, Madame de Sade ที่กำกับโดยไมเคิล แกรนด์เอจและละครล่าสุดของปีเตอร์ ฮอลเรื่อง A Midsummer Night’s Dream ที่โรส เธียเตอร์, คิงสตัน

33462
ประวัตินักแสดง


Michelle Williams (มิเชลล์ วิลเลียมส์) รับบทเป็น Marilyn Monroe (มาริลิน มอนโร)

การแสดงของมิเชลล์ วิลเลียมส์ได้ผลักดันให้เธอกลายเป็นหนึ่งในนักแสดงที่เป็นที่ต้องการตัวและได้รับการยกย่องสูงสุดในฮอลลีวูด และทำให้เธอได้รับการเสนอชื่อชิงสองรางวัลอคาเดมี อวอร์ด
   ล่าสุด วิลเลียมส์ได้แสดงประกบไรอัน กอสลิงในภาพยนตร์โดยดีเร็ค เซียนฟรานซ์เรื่อง Blue Valentine การแสดงที่ดึงดูดใจของวิลเลียมส์ทำให้เธอได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลอคาเดมี อวอร์ดสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมและได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลลูกโลกทองคำและสมาคมนักวิจารณ์ภาพยนตร์บรอดคาสท์และได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลอินดีเพนเดนท์ สปิริต อวอร์ดครั้งที่สี่ ปัจจุบัน วิลเลียมส์อยู่ระหว่างการถ่ายทำในภาพยนตร์โดยแซม ไรมีเรื่อง OZ: The Great and Powerful ประกบเจมส์ ฟรังโก้ ในบทกลินดา แม่มดฝ่ายดี
   การแสดงของวิลเลียมส์ในภาพยนตร์โดยอังลีเรื่อง Brokeback Mountain ที่เข้าฉายในปี 2005 ทำให้เธอได้รับรางวัลสมาคมนักวิจารณ์ภาพยนตร์บรอดคาสท์ รวมไปถึงรางวัลอินดีเพนเดนท์ สปิริต อวอร์ด, แซ็ก อวอร์ด, ลูกโลกทองคำ, บาฟตาและได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลอคาเดมี อวอร์ดสาขานักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยม หลังจากนั้น วิลเลียมส์ก็ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลอินดีเพนเดนท์ สปิริต อวอร์ดสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมปี 2007 จากการแสดงของเธอในภาพยนตร์โดยวิม เวนเดอร์สเรื่อง Land of Plenty ในการร่วมกันครั้งแรกระหว่างเธอกับเคลลี ไรชาร์ดท์ในภาพยนตร์อินดีเรื่อง Wendy and Lucy การแสดงที่น่าประทับใจและปลุกเร้าอารมณ์ของเธอในบท “เวนดี้” ทำให้เธอได้รับรางวัลสมาคมนักวิจารณ์ภาพยนตร์โตรอนโตสาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม ในปี 2009 และได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลอินดีเพนเดนท์ สปิริต อวอร์ดครั้งที่สาม
   ในปี 2004 วิลเลียมส์ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลสมาพันธ์นักวิจารณ์ สาขาทีมนักแสดงยอดเยี่ยมในภาพยนตร์ กับเพื่อนนักแสดงของเธอในภาพยนตร์โดยโธมัส แม็คคาร์ธีเรื่อง The Station Agent ในปี 2005 วิลเลียมส์ได้รับการยกย่องจากโมชัน พิคเจอร์ คลับให้เป็น “ดาราหญิงแห่งอนาคต”
   ผลงานภาพยนตร์เรื่องอื่นๆ ของเธอได้แก่การร่วมงานกันครั้งที่สองระหว่างเธอกับผู้กำกับเคลลี ไรชาร์ดท์เรื่อง Meek’s Cuttoff, ภาพยนตร์โดยมาร์ติน สกอร์เซซีเรื่อง Shutter Island, ภาพยนตร์โดยชารอน แม็คไกวร์เรื่อง Incendiary, ภาพยนตร์โดยชาร์ลีย์ คอฟแมนเรื่อง Synecdoche, New York, ภาพยนตร์โดยท็อดด์ เฮย์เนสเรื่อง I'm Not There, ภาพยนตร์โดยอีธาน ฮอว์คเรื่อง The Hottest State, ภาพยนตร์โดยแซนดรา โกลด์บาเชอร์เรื่อง Me Without You และภาพยนตร์โดยแอนดรูว์ เฟลมมิงเรื่อง Dick
   ด้านจอแก้ว วิลเลียมส์ได้แสดงประกบโคลอี้ เซวิญญีในภาพยนตร์เอชบีโอโดยมาร์ธา คูลลิดจ์เรื่อง If These Walls Could Talk 2 นอกจากนี้ เธอยังรับบท “เจน ลินด์ลีย์” นานหกปีในซีรีส์ฮิตทางวอร์เนอร์ บรอส. เรื่อง Dawson’s Creek ซีรีส์นี้เปิดตัวในปี 1998 และเป็นหนึ่งในซีรีส์ที่มีเรตติ้งสูงสุดของวอร์เนอร์ บรอส. ระหว่างที่มันแพร่ภาพ
   ด้านละครเวที วิลเลียมส์ได้รับเสียงวิจารณ์ชื่นชมจากบทวาร์ยาในละครไชคอฟเรื่อง The Cherry Orchard              ที่วิลเลียมส์ทาวน์ เธียเตอร์ เฟสติวัล นอกจากนี้ เธอยังได้รับเสียงวิจารณ์ชื่นชมจากละครโดยไมค์ ลีห์เรื่อง Smelling a Rat    ที่ซามวล เบ็คเก็ตต์ เธียเตอร์และการเปิดตัวบนเวทีออฟบรอดเวย์เรื่อง Killer Joe


Eddie Redmayne (เอ็ดดี้ เร้ดเมย์น) รับบทเป็น Colin Clark (โคลิน คลาร์ค)

เอ็ดดี้ เร้ดเมย์นสร้างความประทับใจให้กับผู้กำกับและทีมงานพรสวรรค์ในแวดวงบันเทิงปัจจุบันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกเหนือจาก My Week With Marilyn เขายังได้ถ่ายทำตอนไพล็อตของซีรีส์ใหม่ทางเอชบีโอเรื่อง The Miraculous Year ที่เขียนบทโดยจอห์น โลแกน เจ้าของรางวัลโทนี และกำกับโดยผู้กำกับเจ้าของรางวัลออสการ์ แคธริน ไบจ์โลว์
ล่าสุด เอ็ดดี้ได้แสดงในซีรีส์ที่ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลลูกโลกทองคำเรื่อง The Pillars of the Earth สำหรับแชนแนล โฟร์และสตาร์ซในอเมริกา มินิซีรีส์อีพิคเรื่องนี้ดัดแปลงจากนิยายเบสต์เซลเลอร์โดยเคน ฟอลเล็ตต์ และร่วมแสดงโดยแมทธิว แม็คเฟดเยน, เฮย์เลย์ แอทเวลและรูฟัส ซีเวล โดยมีริดลีย์ สก็อตต์ควบคุมงานสร้าง ผลงานจอแก้วเรื่องอื่นๆ ของเขาได้แก่บทนำ แองเจิล แคลร์ ประกบเจ็มมา อาร์เทอร์ทันในซีรีส์บีบีซีที่ดัดแปลงจาก Tess of the D’Urbervilles
   ด้านจอเงิน เขารับบทกอร์ดี้ในภาพยนตร์โดยอูดายัน พราซัดเรื่อง The Yellow Handkerchief ที่ร่วมแสดงโดยมาเรีย เบลโลและวิลเลียม เฮิร์ท และเขายังได้รับบทออสมันด์ประกบฌอน บีนและแคริซ ฟาน ฮูเทน ในภาพยนตร์เรื่อง Black Death ที่กำกับโดยคริสโตเฟอร์ สมิธอีกด้วย เมื่อปีที่แล้ว เขาได้แสดงประกบโรโมลา กาไร, จูลี คริสตี้, บิล ไนฮีและจูโน เทมเปิลในภาพยนตร์โดยสตีเฟน โพเลียคอฟเรื่อง Glorious 39 และประกบเจสสิกา บีลและฟอเรสต์ วิทเทคเกอร์ในภาพยนตร์โดยทิโมธี ลิน ปุยเรื่อง Powder Blue เอ็ดดี้เปิดตัวในแวดวงจอเงินในปี 2006 ด้วยทริลเลอร์ดรามาโดยโรเบิร์ต เดอ นีโรเรื่อง The Good Shepherd ที่นำแสดงโดยแมทท์ เดมอนและแองเจลินา โจลี นักวิจารณ์ชื่นชมการแสดงของเอ็ดดี้ในภาพยนตร์เรื่องนั้น และมักยกย่องเขาว่าเป็นนักแสดงที่โดดเด่นที่สุดในเรื่อง ในปี 2007 เอ็ดดี้ได้รับบทสมทบใน Elizabeth: The Golden Age ที่กำกับโดยเชคคาร์ คาปูร์ และร่วมแสดงโดยเคท บลังเชตต์, เจฟฟรีย์ รัชและไคลฟ์ โอเวน นอกจากนี้ เขายังได้แสดงประกบโทนี คอลเล็ตต์ในทริลเลอร์อาชญากรรมเรื่อง Like Minds, The Other Boleyn Girl กับนาตาลี พอร์ตแมนและสการ์เล็ตต์ โยฮันสันและ Savage Grace กับจูลีแอนน์ มัวร์
   ในปีที่แล้ว เอ็ดดี้ได้รับรางวัลโทนี และลอว์เรนซ์ โอลิเวียร์ อวอร์ดสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยมจากการแสดงอันยอดเยี่ยมของเขาในละครโดยไมเคิล แกรนด์เอจเรื่อง Red ซึ่งย้ายจากดอนมาร์ แวร์เฮาส์ มาแสดงที่โกลเดน เธียเตอร์บนบรอดเวย์ เอ็ดดี้ได้แสดงประกบอัลเฟรด โมลินาในละครที่แสดงในโรงละครทั้งสองแห่งเรื่องนี้ หลังจากนั้น เขาก็ได้แสดงละครเรื่องใหม่ของคริสโตเฟอร์ ชินน์เรื่อง Now or Later ที่แสดงที่รอยัล คอร์ท เธียเตอร์ เขาได้รับเสียงวิจารณ์ชื่นชมจากการแสดงบนเวทีเวสต์เอนด์ของเขาในดรามาทรงพลังโดยเอ็ดเวิร์ด อัลบี้เรื่อง The Goat or Who is Sylvia? ซึ่งเขารับบทวัยรุ่นเจ้าปัญหาประกบโจนาธาน ไพรซ์ การแสดงครั้งนี้ทำให้เขาได้รับรางวัลลอนดอน อีฟนิง สแตนดาร์ด อวอร์ดปี 2004 และรางวัลสมาคมนักวิจารณ์ละครเวทีลอนดอนปี 2005 สาขานักแสดงหน้าใหม่ นอกจากนี้ เขายังได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลโอลิเวีย อวอร์ดปี 2005 สาขานักแสดงสมทบยอดเยี่ยม

33463
หนึ่งสัปดาห์ของผมกับมาริลิน

               ในความเป็นจริงแล้ว ลอว์เรนซ์ โอลิเวียร์ตั้งความหวังกับโปรเจ็กต์ของเขากับมาริลินไว้สูง ว่ามันจะเป็นภาพยนตร์ที่จะทำให้อาชีพนักแสดงที่กำลังซบเซาของเขากลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง ในการเนรมิตนักแสดงผู้ยิ่งใหญ่คนนี้บนหน้าจอ ทีมผู้สร้างเลือกเคนเนธ บรานาห์ ปรมาจารย์แห่งละครเวทีและจอเงินสมัยใหม่ ผู้ซึ่งในสมัยหนุ่มมักถูกนำไปเปรียบเทียบกับโอลิเวียร์ จริงๆ แล้ว ทั้งคู่ต่างก็เคยกำกับและนำแสดงในเวอร์ชันภาพยนตร์ที่ได้รับการยกย่องอย่างสูงของเรื่อง Henry V และ Hamlet
   “ผมเองก็กังวลอยู่บ้าง แต่ผมก็ตัดสินใจว่าผมจะลองอ่านบทดู” บรานาห์บอก “ผมต้องมนต์สะกดของเรื่องราว ผมรู้จักหนังสือของโคลิน คลาร์ค ซึ่งเป็นที่มาของบทหนังเรื่องนี้ดี แต่สิ่งที่ทำให้ผมแปลกใจก็คือแม้มันอาจจะเป็นการถ่ายทอดมุมมองการถ่ายทำแบบก็อสสิป แต่มันก็น่าประทับใจ อ่อนโยนและตลกมากๆ อีกด้วย”
   นอกจากนี้ บรานาห์ยังรู้สึกประทับใจจากการนำเสนอภาพโอลิเวียร์ “ที่เป็นคนดัง และแสดงความรักใคร่คนอื่น” “บทหนังเรื่องนี้มีความรู้สึกดีๆ ให้กับโอลิเวียร์และมาริลิน มอนโร และยุคสมัยนั้น ไม่เพียงแต่นี้จะเป็นมุมมองที่มีเสน่ห์ของโลกในการสร้างศิลปะและหนัง แต่บทหนังเรื่องนี้ยังอ่านเพลินจนวางไม่ลงด้วยครับ”
   ในตอนที่กำกับและนำแสดง The Prince and The Showgirl โอลิเวียร์ครองคู่อยู่กับวิเวียน ลีห์ ดารานำจาก Gone with the Wind ผู้มักมาเยี่ยมกองถ่ายบ่อยๆ ลีห์ ที่รับบทโดยจูเลีย ออร์มอนด์ ก็ใจอ่อนกับโคลิน คลาร์คเช่นเดียวกัน “ฉันคิดว่าวิเวียนเป็นส่วนผสมของความแข็งแกร่งอย่างเหลือเชื่อและความมีสีสันภายในร่างกายที่มีความเป็นผู้หญิงมากๆ ค่ะ” ออร์มอนด์ ผู้สารภาพว่าเป็นแฟนตัวยงของดาราฮอลลีวูดผู้นี้กล่าว “สิ่งหนึ่งที่ทำให้วิเวียนโด่งดังคือความงดงามพิเศษของเธอ ซึ่งแน่นอนว่าน่าหวาดหวั่นมากๆ โชคดีที่พวกเขาขอให้ฉันรับบทเธอตอนอายุ 43 แทนที่จะเป็น 23 ฉันคิดว่าเธอหลงใหลมาริลิน ในความงามของเธอ มากกว่าที่จะอิจฉาความงามของเธอค่ะ”
   ในเวลานั้น คู่ชีวิตของมาริลินคือนักเขียนบทละครชื่อดัง อาร์เธอร์ มิลเลอร์ ผู้รับบทโดยดูเกรย์ สก็อต ทั้งคู่มาถึงอังกฤษในตอนที่เป็นสามีภรรยาคู่ใหม่ปลามัน แม้ว่าชีวิตรักของพวกเขาที่เพิ่งเริ่มต้นจะเริ่มแสดงให้เห็นร่องรอยร้าวฉานแล้วก็ตาม “พวกเขาเริ่มห่างเหินกันมากขึ้นและความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขาก็เริ่มระหองระแหงมากขึ้นเรื่อยๆ” สก็อตบอก “เธอเป็นผู้หญิงที่ซับซ้อน รับมือยากและเข้าใจยาก แต่ท้ายที่สุดแล้ว ในช่วงเวลาหลายปีหลังจากนั้น มิลเลอร์ก็พูดถึงว่าเขารักและชื่นชมเธอมากขนาดไหน”
   เมื่อมิลเลอร์กลับอเมริกาหลังจากความเข้าใจผิดในตัวเจ้าสาวหมาดๆ ของเขา มอนโรก็ถูกทิ้งไว้เบื้องหลังโดยปราศจากมิตรแท้นอกเหนือไปจากโค้ชด้านการแสดง ผู้สนับสนุนด้านการแสดงแบบเมธ็อดของเธอ พอลลา สตราสเบิร์ก ที่รับบทโดยโซอี้ วานาเมคเกอร์ “พอลลาแต่งงานกับลี สตราสเบิร์ก ผู้บุกเบิกโรงเรียนเมธ็อดในนิวยอร์ก” วานาเมคเกอร์บอก “เธอทำงานกับมาริลินและฉันคิดว่า โอลิเวียร์ก็ไม่ชอบใจที่เธอมาอยู่ใกล้ๆ แถวนั้นนัก และฉันก็คิดว่าอาร์เธอร์ มิลเลอร์เองก็ไม่ชอบเธอเหมือนกัน แต่ฉันก็ไม่อยากให้เธอเป็นนางมารร้าย ฉันอยากจะใส่เอาความอบอุ่นและความสมจริงให้กับเธอ ความกังวลและความรักที่แท้จริงน่ะค่ะ”
   แม้ว่าสตราสเบิร์กจะทำเพื่อปกป้องผลประโยชน์ของลูกค้าเธอ แต่มันก็ไม่เป็นจริงเสมอไปสำหรับหุ้นส่วนทางธุรกิจของเธอ มิลตัน กรีน ที่รับบทโดยโดมินิค คูเปอร์ “ในตอนเริ่มต้น พวกเขาสนิทกันมากครับ” คูเปอร์อธิบาย “แล้วความสัมพันธ์ของพวกเขาก็เปลี่ยนไปในสัปดาห์นั้นจากความสัมพันธ์ที่สนับสนุนพึ่งพากันกลายเป็นความสัมพันธ์ที่ร้าวฉาน เขาพยายามจะช่วยเธอด้วยการให้ยาเธอมากขึ้น และในตอนที่หนังถ่ายทำไป เธอก็ได้รับยาทุกประเภทสำหรับอาการที่รักษาได้ในปัจจุบัน เธอมีอาการทุกข์ทรมานทางกายและใจ และมิลตันที่ไม่รู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ก็จัดยาที่จะลดความเจ็บปวดให้กับเธอ ทุกคนรอบตัวเธอพยายามช่วยเธอโดยไม่นึกถึงสเกลที่แท้จริงของปัญหานี้ครับ”
   ในตอนที่มาริลินดิ้นรนที่จะปรับตัวให้เข้ากับกองถ่ายของโอลิเวียร์ นักแสดงหญิงชื่อดัง ซิบิล ธอร์นด์ไลค์ ผู้รับบทโดยจูดี้ เดนช์ ที่ชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้กัน เป็นผู้ที่คอยปลอบโยนเธอ “เธอคอยรับฟังปัญหาของทั้งเซอร์ลอว์เรนซ์และมาริลินค่ะ” เดนช์อธิบาย “ด้วยความที่ซิบิลรู้จักเซอร์ลอว์เรนซ์เป็นอย่างดี ก็เลยรู้สึกได้ถึงความตึงเครียดมหาศาลระหว่างเขากับมาริลินตั้งแต่เริ่มต้น แต่ฉันก็คิดว่าเธอเห็นใจมาริลินกับโคลิน เธอใจดีกับมาริลินมากๆ และเธอก็ชื่นชอบมาริลินและคอยช่วยเหลือปกป้องเธอเสมอด้วยค่ะ”
   อีกหนึ่งตัวละครสมทบในเรื่องคือลูซี ผู้ช่วยฝ่ายเครื่องแต่งกาย ที่รับบทโดยเอ็มมา วัตสัน ผู้ที่โคลินเริ่มสานสายสัมพันธ์รักๆ ใคร่ๆ ด้วยก่อนที่มาริลินจะขโมยหัวใจเขา “ลูซีมีประสบการณ์ในกองถ่าย ในขณะที่สำหรับโคลิน คลาร์คแล้ว โลกภาพยนตร์เป็นของใหม่ ที่สดใสและน่าตื่นเต้นค่ะ”วัตสันกล่าว “เธอหวาดระแวงพวกผู้ช่วยผู้กำกับมากๆ และเธอก็รู้วิธีการทำงานในกองถ่ายดี แต่เธอก็ยังคงไร้เดียงสาและบริสุทธิ์อยู่ แม้ว่าในตอนแรก เธอจะคอยระวังโคลิน แต่เธอก็ตกหลุมรักเขาและถูกทำร้ายจิตใจในท้ายที่สุดค่ะ”


การจำลองปี 1956

               การถ่ายทำ My Week with Marilyn ส่วนใหญ่เกิดขึ้นที่ไพน์วู้ด สตูดิโอส์ ซึ่งเป็นสตูดิโอเดียวกับที่ใช้ถ่ายทำ The Prince and The Showgirl รวมไปถึงโลเกชันที่แฮทฟิลด์ เฮาส์, พระราชวังวินด์เซอร์, วิทยาลัยอีตัน และชายฝั่งแม่น้ำเธมส์ นอกจากนี้ ทีมงานยังได้ถ่ายทำที่ปาร์คไซด์ เฮาส์ บ้านหลังเดียวกับที่มาริลินเข้าพักระหว่างถ่ายทำ The Prince and The Showgirl “โลเกชันนั้นวิเศษสุดครับ” เคอร์ติสบอก “ในตอนที่เราถ่ายทำฉากที่มาริลินพบโน้ตบุ๊คของอาร์เธอร์ มิลเลอร์ ซึ่งเธอตกตะลึงเมื่อได้อ่าน การได้ถ่ายทำมันบนบันไดเดียวกับที่มาริลินน่าจะเคยได้นั่ง เป็นอะไรที่เหลือเชื่อจริงๆ”
   เคอร์ติสอธิบายว่าเขาอยากให้ภาพยนตร์เรื่องนี้ซื่อตรงต่อปี 1956 “แต่ก็ให้ความรู้สึกทันสมัย” สิ่งที่สำคัญต่อภาพยนตร์คือซีเควนซ์ที่โอลิเวียร์และทีมงานถ่ายทำฉากจาก The Prince and The Showgirl “มันเหมือนหนังในหนังครับ” ผู้อำนวยการสร้างเดวิด พาร์ฟิทท์บอก “สำหรับไซมอน มันเป็นเรื่องสำคัญมากในการทุ่มเทให้กับสีสันและเท็กซ์เจอร์ และการแนะนำเทคนิคคัลเลอร์ในยุค 50s เราอยากจะสร้างความแตกต่างระหว่างฉากตอนถ่ายทำ The Prince and The Showgirl กับสิ่งที่เกิดขึ้นนอกกองถ่ายน่ะครับ”
   “มันสนุกมาก” เขากล่าวต่อ “เพราะเราได้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับหนังเรื่องนั้นมาอยู่ในกองถ่ายของเราด้วย ร่วมด้วยลูกชายและลูกสาวของพวกเขาบางคน เรามีคนที่คอยตรวจเรื่องความต่อเนื่องจากหนังออริจินอลเข้ามา และการได้ถ่ายทำในสตูดิโอแห่งนั้น ซึ่งเป็นแห่งเดียวกับที่ภาพยนตร์เรื่องนั้นถ่ายทำ โดยมีมิเชลล์อยู่ในห้องแต่งตัวเดียวกัน มันให้ความรู้สึกที่ยอดเยี่ยมทางด้านประวัติศาสตร์ ผมหวังว่าเราจะได้สร้างหนังที่พิเศษสุดขึ้นมานะครับ”

33464
เกี่ยวกับงานสร้าง

                “สำหรับหลายคน มาริลินเป็นไอคอนมากกว่านักแสดงหญิงอีกครับ” ผู้กำกับไซมอน เคอร์ติสยอมรับ “คนเห็นภาพถ่ายของเธอมากกว่าที่จะได้ดูหนังของเธอเสียอีก การเข้ามามีส่วนร่วมในโปรเจ็กต์นี้ของผมเกิดจากการตกหลุมรักอนุทินเล่มแรกจากสองเล่มของโคลิน คลาร์ค ในฐานะผู้ช่วยผู้กำกับที่รอยัล คอร์ท เธียเตอร์ ผมพบว่ามันมีเสน่ห์น่าหลงใหลครับ”
   อนุทินเล่มแรก The Prince, The Showgirl and Me เล่าถึงประสบการณ์ของคลาร์คในการทำงานเป็นผู้ช่วยผู้กำกับที่สามในกองถ่ายภาพยนตร์เรื่อง The Prince and The Showgirl ซึ่งเป็นผลงานเรื่องแรกของมาริลิน มอนโรในฐานะผู้อำนวยการสร้างและดารานำ ซึ่งเธอได้แสดงประกบเซอร์ลอว์เรนซ์ โอลิเวีย ซึ่งเป็นผู้กำกับด้วย หนังสือเล่มนี้เล่าถึงปัญหาสารพัดของการถ่ายทำ ซึ่งมีชนวนมาจากการขาดการสื่อสารและความเข้าใจกันระหว่างดารานำทั้งสองคนของเรื่อง พฤติกรรมสุดป่วนและการมาสายของเธอเลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีกด้วยการติดแอลกอฮอล์และยาตามใบสั่ง ในขณะที่โอลิเวียร์ ซึ่งเป็นพวกอนุรักษ์นิยมอย่างเคร่งครัด ปฏิเสธที่จะโอนอ่อนผ่อนตามเรื่องไร้สาระหรือการยึดถือการแสดงแบบเมธ็อดของเธอ ที่เธอทำตามคำแนะนำของพอลลา สตาร์สเบิร์ก
   ในขณะที่อนุทินของคลาร์คเป็นการเล่าเรื่องแบบซุบซิบเกี่ยวกับการร่วมงานกันที่ราบรื่นระหว่างโอลิเวียร์และมอนโร อนุทินลำดับต่อมาของเขา My Week With Marilyn ให้ความรู้สึกเป็นคำสารภาพที่เป็นส่วนตัว ในหนังสือเล่มนั้น คลาร์คได้เล่าถึงช่วงเวลาหนึ่งสัปดาห์หฤหรรษ์ที่เขาได้พามอนโร ที่รู้สึกไม่สบายใจ ออกเที่ยวในชนบทของอังกฤษ มันเผยให้เห็นถึงภาพที่หาได้ยากของผู้หญิงที่มีเลือดเนื้อ ชีวิตจิตใจจริงๆ ที่เกิดมาในฐานะนอร์มา จีน เบเกอร์ ที่อยู่เบื้องหลังภาพลักษณ์ที่ผ่านการบ่มเพาะอย่างดี จากกลไกการผลิตดาราดังของเธอ
   “ผมไม่อยากจะเชื่อสายตาเลยตอนที่ My Week with Marilyn ถูกตีพิมพ์ออกมา” เคอร์ติสบอก “โคลินมีช่วงเวลาที่ตึงเครียดและเย้ายวนใจกับผู้หญิงที่โด่งดังที่สุดในโลก ตอนที่เธอมีชื่อเสียงสุดๆ ผมไม่อยากจะเชื่อเลยว่าตัวเองจะโชคดีได้สิทธิหนังสือเล่มนี้มา คนพยายามยื้อแย่งสิทธิของมันมาหลายปีแล้ว ในปีที่แล้ว ผมได้พบกับผู้กำกับชื่อดังอย่างน้อยๆ สามคนที่บอกว่า ‘ผมอยากจะสร้างเรื่องราวนั้นมาตลอด’ ผมก็เลยรู้สึกว่าตัวเองโชคดีมากๆ” เคอร์ติสและผู้อำนวยการสร้างเดวิด พาร์ฟิทท์ตัดสินใจซื้อสิทธิสำหรับอนุทินทั้งสองเล่ม ด้วยความต้องการจะผสมผสานองค์ประกอบจากทั้งสองเล่มให้กลายเป็นบทภาพยนตร์เรื่องนี้ พาร์ฟิทท์อธิบายว่า “เราคิดกันว่าหนังสือเล่มแรก ที่มุมมองที่น่าสนใจเกี่ยวกับงานสร้าง The Prince and The Showgirl น่าจะถูกใจคนในแวดวงหนังมากกว่า ส่วนหนังสือเล่มสองจะเป็นการแหวกม่านแอบดูตัวตนที่แท้จริงของมาริลิน ที่สำคัญ นี่ไม่ใช่ชีวประวัติของมาริลิน แต่เป็นหน้าต่างที่เปิดเข้าไปในชีวิตของเธอ ระหว่างการทำงานในหนังเรื่องหนึ่ง และความสัมพันธ์ระหว่างเธอกับโคลิน ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาสำคัญในชีวิตเธอครับ”
   เมื่อได้สิทธิในหนังสือมาแล้ว เคอร์ติสและพาร์ฟิทท์ก็เข้าทาบทามมือเขียนบทเอเดรียน ฮ็อดเจส ที่เคอร์ติสเคยร่วมงานด้วยมาแล้วในซีรีส์บีบีซีเรื่อง David Copperfield ให้ทดลองดัดแปลงบทภาพยนตร์เรื่องนี้ อย่างไรก็ดี ฮ็อดเจสแสดงความเคลือบแคลงในการที่จะดัดแปลงเรื่องราวของมอนโร “เช่นเดียวกับคนอื่นๆ ผมเองก็ทึ่งกับ Some Like it Hot ตั้งแต่ครั้งแรกที่ได้ดู ผมไม่เคยเห็นอะไรที่เซ็กซี่เท่านั้นมาก่อน” มือเขียนบทกล่าว “แต่เรื่องราวเกี่ยวกับมาริลินให้ความรู้สึกเหมือนเรื่องที่ถูกตีแผ่จนช้ำแล้วน่ะครับ ตลอดหลายปีที่ผ่านมา เธอกลายเป็นสิ่งๆ นี้ โปสเตอร์ใบนี้ ภาพในฉากนี้ ที่ถูกนำมาจำลองซ้ำแล้วซ้ำอีก ทั้งในภาพลักษณ์ของเธอเองและในภาพของคนอย่างมาดอนนาและเลดี้ กาก้าครับ”
   แต่หลังจากได้อ่านอนุทินทั้งสองเล่มของคลาร์ค ฮ็อดเจสก็เปลี่ยนใจ “ผมคิดว่าพวกมันให้มุมมองที่วิเศษสุดเกี่ยวกับแง่มุมที่แท้จริงของมาริลิน มาริลินที่เป็นทุกอย่างที่ทุกคนคิดว่าเธอเป็น ผู้หญิงที่ตื่นกลัว ไม่มั่นใจ วิตกจริต และบางครั้งก็รับมือยาก แต่ในขณะเดียวกัน เธอก็เป็นหญิงสาวที่เปราะบาง น่ารัก อ่อนหวานคนหนึ่งเท่านั้นเอง ผมก็เลยคิดว่าบทภาพยนตร์เรื่องนี้สามารถทำให้เธอเป็นมนุษย์ได้อีกครั้ง”
   ความน่าสนใจในความสัมพันธ์ระหว่างคลาร์คและมอนโรอยู่ตรงที่ว่า ความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขามันเหลือเชื่อขนาดไหน ดาราดังระดับโลกที่กำลังโด่งดังสุดๆ ใช้เวลาหนึ่งสัปดาห์ไปกับการเดินทางทั่วอังกฤษอย่างสนิทสนมกับช่างไฟจากกองถ่ายภาพยนตร์ของเธอได้อย่างไร คลาร์คเพิ่งจบการศึกษาจากอ็อกซ์ฟอร์ด และแม้ว่าเขาจะกลายเป็นผู้กำกับที่ประสบความสำเร็จในท้ายที่สุด แต่ตอนที่ The Prince and The Showgirl เริ่มเดินกล้องในปี 1956 เขาก็เป็นแค่เด็กใหม่ในวงการ ในฐานะผู้ช่วยผู้กำกับที่สาม หน้าที่ของเขาคือการทำตัวให้เป็นที่มองเห็นและมองไม่เห็น “ผู้ช่วยผู้กำกับที่สามจะอยู่ทุกหนทุกแห่งและทุกคนก็รู้จักว่าพวกเขาเป็นใคร เพราะพวกเขาเข้าถึงทุกแง่มุมของหนัง แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็อาจจะเป็นกลุ่มคนที่สำคัญน้อยที่สุดในที่นั้นก็ได้” ฮ็อดเจสบอก
   เมื่อคลาร์คมาทำงานในกองถ่ายวันแรก เขาก็ไปเจอกับบรรยากาศตึงเครียดที่เกิดจากดาราดังที่แวะเวียนเข้ามาในวงโคจรของเขา “นี่เป็นช่วงเวลาที่สำคัญอย่างยิ่งยวดในชีวิตของพวกเขาครับ” เคอร์ติสบอก “มาริลินเพิ่งจะแต่งงานกับอาร์เธอร์ มิลเลอร์และเมื่อเธอมาถึงสนามบินฮีธโรว์ เพื่อถ่ายทำหนังเรื่องนี้ มันก็เป็นช่วงเวลาที่เธอภาคภูมิใจที่สุดในชีวิต ตอนนี้ เธอแต่งงานกับผู้ยิ่งใหญ่ ผู้ที่เธอคิดว่าจะเป็นคนสำคัญของเธอไปตลอดชีวิต แล้วนี่ก็เป็นหนังเรื่องแรกในฐานะผู้อำนวยการสร้างของเธอ โปรเจ็กต์แรกภายใต้มาริลิน มอนโร โปรดักชันส์ และเธอก็มาที่อังกฤษเพื่อร่วมงานกับโอลิเวียร์ ผู้ยิ่งใหญ่ เพื่อลบข้อครหาเกี่ยวกับฝีมือด้านการแสดงของเธอ ในหลายแง่มุมแล้ว เรื่องราวในหนังของเราคือการที่ทุกอย่างผิดพลาดไปซะทั้งหมด”
   ในขณะเดียวกัน โอลิเวียร์ก็พยายามปลุกชีพให้กับอาชีพนักแสดงของตัวเอง ในภูมิประเทศที่มีความเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมสูง ซึ่งดูเหมือนจะยิ่งตอกย้ำความล้าสมัยของเขาเองมากขึ้นไปอีก เคอร์ติสตั้งข้อสังเกตว่า “ปี 1956 ในอังกฤษ เป็นปีที่พิเศษสุดอยู่แล้ว ด้วยร็อคแอนด์โรล ITV ปีของ Look Back In Anger และ Lucky Jim น่ะครับ ฉากที่ไร้ศีลธรรมและการต่อต้านการลงหลักปักฐานใน Look Back In Anger สร้างความตื่นตะลึงให้กับนักวิจารณ์และสั่นคลอนภาพสังคมผู้ดีของแวดวงละครเวทีอังกฤษในยุค 50s อย่างมาก ในขณะที่ละครเสียดสีอย่าง Lucky Jim ก็โจมตีละครเชิงความรู้แบบเสแสร้งที่สร้างชื่อให้กับโอลิเวียร์ เคอร์ติสกล่าวเสริมว่า “ในเวลานั้น มีความปั่นป่วนเชิงวัฒนธรรมเกิดขึ้น การมีมาริลินมาพร้อมกับพอลลา สตาร์สเบิร์กและวิธีการแสดงแบบเมธ็อดก็เป็นความท้าทายอีกอย่างหนึ่งต่ออัตลักษณ์ของโอลิเวียร์ครับ”
   ความขัดแย้งระหว่างมอนโรกับโอลิเวียร์ ความวิตกกังวลที่เธอมีต่อชีวิตคู่ของเธอกับอาร์เธอร์ มิลเลอร์และความไม่มั่นใจในพรสวรรค์ของตัวเองทำให้เธอเปราะบางอย่างยิ่ง “เธอต้องการเพื่อนครับ” ฮ็อดเจสอธิบาย “และเหตุการณ์หลายครั้งที่เกิดขึ้นก็ทำให้เธอได้กลายเป็นเพื่อนสนิทที่ใกล้ชิดกับโคลิน คลาร์คมากๆ เพราะเขาอยู่ตรงนั้นเสมอและไม่มีพิษมีภัย แม้ว่าเขาจะเป็นคนหน้าตาดีและมีเสน่ห์ก็ตาม”
   มอนโรใฝ่ฝันที่จะหนีไปจากกองถ่ายที่เต็มไปด้วยปัญหา และเมื่อเธอรู้ว่าคลาร์คมาจากแบ็คกราวน์คนร่ำรวย ที่มีสายสัมพันธ์กว้างขวาง เพราะเขาเป็นน้องชายของอลัน คลาร์ค นักเขียนบันทึกชื่อดัง และเป็นลูกชายของเคนเนธ คลาร์ค นักเขียนและนักประวัติศาสตร์ศิลป์ผู้โด่งดัง เธอก็รู้ว่าเขาสามารถพาเธอไปยังสถานที่ต่างๆ ที่อยู่ไกลเกินเอื้อมสำหรับเธอได้ ไม่ว่าจะเป็นพระราชวังวินด์เซอร์หรือวิทยาลัยอีตัน ฮ็อดเจสกล่าวเสริมว่า “มันเป็นหนึ่งสัปดาห์ที่บริสุทธิ์มากๆ แต่ในขณะเดียวกัน มันก็พลุ่งพล่านไปด้วยอารมณ์และความสนิทสนมชิดเชื้อครับ”
   ในความเป็นจริงแล้ว เคอร์ติสมองเรื่องราวของภาพยนตร์เรื่องนี้ว่าดำเนินไปตามขนบเดียวกับภาพยนตร์ยอดนิยมเรื่อง Lost in Translation “คนสองคนบังเอิญเข้ามาในวงโคจรของกันและกัน และเกิดความผูกพันกัน ซึ่งก็จางหายไปในที่สุด นั่นเป็นสิ่งที่ทำให้ผมสนใจครับ” ผู้กำกับบอก “แล้วเรื่องราวนี้ก็เข้ากันได้ดีกับความหลงใหลในเรื่องราวคนดังในปัจจุบันของเรา ตอนนี้ Twitter ทำให้คุณรับรู้รายละเอียดทุกเม็ดว่าดาราใช้ชีวิตอย่างไร แต่สมัยก่อน เรื่องถูกควบคุมมากกว่านี้ ผมก็เลยชอบลักษณะที่โคลินบอกเรื่องวงในให้เราได้รับรู้น่ะครับ”
   เคอร์ติส ผู้คร่ำหวอดในแวดวงละครเวทีและจอแก้ว รอคอยเป็นเวลานานกว่าที่จะเปิดตัวผลงานภาพยนตร์เรื่องแรก “มีหนังหลายเรื่องที่ผมเกือบได้ทำแต่ผมก็ตื่นเต้นจริงๆ ที่หนังเรื่องแรกของผมคือสิ่งที่เขาเรียกกันว่าโปรเจ็กต์ลูกรัก ไม่ใช่สิ่งที่ผมแค่บังเอิญไปเจอ แต่มันเป็นสิ่งที่ผมใฝ่ฝันอยากจะทำ ดังนั้น มันก็เลยเป็นจุดเริ่มต้นที่ยอดเยี่ยมครับ”


Marilyn Monroe (มาริลิน มอนโร)

                มีนักแสดงหญิงเพียงคนเดียวเท่านั้นที่เคอร์ติสพิจารณาสำหรับบทสำคัญอย่างมาริลิน และเธอคนนั้นก็คือนักแสดงผู้ได้รับการเสนอชื่อชิงออสการ์ มิเชลล์ วิลเลียมส์ “ผมชื่นชมผลงานของมิเชลล์มาโดยตลอดและมองว่าเธอเป็นหนึ่งในนักแสดงที่เก่งกาจที่สุดในรุ่นของเธอครับ” เคอร์ติสบอก “การแสดงของเธอใน Brokeback Mountain และ Blue Valentine โดดเด่นเป็นพิเศษ และเธอก็มีอายุเหมาะกับมาริลินของเราในปี 1956 ด้วย ผมตื่นเต้นเมื่อรู้ว่ามิเชลล์สนใจบทนี้ เธอเป็นคนที่ทำงานและค้นคว้าหนักอย่างเหลือเชื่อและเธอก็กล้าหาญมากที่ยอมรับบทที่เป็นไอคอนแบบนี้”
   วิลเลียมส์ชื่นชอบแง่มุมสดใหม่ในชีวิตของมาริลิน ที่ปรากฏในอนุทินของคลาร์คเป็นพิเศษ “สำหรับมิเชลล์แล้ว สิ่งสำคัญคือเรื่องราวนี้ไม่ได้เกี่ยวกับทั้งชีวิตของมาริลิน” เคอร์ติสบอก “มันเป็นแค่เดือนเดียว ซึ่งทำให้มันกลายเป็นโฟกัสตามธรรมชาติครับ”
   นักแสดงหญิงชาวอเมริกันยอมรับว่าเธอเองก็รู้สึกหวั่นใจเล็กๆ เกี่ยวกับการรับบทนี้ “พระเจ้า จริงๆ นะคะ คุณจะไม่หวั่นใจได้ยังไง” วิลเลียมส์บอก “แต่ฉันก็พยายามจะไม่คิดแบบนั้น และพยายามจะวาดภาพเธอในความคิดว่าเธอไม่ใช่คนดัง แต่เป็นคนธรรมดาที่ฉันจะต้องสวมบทบาท เป็นเหมือนเพื่อนมากกว่าไอคอนน่ะค่ะ”
   สำหรับวิลเลียมส์ โอกาสในการได้รับบทมอนโรมีความสำคัญในแง่ส่วนตัวเพราะเธอชื่นชมคนดังผู้นี้ตั้งแต่ก่อนที่เธอจะย่างเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นเสียอีก “ฉันโตขึ้นมากับโปสเตอร์ของเธอในห้องนอนค่ะ” วิลเลียมส์เผย “แต่ฉันสนใจในตัวมาริลินที่เป็นส่วนตัวมากกว่า มาริลินที่ไร้เกราะกำบัง มาริลินก่อนที่เธอจะกลายเป็นมาริลิน แม้แต่ตอนที่ฉันยังเป็นวัยรุ่น ความรู้สึกผูกพันกับเธอของฉันไม่ได้อยู่ที่ความยิ่งใหญ่ของเธอ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นข้างใต้นั้นน่ะค่ะ”
   ความปรารถนาของมอนโรที่จะอำนวยการสร้างภาพยนตร์ของตัวเองและมาอังกฤษเพื่อร่วมงานกับโอลิเวียร์ นักแสดงผู้ยิ่งใหญ่ มีรากฐานมาจากความปรารถนาที่อยากจะให้คนมองเธอว่าเป็นนักแสดงอย่างจริงจัง การตัดสินใจนี้เป็นก้าวย่างด้านอาชีพที่กล้าหาญ ซึ่งทำให้มอนโรรับบทที่นักแสดงคู่ใจและภรรยาคนดังของโอลิเวียร์ วิเวียน ลีห์ได้เคยแสดงเอาไว้ในละครเวทีเรื่อง The Prince and The Showgirl ความยึดมั่นในการแสดงแบบเมธ็อดเป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เธอทำเพื่อให้ตัวเองเป็นที่เคารพ แม้ว่ามันจะทำให้เธอแตกต่างกับบรรดาการแสดงที่พวกชาวอังกฤษชื่นชอบบนจอเงินก็ตาม
   “สิ่งที่มาริลินคาดหวังว่าจะเกิดขึ้นและสิ่งที่จะเกิดขึ้นในท้ายที่สุดจริงๆ นั้นเป็นสองสิ่งที่แตกต่างกันอย่างสุดขั้ว และพวกมันก็ทำให้เธอไม่พอใจและไม่มีความสุขในอังกฤษค่ะ” วิลเลียมส์อธิบาย “เธอคาดหวังว่าจะได้ไปลอนดอน ไปแสดงหนังกับนักแสดงที่เลื่องชื่อที่สุดแห่งยุค และหวังว่ามันจะทำให้เธอได้รับการเคารพอย่างที่เธอคู่ควรและโหยหา เมื่อเธอมาถึง เธอรู้สึกเหมือนเธอถูกหัวเราะเยาะและปฏิบัติด้วยอย่างผิดๆ โอลิเวียร์เย้ยหยันเธอและไม่ปฏิบัติต่อเธออย่างที่เธอหวังไว้ เธอรู้สึกว่าเธอต้องการมิตร และเธอก็พบโคลินค่ะ”
   แม้ว่าเธอจะรู้เรื่องราวชีวิตของมอนโรอย่างดีอยู่แล้ว วิลเลียมส์ก็อ่านดูงานวิจัยทุกชิ้นเท่าที่เธอหาได้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับบทนี้ “สิ่งที่เป็นประโยชน์มากที่สุดคือการดูหนังของเธอซ้ำแล้วซ้ำอีก เพื่อทำให้มันเป็นเหมือนหนังที่เล่นอยู่ในความคิดฉันค่ะ” เธอบอก “ฉันชอบ The Prince and The Showgirl มาก จนฉันนับไม่ได้เลยว่าฉันดูมันมากี่ครั้งแล้ว”
   วิลเลียมส์ยังทึ่งกับพรสวรรค์ของมอนโรและการที่การแสดงของเธอให้ความรู้สึกทันสมัยแค่ไหนแม้ในปัจจุบัน “เธอโหยหาที่จะเล่นบทดรามา แต่ฉันชอบเธอในคอเมดี และใน The Prince and The Showgirl เธอกับทีมนักแสดงก็ทำได้อย่างยอดเยี่ยม” วิลเลียมส์กล่าวชื่นชม “พวกเขาทุกคนทำตัวเป็นระเบียบเรียบร้อย ไร้ชีวิตชีวา หัวโบราณ และเข้าถึงยาก ส่วนถ้าเธอเล่นหนังเรื่องนั้นในปัจจุบันนี้ การแสดงของเธอก็ไม่มีอะไรที่ล้าสมัยหรือโบราณไปเลย ในชั่วขณะนั้น เธอเป็นคนที่มีเลือดเนื้อจริงๆ และสวยมากๆ ค่ะ”


Colin Clark (โคลิน คลาร์ค)

               สำหรับการเนรมิตโคลิน คลาร์คสู่หน้าจอ เคอร์ติสเลือกเอ็ดดี้ เร้ดเมย์น นักแสดงหนุ่มผู้ได้รับการยกย่องอย่างสูง “ผมชอบเอ็ดดี้ครับ” ผู้กำกับอธิบาย “เช่นเดียวกับโคลิน เอ็ดดี้เรียนจบมาจากอีตัน เขามีคุณสมบัติพวกนี้ที่เกิดจากสถานที่ที่เหมาะสม เขามีทั้งความเป็นผู้ใหญ่ทางด้านความคิดและมีความไร้เดียงสาแบบคนหนุ่มด้วยครับ”
   แม้ว่าคลาร์คจะเกิดมาในตระกูลผู้ดี แต่เขาก็ยังคงถูกมองว่าเป็นพวกโบฮีเมียนตามมาตรฐานของชนชั้นสูง “เขาเรียนที่อีตันกับพวกชนชั้นสูงพวกนี้ แต่จริงๆ แล้ว เขาเป็นแกะดำ เพราะครอบครัวของเขาก็ไม่ได้อยู่ในกรอบบริบทชนชั้นสูงซะทีเดียว” เร้ดเมย์นบอก “พวกเขาจะมีลอว์เรนซ์ โอลิเวียร์หรือมาร์ก็อต ฟอนเทนมาร่วมรับประทานมื้อค่ำ ในขณะที่คนอื่นๆ ไปยิงปืนหรือตกปลา เขาดูเหมือนเป็นคนที่มีพร้อมทุกสิ่ง แต่จริงๆ แล้ว เขาเป็นคนแปลกที่ออกไปสู่โลกภายนอกเพื่อพยายามพิสูจน์คุณค่าตัวเองสำหรับพ่อแม่ สำหรับคนอื่นๆ ในครอบครัวเขาที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง และสำหรับตัวเองด้วยครับ”
   มีเสน่ห์ ฉลาดเฉลียวและที่สำคัญ มุ่งมั่น ความไม่เป็นแก่ตัวของคลาร์คกลายเป็นคุณสมบัติที่โดดเด่นที่สุดของเขา “โคลินเป็นคนที่เอาใจใส่และเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มากๆ ครับ” เร้ดเมย์นบอก “และเรื่องวุ่นๆ ทั้งหมดนี้ก็เกิดขึ้นรอบด้านเขา ทั้งเรื่องของคนดัง อีโก้ พลังงานและความเย้ายวนทางเพศด้วยครับ”
   ในภาพยนตร์เรื่องนี้ คลาร์ควัย 23 ปี เป็นชายหนุ่มมีเสน่ห์ ผู้มั่นใจในตัวเอง แม้ว่าบางที เขาอาจจะไม่โตเป็นผู้ใหญ่มากเท่าที่ตัวเองคิดก็ตาม “เขาคิดว่าตัวเองเป็นเสือผู้หญิงนิดๆ” เร้ดเมย์นยอมรับยิ้มๆ “ผมเคยคุยกับผู้หญิงที่เป็นเจ้าหน้าที่สื่อสัมพันธ์ในหนังเรื่องนั้น แล้วเธอก็บอกว่า โคลินเป็นคนน่ารักมาก เขาสามารถทำให้ทุกคนเปลี่ยนใจได้ มันเป็นความหยิ่งทะนงของวัยหนุ่มน่ะครับ แต่เขาก็ได้เรียนรู้บทเรียนสำคัญในหนังเรื่องนี้ มันเป็นเรื่องราว coming of age เล็กๆ ครับ”
   มีชายหนุ่มไม่กี่คนหรอกที่จะได้เรียนรู้วิถีของโลกจากหนึ่งในหญิงสาวที่โด่งดังที่สุดของโลกตลอดกาล เร้ดเมย์นกล่าวเสริมว่า “มันน่าทึ่งที่ผู้ช่วยคนนี้ ที่ไม่เคยทำงานในกองถ่ายมาก่อน จะสามารถสานสายสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับนางเอกสาวคนนี้ แทนที่จะเป็นคนอืน่ในกองถ่าย นั่นเป็นสิ่งที่แปลกประหลาด และยอดเยี่ยมอย่างน่าอัศจรรย์ของการสร้างหนังครับ”
   เร้ดเมย์นเชื่อว่า มิตรภาพนั้นเป็นไปได้ส่วนหนึ่งเพราะความอ่อนไหวของคลาร์คในฐานะผู้สังเกตการณ์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เขาจะได้ใช้ในภายหลังเมื่อเป็นผู้กำกับสารคดี “เขารู้สึกได้ถึงความเปราะบางของมาริลินท่ามกลางความโกลาหลที่เกิดขึ้นในกองถ่าย” นักแสดงหนุ่มบอก “เขามองเห็นเบื้องลึกเข้าไป และเขาก็ไม่กลัวคนดัง ด้วยความที่โตมาในบ้านที่เขาดื่มชากับโอลิเวียร์ หรือฟอนเทนและคอมโพสเซอร์คนดังของยุคนั้น เรื่องคนดังไม่ได้มีผลอะไรกับเขาเลย แต่สิ่งที่หลงเหลืออยู่คือคุณสมบัติที่เจิดจรัสของมาริลิน และสิ่งที่พิเศษสุด ซึ่งก็คือความเปราะบาง นั่นเป็นสิ่งที่ดึงดูดเขาครับ”
   ในช่วงแรกๆ ที่เขาเข้ากองถ่าย คลาร์คก็เฟลิตกับผู้ช่วยสาวฝ่ายเครื่องแต่งกาย ที่รับบทโดยเอ็มมา วัตสัน ในสิ่งที่ดูเหมือนความรักที่กำลังผลิบาน แต่ความสัมพันธ์นั้นก็ถูกขัดขวางจากความหลงใหลในตัวมาริลินของคลาร์ค และความปรารถนาของเขาที่จะได้ใกล้ชิดเธอ “โคลินกล้าฝันว่ามิตรภาพระหว่างเขากับมาริลินจะนำไปสู่สิ่งที่มากกว่านั้น และจากสิ่งที่หนังสือได้อธิบายไว้ ไอเดียของการได้จุมพิตเธอในวันในอุดมคติที่อิสระเสรีนั้นเป็นเรื่องที่วิเศษสุดครับ” เร้ดเมย์นอธิบาย
   แม้ว่าหนึ่งสัปดาห์ที่พวกเขาใช้ร่วมกันจะเต็มไปด้วยความตึงเครียดแสนอิโรติคที่ไม่อาจปฏิเสธได้ คลาร์คและมอนโรก็พบว่าพวกเขากำลังก้าวเข้าสู่ขอบเขตอารมณ์ที่ซับซ้อนกว่าสัมพันธ์รักๆ ใคร่ๆ โดยทั่วไป เร้ดเมย์นกล่าวว่า “ความสัมพันธ์ของพวกเขาเป็นอะไรที่แปลกครับ มันเป็นส่วนผสมระหว่างความสัมพันธ์ระหว่างแม่กับลูก และในทางกลับกัน บางครั้งก็เป็นพ่อกับลูกครับ มันเป็นความสัมพันธ์ที่เบาบางแต่บางครั้งก็เปี่ยมด้วยความหมาย แต่สิ่งที่พวกเขามีก็เป็นสิ่งที่เปราะบางด้วย นั่นคือสิ่งที่ผมชื่นชอบครับ ความสัมพันธ์ที่บางเบา จับต้องได้ยากระหว่างโคลินกับมาริลินน่ะครับ”

33465
My week with Marilyn


จัดจำหน่ายโดย      เอ็ม พิคเจอร์ส  
ชื่อภาษาไทย      7 วัน...แล้วคิดถึงกันตลอดไป
เว็ปไซด์ตัวอย่างภาพยนตร์   www.youtube.com/moviesmpictures
      
ภาพยนตร์แนว   ดราม่า
จากประเทศ      อังกฤษ
กำหนดฉาย      
ณ โรงภาพยนตร์   ในโรงภาพยนตร์
ผู้กำกับ      ผู้กำกับมือรางวัล Simon Curtis (ไซมอน เคอร์ติส)
อำนวยการสร้าง   David Parfitt (เดวิด พาร์ฟิทท์) จาก Shakespeare in Love


นักแสดง   Michelle Williams (มิเชลล์ วิลเลี่ยมส์)   นักแสดงชื่อดังที่เคยถูกเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์จากภาพยนตร์ Brokeback Mountain และ เข้าชิงรางวัล อคาเดมี่อวอร์ดจาก Blue Valentine, Shutter Island
         Eddie Redmayne (เอ็ดดี้ เรดมานี่) จาก THE OTHER BOLEYN GIRL
         Kenneth Branagh (เคนเนธ บรานาห์) จาก THOR
         และ แม่มดสาวจากแฮร์รี่ พอตเตอร์ Emma Watson (เอ็มมา วัตสัน)


จุดเด่น   ภาพยนตร์ My Week with Marilyn ที่แสดงนำโดยนักแสดงสาวผู้มากด้วยความสามารถ มิเชลล์ วิลเลี่ยมส์ มารับบทนักแสดงสาวผู้ล่วงลับ มาริลิน มอนโร ร่วมแสดงกับ เคนเนธ บรานาห์ รับบท เซอร์ลอว์เรนซ์ โอลิเวียร์ ภาพยนตร์เรื่องนี้สร้างจากความทรงจำของ โคลิน คลาร์ค ผู้ซึ่งเคยทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยของ เซอร์ลอว์เรนซ์    โอลิเวียร์เมื่อครั้งที่เล่นภาพยนตร์เรื่อง The Princess and The Showgirl ซึ่งเป็นช่วงที่ โอลิเวียร์ ได้มีความสัมพันธ์กับ มาริลิน มอนโร ปรากฎออกมาในระหว่างถ่ายทำ และภาพยนตร์ My Week with Marilyn ยังได้ดาราสมบทบคนอื่นๆอีกมากมายอย่าง เอ็ดดี้ เร้ดเมย์น ในบท คลาร์ค, จูดี้ เดนช์ ,โดมินิค คูเปอร์ และ เอ็มมา วัตสัน  ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังถูกพูดถึงอย่างมากกับโอกาศคว้ารางวัลออสการ์ร์ครั้งใหม่ของวิลเลียมส์ หลัง Brokeback Mountain และ Blue Valentine

 

My Week with Marilyn
   

               ในช่วงต้นฤดูร้อนปี 1956 มาริลิน มอนโร ดาราสาวชาวอเมริกันได้ย่างเท้าลงบนแผ่นดินอังกฤษเป็นครั้งแรก ระหว่างการฮันนีมูนกับสามีเธอ นักเขียนบทละครชื่อดัง อาร์เธอร์ มิลเลอร์ มอนโรได้มาเยือนอังกฤษเพื่อถ่ายทำ The Prince and the Showgirl ภาพยนตร์ที่โด่งดังจากการทำให้เธอได้พบกับเซอร์ลอว์เรนซ์ โอลิเวียร์ ตำนานแห่งโลกละครเวทีและภาพยนตร์ของอังกฤษ ที่กำกับและร่วมแสดงภาพยนตร์เรื่องนั้นด้วย
   ในฤดูร้อนปีเดียวกันนั้นเอง โคลิน คลาร์ค เด็กหนุ่มวัย 23 ปี ได้ย่างเท้าลงบนกองถ่ายภาพยนตร์เป็นครั้งแรกในชีวิต คลาร์ค ผู้เพิ่งสำเร็จการศึกษาจากอ็อกซ์ฟอร์ด ใฝ่ฝันจะเป็นผู้กำกับ และเขาก็ได้งานเป็นผู้ช่วยผู้ต่ำต้อยในกองถ่ายภาพยนตร์เรื่อง The Prince and the Showgirl สี่สิบปีให้หลัง เขาได้เล่าถึงประสบการณ์หกเดือนในกองถ่ายของเขาในอนุทินที่มีชื่อว่า The Prince, the Showgirl and Me
   แต่มีหนึ่งสัปดาห์ที่ขาดหายไปในบันทึกของคลาร์ค
   จนกระทั่งหลายปีให้หลังคลาร์คถึงเปิดเผยสาเหตุของเรื่องนี้ ในอนุทินเล่มต่อมาที่มีชื่อว่า My Week with Marilyn เขาได้เล่าถึงเรื่องจริงของหนึ่งสัปดาห์สุดวิเศษ ที่เขาได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกับดาราสาวที่โด่งดังที่สุดของโลก…หนึ่งสัปดาห์ที่เขาอยู่กับมาริลิน My Week With Marilyn ที่มีทั้งเรื่องขบขันและน่าเศร้า นำเสนอมุมมองเจาะลึกของไอคอนแห่งโลกฮอลลีวูด อ้างถึงความสัมพันธ์ระยะสั้นที่เธอมีกับชายหนุ่มคนหนึ่ง ที่เข้าใจเธอดีกว่าทุกคน My Week With Marilyn นำแสดงโดยมิเชลล์ วิลเลียมส์ ผู้ได้รับการเสนอชื่อชิงอคาเดมี อวอร์ด (Blue Valentine, Shutter Island, Brokeback Mountain) ในบท  มาริลิน มอนโรและเจ้าของรางวัลโทนี อวอร์ด เอ็ดดี้ เร้ดเมย์น (The Other Boleyn Girl, The Good Shepherd) ในบท       โคลิน คลาร์ค ภาพยนตร์เรื่องนี้ร่วมแสดงโดยเคนเนธ บรานาห์ ผู้ได้รับการเสนอชื่อชิงอคาเดมี อวอร์ด (Thor, Wallander) ในบทเซอร์ลอว์เรนซ์ โอลิเวียร์และเจ้าของรางวัลอคาเดมี อวอร์ด จูดี้ เดนช์ (Quantum of Solace, Shakespeare In Love) ในบทท่านผู้หญิงซิบิล ธอร์นด์ไลค์ เสริมทีมด้วยนักแสดงอังกฤษระดับแนวหน้า ซึ่งประกอบไปด้วย จูเลีย ออร์มอนด์ (Temple Grandin, Che, The Curious Case of Benjamin Button) ในบทวิเวียน ลีห์, ดูเกรย์ สก็อต (Mission Impossible II) ในบทอาร์เธอร์ มิลเลอร์และโซอี้ วานาเมคเกอร์ (Harry Potter and the Philosopher’s Stone), เอ็มมา วัตสัน (แฟรนไชส์ Harry Potter), โทบี้ โจนส์ (Frost Nixon, Infamous), ฟิลิป แจ็คสัน (Little Voice), เจอรัลดีน โซเมอร์วิลล์ (แฟรนไชส์ Harry Potter), ดีเร็ค จาโคบี้ (The King’s Speech, Gosford Park), ไซมอน รัสเซล บีล(An Ideal Husband) และโดมินิค คูเปอร์ (Tamara Drewe, An Education, Mamma Mia)
   ผลงานผู้กำกับของไซมอน เคอร์ติสได้แก่ซีรีส์รางวัลบาฟตาและเอ็มมีเรื่อง Cranford, ซีรีส์ที่ได้รับรางวัลเอ็มมีเรื่อง A Short Stay in Switzerland และซีรีส์ที่ได้รับการเสนอชื่อชิงรางวัลลูกโลกทองคำ Five Days ภาพยนตร์เรื่องนี้อำนวยการสร้างโดยเจ้าของรางวัลอคาเดมี อวอร์ดและบาฟตา เดวิด พาร์ฟิทท์ (Shakespeare in Love, The Madness of King George, I Capture the Castle) และบทภาพยนตร์โดยเอเดรียน ฮ็อดเจส (Tom and Viv, The Ruby in the Smoke และ David Copperfield) จากอนุทินของโคลิน คลาร์คในชื่อ The Prince, The Showgirl and Me และ My Week with Marilyn
   ภาพยนตร์เรื่องนี้อำนวยการสร้างโดยเทรดมาร์ค ฟิล์มส์และสนับสนุนด้านเงินทุนและจัดจำหน่ายโดยวีนสไตน์      คัมปะนี ร่วมให้การสนับสนุนด้านเงินทุนโดยบีบีซี ฟิล์มส์และลิปซิงค์ โปรดักชันส์ ร่วมพัฒนาโดยสภาภาพยนตร์อังกฤษและบีบีซี ฟิล์มส์

Pages: 1 ... 2229 2230 [2231] 2232 2233 ... 2397