Show Posts

This section allows you to view all posts made by this member. Note that you can only see posts made in areas you currently have access to.


Messages - happy

Pages: 1 ... 2116 2117 [2118] 2119 2120 ... 2405
31756
ของสะสมประเภท handbill / HB//LOOPER
« on: October 07, 2012, 08:12:04 PM »
ขอบคุณ คุณha-nuที่ส่งภาพมาให้ครับ




31757
ของสะสมประเภท handbill / hb//ยักษ์
« on: October 07, 2012, 08:10:16 PM »
ขนาดA4 แผ่นเดี่ยว ขอบคุณ คุณha-nuที่ส่งภาพมาให้ครับ




31758
ของสะสมประเภท handbill / HB//THE THIEVES
« on: October 07, 2012, 08:08:21 PM »
ขนาดA5 แผ่นเดี่ยว ขอบคุณ คุณha-nuที่ส่งภาพมาให้ครับ




31759
ขนาดA5 แผ่นเดี่ยว ขอบคุณ คุณha-nuที่ส่งภาพมาให้ครับ




31760
ของสะสมประเภท handbill / HB//WON'T BACK DOWN
« on: October 07, 2012, 08:05:46 PM »
ขนาดA5 แผ่นเดี่ยว ขอบคุณ คุณha-nuที่ส่งภาพมาให้ครับ




31761
ของสะสมประเภท handbill / Re: HB//HIT & RUN
« on: October 07, 2012, 08:02:33 PM »
 ::)ใครยังไม่มีไปรับที่งานมีทติ้งครั้งต่อไปครับ

31762
สสส. หนุนคนไทยเบิ้งเปิดงานตลาดนัดศิลปวัฒนธรรมและเวทีสาธารณะชุมชน ครั้งที่ ๒
ดึงของเน่าในชุมชนเป็นจุดเด่นสร้างอัตลักษณ์ดึงคนสามวัยทำงานร่วมกัน

                แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สนับสนุนโครงการการจัดการศึกษาบนฐานชุมชนตำบลโคกสลุง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดลพบุรี จัดตลาดนัดศิลปวัฒนธรรมและเวทีสาธารณะชุมชน ครั้งที่ 2 ดึงคนสามวัยแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความเป็นคนไทยเบิ้ง ด้วยจุดเด่น อัตลักษณ์ รากเหง้าของดีในชุมชนที่มี โดยครั้งนี้เน้นนำของเน่าชาวไทยเบิ้งมาเป็นสื่อกลางช่วยสาน ในวันที่ 9 ตุลาคมนี้ ที่พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้งโคกสลุง จ.ลพบุรี


                โดย นายดนัย หวังบุญชัย ผู้จัดการแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ สสส. กล่าวว่า กิจกรรมที่จะเกิดขึ้นครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งในกิจกรรมของโครงการ การจัดการศึกษาบนฐานชุมชนตำบลโคกสลุง ภายใต้ทิศทางของแผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. ที่เป็นกระบวนการในการสร้างสรรค์ให้คนในชุมชนอย่างคนสามวัยมาทำกิจกรรมร่วมกันโดยใช้เรื่องราวของภูมิปัญญา วัฒนธรรมประเพณีของชุมชนเป็นเครื่องมือในการสร้างสุขภาวะของชุมชนอย่างยั่งยืน อย่างในครั้งนี้เน้นใช้ “ของเน่า” ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดเด่นของอาหารการกินถิ่นไทยเบิ้ง อาทิ ส้มหัวหมู ส้มหัวงัว ส้มตุ่น ปลาร้า ปลาจ่อม ฯลฯ โดยประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นนั้นมีมากมายไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ทางกาย คือ  ทุกคนในชุมชนจะมีส่วนร่วมด้วยช่วยกันทั้งแรงกายและแรงใจ ได้ออกกำลังกายในการทำงาน ส่งผลให้เกิดสุขภาวะที่ดีในชุมชน ทางใจ คือ ทุกคนที่มาร่วมงานจะมีความสุขจากการได้มาร่วมกิจกรรม ได้เรียนรู้วิถีชีวิตของชุมชน ไม่มีการแบ่งชนชั้น มองเห็นคุณค่าของกันและกัน มีทัศนคติที่ดีต่อชุมชนมากขึ้น ด้าน ทางปัญญา คือ จะมีการนำความรู้ที่เกิดขึ้นมาพัฒนาต่อยอดในกิจกรรมต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นเพื่อให้คนในสังคมได้เรียนรู้ภูมิปัญญาเพื่อการสืบสานสืบทอดต่อ และสุดท้ายทายสังคม คือ คนในชุมชนได้มีการร่วมมือกันทำงาน เสริมสร้างความสัมพันธ์อันดีในชุมชนให้เกิดขึ้นด้วย


                ซึ่งนายประทีป อ่อนสลุง ผู้รับผิดชอบโครงการและผู้จัดตลาดนัดศิลปวัฒนธรรมและเวทีสาธารณะชุมชน ครั้งที่ 2 กล่าวว่า หลังจากที่งานตลาดนัดศิลปวัฒนธรรมและเวทีสาธารณะชุมชน ครั้งที่ 1 ตอนความเชื่อได้จบลง ทางชุมชนจรึงได้ต่อยอดทำให้เกิดเป็นครั้งที่ 2 ขึ้นเพื่อดึงของดีและภูมิปัญญาที่สืบทอดจากบรรพบุรุษและมีอยู่ในชุมชนอย่างเรื่องของอาหารมาสร้างจุดเด่นและทำให้คนไทยเบิ้งมาเกิดเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้เรื่องอาหารการกิน อย่างการถนอมอาหารการกินถิ่นไทยเบิ้ง หรือการทานอาหารที่ไม่นิยมอาหารที่มีกะทิหรือมีลักษณะมันเป็นหลักร่วมกัน ทำให้เด็กรุ่นหลังได้เรียนรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาพื้นบ้านที่มี และทำงานร่วมกัน ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ช่วยลดปัญหากลุ่มเสี่ยงในเด็กและเยาวชน เช่น ยาเสพติด การท้องก่อนวัยอันควรไปในตัว ทั้งยังมีการหนุนเสริมของส่วนกลางเข้าไป อย่าง หนังสั้นที่สะท้อนความเป็นคนไทยเบิ้ง ฉายหนังสั้น เรื่อง “เคว้งคว้างกลางสายน้ำ” โดย “กลุ่มปลาเป็นว่ายทวนน้ำ” ทั้งยังมีการแสดงละครละคร กลองยาวประยุกต์ เพลงลูกทุ่ง เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้แสดงความสามารถ สร้างความภาคภูมิใจให้เกิดขึ้นตามมา








                “ซึ่งกิจกรรมทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นในวันที่ 9 ตุลาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 10.00 – 22.00 น. ที่พิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทยเบิ้งโคกสลุง จ.ลพบุรี ผู้ที่สนใจสามารถมาร่วมงานกันได้ นอกจากจะได้รับความรู้เรื่องอาหารแล้ว ยังมีคนไทยเบิ้งจำนวนมาร่วมงานด้วย มาสัมผัสวิถีชีวิตที่หาชมกันได้ยาก พร้อมหาคำตอบกันว่า ทำไมของเน่าจึงทานได้ และเป็นการทานที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่นมาจนทุกวันนี้” นายประทีป อ่อนสลุง กล่าว

31763
สสส. ชวนสร้างจิตอาสา เยาวชน-บุคคลต้นแบบ กับ “หมอลำหุ่น” ที่มหาสารคาม


               วันที่ 5-7 ตุลาคม 2555  แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. เชิญร่วมกิจกรรมสร้างกระบวนการจิตอาสา และเยาวชนต้นแบบ บุคคลต้นแบบ กับเยาวชนโรงเรียนดงบังพิสัยนวการนุสรณ์ และโรงเรียนสมาชิกเครือข่ายหมอลำหุ่น ณ วัดโพธาราม ต.ดงบัง อ.นาดูน จ.มหาสารคาม

               โดยนางสาวชิตวัน  สมรูป ผู้รับผิดชอบโครงการ “หมอลำหุ่น... สื่อศิลปะฯ  เพื่อการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและค่านิยมเสพติดวัตถุนิยมในหมู่เยาวชน” กล่าวว่า โครงการหมอลำหุ่นฯ โดย กลุ่ม "ออมทอง" จ.มหาสารคาม ครั้งนี้เป็นการสร้างกระบวนการจิตอาสา และเยาวชนต้นแบบ บุคคลต้นแบบ กับเยาวชนที่โรงเรียนดงบังพิสัยนวการนุสรณ์ โดยในกิจกรรมจะเป็นการกลับมารวมกันของสมาชิกที่ได้มีการอบรมเชิงปฏิบัติการไปแล้วทั้งจากโรงเรียนบ้านโคกเพิ่มโคกกลาง และโรงเรียนบ้านเขวาทุ่ง เพื่อมาร่วมด้วยช่วยกันซ่อมแซมและจัดศูนย์เรียนรู้ของวัดโพธารามที่ยังไม่แล้วเสร็จ ให้พร้อมใช้ได้และมอบเป็นสมบัติของชุมชนต่อไป

               “ทั้งนี้ยังได้รวบรวมศิษย์เก่าหนังประโมทัย คณะเพชรอีสาน ที่กลุ่มคนละคอน ได้ริเริ่มก่อตั้งไว้ตั้งแต่ปี 2551 ให้กลับมารื้อฟื้นวิชากับพ่อครูแม่ครูหนังประโมทัยอีกครั้ง และทำงานจิตอาสาร่วมกับเยาวชนทั้งสองโรงเรียนพร้อมกับ คณะ "เด็กเทวดา" จากโรงเรียนบ้านหนองโนใต้ ก่อนจะร่วมกันแสดงบนเวทีวัฒนธรรมและตลาดนัดศิลปะฯ ครั้งที่ 2 ที่จะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 6 ตุลาคม 2555 ตั้งแต่ 17.00 น. เป็นต้นไป ณ วัดโพธาราม ต.ดงบัง อ.นาดูน จ.มหาสารคาม ด้วย”นางสาวชิตวัน  สมรูป กล่าว








               ซึ่งผู้รับผิดชอบโครงการฯ กล่าวต่อว่า สำหรับกิจกรรมบนเวทีที่จะเกิดขึ้นมีจะการแสดงจาก 5 โรงเรียน คือ หนังประโมทัย คณะเพชรอีสาน จากรร.ดงบังพิสัยฯ, หมอลำหุ่นเงา เรื่อง พระมาลัยโปรดเมืองนรก จาก รร.บ้านเขวาทุ่ง, การแสดงขับผญา ภูมิปัญญาชาวอีสาน จาก รร.บ้านโคกเพิ่มโคกกลาง, ละครใบ้และหมอลำหุ่น จาก รร.บ้านหนองโนใต้ และ รร.นาดูนประชาสรรพ์ , การแสดงหนังประโมทัยจากศิลปินพื้นบ้าน คณะ ส.สำลี และเครือข่ายศิลปินพื้นบ้านมาร่วมแสดงและถ่ายทอดศิลปะการแสดงที่เป็นวัฒนธรรมดั้งเดิมของอีสานให้เด็ก เยาวชน และผู้ที่สนใจชม เป็นการสร้างการเรียนรู้และหนุนเสริมความเข้าใจในภูมิปัญญาที่ตกทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งปราชญ์ชาวบ้านที่มีในครั้งนี้ นำโดยพ่อสำลี จากคณะหนังประโมทัย ส.สำลี, พ่อทองจันทร์ ปลายสวน, แม่สี ปราชญ์ชาวบ้านจากหนองโนใต้ และท่านเจ้าอาวาสวัดโพธาราม โดยทั้งหมดนี้มีส่วนร่วมในกิจกรรมเวทีจุดประกายทำความเข้าใจ – สร้างการมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและค่านิยมเสพติดวัตถุนิยมในหมู่เยาวชนที่ผ่านมา โดยทำหน้าที่บุคคลต้นแบบผู้ส่งต่อภูมิปัญญา ประสบการณ์ และกระบวนการคิดในมุมมองของปราชญ์ชาวบ้าน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานสื่อศิลปวัฒนธรรม และสร้างกระบวนการจิตอาสา ปลุกสำนึกจิตวิญญาณชาวอีสานให้กับเยาวชน ทั้งนี้ยังมีนิทรรศการผลงานของเยาวชน, ลานตลาดนัดศิลปะฯ ของชุมชนบ้านหนองโนใต้และชุมชนดงบังด้วย ซึ่งผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 081-723-5301, 084-496-0306

31764
สสส. หนุน ปกาเกอะญอ จัดกิจกรรม มัดมือ มัดใจสานวัฒนธรรมชุมชน
พร้อมขยายผลให้เกิดเป็นแหล่งศึกษาภูมิปัญญาชนเผ่าต่อ


               โครงการ มัดมือ มัดใจสานวัฒนธรรมชุมชน ตำบลสุเทพ อำเมืองจังหวัดเชียงใหม่ *โดยการสนับสนุนจาก*แผนงานสื่อศิลปวัฒนธรรมสร้างเสริมสุขภาพ สสส. *จัดเวทีคืนข้อมูลชุมชน และวางแผนประเพณีท้องถิ่น ในวันที่ 13  ตุลาคม  2555 ที่วัดจันทร์ ต.บ้านจันทร์ อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่

               โดยนายสมควร ทะนะ ผู้รับผิดชอบโครงการมัดมือ มัดใจสานวัฒนธรรมชุมชน กล่าวว่า กิจกรรม เวทีคืนข้อมูลชุมชน และวางแผนงานประเพณีท้องถิ่น ที่จัดในครั้งนี้เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่เน้นสร้างการมีส่วนร่วม ส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนเห็นคุณค่าของตนเองและศิลปวัฒนธรรมที่มี เกิดแกนนำเด็กที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในการคิด ตัดสินใจ วางแผน ปฏิบัติ รับผลประโยชน์และติดตามผลในการแก้ไขปัญหาสุขภาพของคนในชุมชน ปลูกฝังให้เกิดการหวงแหน และอนุรักษ์ภูมิปัญญาชนเผ่า นำไปสู่การขยายผลให้เกิดเป็นแหล่งศึกษาภูมิปัญญาชนเผ่าต่อไป

               “โดยที่ผ่านมาได้ทีการจัดกิจกรรมไปแล้ว 3 ครั้ง ได้แก่ 1. การวิเคราะห์ปัญหาชุมชน เก็บข้อมูลชุมชน แบบมีส่วนร่วม 2.กิจกรรม เวทีการเก็บข้อมูลชุมชน พิธีกรรมมัดมือ ประวัติศาสตร์ชุมชน อดีต ปัจจุบันและการเปลี่ยนแปลงของชุมชน และ 3.การศึกษา รวบรวมข้อมูลองค์ความรู้ พิธีกรรม ความเชื่อของชนเผ่า ปกาเกอะญอ และเมื่อกิจกรรมครั้งนี้ดำเนินการเสร็จสมบูรณ์แล้วจะมีการนำข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่ข้างต้นคืนแก่ชุมชน ทั้งยังจะร่วมกันจัดทำและวางแผนการจัดงานประเพณีกี่จี๊ (ปลอดเหล้า) ซึ่งประเพณี กี่จี๊ หรือ ที่เรียกว่า ประเพณีมัดมือ ของคนชนเผ่าปกาเกอญอนี้ จะทำกันในวันปีใหม่ ด้วยการมัดมือเรียกขวัญกำลังใจ ให้ลูกหลาน และคนในชุมชนให้อยู่เย็นเป็นสุข ซึ่งในปีนี้จะเน้นการจัดเป็นประเพณีกี่จี๊ปลอดเหล้าด้วย” นายสมควร ทะนะ กล่าว






               สำหรับผู้ที่สนใจร่วมเวทีคืนข้อมูลชุมชน และวางแผนงานประเพณีท้องถิ่น ในโครงการมัดมือ มัดใจ สานวัฒนธรรมชุมชนนี้ สามารถมาร่วมงานกันได้ในวันที่ 13  ตุลาคมนี้ ตั้งแต่เวลา 08.30-16.00 น. ที่วัดจันทร์ ต.บ้านจันทร์ อ.กัลยาณิวัฒนา จ.เชียงใหม่ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 053-808253 หรือดูกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นได้ที่ www.artculture4health.com
              

31765
“วัคซีนลูกผสมป้องกันไข้เลือดออก-เครื่องตรวจวัดคุณภาพอะลูมิเนียม”
คว้ารางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นประจำปี 2555


มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์



                นักวิจัย มช. และทีมวิจัยจากเอ็มเทค คว้ารางวัล“นักเทคโนโลยีดีเด่นประจำปี 2555” จากมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ด้านประธานคณะกรรมการรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นฯระบุเป็นงานวิจัยที่มีประโยชน์มากต่อวงการแพทย์และวงการอุตสาหกรรมของประเทศ ชี้รางวัลนี้ตั้งขึ้นเพื่อให้คนในสังคมไทยเห็นความสำคัญของ “เทคโนโลยี” ควบคู่กับ “วิทยาศาสตร์พื้นฐาน” อันจะนำไปสู่การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านเทคโนโลยีในอนาคต

                รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ประธานคณะกรรมการรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ เปิดเผยว่าปัจจุบันการพัฒนาเทคโนโลยีในโลกเป็นไปด้วยความรวดเร็ว มีการแข่งขันในอัตราที่สูงมาก ทำให้ประเทศไทยอยู่ในสภาพที่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศและขาดอำนาจการต่อรอง มูลนิธิฯ เห็นความจำเป็นต้องกระตุ้นอัตราการพัฒนาเทคโนโลยี เพื่อแก้ปัญหาของประเทศอย่างเร่งด่วน จึงจัดให้มีการมอบรางวัล “นักเทคโนโลยีดีเด่น” และรางวัล “นักเทคโนโลยีรุ่นใหม่”ขึ้นในปี 2545 คู่ขนานไปกับรางวัลทางด้านวิทยาศาสตร์   ทั้งนี้เพื่อให้คนในสังคมไทยเห็นถึงความสำคัญของเทคโนโลยีควบคู่ไปกับวิทยาศาสตร์พื้นฐาน และหวังว่ารางวัลอันทรงเกียรตินี้ จะเป็น “แรงกระตุ้น” ให้นักวิทยาศาสตร์ไทยมีกำลังใจในการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ รวมถึงเป็นเป้าหมายให้เยาวชนไทยมุ่งพัฒนาตนให้เป็นกำลังสำคัญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศต่อไปในอนาคต

                โดยในปีนี้ได้รับความสนใจจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งงานวิจัยที่เสนอชื่อเข้ามามีคุณภาพสูงมาก ทั้งเนื้อหาสาระและระดับความน่าสนใจที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับสังคมไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะนักเทคโนโลยีดีเด่นประเภทบุคลและประเภททีม ซึ่งทั้ง 2 รางวัลสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุดทั้งในวงการแพทย์ และวงการอุตสาหกรรม ส่วนนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่อีก 1 รางวัล ก็มีความเป็นไปได้ที่จะพัฒนาเครื่องมือให้มีประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต เนื่องจากเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการคำนวณการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน มีความแปรปรวนอยู่ตลอดเวลา


นพ.นพพร สิทธิสมบัติ

                สำหรับในปีนี้ผู้ที่ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นมี 2 รางวัลคือ รางวัลประเภทบุคคล ได้แก่ รศ.นพ.นพพร สิทธิสมบัติ อาจารย์ประจำภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ซึ่งประสบความสำเร็จในการนำเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมมาใช้ตัดต่อยีนเชื้อไวรัสเด็งกี่ 4 ชนิด และสร้างไวรัสพันธุ์ผสมขึ้นมา ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชื้อไวรัสเดิมที่มีฤทธิ์รุนแรงให้อ่อนฤทธิ์ลง โดยผลจากงานวิจัยชุดวัคซีนตัวเลือกแบบเชื้อไวรัสตัวเป็นอ่อนฤทธิ์สำหรับการกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสเด็งกี่ทั้ง 4 ชนิดชุดแรกได้ถูกนำไปใช้เป็นต้นแบบเพื่อการพัฒนาวัคซีนไข้เลือดออกในระดับอุตสาหกรรม




ทีม MTECH.

                ส่วนรางวัลประเภททีม ได้แก่ คณะนักวิจัยและวิศวกรห้องปฏิบัติการวิศวกรรมการหล่อ หน่วยวิจัยการออกแบบและวิศวกรรม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ(เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้การนำของดร.จุลเทพ ขจรไชยกูล นักวิจัยอาวุโสและผู้อำนวยการหน่วยวิจัยการออกแบบและวิศวกรรม ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ พร้อมด้วย นายอมรศักดิ์ เร่งสมบูรณ์ นายสมภพ เพชรคล้าย นายฤทธิไกร สิริชัยเวชกุล นายวิทยา สามิตร และนายนครินทร์ มูลรินทร์ วิศวกรวิจัยพัฒนา ห้องปฏิบัติการวิศวกรรมการหล่อ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ พัฒนา“เทคโนโลยีการตรวจวัดคุณภาพของอะลูมิเนียมเหลวสำหรับการผลิตงานหล่อคุณภาพสูง”ซึ่งเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับผู้ประกอบการหล่ออะลูมิเนียมที่ต้องมีอุปกรณ์ตรวจวัด วิเคราะห์ รวมถึงการใช้ซอฟต์แวร์ควบคุมชุดคำสั่งเพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะความสมบูรณ์ของเนื้องานและโครงสร้างทางโลหะวิทยา ที่สำคัญเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้ประกอบการในวงการอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยและคุณภาพสินค้าที่ผู้บริโภคพึงได้รับ




ดร.ชินวัชร์ สุรัสวดี

                ขณะที่รางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ในปีนี้มี 1 รางวัล คือ ผศ.ดร.ชินวัชร์ สุรัสวดี  คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต จากผลงานวิจัยการพัฒนาอัลกอริทึม AMPสำหรับประมาณค่าหยาดน้ำฟ้าทั่วโลกจากข้อมูลที่สังเกตจากดาวเทียมมิลลิมิเตอร์เวฟแบบพาสซีฟ ซึ่งเป็นการตรวจสอบความถูกต้องของผลการประมาณค่าหยาดน้ำฟ้าจากอัลกอริทึม AMP กับสัญญาณสะท้อนที่สังเกตโดยเรดาร์ Cloud Sat ที่อยู่บนดาวเทียม และเปรียบเทียบกับข้อมูลหยาดน้ำฟ้าที่สังเกตจากมาตรวัดฝนทั่วโลก โดยเวอร์ชั่นล่าสุดของอัลกอริทึมที่พัฒนาขึ้นคือ AMP เวอร์ชั่นที่ 5(AMP-5) ที่มีความถูกต้องแม่นยำและครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลกมากขึ้น

                อย่างไรก็ตาม รศ.ดร.ศักรินทร์ กล่าวทิ้งท้ายว่า การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่เป็นสิ่งจำเป็น เนื่องจากขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของไทยมีการขยายตัวสูง การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรด้านเทคโนโลยีควบคู่ไปกับวิทยาศาสตร์ จะทำให้ไทยเกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันมากยิ่งขึ้น เพราะภาพรวมในการพัฒนาเทคโนโลยีของไทยนั้นอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถพัฒนาต่อไปอย่างก้าวกระโดดได้ หากได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังพร้อมกับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

31766
มองไปข้างหน้า ทีดีอาร์ไอ
เปิดใจ สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานทีดีอาร์ไอคนใหม่


สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ประธานทีดีอาร์ไอคนใหม่

สังคมจะได้เห็นอะไรใหม่ๆ จากทีดีอาร์ไอยุคใหม่

ทีดีอาร์ไอตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2527 ตอนนี้มีอายุ 28 ปีแล้ว เราสะสมทุนทางปัญญาความรู้มาอย่างต่อเนื่อง ช่วงที่ผ่านมาก็มีตั้งแต่ช่วงที่ก่อร่างสร้างตัว ถ้าเปรียบเป็นคนก็เป็นเด็ก ถึงวันนี้ทีดีอาร์ไออายุเกินเบญจเพสแล้ว อยู่ในวัยที่น่าจะมีกำลังวังชามากที่สุด ด้วยชื่อเสียงและความเข้มแข็งขององค์กรที่สะสมมาเกือบสามสิบปีจากผู้บริหารหลายรุ่นก่อนหน้า ทำให้เรามีความพร้อมที่จะก้าวต่อไปอีกขั้นหนึ่ง ก้าวต่อไปที่ว่านี้ก็คือ การทำให้ทีดีอาร์ไอมีส่วนช่วยสังคมมากขึ้นในการวิเคราะห์ ในการผลักดันนโยบายสาธารณะ ที่จะเป็นประโยชน์กับประชาชนจริงๆ มากขึ้น

ที่ผ่านมาเราเน้นการทำวิจัยมาก การวิจัยถือว่าเป็นหน้าที่หลักอยู่แล้ว แต่การทำวิจัยในยุคที่สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจการเมืองในการกำหนดนโยบายเปลี่ยนไป การทำวิจัยเชิงนโยบายที่จะให้เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง มันก็ต้องเปลี่ยนไปด้วย เปลี่ยนตั้งแต่วิธีตั้งโจทย์ กระบวนการตั้งโจทย์วิจัยควรดึงผู้มีส่วนได้เสียและผู้ที่มีพลังต้องการปฏิรูปกลุ่มต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมด้วยกันมากขึ้น

ในการทำวิจัย เรายังต้องคงคุณภาพของการวิจัยไว้ เพราะเป็นหัวใจของความเป็นนักวิชาการ แต่หลังจากทำวิจัยเสร็จแล้ว ต้องมีกระบวนการทำงานร่วมกับสังคมในการสื่อสารความคิด ทำงานกับผู้กำหนดนโยบายและผลักดันให้นโยบายที่ควรจะเป็นเกิดขึ้นได้จริง

ทีดีอาร์ไอยุคต่อไปจะให้น้ำหนักกับการตั้งโจทย์วิจัยที่มีความหมายกับสังคมและดึงผู้มีส่วนได้เสียเข้ามามีส่วนร่วมในการตั้งโจทย์วิจัย รวมถึงการจัดการความรู้และสื่อสารสาธารณะ โดยทำงานร่วมกับสังคมเพิ่มมากขึ้น


อาจารย์ประเมินบทบาทที่ผ่านมาของทีดีอาร์ไออย่างไร เจตนารมณ์ของทีดีอาร์ไอคือการเป็น think tank ที่มีความเป็นอิสระ  28 ปีผ่านไป เราไปถึงจุดนั้นแล้วหรือยัง

เรื่องความเป็นอิสระน่าจะเป็นสิ่งที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด ความเป็นอิสระขององค์กรนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่แรกอยู่แล้ว ด้วยการที่ไม่ได้เป็นหน่วยงานในสังกัดของรัฐ ผู้ก่อตั้งทีดีอาร์ไอมีวิสัยทัศน์อยากให้ทีดีอาร์ไอเป็นหน่วยงานวิจัยด้านนโยบายที่มีความอิสระจากรัฐ โดยตั้งเป็นมูลนิธิ
 
ในด้านความเป็นอิสระทางการเงิน เราก็ประสบความสำเร็จ แม้ว่ารายได้ส่วนใหญ่จะมาจากการทำงานกับหน่วยงานภาครัฐในการช่วยแก้ปัญหาทางนโยบายต่างๆ ก็ตาม แต่ว่าแหล่งเงินทุนได้กระจายไปหลายหน่วยงานมาก ไม่ได้พึ่งหน่วยงานใดหน่วยงานเดียว และมีนโยบายที่ไม่ได้เน้นการเพิ่มรายได้  จึงเป็นโมเดลทางการเงินที่สร้างความมีอิสระได้ดี ประกอบกับความเป็นอิสระของนักวิชาการข้างในเอง ที่แต่ละคนรักเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น  ผนวกกับพลังทางวิชาการที่สะสมมาอย่างยาวนาน ทำให้สถาบันมีความเป็นอิสระอย่างแท้จริง


แล้วในแง่ความเป็น think tank

สำหรับด้านความเป็นสถาบันวิจัยด้านนโยบาย ในแง่ของการวิเคราะห์นโยบายน่าจะได้ผลดีพอสมควร  นักวิชาการในสถาบันหลายคนเป็นที่ยอมรับของคนในสังคม ตั้งแต่อาจารย์อัมมาร สยามวาลา ซึ่งเป็นที่รู้จักและได้รับความเชื่อถือสูง นักวิจัยหลายคนในสถาบันก็ได้รับความเชื่อถือจากสังคมสูง เพราะฉะนั้น มองในมุมของการเป็นคลังสมองในเรื่องของการวิเคราะห์นโยบายนั้นถือว่าทำได้ดี

จุดที่ยังทำได้ไม่ค่อยดีก็คือ เมื่อวิเคราะห์และนำเสนอนโยบายแล้ว เอาข้อเสนอเชิงนโยบายนั้นไปทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม ทำให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง จุดนี้ยังเรียกว่าประสบความสำเร็จไม่มากเท่าไร
 
แต่ก็มีบางเรื่องที่ถือว่าประสบความสำเร็จในการสร้างความเปลี่ยนแปลง เช่น การยกเลิกพรีเมี่ยมข้าว ซึ่งถือว่ามีผลสำคัญในการช่วยเกษตรกร  เรื่องการเปลี่ยนจากนโยบายจำนำสินค้าเกษตรไปสู่นโยบายการประกันราคา หรือที่เรียกกันว่าประกันรายได้ เราก็มีส่วนช่วยร่วมกับนักวิชาการอื่นๆ ทำให้เกิดผลสำเร็จในการเปลี่ยนแปลงนโยบายได้ แต่น่าเสียดายที่เมื่อมีผลเปลี่ยนแปลงไปแล้วมันไม่ยั่งยืน กลับมาเป็นนโยบายการจำนำสินค้าเกษตรและก็มีปัญหามากมายในปัจจุบัน แต่อย่างน้อยก็ทำให้สังคมได้เห็นว่า มีทางเลือกในการช่วยเกษตรกรที่มีประสิทธิภาพ และมีการกระจายรายได้ที่ตรงเป้ามากกว่า

เรื่องนโยบายด้านการปฏิรูปสื่อ เราก็มีส่วนสร้างการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายร่วมกับภาคีปฏิรูปสื่อ จนเกิดผลรูปธรรมหลายเรื่อง เช่น การทำกฎหมายเกี่ยวกับสื่อ 3–4 ฉบับ  เช่น  กฎหมาย กสทช.  ซึ่งทำให้ การแต่งตั้งกรรมการ กสทช. เกิดขึ้นได้จริง หลังจากล่าช้าตั้งไม่ได้มาหลายปี และกสทช. กลายเป็นองค์กรกำกับดูแลที่น่าจะถูกตรวจสอบได้มากขึ้น แม้จะยังมีปัญหาอยู่มาก    กฎหมายการประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์ ปี 2551 ซึ่งทำให้มีทีวีดาวเทียมเกิดขึ้นมาหลายร้อยช่องตามความต้องการของตลาดที่อยากจะมีอยู่แล้ว กฎหมายก็ออกมาเสริมให้เกิดขึ้นได้  เกิดเคเบิลทีวีที่มีการขยายตัวอย่างรวดเร็ว และกฎหมายองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย ปี 2551 ซึ่งทำให้เกิดทีวีสาธารณะคือ ไทยพีบีเอส

บางเรื่องคนทำวิจัยเองก็ไม่รู้ว่าการทำวิจัยทำเกิดการเปลี่ยนแปลงทางนโยบาย  เช่น  เรื่องของตลาดทองคำ ที่เราทำวิจัยแล้วส่งผลในการนำการค้าทองคำเข้ามาอยู่ในระบบ โดยยกเลิกการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ทำให้ระบบการค้าทองคำล่วงหน้าอย่างที่เกิดขึ้นในทุกวันนี้เป็นไปได้  เรื่องนี้คนในวงการนำมาเล่าให้ฟังทีหลังว่า เป็นผลมาจากการศึกษาของทีดีอาร์ไอ โดยอาจารย์นิพนธ์ (พัวพงศกร) และอาจารย์เดือนเด่น (นิคมบริรักษ์)
 
ตัวอย่างทำนองนี้มีอยู่พอสมควร แต่ถ้าพูดกันอย่างตรงไปตรงมาแล้ว เราก็ยังรู้สึกว่ายังทำงานส่วนนี้ได้ไม่เต็มที่ เมื่อเทียบกับศักยภาพของนักวิจัยที่มีอยู่ เราควรจะทำได้ดีกว่านี้อีก และเมื่อเทียบกับความคาดหวังของสังคมแล้ว เราควรจะทำได้มากกว่านี้อีกหลายเท่า


การผลิตบทวิเคราะห์ การทำงานวิชาการ และความเป็นอิสระนั้น ทีดีอาร์ไอทำหน้าที่ได้ค่อนข้างดี  แต่การสร้างผลกระทบ สร้างความเปลี่ยนแปลงต่อสังคมยังเป็นโจทย์ท้าทายให้ทีดีอาร์ไอต้องทำงานหนักขึ้น อาจารย์จะตอบโจทย์นี้อย่างไร

การสร้างผลกระทบทางนโยบายทำได้ยากขึ้น เพราะว่าสภาพแวดล้อมในการกำหนดนโยบายเปลี่ยนไปมาก  แต่เดิม ซึ่งเมื่อทำวิจัยเสร็จแล้วก็ยื่นให้ผู้มีอำนาจ ผู้มีอำนาจเห็นด้วยก็นำไปปฏิบัติ มันตรงไปตรงมา มันง่าย แต่สภาพแวดล้อมในการกำหนดนโยบายในปัจจุบันมีความซับซ้อนมากขึ้น การเมืองเป็นประชาธิปไตย  มีกลุ่มผลประโยชน์ที่หลากหลายมากขึ้นกว่าอดีต ภาคประชาสังคมและประชาชนก็เข้มแข็งขึ้น  การกำหนดนโยบาย โดยเฉพาะในยุคที่มีความขัดแย้งสูงอย่างในปัจจุบัน ทำได้ยากมาก  อันนี้เป็นความท้าทายใหม่ เป็นสภาพแวดล้อมใหม่ซึ่งทุกคนประสบ ภาคธุรกิจและภาคประชาสังคมก็บ่นว่า จะรวมตัวกันเสนอนโยบายกับรัฐบาลอย่างไรให้เกิดผล ก็ทำกันได้ยาก เพราะรัฐบาลไม่มีเสถียรภาพ เปลี่ยนตัวรัฐมนตรีกันไปเรื่อย 

ความท้าทายนี้ทำให้เราก็ต้องเปลี่ยนวิธีการทำงานของเรา ต้องมาคิดรูปแบบในการทำงานใหม่ การทำงานประเภทที่ว่า ได้โจทย์วิจัยมาจากหน่วยงานรัฐ หรือมีผู้มีอำนาจสั่งให้มีโจทย์วิจัยอย่างนั้นอย่างนี้  ทำงานวิจัยออกมา วิเคราะห์อย่างดี จัดทำข้อเสนอแนะให้รัฐบาล แล้วหวังว่าจะเกิดผล มันทำได้ยากแล้วในยุคปัจจุบัน  ที่สำคัญไม่มีใครจะกำหนดโจทย์วิจัยที่เป็นโจทย์สำคัญจริงๆ ของประเทศ  ถ้าให้หน่วยราชการกำหนดโจทย์ก็จะกำหนดแต่โจทย์ที่เกี่ยวข้องเฉพาะหน่วยงานของตนเอง กรมใครกรมมัน สำนักงานใครสำนักงานมัน กระทรวงใครกระทรวงมัน มันไม่มีโจทย์ที่เป็นปัญหาใหญ่ๆ จริงๆ ของประเทศ  ปัญหาใหญ่ๆ มันข้ามกระทรวง ทบวง กรม เช่น ปัญหาความยากจนมันกินแดนตั้งหลายเรื่อง ปัญหาการสร้างความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจไม่ได้อยู่ที่กระทรวงพาณิชย์ ไม่ได้อยู่ที่กระทรวงอุตสาหกรรม  มันยังไปเกี่ยวกับกระทรวงอื่นๆ อีกเยอะแยะไปหมด  แล้วก็ยังมีองค์กรอิสระต่างๆ  เพราะฉะนั้น กระบวนการตั้งโจทย์โดยรอหน่วยราชการตั้งโจทย์  ในสภาพที่หน่วยงานรัฐก็ไม่ได้มีความเป็นปึกแผ่น  ไม่ได้มีเอกภาพ  ก็จะไม่ได้โจทย์ที่ใหญ่สำหรับตอบปัญหาของประเทศได้

เรื่องของการตั้งโจทย์วิจัยจึงต้องเปลี่ยนไป ต้องมีการตั้งโจทย์เอง โดยริเริ่มจากนักวิจัย ร่วมกันกับผู้มีส่วนได้เสียจากภายนอก ร่วมกับผู้กำหนดนโยบาย ร่วมกับคนที่ต้องการปฏิรูป ทั้งในภาคธุรกิจและประชาสังคม ต้องการเห็นประเทศดีขึ้น ทั้งหมดมากำหนดโจทย์ร่วมกัน มีกระบวนการกำหนดโจทย์ที่คิดอย่างรอบคอบมากขึ้น  เป็นโจทย์ที่ต้องมุ่งแก้ปัญหาใหญ่จริงของประเทศ เช่น ปัญหาขีดความสามารถในการแข่งขัน  ปัญหาคุณภาพการศึกษาตกต่ำ ปัญหาคอร์รัปชั่น ปัญหาสวัสดิการสังคม  เรื่องใหญ่ๆ แบบนี้จะต้องมีการช่วยกันคิดโจทย์  เราในฐานะนักวิชาการก็เป็นผู้ยกร่างข้อเสนอ ยกร่างตัวโจทย์ แล้วก็ฟังความเห็นของคนหลากหลาย ฟังให้รอบด้าน หลังจากนั้นก็ทำเป็นโปรแกรมวิจัย (research program) ที่ต่างไปจากเดิม คือเน้นทำเรื่องใหญ่และทำอย่างต่อเนื่องหลายปี จนได้องค์ความรู้ที่เข้มแข็ง มีข้อเสนอแนะที่ชัดเจนและเป็นไปได้จริง


ณ วันนี้ อะไรคือโจทย์สำคัญๆ ของประเทศไทยที่ชวนหาคำตอบ

จริงๆ ก็มีการระดมความคิดกันหลายๆ วง แต่ละวงก็คงเห็นไม่ต่างกันมาก เช่น คณะกรรมการปฏิรูปก็จะเป็นโจทย์เรื่องความเหลื่อมล้ำ โจทย์เรื่องระบบกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม นอกจากนั้นยังมีโจทย์เรื่องคุณภาพการศึกษา สภาหอการค้าไทยและภาคธุรกิจสนใจโจทย์เรื่องคอร์รัปชั่น ภาคเอกชนก็จะพูดเรื่องการขาดความสามารถในการแข่งขัน แทบทุกวงแทบจะพูดตรงกัน แต่โจทย์เหล่านี้ไม่มีใครเป็นเจ้าภาพจริงๆ

ทีดีอาร์ไอจะมีส่วนในการตอบโจทย์ยากๆ และท้าทายเหล่านี้อย่างไรบ้าง

อย่างที่บอกตอนแรก ต้องมีการกำหนดโจทย์ที่ใหญ่ วางแผนการทำวิจัยที่มีลักษณะต่อเนื่องหลายปี ทำกันอย่างจริงจัง แทนที่จะวิ่งทำแต่โจทย์เล็กๆ คิดแต่ปัญหาเล็กๆ เพราะปัญหามันใหญ่ก็ต้องคิดโจทย์ใหญ่ จัดทีมขึ้นมาทำวิจัยเกี่ยวกับปัญหาเหล่านี้ และเมื่อทำวิจัยเสร็จ ก็ไม่ได้แปลว่าจบที่รายงานการวิจัย มันต้องมีกระบวนการจัดการความรู้ เผยแพร่ ทำความเข้าใจ และแลกเปลี่ยนกับสังคมในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะผ่านสื่อสารมวลชน ผ่านการจัดเวทีกับกลุ่มต่างๆ เราต้องจัดทีมขึ้นมาทำเป็นการเฉพาะ เพื่อจะให้กระบวนการสื่อสารสาธารณะมีประสิทธิผล

นอกจากทำงานกับกลุ่มต่างๆ แล้ว ที่ขาดไม่ได้คือต้องทำงานกับผู้กำหนดนโยบาย ต้องมีกระบวนการนำเสนอข้อเสนอเชิงนโยบายจากงานวิจัย  ถ้าหวังผลในเชิงนโยบายแล้ว นอกจากคิดในเชิงวิชาการที่ต้องมีความถูกต้องแล้ว ข้อเสนอที่เสนอขึ้นต้องมีรายละเอียดเพียงพอ นำไปปฏิบัติได้ แล้วก็มีความเข้าใจมุมของผู้ปฏิบัติด้วย คือ เป็นไปได้ในทางการเมือง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง

โดยสรุปก็คือ เราต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ ที่ผ่านมาเราสนใจงานกลางน้ำมาก กลางน้ำคือการทำวิจัย ก้มหน้าก้มตาทำวิจัย ออกภาคสนามทำการสำรวจ เขียนงานกัน อ่านหนังสือกัน วิเคราะห์กัน แต่งานต้นน้ำคือการกำหนดโจทย์วิจัย กับงานปลายน้ำคือการนำผลการวิจัยไปจัดการและสื่อสารกับสาธารณะยังทำไม่เต็มที่


อาจารย์พูดถึงโจทย์สำคัญๆ หลายโจทย์ ทีดีอาร์ไอมีแผนการที่จะตอบโจทย์สำคัญๆ เหล่านี้อย่างไรบ้าง

โดยรูปธรรมเลย ทีดีอาร์ไอจะตั้งโปรแกรมการวิจัยมาทำงานในโจทย์สำคัญๆ เหล่านี้ และทำอย่างต่อเนื่องกัน 3–5 ปีขึ้นไป เพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่หนักแน่นพอ และนำไปใช้ได้จริง โปรแกรมการวิจัยเหล่านี้ได้แก่
            1.ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศใหม่
ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของไทยในปัจจุบันน่าจะถึงทางตันหรือไปได้ยากขึ้นทุกวันแล้ว การพึ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยไม่มีทรัพย์สินทางปัญญาและไม่มีเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง การพึ่งการส่งออกโดยละเลยกำลังซื้อในประเทศ การใช้แรงงานราคาถูก การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมราวกับไม่มีต้นทุน โมเดลแบบนี้ไปไม่ได้แล้วในโลกที่มีวิกฤตเศรษฐกิจ การเติบโตทางเศรษฐกิจมันช้าลง ความต้องการในตลาดโลกเปลี่ยนไปจากสมัยที่ประเทศไทยเคยโตเร็วๆ มีประเทศกำลังพัฒนาเข้าสู่ตลาดโลกจำนวนมาก เพราะฉะนั้นการแข่งขันในตลาดโลกจึงรุนแรงมาก ต้องเปลี่ยนโมเดลการพัฒนาเพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริง ในเวลาเดียวกันก็มีแรงกดดันจากค่าแรงในประเทศที่สูงขึ้น ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติ ปัญหาโลกร้อน และการใช้พลังงานเป็นโจทย์ใหญ่ในระดับโลก ธุรกิจไทยจะอยู่รอดไม่ได้ถ้าไม่ได้ปรับเรื่องพวกนี้
เราต้องหาโมเดลใหม่ในการพัฒนา ซึ่งจะต้องคิดประเด็นสำคัญ 3 เรื่อง 1) นโยบายมหภาคและนโยบายการเงินการคลัง ที่จะเอื้อต่อการปรับเปลี่ยนไปสู่ยุทธศาสตร์การพัฒนาใหม่ 2) นโยบายระดับจุลภาคเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนา การฝึกอบรมแรงงาน ซึ่งจะทำให้เกิดความสามารถในการแข่งขัน พัฒนาศักยภาพของคน การแก้กฎระเบียบของรัฐต่างๆ ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง และ 3) สวัสดิการสังคม ที่ต้องปรับขึ้นมาให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงในตลาดในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งมีความผันแปรและความเสี่ยงมากขึ้นด้วย

            2.การปฏิรูปการศึกษา
โปรแกรมการวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาใหม่ เป็นเรื่องใหญ่และซับซ้อน ต้องออกแรงทำเป็นพิเศษ และต้องทำงานร่วมกับภาคีมากมาย นี่เป็นการทำงานต่อเนื่องมาจากสมัยอาจารย์นิพนธ์ เป็นประธานสถาบัน นั่นคือ การปฏิรูปการศึกษาไทยให้มีคุณภาพอย่างทั่วถึงสำหรับคนทุกกลุ่ม ไม่ว่าจะมีฐานะทางสังคมอย่างไร ให้การศึกษาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคน โดยเพิ่มศักยภาพของคนแต่ละคน เพื่อให้สามารถมีโอกาสก้าวหน้าทางสังคม และมีทักษะแรงงานที่สอดคล้องกับความต้องการของตลาดและโลกในศตวรรษที่ 21    หัวใจสำคัญของการยกเครื่องระบบการศึกษาคือการออกแบบระบบการศึกษาให้มีความรับผิดชอบโดยตรงต่อนักเรียนและผู้ปกครอง
            3.การแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น
ภาคเอกชนโดยเฉพาะสภาหอการค้าไทยและเครือข่ายตื่นตัวเรื่องนี้มาก  หน่วยงานวิชาการอย่างเราก็มีหน้าที่เข้าไปสนับสนุน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง เพราะคอร์รัปชั่นเป็นคอขวด เป็นจุดตายสำหรับการแก้ปัญหาทางนโยบายหลายเรื่อง เช่น เทคโนโลยีพัฒนาไม่ได้ ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะว่า หน่วยงานรัฐยังเน้นการซื้อของ ชอบซื้อเพราะมีใต้โต๊ะง่าย แต่การลงทุนวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างสรรค์ความคิด มันมีใต้โต๊ะได้น้อยกว่า ก็เลือกไปใช้วิธีซื้อของกันหมด การพัฒนาเทคโนโลยีก็เป็นไปไม่ได้ การปฏิรูปการศึกษาบางเรื่องมันก็ไปติดที่มีคนบางส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องคอร์รัปชั่นอยู่ มันก็ไปเปลี่ยนไม่ได้ เพราะฉะนั้นเรื่องคอรัปชั่นเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องแก้ไข
            4.การปฏิรูปกฎหมาย
กฎหมายที่เกี่ยวข้องที่เราสนใจ คือ กฎหมายเศรษฐกิจ ทำอย่างไรให้ได้กฎหมายเศรษฐกิจที่ทำให้เศรษฐกิจมีประสิทธิภาพ และมีความเป็นธรรมกับผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ
ทีดีอาร์ไอจะดำเนินโครงการวิจัยเพื่อตอบโจทย์สำคัญของประเทศเหล่านี้ โดยจะระดมคนในทีดีอาร์ไอ และทำงานร่วมกับเครือข่ายต่างๆ นักวิชาการภายนอก ภาคธุรกิจ องค์กรพัฒนาเอกชน และผู้กำหนดนโยบาย  อย่างจริงจัง    ผมเชื่อว่า นี่เป็นหน้าที่ของเราในฐานะที่ถูกตั้งขึ้นมาเป็นคลังสมองของประเทศ.

31767
การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารของทีดีอาร์ไอ


ดร.สมเกียรติ


ดร.นิพนธ์

               สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) มีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารในตำแหน่งประธานสถาบัน  โดย ดร. สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์  ดำรงตำแหน่งประธานสถาบันทีดีอาร์ไอ  และ ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร เป็นนักวิชาการกิตติคุณ  มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมนี้เป็นต้นไป

31768
2 ผู้กำกับรุ่นเก๋า!!! ชวนดูหนังอินเดียใน “เทศกาลศตวรรษภาพยนตร์อินเดีย 2012”


               สถานเอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย ร่วมกับ Directorate of Film Festival และโรงภาพยนตร์ เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า จัดงานเทศกาลศตวรรษภาพยนตร์อินเดีย 2012 (Indian Centenary Film Festival 2012)สนับสนุนโดยรัฐบาลอินเดีย ระหว่างวันที่ 18 – 21 ตุลาคมนี้ ที่โรงภาพยนตร์เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ โดยคัดสรร 10 ภาพยนตร์อินเดียคุณภาพ เปิดฉายให้ชมฟรี!!! พร้อมบทบรรยายไทย ทุกเรื่องทุกรอบ  งานนี้ยังชวนผู้กำกับภาพยนตร์ไทยทั้งรุ่นใหญ่ รุ่นเล็ก และนักแสดงมากความสามารถแฟนพันธุ์แท้ตัวจริงที่หลงใหลเสน่ห์ของภาพยนตร์อินเดียอย่าง นนทรีย์ นิมิตรบุตร, ปรัชญา ปิ่นแก้ว, ชยนพ บุญประกอบ(ผู้กำกับภาพยนตร์ SuckSeed ห่วยขั้นเทพ) และเอ๋-มณีรัตน์ คำอ้วน ร่วมการันตีความครบเครื่องของภาพยนตร์ในเทศกาลนี้อีกด้วย


คุณสุวรรณีจาก SF และน้องเอ๋แฟนคลับตัวเป้งหนังอินเดีย


คุณอุ๋ย นนทรีย์ ผู้กำกับหนังรุ่นใหญ่ชวนดูหนังอินเดีย


คุณปรัชญา มาแนะนำหนังอินเดีย

               ความสำคัญของการจัดเทศกาลในครั้งนี้คือการร่วมเฉลิมฉลองการครบรอบ 100 ปี ของ INDIAN CINEMA รวมถึงการครบรอบ 65 ปีความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและอินเดีย และครบรอบ 20 ปีความร่วมมือระหว่างอินเดียและอาเซียน งานนี้จะเป็นการรวบรวมเอาภาพยนตร์คุณภาพเยี่ยมหลากหลายแนวทั้งที่เป็นภาษาฮินดีและภาษาอินเดียภาคต่างๆ ภาพยนตร์ที่จะนำมาฉายกำกับโดยผู้กำกับที่มีชื่อเสียงและแสดงโดยนักแสดงที่โด่งดังและชนะเลิศรางวัลต่างๆ มากมาย  ภาพยนตร์เหล่านี้จะแสดงให้เห็นความหลากหลายของวัฒนธรรมอินเดีย และสะท้อนความเป็นอินเดียสมัยเก่าและสมัยใหม่ และจะต้องถูกใจผู้ชมชาวไทยอย่างแน่นอน ภาพยนตร์เงียบ 13 นาที เรื่อง Raja Harishchandra ถือเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของประเทศอินเดียที่ถ่ายทอดเรื่องราวทรงคุณธรรมของพระราชาพระองค์หนึ่งในราชวงศ์อินเดียที่รักษาสัญญาเป็นที่ยิ่ง โดยทรงยอมเสียสละภรรยาและบุตรธิดาเพื่อรักษาสัญญาที่ให้ไว้กับปราชญ์วิศวะมิตรา และ Maqbool ภาพยนตร์เรื่องดังของ Bollywood ที่นำเสนอเรื่องราวของแก๊งค์ใต้ดินในมุมไบ เป็นภาพยนตร์ที่ได้รับเลือกให้เป็นภาพยนตร์รอบเปิดเทศกาลฯ ในครั้งนี้อีกด้วย








               ผู้ที่สนใจเข้าชมภาพยนตร์ระหว่าง 19-20 ตุลาคม สามารถติดต่อรับบัตรชมภาพยนตร์ฟรีได้ที่บูธเเทศกาลภาพยนตร์อินเดีย 2012 ก่อนรอบฉายจริง 30 นาที ที่ชั้น 7 โรงภาพยนตร์ เอส เอฟ เวิลด์ ซีเนม่า ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น!!! สามารถสอบถามรอบฉายภาพยนตร์ หรือรายละเอียดอื่นๆ เพิ่มเติมที่ SF Call Center  และ  www.sfcinemacity.com

31769
“เติ้ล” ชอบ “ป่านางเสือ2” ยกให้เป็นละครในดวงใจ
หยอดคำหวาน ชม”ยุ้ย” สวยสะพรั่ง  ส่วน “หยก” สุดเซ็กซี่


               เป็นละครที่พระเอก “เติ้ล” ธนพล นิ่มทัยสุขออกปากว่าชอบและสนุกมากที่ได้เล่น สำหรับละครเรื่อง “ป่านางเสือ2” ที่ตอนนี้ส่งผลให้ “เติ้ล”ขึ้นแท่นเป็นพระเอกนักบู๊ไปแล้ว  แถมมาดเข้มหล่อบาดใจในบทของผู้กองหนึ่งก็ยังทำเอาทั้งสาวแท้สาวเทียมกรี๊ดด้วยความชื่นชอบยกให้เป็นพระเอกในดวงใจไปแล้วอีกหนึ่งคน

               โดย “เติ้ล”เล่าถึงการทำงานให้ฟังว่า “ สำหรับคาแรคเตอร์ของผมที่รับบทเป็นฤทธิชัยหรือผู้กองหนึ่งก็ยังเหมือนเดิมครับ   แต่ว่าในป่านางเสือภาคสองนี้จะดูโหดกว่าภาคแรกหน่อยจากภาคแรกที่เราเป็นตำรวจแล้วก็ลาออกมา คราวนี้เหมือนกับว่าเราอยู่นอกเหนือกฎหมายแล้วก็กล้าที่จะแหกกฎ ในภาคนี้ผมต้องเล่นคิวบู๊มากกว่าเดิมเยอะมาก  เพราะว่าเราได้พลังพิเศษมาด้วย และได้เข้ามาอยู่ในแก๊งนางเสือ  เป็นเสือหนุ่มครับ ก็จะบู๊ตลอดแล้วผมมีอิทธิฤทธิ์แบบหายตัวแว๊บไปมาแบบนินจาได้ด้วยนะ ภาคนี้ฝ่ายตัวร้ายเค้าได้รับการเขียนบทแบบอัฟเกรดขึ้น มีแต่พวกมีฝีมือเก่งๆทั้งนั้น ทั้งพวกนักฆ่า พวกนินจา  เล่นละครบู๊หนักๆแบบนี้ ผมก็ต้องเตรียมตัวเป็นพิเศษเหมือนกันครับ ต้องเข้าฟิศเนตออกกำลังกายบ่อยขึ้น ให้กล้ามเนื้อเฟิร์มที่สุด เพื่อให้พร้อมรับมือเข้าฉากบู๊ได้อย่างคล่องแคล่ว ในภาคนี้มีศัตรูตัวร้ายที่สุดอย่างนางงูที่รับบทโดยหยก ธัญยกันต์ ด้วย ซึ่งเค้าต้องมาชอบผม ผมก็จะต้องถูกมนต์ของเค้ามีฉากกุ๊กกิ๊กกับเค้าด้วย ซึ่งถ้าเป็นเรื่องจริงผมคงยอมแพ้ตั้งแต่ยังไม่เริ่มสู้กันแล้วล่ะ เพราะหยกเค้าเป็นนางงูที่เซ็กซี่มาก(หัวเราะ) ส่วนพี่ยุ้ยก็มีกุ๊กกิ๊กกันมากขึ้นกว่าภาคแรก เพราะภาคนี้เราแต่งงานกันแล้วครับ ก็จะมีคำหวานมีลูกเล่นหยอกล้อกันมากขึ้นด้วย ผมว่าพี่ยุ้ยภาคนี้เค้าก็สวยสะพรั่งเหมือนกันนะ ลองสังเกตดูกันในละครสิครับ” 
            “เป็นครั้งแรกนะครับที่ได้เล่นละครภาคต่อ ก็รู้สึกว่ามันมีอะไรแปลกๆใหม่ๆให้เราทำ จากที่เราเล่นแต่ละครแบบภาคเดียวจบ แต่นี่เราต้องกลับไปดูภาคแรกเพื่อความต่อเนื่องตัวเอง เพราะคาแร็คเตอร์หลักๆเราจะเปลี่ยนไปจากภาคแรกมากไม่ได้ ภาคที่แล้วทำไว้ดีมากครับเด็กๆร้องเพลงได้หมดเลย  ก็ไม่กดดันนะ  เพราะภาคนี้ผมว่าเนื้อเรื่องสนุกกว่าภาคแรกเยอะ มีสีสันมากขึ้น เรื่องราวเข้มข้นขึ้น กับกลุ่มนักแสดงหลักกับทีมงานที่เราเคยทำงานร่วมกันมาเป็นปีตั้งแต่ภาคแรกความคุ้นเคยความสนิทก็ยังคงอยู่ ทำให้ทำงานง่าย  ส่วนตัวแล้วผมชอบละครเรื่องนี้มากมีความสุขทุกครั้งที่เข้าฉากและผมชอบมากองถ่ายนะมันรู้สึกสนุก ยกให้เป็นละครในดวงใจเลย ยิ่งเวลามีคิวถ่ายพร้อมกันกับพวกแก็งค์นางเสือนี่มีแต่เรื่องสนุกๆมาคุยกันได้ทั้งวัน    ยังไงก็ขอฝากแฟนละครติดตามดูป่านางเสือ2 กันด้วยนะครับ”

31770
“เติ้ล” ไม่หวั่น โดนรุม  แบบสี่ต่อหนึ่ง
กระโจนเข้าบู๊สุดพลัง ทำเอาหมดแรง


               เห็นเชิงบู๊ของพระเอก “เติ้ล” ธนพล นิ่มทัยสุขในละคร“ป่านางเสือ2” แล้ว บอกได้เลยว่าไม่ธรรมดาจริงๆ  ก็จะให้ธรรมดาได้ยังไง เพราะก่อนมาเข้าฉากแต่ละครั้ง “เติ้ล”ทั้งทุ่มเทและฝึกซ้อมคิวบู๊อย่างหนัก  ยิ่งเป็นชายชาตรี“เติ้ล”บอกยังไงก็ต้องขอบู๊แบบสุดพลังจะไม่ยอมเสียงเชิงเล่นคิวบู๊แบบอ่อนปวกเปียกให้นางเสือสาวอย่างนางเอก“ยุ้ย” จีรนันท์ มะโนแจ่ม และ “เอี๊ยม” วรรษพร วัฒนากุล ได้เห็นแน่นอน เหมือนกับฉากนี้ที่“เติ้ล”เล่นอย่างเต็มที่ ทำเอาแทบหมดแรง

               เป็นฉากที่ ฤทธิชัย (เติ้ล ธนพล) เข้าไปสืบในกลุ่มสมุนขององค์กรแบล็คอีวิล เพื่อให้เจอตัวนายใหญ่  ขณะกำลังค้นหาหลักฐานในโรงเก็บของ  แต่ก็ถูกพวกสมุนขององค์กรแบล็คอีวิลเจอเข้าเสียก่อน ฤทธิชัยหนีแต่ถูกกลุ่มนินจารุมล้อม สองฝ่ายต่อสู้กันอย่างเอาเป็นเอาตาย แต่แล้วฤทธิชัยพลาดล้มลงกำลังจะถูกฟันซ้ำ โชคดีได้นางเสือ ดาว (ยุ้ย จีรนันท์) เข้ามาขวาง และใช้พลังฝ่ามือของนางเสือกระแทกออกไปทำร้ายพวกนินจาจนแน่นิ่ง









 

               สำหรับฉากนี้ก่อนที่ยุ้ยจะเข้ามาช่วย เติ้ลจะต้องลุยเดี่ยวใช้ดาบนินจาต่อสู้กับกลุ่มนินจาถึงสี่คน ซึ่งแต่ละคนที่มาเล่นเป็นสตั๊นท์แมนมืออาชีพที่ผ่านคิวบู๊มานับครั้งไม่ถ้วนทั้งนั้น  งานหนักเลยตกอยู่ที่เติ้ลซะแล้ว ซึ่งคิวบู๊ครั้งนี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะนอกจากจะต้องใช้ดาบให้ดูคล่องแคล่วแล้วยังต้องว่องไวเรื่องการเคลื่อนย้ายตัวในการต่อสู้อีกด้วย แถมเป็นการต่อสู้แบบสี่รุมหนึ่ง ทั้งเติ้ลและนักแสดงร่วมก็ยิ่งต้องแม่นเรื่องคิวของตัวเองกันเป็นพิเศษ เพราะถ้าผิดคิวหมายถึงต้องเจ็บตัวกันหนักจริงๆ ก่อนถ่ายทำเติ้ลดูจะจริงจังกับการซักซ้อมควงดาบและฟันดาบเพื่อให้คล่องมืออยู่นานจนเริ่มใช้ดาบได้คล่อง จากนั้นผู้กำกับหยงก็ได้บอกถึงภาพที่ต้องการให้ทั้งเติ้ลและกลุ่มนินจาฟังจนทุกคนเข้าใจและเริ่มถ่ายทำทันที    ทั้งสองฝ่ายเล่นแอ็คติ้งไปตามบทจนถึงคิวบู๊ก็กระโจนฟาดฟันกันแบบไม่มีการออมแรง มีเทคนิคอะไรงัดมาใช้กันเต็มที่ คิวบู๊ไหนเล่นไม่ดีไม่สมจริงผู้กำกับหยงสั่งคัทถ่ายทำใหม่ทันทีแบบช็อตต่อช็อต และยังใช้กล้องเก็บภาพกันหลายมุม ซึ่ง กว่าจะเก็บภาพบู๊สวยๆได้สมใจผู้กำกับหยงก็ทำเอาเติ้ลเกือบหมดแรงถึงกับหอบแฮกกันเลยทีเดียว












               แฟนละครสามารถติดตามชมภาพคิวบู๊สวยๆของพระเอก “เติ้ล” ธนพลนี้ได้ในละครเรื่อง “ป่านางเสือ 2” โดยฉากนี้ออกอากาศในวันอังคารที่  9 ต.ค. นี้  หลังข่าวภาคค่ำ  เวลา 20.20 – 22.30 น. ทางช่อง 7

Pages: 1 ... 2116 2117 [2118] 2119 2120 ... 2405