sianbun on June 01, 2009, 10:12:32 PM
พีเอ็มที เดอะ อาวร์ กลาส เปิด shop-in-shop ปาเต็ก ฟิลิปป์ ตอกย้ำสายสัมพันธ์แน่นแฟ้น พร้อมยกทัพนาฬิการุ่นพิเศษหาชมยาก และอีกหลากหลายคอลเลคชั่นสุดหรูปี 2009 ยั่วใจนักสะสมชาวไทยร่วมยลโฉมนวัตกรรมแห่งเวลาสุดล้ำค่า 1 มิ.ย.นี้ ณ สยามพารากอน

หากถามถึงนาฬิกาเรือนโปรดของนักสะสมนาฬิกา เชื่อว่าต้องมี "ปาเต็ก ฟิลิปป์" (Patek Philippe) ติดอันดับนาฬิกาสุดรักสุดหวงของคนทั่วโลกอย่างแน่นอน เพราะนับเป็นหนึ่งในสุดยอดแบรนด์เครื่องบอกเวลาคุณภาพ ที่ทั่วโลกให้การยอมรับมานานนับศตวรรษ

ข่าวดีสำหรับแฟนๆ ที่หลงใหลนาฬิกาสุดหรู เพราะ พีเอ็มที เดอะ อาวร์ กลาส (PMT THE HOUR GLASS) ผู้ดำเนินธุรกิจนำเข้าและจำหน่ายนาฬิกาแบรนด์เนมระดับสูงชั้นนำของไทย ตอกย้ำความเป็นผู้นำตัว แทนจำหน่ายเครื่องบอกเวลากลไกชั้นสูง ด้วยการเปิดบูติกนาฬิกาหรูระดับโลก ปาเต็ก ฟิลิปป์ ภายใต้คอนเซ็ปท์ shop-in-shop เพื่อเอาใจคนรักนาฬิกาให้ได้พบกับนวัตกรรมใหม่ หลากรุ่นหลากสไตล์ พร้อมสัมผัสการบริการชั้นเยี่ยม ตลอดจนการให้คำปรึกษาด้านนาฬิกาจากผู้เชี่ยวชาญ สำหรับพิธีเปิด ได้จัดขึ้นใน วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน 2552 ณ ชั้น M ศูนย์การค้าสยามพารากอน โดยมีเซเลบริตี้ชื่อดังมาร่วมงานกันอย่างคับคั่ง รวมทั้งได้รับเกียรติอย่างสูงจาก เธียร์รี่ สเติร์น (Thierry Stern) รองประธานบริษัท ปาเต็ก ฟิลิปป์ ทายาทผู้สืบทอดของ ฟิลิปป์ สเติร์น (Philippe Stern) ประธานบริษัท ปาเต็ก ฟิลิปป์ คนปัจจุบัน ซึ่งบินตรงมาร่วมงานในครั้งนี้ด้วย

ณรัณ ธรรมาวรานุคุปต์ กรรมการผู้จัดการ พีเอ็มที เดอะ อาวร์ กลาส กล่าวว่า  ปาเต็ก ฟิลิปป์ คือสัญลักษณ์ของความเป็นเลิศแห่งศิลปะเครื่องบอกเวลา สั่งสมมาด้วยประสบการณ์กว่า 170 ปี คุณค่าของนาฬิกาจึงไม่อยู่ที่ราคาเท่านั้น แต่เปรียบเสมือนสมบัติล้ำค่าชิ้นหนึ่งที่จะเป็นมรดกตกทอดจากรุ่นสู่รุ่น จากพ่อไปสู่ลูก และทวีคุณค่ายิ่งขึ้นทุกขณะ ทั้งทางด้านมูลค่าและด้านจิตใจ การเปิด shop-in-shop บูติกในเมืองไทยครั้งนี้ ถือเป็นโอกาสดีที่เหล่านักสะสมนาฬิกา และผู้หลงใหลในนวัตกรรมเครื่องบอกเวลาชั้นสูงจะได้ชื่นชมผลงานรุ่นพิเศษที่หาชมได้ยาก รวมทั้งประดิษฐกรรมเรือนเวลาคอลเลกชั่นใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวในงานบาเซิลเวิลด์ 2009 อย่างใกล้ชิด
   
“ถือว่าเป็นเกียรติสำหรับเรามากที่ได้รับความไว้วางใจจากปาเต็ก ฟิลิปป์ ในการเปิด shop-in-shop และยังได้รับเกียรติจากคุณ เธียร์รี่ สเติร์น รองประธานบริษัทปาเต็ก ฟิลิปป์ มาร่วมงานในครั้งนี้ ซึ่งเป็นอีกวาระหนึ่ง ในการกระชับความสัมพันธ์อันดีระหว่าง ปาเต็ก ฟิลิปป์ และ พีเอ็มที เดอะ อาวร์ กลาส ที่มีอยู่อย่างแน่นแฟ้น ยาวนานหลายทศวรรษ ตั้งแต่ในรุ่นบุกเบิกสมัยที่คุณพ่อยังบริหารงานอยู่ มาจนถึงในปัจจุบันที่ผมมาบริหารงาน และได้ขยายกิจการโดยการเปิดบริษัทร่วมทุน พีเอ็มที เดอะ อาวร์ กลาส โดยความสัมพันธ์อันดีระหว่างเรากับ   ปาเต็ก ฟิลิปป์ นั้นได้พัฒนาแน่นแฟ้นและลึกซึ้งมากขึ้นตามกาลเวลา

ในส่วนของความพิเศษที่เราเตรียมไว้ต้อนรับคนรักนาฬิกาทุกท่านภายในงาน ก็คือไฮไลต์เรือนพิเศษที่หาชมได้ยาก รวมทั้ง ปาเต็ก ฟิลิปป์ คอลเลคชั่นล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวในงานบาเซิลเวิลด์ 2009 ซึ่งส่งตรงจากเจนีวากว่า 60 เรือนมาเพื่องานนี้โดยเฉพาะ ทั้งสุดยอดเรือนเวลาในฝันของท่านสุภาพบุรุษ ที่เป็นแฟนพันธุ์แท้ ปาเต็ก ฟิลิปป์ อย่าง World Time Cloisonné Ref. 5131G ซึ่งทำด้วยทองคำขาว 18K เด่นด้วยงานศิลปะบนหน้าปัดเคลือบลงยาแบบพิเศษที่มีความประณีตงดงาม สามารถบอกเวลาได้ถึง 24 ไทม์โซนทั่วโลก เอาใจคนรักงานศิลปะโดยเฉพาะ  นอกจากนี้ยังมีผลงานที่น่าสนใจอีกหนึ่งรุ่นได้แก่  10-Day Tourbillon Rose Gold Ref.5101R ทำด้วยทองสีกุหลาบ 18K ตัวเรือนรูปสี่เหลี่ยมได้รับอิทธิพลจากศิลปะแนวอาร์ตเดโค จัดเป็นงานดีไซน์คลาสสิกที่ผสมผสานได้อย่างลงตัวกับสีสันสมัยใหม่ เด่นด้วยกลไก Tourbillon ที่สามารถสะสมพลังงานได้นานถึง 10 วัน” ผู้บริหารหนุ่มกล่าวถึงคุณสมบัติพิเศษของนาฬิกาสุดหรู ซึ่งเป็นพระเอกของงาน

สำหรับนางเอกของงาน เพื่อเอาใจคุณสุภาพสตรีนั้นก็ไม่น้อยหน้า เพราะได้นำผลงานเด่นจากคอลเลกชั่น Nautilus Ladies ที่เพิ่งเปิดตัวในงานบาเซิลเวิลด์มาให้ยลโฉมก่อนใคร และที่พิเศษเหนืออื่นใดก็คือ ในครั้งนี้ได้นำผลงานรุ่นใหม่จากคอลเลกชั่น 2009 มาจัดแสดงเป็นครั้งแรกในประเทศไทย รวมมูลค่ากว่าหนึ่งร้อยล้านบาท ซึ่งถือเป็นความพิเศษที่จัดให้สำหรับแฟนพันธุ์แท้ของปาเต็ก ฟิลิปป์ โดย เฉพาะ

พีเอ็มที เดอะ อาวร์ กลาส โดยความร่วมมือของ ปาเต็ก ฟิลิปป์ เปิด shop-in-shop บูติค ในครั้งนี้นั้น นอกจากจะเป็นการกระชับสายสัมพันธ์อันแน่นแฟ้น กับสุดยอดแบรนด์นาฬิการะดับโลก ปาเต็ก ฟิลิปป์ ที่มีมาอย่างยาวนานให้แนบแน่นยิ่งขึ้นแล้ว ยังเป็นการรวบรวมครั้งยิ่งใหญ่ของความสุดยอด ทั้งประดิษฐกรรมเครื่องบอกเวลาเรือนพิเศษที่หาชมได้ยาก นวัตกรรมนาฬิกาคอลเลคชั่นใหม่ล่าสุดที่เพิ่งเปิดตัวในงาน บาเซิลเวิลด์ 2009 ส่งตรงจากเจนีวา และแน่นอนว่าเหล่าบรรดาสาวก ทั้งแฟนพันธุ์แท้แต่ดั้งเดิม และนักสะสมรุ่นใหม่ๆ คงไม่ยอมพลาดที่จะมารวมตัวกันในงานนี้เพื่อประสบการณ์สุดพิเศษ และโอกาสที่จะได้พบและสนทนากับ รองประธานและทายาทผู้สืบทอดตำนาน ปาเต็ก ฟิลิปป์ คนปัจจุบัน  เธียร์รี่ สเตินร์น และจากความสุดยอดทั้งหมดนี้ จึงเสมือนเป็นการตอกย้ำความสำเร็จก้าวใหม่ในฐานะความเป็นผู้นำในการดำเนินธุรกิจนำเข้า และจัดจำหน่ายนาฬิกาแบรนด์เนมระดับสูงในประเทศไทยสำหรับ พีเอ็มที เดอะ อาวร์ กลาส ด้วยเช่นกัน

sianbun on June 01, 2009, 10:22:53 PM
ปาเต็ก ฟิลิปป์ บริษัทผู้ผลิตนาฬิกาเอกชนและผู้ผลิตนาฬิกาอิสระรายสุดท้ายแห่งเจนีวา

ปาเต็ก ฟิลิปป์ ยึดมั่นในการสืบสานขั้นตอนการผลิตนาฬิกาตามเกณฑ์มาตรฐานแห่งเจนีวามาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2382 เป็นต้นมา ในฐานะที่เป็นบริษัทดำเนินธุรกิจแบบครอบครัว ปาเต็ก ฟิลิปป์ จึงมีอิสระอย่างเต็มที่ในการออกแบและรังสรรค์ผลงาน ตลอดจนการขัดแต่งชิ้นส่วนด้วยงานฝีมือชั้นสูง จนเสร็จสมบูรณ์ ทำให้ผลงานทุกรุ่นล้วน จัดเป็นผลงานที่นักสะสมและผู้ที่หลงใหลในโลกเวลา ยกย่องให้เป็นเครื่องบอกเวลาที่มีคุณภาพสูงติดอันดับแบรนด์นาฬิกาชั้นสูงของโลก
จากประสบการณ์อันเหนือระดับ ปาเต็ก ฟิลิปป์ คิดค้นและวางรากฐานนวัตกรรมที่รับประกันคุณภาพด้วยการการันตีผลงานความยอดเยี่ยมกว่า 70 สิทธิบัตร ทำให้นาฬิกาแบรนด์หรูเลอค่าและคลาสสิกแบรนด์นี้ ได้รับการออกแบบเพื่อให้สืบทอดจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง โดยผสมผสานศาสตร์แห่งเทคโนโลยีอันทันสมัยของแต่ละยุคผนวกเข้ากับศาสตร์แห่งความเชี่ยวชาญในการผลิตที่สืบทอดมาตั้งแต่ดั้งเดิมสู่ปัจจุบัน

ผู้ก่อตั้ง: อังตวน นอร์เบิร์ต เดอ ปาเต็ก (พ.ศ.2382) และฌอง-เอเดรียน ฟิลิปป์ (พ.ศ. 2388)
คณะผู้บริหาร: ฟิลิปป์ สเติร์น ประธาน และเธียร์รี่ สเติร์น รองประธาน และ คล็อด เปนีย์ กรรมการผู้จัดการ
พนักงาน: 1,300 คน
ช่างทำนาฬิการะดับคุณภาพ: 200 คน
ตัวแทนจำหน่าย: มากกว่า 500 ร้านในกว่า 70 ประเทศทั่วโลก

ประวัติการก่อตั้ง ปาเต็ก ฟิลิปป์ (Patek Philippe)

อังตวน นอร์เบิร์ต เดอ ปาเต็ก และ ฟรองซัว ชาเป็ก เซลส์แมนและช่างทำนาฬิกา ผู้อพยพชาวประเทศโปแลนด์ร่วมกันก่อตั้งบริษัทชื่อว่า ปาเต็ก ชาเป็ก แอนด์ ซี (Patek, Czapek & Cie) เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2382
ต่อมาในปีพ.ศ. 2387 ที่กรุงปารีส ปาเต็กได้พบกับ เอเดรียน ฟิลิปป์ ช่างทำนาฬิกาชาวฝรั่งเศสที่แนะนำระบบไขลานและตั้งเวลาด้วยเม็ดมะยมที่เขาคิดค้นขึ้นมาให้ปาเต็กได้รู้จัก
ในปีต่อมา บริษัทได้เปลี่ยนชื่อเป็น ปาเต็ก แอนด์ ซี เมื่อชาเป็กตัดสินใจลาออกจากบริษัทเพื่อดำเนินกิจการส่วนตัว
หลังจากนั้นในปีพ.ศ. 2394 เมื่อเอเดรียนได้ก้าวเข้ามาร่วมงานกับบริษัทอย่างเป็นทางการ จึงได้ดำเนินการเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น ปาเต็ก ฟิลิปป์ แอนด์ ซี (Patek Philippe & Cie) ก่อนที่จะเปลี่ยนอีกครั้งในปีพ.ศ.2444 เป็น อองเซียน แมนูแฟกเจอร์ ดอร์ โลเจอรี ปาเต็ก ฟิลิปป์ แอนด์ ซี เอส เอ (Ancienne Manufacture d’Horlogerie Patek Philippe & Cie, S.A)
จนกระทั่งปีพ.ศ. 2475 สองพี่น้อง ชาร์ลส และ ฌอง สเติร์น เข้าซื้อกิจการและได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น ปาเต็ก ฟิลิปป์ เอส เอ (Patek Philippe S.A) นับตั้งแต่นั้นมา และยังคงเป็นธุรกิจของครอบครัวสืบต่อมาจนถึงทายาทรุ่นที่ 3 และ 4 คือ ฟิลิปป์ สเติร์น ประธานบริษัท และเธียร์รี่ สเติร์น ลูกชาย ซึ่งดำรงตำแหน่งรองประธานบริษัทคนปัจจุบัน   

ปาเต็ก ฟิลิปป์ ผู้ผลิตนาฬิกาอิสระรายสุดท้ายแห่งเจนีวา

ในฐานะครอบครัวเอกชน ซึ่งดำเนินการบริหารเอง ทำให้ ปาเต็ก ฟิลิปป์ มีอิสระอย่างสมบูรณ์ในการรังสรรค์การออกแบบ ผลิตและประกอบนาฬิกา ซึ่งผู้เชี่ยวชาญให้การยอมรับว่าเป็นเครื่องบอกเวลาที่ดีที่สุดในโลก จากประสบการณ์อันยาวนานในแวดวงนี้ ผนวกกับกว่า 70 สิทธิบัตรเป็นเครื่องรับประกันคุณภาพ จึงทำให้ ปาเต็ก ฟิลิปป์ เรียกได้ว่าเป็นผู้ผลิตนาฬิกาเพียงรายเดียวที่ประดิษฐ์กลไกนาฬิกาด้วยมือทุกขั้นตอนตามหลักและเกณฑ์มาตรฐานของ เจนีวา ซีล (Geneva Seal)
แบรนด์เครื่องบอกเวลาหรูเลอค่าแบรนด์นี้ สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่น ได้เพราะการนำเทคโนโลยีล่าสุดในแต่ละยุคสมัยนั้นๆ มาใช้ผนวกกับศาสตร์แห่งความรู้ความชำนาญในการผลิตนาฬิกาที่ถ่ายทอดต่อกันมาตั้งแต่รุ่นดั้งเดิม
ปัจจุบันโรงงานหลักและสำนักงานใหญ่ของ ปาเต็ก ฟิลิปป์ ตั้งอยู่ที่ ปลอง เลส์ โอตส์ (Plan-les-Ouates) และยังมีโรงงานทำตัวเรือนและสายนาฬิกาที่ แปร์ลี (Perly), มีพิพิธภัณฑ์ปาเต็ก ฟิลิปป์ (Patek Philippe Museum) ที่ แปลงปาเลส์ (Plain Palais) ซึ่งทั้งหมดตั้งอยู่ที่กรุงเจนีวา นอกจากนี้ยังมี ปาเต็ก ฟิลิปป์ ซาลอนส์ (Patek Philippe Salons) ในเจนีวา ปารีส และลอนดอนอีกด้วย

ความเป็นมาของเครื่องหมาย Calatrava Cross

ชื่อของ คัลลาทราวา (Calatrava) มีประวัติศาสตร์อันยาวนานสืบย้อนกลับไปถึงยุคกลางในสมัยที่นิกายศาสนาสเปนนิกายหนึ่ง สั่งตรึงกำลังป้องกันป้อมปราการ Calatrava จากการบุกรุกของชาวมัวร์ ต่อมาในปลายศตวรรษที่ 19  ปาเต็ก ฟิลิปป์ ได้นำสัญลักษณ์ของอัศวินนักรบชาวสเปนผู้นี้มาเป็นสัญลักษณ์ของแบรนด์ ซึ่งยังคงใช้อยู่ตราบจนปัจจุบัน

1. ความเป็นเอกเทศน์ (Independence)
ปาเต็ก ฟิลิปป์ เป็นบริษัทที่ก่อตั้งเมื่อปีพ.ศ.2382 โดยเจ้าของเป็นครอบครัวเอกชนและอยู่ภายใต้การบริหารของตระกูล “สเติร์น” มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2475 ทำให้มีอิสระในการควบคุมชะตา ปรัชญา วิถีปฏิบัติ มาตรฐานและวิสัยทัศน์ จึงปราศจากปัญหาเรื่องของการจำกัดงบประมาณตามความประสงค์ของผู้ถือหุ้นภายนอก และนั่นก็คือผลดีของการมีจิตวิญญาณอิสระ ผู้ที่ ปาเต็ก ฟิลิปป์ ให้ความสำคัญมากที่สุดคือ ช่างทำนาฬิกาและผู้เป็นเจ้าของนาฬิกา และความเป็นอิสระและเอกเทศนี่เอง ที่ทำให้ ปาเต็ก ฟิลิปป์ สามารถดำเนินธุรกิจตามเป้าหมายที่วางไว้ได้

2.ประเพณีดั้งเดิม (Tradition)
ปาเต็ก ฟิลิปป์ ถือได้ว่าเป็น “บริษัทผู้ผลิตนาฬิกา” ตัวจริง ด้วยเพราะบริษัทสามารถกำหนดขั้นตอนการผลิตนาฬิกาของบริษัทได้ทุกขั้น นับตั้งแต่การออกแบบไปจนกระทั่งการผลิต จากขั้นตอนการประกอบตัวเรือนจนเสร็จสิ้น ไปจนถึงการจัดจำหน่าย ฝีมือความเชี่ยวชาญและเครื่องมือบางชิ้นที่เป็นของดั้งเดิมที่ใช้งานมากว่าหนึ่งร้อยปีก็ยังคงใช้อยู่จนกระทั่งทุกวันนี้
ด้านประสบการณ์และความรู้ความชำนาญของช่างทำนาฬิกาฝีมือขั้นสูงได้สืบทอดต่อมาสู่ยุคปัจจุบัน ทางบริษัทยังคงรักษาศิลปะดั้งเดิมของการทำนาฬิการะดับหรู (“Art of Fine Watchmaking”) ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานนาฬิกามาตรฐานตรงตามเกณฑ์ของ Republic of Geneva ที่ตั้งไว้เมื่อปี พ.ศ. 2429 และได้รับตรารับประกันจากสำนักงานตรวจสอบแห่งเจนีวา (Geneva Seal) ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่รับประกันคุณภาพและความเป็นเลิศของนาฬิกาอย่างเป็นทางการในระดับสูงสุด
จึงเป็นเครื่องพิสูจน์และยืนยันได้ว่านาฬิกาของทุกเรือน ถูกผลิตขึ้นตามขนบประเพณีดั้งเดิม ที่สมควรได้รับการยกย่อง

3. นวัตกรรม (Innovation)
การคิดค้นนวัตกรรมถือเป็นหัวใจสำคัญและแรงผลักดันในการทำธุรกิจของ ปาเต็ก ฟิลิปป์ บริษัททุ่มเทอย่างมากในเรื่องการทำวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และยังมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยที่สุดในการผลิตนาฬิกาตลอดทุกขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มากด้วยคุณค่าและเปี่ยมด้วยคุณภาพ โดยได้จดทะเบียนกว่า 70 สิทธิบัตรเป็นเครื่องรับประกันความน่าเชื่อถือ จึงนับได้ว่า นวัตกรรมได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของประเพณีปฏิบัติของปาเต็ก ฟิลิปป์

4. คุณภาพและงานฝีมือประณีต (Quality and Workmanship)
ที่ ปาเต็ก ฟิลิปป์ นาฬิกาแต่ละเรือนได้รับการประกอบ ขัดเงา และตั้งเวลาด้วยมือของช่างผู้ชำนาญงาน ผ่านขั้นตอนกว่า 1,200 ขั้น ใช้เวลากว่า 600 ชั่วโมงในการตรวจสอบการควบคุมคุณภาพ และอีก 30 วันในการสังเกตการณ์และตรวจสอบอย่างเคร่งครัด คิดค้นกลไลใหม่ๆ ขึ้นมาทุกๆ 3-5 ปี เป็นความทุ่มเทที่ต้องการก้าวไปสู่ความสมบูรณ์แบบ ชื่อเสียงเรื่องงานช่างฝีมือที่เหนือระดับมายาวนาน บริษัทมีข้อผูกพันในเรื่องของความสมบูรณ์แบบซึ่งถือเป็นชื่อเสียงด้านงานฝีมืออันประณีตเหนือคู่แข่งมาอย่างยาวนาน พันธสัญญาในเรื่องคุณภาพจึงไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่สำหรับ ปาเต็ก ฟิลิปป์

5. ความหายาก (Rarity)
นาฬิกาแต่ละรุ่นของ ปาเต็ก ฟิลิปป์ ส่วนใหญ่จะผลิตขึ้นในจำนวนไม่มาก มีตั้งแต่รุ่นจำนวนจำกัด 5 เรือนไปถึงไม่กี่ร้อยเรือน เมื่อลูกค้าเป็นเจ้าของ ปาเต็ก ฟิลิปป์ เท่ากับว่าเขาได้ครอบครองสิ่งล้ำค่าหายากที่ ปาเต็ก ฟิลิปป์ ความหายากเป็นปัจจัยสำคัญของงานศิลป์

6. คุณค่า (Value)
เป็นเรื่องยากในการที่จะประเมินคุณค่าของนาฬิกา ปาเต็ก ฟิลิปป์ ออกมาเป็นจำนวนเงิน เพราะนาฬิกา       ปาเต็ก ฟิลิปป์ ประกอบด้วยสุนทรียภาพ ความประณีตของฝีมือช่างและความน่าเชื่อถือได้ บริษัทได้ตั้งใจออกแบบ ผลิต และทดสอบคุณภาพเพื่อให้มั่นใจได้ว่านาฬิกาจะมีความทนทานอยู่กับลูกค้าจากรุ่นสู่รุ่น จึงเกิดคำกล่าวที่ว่า “อันที่จริงแล้วคุณไม่ได้เป็นเจ้าของนาฬิกา ปาเต็ก ฟิลิปป์ แต่คุณเพียงทำหน้าที่ดูแลเค้าเพื่อส่งต่อให้ลูกหลานของคุณ” 
คุณค่าที่ยั่งยืนเกิดขึ้นได้ทั้งกับวัตถุและในจิตใจ
7. สุนทรียภาพความงาม (Aesthetics)
ความงามที่ยังคงอยู่ ซึ่งแม้ว่าลูกค้าจะไม่สามารถเห็นขั้นตอนการผลิตในแต่ละขั้นตอนที่ทางบริษัทตั้งใจและทุ่มเทลงไป กระนั้น ปาเต็ก ฟิลิปป์ ก็ยังคงสืบสานวิถีปฏิบัติในการผลิตชิ้นงานของบริษัทอยู่แล้ว แม้ว่าสุนทรียภาพความงามของ ปาเต็ก ฟิลิปป์ จะไม่ได้ถูกป่าวประกาศออกมา เราก็รู้ดีว่าชิ้นส่วนเล็กๆ หลายร้อยชิ้นประกอบกันอย่างกลมกลืนทำให้นาฬิกาเรือนหนึ่งๆ ทำงานได้อย่างน่าอัศจรรย์
ปาเต็ก ฟิลิปป์ ใฝ่หาความสมบูรณ์อันสุนทรียภาพในทุกหนแห่ง

8. การบริการ (Service)
ปาเต็ก ฟิลิปป์ เชื่อในความสำคัญของการบริการหลังการขาย แม้บริษัทจะผลิตนาฬิกาที่มีความทนทาน แต่ทว่าก็ต้องได้รับการดูแลและใส่ใจด้วยเช่นกัน บริการที่ดีและสม่ำเสมอจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการช่วยให้นาฬิกามีอายุยืนยาว ทางบริษัทมีการจัดเก็บอะไหล่นาฬิกาทุกรุ่นแม้กระทั่งรุ่นเก่าในยุคแรกๆ ก็ยังคงมีอยู่ในพิพิธภัณฑ์ ตราบจนปัจจุบัน
ปาเต็ก ฟิลิปป์ ใส่ใจในการดูแลรักษานาฬิกาตลอดอายุขัย

9. ความรู้สึก (Emotion)
“นาฬิกา ปาเต็ก ฟิลิปป์ ไม่ได้เป็นเพียงเครื่องบอกเวลาเท่านั้น แต่ยังสามารถบ่งบอกคุณค่าในตัวผู้สวมใส่ได้โดยไม่ต้องป่าวประกาศ นาฬิกาแต่ละเรือนถูกสร้างขึ้นมาเพื่อบอกกล่าวเรื่องราวหรือความรู้สึกได้ อาทิ ใครเป็นผู้มอบนาฬิกาเรือนนี้ให้ ในวาระหรือช่วงไหนของชีวิต พร้อมกับคำกล่าวใด คุณมอบนาฬิกาเรือนนี้ให้ใครต่ออีก เป็นพลังแห่งความรักที่ได้รับมาและส่งต่อไปด้วยความรัก ความรู้สึกดังกล่าวนี้มิได้มีแค่ในใจของนาฬิกาแต่ละเรือน แต่ยังอยู่ในใจของบริษัทเราเช่นกัน”

10. มรดกสืบทอด (Heritage)
การสืบสานมรดกในศาสตร์แห่งการทำนาฬิกาต่อๆ กันมาทำให้บริษัทมีความศรัทธาอย่างแรงกล้าในการทำให้ ปาเต็ก ฟิลิปป์ ประสบความสำเร็จในฐานะเป็นธุรกิจครอบครัวต่อไป เราเป็นเพียงสะพานเชื่อมระหว่างอดีตและอนาคต นาฬิกาที่ผลิตขึ้นมาในปัจจุบันจะยังคงทำความตื่นตาตื่นใจและบันดาลใจคนรุ่นหลังดั่งเช่นนาฬิการุ่นหายากและล้ำค่าในอดีตที่วางโชว์ในพิพิธภัณฑ์ Patek Philippe
เราจะใช้ชีวิตด้วยอุดมการณ์ที่สร้างชื่อเสียงให้แก่เราตลอดไป

เธียร์รี่ สเติร์น รองประธานบริษัท ปาเต็ก ฟิลิปป์
       (Thierry Stern, Vice President of Patek Philippe)

เธียร์รี่ สเติร์น เกิดที่กรุงเจนีวาในปี พ.ศ. 2513 เขาเป็นบุตรชายของ ฟิลิปป์ สเติร์น ประธานบริษัท ปาเต็ก ฟิลิปป์ คนปัจจุบัน และเป็นหลานชายของ อองรี สเติร์น อดีตประธานกิตติมศักดิ์ผู้ล่วงลับ นับตั้งแต่ ชาร์ลส เติร์น ได้เข้ามาซื้อกิจการของบริษัทเมื่อปี พ.ศ. 2475 บริษัทปาเต็ก ฟิลิปป์ ก็อยู่ภายใต้การบริหารของตระกูล “สเติร์น” มาโดยตลอด ซึ่งเธียร์รี่ถือเป็นทายาทรุ่นที่ 4

ในอนาคตข้างหน้าผู้บริหารรุ่นใหม่ผู้นี้จะก้าวขึ้นมาเป็นหัวเรือใหญ่บริหารงานบริษัทนาฬิกาที่จะมีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมนาฬิกาของสวิส เขาจึงต้องเรียนรู้และสัมผัสทุกแง่มุมของธุรกิจนี้ ตั้งแต่งานในโรงงานผลิตไปจนถึงงานด้านบริหารในออฟฟิศตามขั้นตอนการทำงานตามปกติดั่งเช่นธรรมเนียมปฏิบัติของตระกูล นั่นเป็นเพราะว่า เธียร์รี่ เติบโตขึ้นมาในโลกของธุรกิจการผลิตนาฬิกา เขาจึงปรารถนาที่จะได้เรียนรู้การทำงานโดยเริ่มจากระดับล่างก่อนจะก้าวขึ้นสู่ระดับบริหาร ทั้งนี้เพื่อที่จะได้เข้าใจถึงฟันเฟืองการทำงานทุกขั้นตอนของธุรกิจนี้

หลังจบการศึกษาจาก l’ Ecole de Commerce of Geneva เธียร์รี่ ก็เข้ารับการอบรมที่โรงเรียนสอนการผลิตนาฬิกาแห่งเจนีวา (Watchmaking School of Geneva) และได้เรียนรู้เคล็ดลับมากมายในขั้นตอนและกลไกการผลิตนาฬิกา

ต่อมา เธียร์รี่ ถูกส่งไปศึกษางานด้านการตลาดกับร้านค้าปลีกของ ปาเต็ก ฟิลิปป์ 2 แห่งที่ประเทศเยอรมันเป็นเวลาเกือบ 2 ปี ที่นี่เขาได้ก้าวเข้าสู่โลกแห่งการค้าปลีกและการขาย รวมทั้งได้สังเกตการณ์ขั้นตอนและกลยุทธต่างๆ ด้านธุรกิจการค้านาฬิกาด้วย

จากนั้นทายาทหนุ่มก็เดินทางไปนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อเรียนรู้งานจาก Henry Stern Watch Agency หนึ่งในบริษัทลูกที่ใหญ่ที่สุดของปาเต็ก ฟิลิปป์ ตลอดเวลา 2 ปีที่นี่ เขาได้ออกไปพบปะร้านค้าปลีกในย่านนี้ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่มาก จึงนับเป็นประสบการณ์อันล้ำค่าที่ทำให้เขาได้มีโอกาสได้เข้าไปมีส่วนร่วมในงานด้านการขาย การบริหารสินค้าคงคลังสำหรับสายนาฬิกาและชิ้นส่วนนาฬิกา งานบริการหลังการขาย และงานด้านธุรกิจสัมพันธ์

เมื่อกลับจากสหรัฐ เธียร์รี่เข้าทำงานที่ Ateliers Reunis SA โรงงานผลิตตัวเรือนและสายนาฬิกาซึ่งเป็นชื่อธุรกิจเดิมของปาเต็ก ฟิลิปป์ ที่นี่เขาลงมาคลุกคลีกับงานระดับใช้แรงงานเพื่อเรียนรู้ด้านการผลิตส่วนประกอบของสายนาฬิกาและชิ้นส่วนภายนอกของนาฬิกา จากประสบการณ์นี้เองทำให้เขาได้ทำงานใกล้ชิดกับช่างทำนาฬิกาฝีมือดีหลายคนที่ช่วยให้เขาได้เห็นงานฝีมือและความชำนาญในการผลิตนาฬิกาที่เปี่ยมคุณภาพเหนือระดับ เธียร์รี่ ยังได้มีส่วนร่วมในการนำวิธีการผลิตแบบใหม่ๆ เข้ามาใช้ในบริษัทโดยเฉพาะเครื่องมือที่ควบคุมด้วยเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ขั้นสูง
ในช่วงหนึ่ง เธียร์รี่ได้รับการแต่งตั้งให้ขึ้นเป็นผู้จัดการฝ่ายการตลาดที่แถบประเทศกลุ่มเบเนลักซ์เป็นเวลา 2 ปี ซึ่งนับเป็นตลาดที่มีความหลากหลายและท้าทายความสามารถมาก ในระหว่างนี้เขาได้พัฒนาความรู้และความเข้าใจในการวางแผนด้านการขาย รวมทั้งการทำธุรกิจนาฬิกาในทุกๆ แง่มุม

ด้วยประสบการณ์อันเพียบพร้อมจากการคร่ำหวอดในอุตสาหกรรมนาฬิกาทั้งในด้านธุรกิจและด้านการผลิต ปัจจุบัน เธียร์รี่ รับหน้าที่ดูแลด้านการพัฒนาสินค้าในบริษัท ปาเต็ก ฟิลิปป์ มาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2541 เขามีความมุ่งหวังที่จะบริหารจัดการงานบริการภายในองค์กรให้มีระบบที่มีประสิทธิภาพ เพื่อช่วยให้ผู้บริหารสามารถเข้าถึงกิจกรรมด้านการสร้างสรรค์ได้โดยตรงและทันทีทันใด ด้วยวิธีนี้จึงทำให้สามารถเผยแพร่ข้อมูลจำเพาะหน่วยงานไปได้ดียิ่งขึ้น จึงแน่ใจได้ว่าจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารเวลาและควบคุมต้นทุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้แก่บริษัทได้อีกด้วย
                     
# # # # #

พีเอ็มที เดอะ อาวร์ กลาส (PMT THE HOUR GLASS) ผู้นำเข้าและจำหน่ายนาฬิกาแบรนด์หรูระดับโลก ภูมิใจเสนอผลงานชั้นเลิศบนศิลปะเครื่องบอกเวลา “ปาเต็ก ฟิลิปป์ คอลเลคชั่น 2009” นาฬิกาแบรนด์หรูสัญชาติสวิส เอกลักษณ์เหนือกาลเวลา สั่งสมประสบการณ์จากรุ่นสู่รุ่นมายาวนานกว่า 170 ปี

ปาเต็ก ฟิลิปป์ สุดยอดนาฬิการะดับโลก เปิดตัว “La vie en or rose”: นาฬิกาโรสโกลด์ 18K ในคอลเลคชั่นใหม่ประจำปี 2009 โดยสร้างสรรค์ปรากฏการณ์หน้าใหม่ของเรือนเวลาทำด้วยวัสดุทองสีกุหลาบ ซึ่งสีสันอันสวยงามช่วยให้ความอบอุ่นของโลหะล้ำค่าโดดเด่นยิ่งขึ้น สำหรับตำนานของนาฬิการุ่นดังกล่าวนั้น ได้เคยผลิตออกโดยใช้โลหะชนิดต่างๆ เช่น แพลตินัม, ทองคำขาว และทองคำ เป็นต้น ทั้งนี้การรังสรรค์ผลงานรุ่นใหม่ในปี 2009 ได้มีการเลือกสรรวัสดุทองสีกุหลาบมาเป็นตัวเสริมให้คอลเลคชั่นนั้นๆ มีความสมบูรณ์แบบมากยิ่งขึ้น

10-Day Tourbillon
หนึ่งในรุ่นปรารถนาของนักสะสม ปาเต็ก ฟิลิปป์ 10-Day Tourbillonโรสโกลด์ โฉมใหม่บนความคลาสสิก โดดเด่นด้วยสีสันอันอบอุ่นของทองสีกุหลาบ 18K ตัวเรือนรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าได้รับอิทธิพลจากศิลปะแนว        อาร์ตเดโค ซึ่งคนรักศิลปะทั่วโลกรู้จักมานานกว่า 90 ปี สำหรับรูปทรงของดีไซน์อันคลาสสิกที่ผสมผสานได้อย่างลงตัวกับสีสันสมัยใหม่ ทำให้นาฬิการุ่นนี้เหมาะอย่างยิ่งสำหรับยุคศตวรรษที่ 21 นอกจากนี้รูปโฉมใหม่ของตัวเรือนทองสีกุหลาบ 18K ยังโดดเด่นยิ่งขึ้นเมื่ออยู่เคียงข้างสายหนังจระเข้เย็บด้วยมือและเข็มขัดรัดสายซึ่งทำด้วยทองสีกุหลาบ 18K เช่นกัน พร้อมกันนี้ยังโดดเด่นด้วยกลไก Tourbillon ด้านหลังของตัวเรือนซึ่งปกป้องด้วยกระจกคริสตัลแซพไฟร์ เผยอวดการทำงานของกลไกล้ำสมัยนี้อย่างชัดเจน

World Time Cloisonne watch
ศิลปะศาสตร์แห่งกาลเวลา ที่ ปาเต็ก ฟิลิปป์เปิดตัวในงานบาเซิลแฟร์’09 เพียงก้าวแรกของวงการนาฬิกาโลก น้องใหม่ของปาเต็ก ฟิลิปป์ ก็สร้างความฮือฮาได้ไม่แพ้ผลงานในรุ่นก่อนๆ เพราะองค์ประกอบที่โดดเด่น เริ่มจากการบอกเวลาต่างๆ กันได้ถึง 24 ไทม์โซนทั่วโลก และยังสามารถปรับตั้งเวลาท้องถิ่นได้สะดวกง่ายดาย พื้นหน้าปัดเคลือบลงยาแบบพิเศษเพื่อเอาใจคนรักศิลปะโดยเฉพาะ นอกจากนี้ยังมีคุณลักษณะที่นักสะสมนาฬิกาทั้งหลายไม่ควรพลาด อาทิ บอกเวลาได้ 24 ไทม์โซนผ่านชื่อเมืองสำคัญต่างๆ ช่วยให้ผู้สวมใส่สามารถติดต่อหรือเจรจาธุรกิจระหว่างประเทศได้โดยสะดวก     


หลุยส์ โคติเยร์ ช่างทำนาฬิกาผู้เปี่ยมด้วยพรสวรรค์ เขาผลิตกลไกชนิดนี้ให้แก่ปาเต็ก ฟิลิปป์ครั้งแรกเมื่อปี 1959 ปัจจุบันได้มีการจดสิทธิบัตรเป็นที่เรียบร้อย นอกจากนี้ในส่วนของความโดดเด่นของศิลปะการเคลือบลงยาแบบพิเศษเป็นรูปแผนที่โลกที่ต้องอาศัยทักษะความชำนาญอย่างสูง ดังนั้น ศิลปะแห่งเวลาเรือนนี้ จึงผลิตออกวางจำหน่ายเพียงไม่กี่เรือน และจัดเป็นรุ่นที่หาชมได้ยากอีกหนึ่งเรือน

Chronometre Gondolo ความภักดีต่อโรสโกลด์
ปาเต็ก ฟิลิปป์ สานต่อผลงานรุ่นนี้ ซึ่งทำจากวัสดุแพลทินัมไปเมื่อปี 2007สะท้อนให้เห็นว่าบรรพบุรุษสามารถถ่ายทอดความชำนาญในการประดิษฐ์นาฬิกาสู่คนรุ่นปัจจุบันได้อย่างน่าสนใจ โดยปีนี้หันมารังสรรค์ผ่านตัวเรือนโรสโกลด์โทนสีอบอุ่นด้วย ตัวเรือนทรงตอนโนได้รับอิทธิพลจากนาฬิกาที่เปิดตัวเมื่อปี 1925 รูปทรงโค้งมนรับกับข้อมือ ให้สัมผัสที่สบายเสมอไม่ว่าอยู่ในอิริยาบถใด ตัวเข็มทำด้วยทอง 18K กระจกด้านหลังของตัวเรือนทำจากคริสตัลแซฟไฟร์ เผยอวดการทำงานของกลไกภายในได้อย่างชัดเจน

Calatrava officer’s watch
นับเป็นการกลับมาอย่างยิ่งใหญ่สมการรอคอยอันยาวนานของนาฬิกาคลาสสิก เครื่องมือบอกเวลาทรงกลมเรือนนี้มีฝาพิเศษ ทำหน้าที่ปกป้องด้านหลังของตัวเรือนซึ่งทำจากคริสตัลแซฟไฟร์ นาฬิการุ่นนี้มีฝาพิเศษป้องกันด้านหลังของหน้าปัดซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่สืบทอดมานานของปาเต็กฟิลิปป์ รุ่นใหม่ R.5153 ทำด้วย       เยลโลโกลด์มีหน้าปัดที่ใหญ่ขึ้นกว่าเดิม  38 มม. และกลไกแบบไขลานอัตโนมัติที่เรียกว่า 324 SC หน้าปัดสีเงินมีอักษรข้อความว่า “Patek Philippe Geneve


The Annual Calendar Chronograph
จากเกิดเปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 2006 นาฬิการุ่นนี้กลายเป็นรุ่นขายดีที่สุดด้วยกลไกแบบโครโนกราฟอันโดดเด่น ซึ่งปาเต็ก ฟิลิปป์คิดค้นและผลิตขึ้นในโรงงานของตัวเอง สำหรับปีนี้ออกผลงานล่าสุดรุ่น Ref. 5960R ทำด้วยโรสโกลด์เป็นครั้งแรก สีสันอันอบอุ่นชวนให้ระลึกความรุ่งเรืองในอดีต ขณะเดียวกันก็สะท้อนถึงความล้ำสมัยของผู้สวมใส่ หน้าปัดสีเทาเข้มช่วยขับให้สีของโรสโกลด์บนกรอบและเข็มบอกนาทีกับชั่วโมงดูโดดเด่นยิ่งขึ้น จุดเด่นสำคัญของผลงานเรือนนี้อยู่ที่ปฏิทินทั้งสามช่องตรงด้านบนของหน้าปัด ขับเคลื่อนผ่านกลไกไขลานอัตโนมัติ ด้านหลังของตัวเรือนทำด้วยคริสตัลแซฟไฟร์ เผยการทำงานอันน่าทึ่งของกลไกได้อย่างชัดเจน

Calatravaนาฬิกาบางเฉียบสำหรับสุภาพสตรีทำด้วยโรสโกลด์ พร้อมด้วยกลไก caliber 215
คุณค่าภายในสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้หญิง ดังนั้นผู้หญิงหลายคนจึงหันมาสนใจกลไกการทำงานนาฬิกามากขึ้นเรื่อยๆ พิเศษมากขึ้นกับการังสรรค์เรือนเวลาเพื่อคุณสุภาพสตรีเรือนนี้ให้มีความบอบบาง ช่วยให้สามารถชื่นชมกลไกซับซ้อนของนาฬิกาพร้อมถ่ายทอดความสง่างามจากภายในของตัวเองได้เสมอ โดดเด่นด้วยตัวเรือนทองสีกุหลาบ 18K รับกับพื้นหน้าปัดและสายสีน้ำตาลเข้มช็อคโกแล็ต ส่องประกายความเจิดจรัส และเฉิดฉายยิ่งขึ้นด้วยเพชรน้ำงามจำนวน 72 เม็ด

Patek Philippe Nautilus สำหรับผู้หญิง – ความสง่างาม     จากภายใน
การรอคอยถึงสามปีสิ้นสุดลง เมื่อนาฬิกานอติลุสสำหรับผู้หญิงพร้อมอวดโฉมเต็มที่แล้ว โดดเด่นด้วยความสง่างามแบบผู้หญิง ตัวเรือนเป็นทรงโค้งมนคล้ายกับนาฬิกาสำหรับผู้ชายซึ่งออกวางจำหน่ายเมื่อสองปีที่ผ่านมา แต่เพิ่มความอ่อนหวานแบบผู้หญิงด้วยการทำจากทองคำขาว 18K หรือมีให้เลือกในรุ่นทองสีกุหลาบ 18K ด้วยเช่นกัน สายนาฬิกาได้รับการออกแบบใหม่ให้สอดรับกับข้อมือเรียวงามของสุภาพสตรี ทำงานผ่านกลไกระบบควอตซ์ E23 SC สามารถกันน้ำได้ลึก 60 เมตร

The Timeless timekeepers from Patek Philippe เอกลักษณ์เหนือกาลเวลาจากปาเต็กฟิลิปป์
คอลเลคชั่นที่วางจำหน่ายอยู่ปัจจุบันมีดังนี้
•   Calatrava นาฬิกาข้อมือทรงกลมแบบคลาสสิก ตั้งชื่อตามสัญลักษณ์ของปาเต็กฟิลิปป์ ประสบความสำเร็จอย่างงดงามและมีชื่อเสียงระดับโลกตั้งแต่ได้รับการประดิษฐ์ขึ้นเมื่อปี 1932
•   Nautilus ตัวเรือนกันน้ำได้และออกแบบให้มีรูปทรงคล้ายหน้าต่างใต้ท้องเรือ ครองใจคนรักนาฬิกามานานกว่า 30 ปี และเมื่อปี 1997 มีการเปิดตัวแบบใหม่ที่เรียกว่า Aquanaut ซึ่งจัดว่าเป็นลูกหลานสายตรงของ nautilus เป็นนาฬิกาสปอร์ตสำหรับผู้ที่ต้องการความกระฉับกระเฉงตลอดเวลา
•   Golden Ellipse นาฬิการูปไข่รุ่นนี้คือสุดยอดความภาคภูมิใจของปาเต็กฟิลิปป์ เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 1968
•   Gondola เปิดตัวครั้งแรกเมื่อปี 1993 คอลเลคชั่นนี้ประกอบด้วยนาฬิการูปทรงต่างๆกัน เช่น สี่เหลี่ยมหรือทรงถังเบียร์ ซึ่งได้รับอิทธิพลจากแนวศิลปะแบบอาร์ตเดโค ต่อมาในปี 1999 มีการเปิดตัวนาฬิกาสำหรับผู้หญิงร่วมสมัยชื่อว่า Twenty – 4 เป็นนาฬิกาข้อมือสำหรับผู้หญิงทำด้วยเหล็กกล้าประดับเพชรรุ่นแรก