MSN on March 08, 2021, 12:38:52 PM
'บพข.'ยกชุดตรวจโควิด ตัวอย่างรัฐ-เอกชนร่วมต่อยอดงานวิจัยสู่ผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2564 ที่สำนักงานการนโยบายกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) อาคารจามจุรีสแควร์ ชั้น 14 สามย่าน กรุงเทพฯ มีการจัดงาน "จิบน้ำชา...กับ บพข.#EP1 การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย:ด้านสุขภาพและการแพทย์" โดยนำผลงานที่เกี่ยวข้องกับการรับมือสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ที่พัฒนาในประเทศไทยมาจัดแสดง


ศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์ ประธานคณะอนุกรรมการแผนงานกลุ่มสุขภาพและการแพทย์ หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) เปิดเผยว่า ย้อนไปช่วงปลายปี 2562 ที่เริ่มมีข่าวโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่ระบาด และต้นปี 2563 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ค้นพบวิธีการตรวจหาเชื้อ แต่เวลานั้นยังไม่สามารถผลิตออกมาได้เพราะสารเอนไซม์ที่ต้องใช้นั้นมีความเป็นเจ้าของอยู่ จึงเกิดความร่วมมือกับบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ที่ถือครองสิทธิบัตรเอนไซม์ดังกล่าว พัฒนาร่วมกันออกมาเป็นชุดตรวจหาเชื้อโควิด-19 แต่ในตอนแรกยังระบุได้เพียงใช้เพื่อการวิจัยเท่านั้น กระทั่งต่อมาเมื่อทาง บ.สยามไบโอฯ ปรับปรงห้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามมาตรฐานของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กได้รับการรับรองจาก อย.และเมื่อบริษัทได้ซื้อสิทธิบัตรจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ก็สามารถผลิตชุดตรวจนี้ หรือ RT-PCR Kit ออกมาวางจำหน่ายในท้องตลาดได้

ขณะที่ทาง บพข.เองก็ให้ทุนสนับสนุน บริษัท เซโนสติกส์ จำกัด สตาร์ทอัพไทยที่ทำงานร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล พัฒนาชุดตรวจโควิด-19 Lamp Test Kit ขึ้นมาเป็นอีกเทคโนโลยีหนึ่ง ซึ่งเหมาะกับการคัดกรองคนจำนวนมากๆ ในเบื้องต้นถูกส่งไปใช้แล้วในการระบาดระลอกใหม่ที่ จ.สมุทรสาคร และที่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ซึ่งครั้งนั้ต้องชม อย. ที่เร่งออกข้อบังคับเพื่อพิจารณารับรองมาตรฐานชุดตรวจ โดยเป็นการทำงานร่วมกันระหว่าง อย. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และ บพข.ซึ่งแม้ชุดตรวจ Lamp Test Kit ความไวจะไม่สูงเท่า RT-PCR Test Kit แต่ข้อดีคือราคาถูกและรู้ผลเร็ว ครั้งหนึ่งมีค่าใช้จ่ายเพียง 300 บาทแงะรอผล 1 ชม.เท่านั้น ในขณะที่ RT-PCR Test Kit มีค่าใช้จ่ายหลักพันบาทและรอผล 5 - 6 ชม.ทั้งนี้ เมื่อผู้รับการตรวจด้วย Lamp Test Kit เจอผลบวกหมายถึงติดเชื้อ ก็สามารถนำมาตรวจด้วย RT-PCR อีกครั้งเพื่อยืนยันผลได้

"เนื่องจากอาเซียนเป็นตลาดใหญ่ ประชากรตั้ง 620 ล้านคน ถ้า บพข.สามารถยกระดับให้เกิดสินค้าที่ได้มาตรฐาน ก็จะสามารถยกระดับไปสู่การส่งออกไปสู่อาเซียนได้ ดังตัวอย่างเซโนสติกส์ ชุดตรวจนี้ท่านนายกรัฐมนตรีได้ส่งให้ประเทศอาเซียนเป็นของขวัญจากประเทศไทยช่วงโควิดระบาด จัดส่งไป 7 ประเทศ ก็ได้ผลดีเท่าที่ได้ Feedback (เสียงสะท้อน)" ศ.ดร.ศันสนีย์ กล่าว


โจทย์ท้าทาย บพข. ปล่อยศักยภาพวิจัยไทยสู่พาณิชย์
<a href="http://www.youtube.com/watch?v=ybG-Qm0KA-Q" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=ybG-Qm0KA-Q</a>

รศ.ดร.สิรี ชัยเสรี

ด้าน รศ.ดร.สิรี ชัยเสรี ผู้อำนวยการหน่วยบริหารจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) กล่าวว่า ที่ผ่านมาการที่งานวิจัยไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม เพราะในขณะที่ภาครัฐให้ทุนวิจัยแบบพื้นฐาน (Basic Research) แล้วก็ไม่ได้สนับสนุนให้เกิดการต่อยอด ส่วนภาคเอกชนก็รอจะใช้งานวิจัยที่สมบูรณ์แล้ว แต่ตรงกลางระหว่างทั้ง 2 ยังไม่มีใครสนับสนุน ซึ่งงานวิจัยต้องมีการนำมาพัฒนาก่อนจึงจะสามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ บพข.จึงเกิดขึ้นด้วยเหตุนี้ โดยเน้นไปที่การให้ทุนสนับสนุนโครงการวิจัยที่มีภาคเอกชนร่วมลงทุนด้วยอย่างน้อยร้อยละ 20 เพื่อให้มั่นใจว่าเมื่อเอกชนลงทุนนั่นหมายถึงต้องการงานวิจัยไปใช้ประโยชน์จริงๆ และเมื่อสิ้นสุดโครงการก็จะได้นวัตกรรมเพิ่มขึ้น

"ภาคเอกชนปีแรกที่ทำเขาก็ไม่อยากเข้าร่วมเท่าไร แต่ก่อนเขาเห็นรัฐบาลลงทุน 100% พอบอกให้เขาลงทุนด้วยปีแรกๆ เขาก็ลังเล พอเริ่มเห็นผลงาน ปีที่ 2 มีเอกชนมา Matching (จับคู่) ปริมาณเงินสูงขึ้น ก็ประทับใจที่เห็นเอกชนปรับแนวคิดเรื่องการวิจัยมากขึ้น" รศ.ดร.สิรี กล่าว














« Last Edit: March 08, 2021, 01:13:41 PM by MSN »