สภาผ่านร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์งานวิจัยและนวัตกรรม
รัฐสภามีมติเห็นชอบรับหลักการร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ผลประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม เอื้อนักวิจัยเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดจากการสนับสนุนด้วยทุนรัฐได้ มตอเห็นชอบด้วยคะแนนเห็นด้วย 525 ราย ไม่เห็นด้วย 1 ราย และงดออกเสียง 3 ราย พร้อมเสนอความเห็นและคำแนะนำให้กรรมาธิการพิจารณาในขั้นตอนต่อไปวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564 ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้นำเสนอ ร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ผลประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ต่อที่ประชุมร่วมของรัฐสภา ซึ่งรัฐสภามีมติเห็นชอบ รับหลักการ วาระที่ 1 ด้วยคะแนนเสียง เห็นด้วย 525 ราย ไม่เห็นด้วย 1 ราย งดออกเสียง 3 ราย โดยมีความเห็นและคำแนะนำที่เป็นประโยชน์ในการพิจารณาในขั้นกรรมาธิการต่อไป สำหรับเหตุผลของ ร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ผลประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ... เนื่องจากที่ผ่านมารัฐให้ทุนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ซึ่งพื้นฐานสําคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต อต่ผู้รับทุนหรือนักวิจัยไม่สามารถเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมได้ด้วยข้อจํากัดด้านกฎหมายและกฎระเบียบของภาครัฐ จึงไม่มีการนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรมสำหรับเหตุผลของ ร่าง พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ผลประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. ... เนื่องจากที่ผ่านมารัฐให้ทุนสนับสนุนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ซึ่งพื้นฐานสําคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต อต่ผู้รับทุนหรือนักวิจัยไม่สามารถเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมได้ด้วยข้อจํากัดด้านกฎหมายและกฎระเบียบของภาครัฐ จึงไม่มีการนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดขึ้นไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม นวัตกรรมไปใช้ อันจะเป็นประโยชน์ทั้งการต่อยอดการวิจัยและต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม และเป็นแรงจูงใจให้มีการวิจัยและสร้างนวัตกรรมเพิ่มขึ้น สมควรกําหนดให้ผู้รับทุนหรือนักวิจัยสามารถเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่เกิดจากเงินสนับสนุนของภาครัฐได้ มีกลไกการบริหารจัดการและติดตาม การนําผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งกําหนดมาตรการบังคับใช้สิทธิโดยรัฐ ในกรณีจําเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างประโยชน์ของผู้เป็นเจ้าของ ผลงานวิจัยและนวัตกรรมและประโยชน์ส่วนรวม จึงจําเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้" ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ กล่าวทั้งนี้ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ได้ขับเคลื่อนในเรื่องนี้ และเสนอ ครม.ให้บรรจุร่าง พรบ. นี้เป็นเรื่องด่วน เพื่อเสนอต่อที่ประชุมร่วมของรัฐสภา และยังมีผู้มีส่วนสำคัญใน ร่าง พรบ. ฉบับ ได้แก่ ศาสตราจารย์กิติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และคณะ