‘VIVE Programme’ หนุนบริษัทยักษ์ใหญ่ ‘KTIS’ และ ‘FrieslandCampina’ จับมือค้าน้ำตาลที่ผลิตอย่างยั่งยืนภายในประเทศเป็นรายแรกในประเทศไทย
กรุงเทพฯ, ประเทศไทย – 22 กุมภาพันธ์ 2564 – VIVE Sustainable Supply Programme ผู้ให้บริการอำนวยความสะดวกด้านการค้าน้ำตาลอย่างยั่งยืนแบบครบวงจรรายแรกของโลก ก้าวสู่อีกขั้นของความสำเร็จ ด้วยการปิดการเจรจาตกลงซื้อขายน้ำตาลภายในประเทศครั้งแรกกับสองลูกค้ารายใหญ่ในประเทศไทย อย่างเกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ (KTIS) และ ฟรีสแลนด์คัมพิน่า (FrieslandCampina) โดยก้าวแห่งความสำเร็จในครั้งนี้ นับเป็นอีกหนึ่งก้าวสำคัญของ VIVE ในการสานต่อความยั่งยืนให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้นในประเทศไทย ตั้งแต่ด้านการเกษตร ไปจนถึงด้านอาหารและเครื่องดื่ม เพื่อให้ธุรกิจต่าง ๆ ไทยสามารถร่วมงานกันได้สะดวกขึ้น พร้อมส่งเสริมเกษตรกรในท้องถิ่น รวมถึงเศรษฐกิจของประเทศไทย
เนื่องจากหลายพื้นที่ในประเทศไทยถูกปกคลุมไปด้วยหมอกควันเมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา VIVE จึงเล็งเห็นถึงหนึ่งในต้นเหตุของมลพิษทางอากาศ อย่าง การเผาไร่อ้อยเพื่อเก็บเกี่ยวมาทำน้ำตาล ซึ่งเป็นผลมาจากการที่เกษตรกรไทยจำนวนมากยังขาดแคลนเครื่องจักรสำหรับการเก็บเกี่ยวอ้อย ทำให้ต้องอาศัยวิธีการเก็บเกี่ยวแบบดั้งเดิมด้วยการเผาไร่อ้อย เพื่อลดภาระ และการจัดการของแรงงานที่ตัดอ้อย รวมถึงทำให้สามารถเก็บอ้อยด้วยมือได้สะดวกรวดเร็วขึ้น โปรแกรม VIVE ออกแบบมาเพื่อสนับสนุนชุมชนและสิ่งแวดล้อม รวมถึงช่วยเหลือผู้เข้าร่วมโปรแกรมอย่าง KTIS ให้พัฒนาต่อยอด และดำเนินการเก็บเกี่ยวอ้อยแบบลดการสร้างมลภาวะระหว่างการเก็บเกี่ยวได้ นอกจากนี้ VIVE ยังช่วยผู้เข้าร่วมโปรแกรมในการประเมินความเสี่ยงของการเกิดมลพิษในชั้นบรรยากาศ อันเนื่องมาจากการเก็บเกี่ยวพืชผล เพื่อให้ฟาร์มที่เข้าร่วมโครงการสามารถบริหารจัดการ ควบคุม และลดผลกระทบให้ได้มากที่สุดKTIS เป็นโรงงานน้ำตาลที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นผู้จัดหาน้ำตาลจากแหล่งเพาะปลูกที่ยั่งยืนถึง 11,500 เมตริกตันให้โดยตรงกับ FrieslandCampina และยังได้เข้าร่วมโปรแกรมผ่าน Buyers Supporting VIVE ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มสำหรับผู้ซื้อปลายทางที่มุ่งมั่นในการจัดหาวัตถุดิบอย่างมีความรับผิดชอบ และการพัฒนาที่ยั่งยืนFrieslandCampina หนึ่งในบริษัทผลิตภัณฑ์นมที่ใหญ่ที่สุดในโลก และเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังเป็นอีกหนึ่งสมาชิกของ Buyers Supporting VIVE เพื่อการสานต่อนโยบาย รวมถึงกระบวนการต่าง ๆ ของแบรนด์ที่ก้าวหน้าและยั่งยืน พร้อมมุ่งมั่นจัดหาวัตถุดิบทางการเกษตรอย่างมีความรับผิดชอบและโปร่งใสคุณณัฏฐปัญญ์ ศิริวิริยะกุล, รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร, กลุ่มบริษัทเกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ กล่าวว่า “เราเชื่อมั่นในการพัฒนาที่ยั่งยืนในห่วงโซ่ธุรกิจอ้อย รวมไปถึงกิจกรรมเชิงเกษตรอื่น ๆ ในประเทศไทย และเรายังภูมิใจที่ได้เป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาต่อยอดทางธุรกิจกับ บริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ภายใต้โปรแกรม VIVE ทั้งนี้เราหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืนในอุตสาหกรรมนี้อย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่รวมถึงในระดับโลกด้วย”คุณอีแวน โซมู, หัวหน้าฝ่ายจัดซื้อสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลก และการจัดหาวัตถุดิบอย่างมีความรับผิดชอบ, ฟรีสแลนด์คัมพิน่า กล่าวว่า “การร่วมมือครั้งนี้นับเป็นอีกความสำเร็จครั้งสำคัญระหว่างเส้นทางการจัดหาวัตถุดิบอย่างมีความรับผิดชอบของเรา เราต้องการส่งเสริมอุตสาหกรรมผ่านการดำเนินการสนับสนุนเกษตรกร และอุตสาหกรรมในท้องถิ่นอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอกย้ำเกษตรกรถึงความจำเป็นในการผลิตวัตถุดิบที่ยั่งยืนมากขึ้น เพราะในอนาคต โลกของเราจะต้องการการผลิตที่มากขึ้นแต่ใช้เงินน้อยลง และการเดินทางของฟรีสแลนด์แคมปิน่าจะไม่ได้หยุดเพียงเท่านี้ ขณะที่ประชากรบนโลกเพิ่มขึ้นอยู่ทุกวัน เราก็ยังคงต้องการที่จะส่งมอบสารอาหารในราคาที่เข้าถึงได้ง่าย ซึ่งผลิตมาอย่างสมดุลกับธรรมชาติต่อไปเรื่อย ๆ เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรมีชีวิตที่ดีขึ้น”นอกจากนี้ Czarnikow Group หรือ กลุ่มบริษัท ซีซาร์นิโคว ผู้บริการซัพพลายเชนระดับโลก และเจ้าของร่วมของ VIVE Programme และ Intellync ยังได้เป็นตัวกลางในการนำ KTIS และ ฟรีสแลนด์คัมพิน่า มารวมกัน เพื่อเปิดทางให้การค้าน้ำตาลอิสระเกิดขึ้นได้ สำนักงานในกรุงเทพของซีซาร์นิโคว ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 4 ปีก่อน โดยมีจุดประสงค์ที่จะขยายการเติบโตขององค์กรในพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นศูนย์กลางสำหรับการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนทั่วทั้งภูมิภาค ซึ่งโรงงานน้ำตาลในประเทศไทยที่เข้าร่วม VIVE Programme ถือเป็นผู้ผลิตน้ำตาลอย่างยั่งยืนกว่า 1 ล้านเมตริกตันให้กับภูมิภาคนี้คุณโทมัส บัลลาร์ด, ผู้จัดการทั่วไป, ซีซาร์นิโคว (ประเทศไทย) กล่าวว่า “อีกความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่สำหรับการพัฒนาโปรแกรม VIVE ในประเทศไทย นับตั้งแต่ที่เราเปิดสำนักงานที่กรุงเทพฯเมื่อปี 2018 คือการที่เราสามารถทำงานอย่างใกล้ชิดกับอุตสาหกรรมนี้ เพื่อขับเคลื่อนความยั่งยืนและสร้างความได้เปรียบทางการค้าให้กับผู้เข้าร่วมโปรแกรมเป็นอย่างดี เรามองว่าการซื้อขายครั้งแรกของ KTIS และ ฟรีสแลนด์คัมพิน่า ในครั้งนี้ถือเป็นการเปลี่ยนกระแสทางธุรกิจ มากไปกว่านั้น เรายังมองว่าความยั่งยืนของอุตสาหกรรมน้ำตาลจะเป็นกระแสที่กำลังจะเติบโตขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้อีกด้วย”คุณเบนจามิน เฟรนช์, เทรดเดอร์ระดับอาวุโส, ซีซาร์นิโคว และหนึ่งในผู้พัฒนาโปรแกรม VIVE ในทวีปเอเชีย กล่าวว่า “เราได้เห็นการเติบโตอย่างมากของวัตถุดิบน้ำตาลจาก VIVE ทั้งในประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย ดังนั้นเราจึงรู้สึกยินดีที่ได้สร้างความแตกต่างในประเทศไทย มีบริษัทอาหาร และเครื่องดื่มหลายสัญชาติที่มีสถานะแข็งแกร่งในสามตลาดนี้ เช่นเดียวกับ บริษัท ฟรีสแลนด์คัมพิน่า (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) พวกเขาสามารถรวมแนวทางสู่ความยั่งยืน รวมถึงจัดหาน้ำตาลที่ผ่านการตรวจสอบด้านความยั่งยืนสำหรับธุรกิจทั้งหมดของพวกเขาในภูมิภาคผ่าน VIVE ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”###
เกี่ยวกับ โปรแกรม VIVEVIVE คือโปรแกรมเพื่อความยั่งยืน ที่จัดทำขึ้นโดยความร่วมมือระหว่างซีซาร์นิโคว และ Intellync หรือ อินเทลลิงค์ โดยมีจุดมุ่งหมายในการส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมซัพพลายเชนปรับปรุงแนวทางปฏิบัติที่ยั่งยืนอย่างต่อเนื่องพร้อมรับประโยชน์ทางการค้าด้วยในขณะเดียวกัน
VIVE ช่วยให้องค์กรสามารถทำงานร่วมกับผู้เข้าร่วมซัพพลายเชนหลายกลุ่ม เพื่อปรับปรุงการปฏิบัติที่ยั่งยืนและเก็บเกี่ยวผลตอบแทนด้านสิ่งแวดล้อมสังคมและการค้า การพัฒนาของ VIVE เป็นผลมาจากประสบการณ์อันกว้างขวางของโครงการที่ดำเนินงานในอุตสาหกรรมระดับโลก ที่พึ่งพาผลผลิตทางการเกษตร และการรวมเอาหลักการด้านความยั่งยืน รวมถึงสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล ซึ่งกำหนดโดยองค์การสหประชาชาติ
การขับเคลื่อนการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เป็นพื้นฐานของ VIVE ในการสร้างแรงกระตุ้นเบื้องต้น การเก็บข้อมูลของ VIVE ครอบคลุมไปถึงการประเมินประสิทธิภาพปัจจุบัน พร้อมการคาดการณ์ประสิทธิภาพในช่วงสองปีข้างหน้า VIVE ออกแบบมาเพื่อให้ผู้เข้าร่วมสามารถเข้าร่วมในระดับรายการที่แตกต่างกัน สะท้อนให้เห็นถึงขั้นตอนของความก้าวหน้าของเส้นทางแห่งความยั่งยืนของผู้เข้าร่วม ขณะขยายวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปตามยุคสมัยที่เปลี่ยนไป
นอกจากนี้ซีซาร์นิโควยังเป็นส่วนหนึ่งของ VIVE ซึ่งมีการใช้การประเมิน Chain of Custody Module โดยบริษัทได้รับคะแนนสูงถึง 92% ในปีที่ผ่านมา