happy on July 02, 2020, 03:19:54 PM
วีซ่า เปิดตัววิดีโอ “แตะเพื่อจ่าย” ตัวช่วยใหม่สำหรับคนไทยเพื่อปรับตัวเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่




กรุงเทพฯ, วันที่ 2 กรกฎาคม 2563–วีซ่า ผู้นำการให้บริการการชำระเงินดิจิตอลระดับโลก เปิดตัววิดีโอเกี่ยวกับเทคโนโลยีการ “แตะเพื่อจ่าย” เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการชำระเงินผ่านบัตรคอนแทคเลสให้แก่ผู้บริโภคชาวไทย  โดยเป็นความพยายามของวีซ่าในการสนับสนุนผู้บริโภคและธุรกิจในประเทศไทย เพื่อให้ปรับตัวเข้าสู่ยุคนิวนอร์มอล

วิดีโอความยาวสองนาทีจากวีซ่า มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องด้านความปลอดภัยทั่วไปเกี่ยวกับการชำระเงินผ่านบัตรชำระเงินที่มีเทคโนโลยีคอนแทคเลส  นอกจากนี้ วีซ่ายังได้ร่วมมือกับเหล่าผู้นำทางโซเชียลมีเดียทั้งในด้านการเงิน ธุรกิจ และไลฟ์สไตล์ เพื่อช่วยเผยแพร่วีดีโอ และเนื้อหาไปในวงกว้างสู่ผู้บริโภคอีกด้วย

นายสุริพงษ์ ตันติยานนท์ ผู้จัดการวีซ่า ประจำประเทศไทย กล่าวว่า “วีซ่ามุ่งมั่นในการสนับสนุนและช่วยให้ทั้งผู้บริโภคและธุรกิจไทยให้ปรับตัวเข้าสู่ชีวิตวิถีใหม่โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่ทุกคนกำลังมองหาวิธีการชำระเงินที่รวดเร็ว ปลอดภัย และถูกสุขลักษณะมากขึ้น  นอกจากนั้นเรายังเชื่อว่าความรู้เป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้เกิดการสร้างการรับรู้และเริ่มทดลองใช้เทคโนโลยีการชำระเงินรูปแบบใหม่ๆ อย่างเช่นบัตรวีซ่าคอนแทคเลส และนี่คือเหตุผลหลักที่วีซ่าลงทุนเพื่อผลิตวีดีโอตัวนี้สำหรับผู้ชมชาวไทยโดยเฉพาะ”

วีดีโอที่มีความยาวสองนาทีตัวนี้ กล่าวถึงประเด็นความปลอดภัยในการชำระเงินผ่านรูปแบบคอนแทคเลส อาทิ:


<a href="http://www.youtube.com/watch?v=mVf_RzQOynk" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=mVf_RzQOynk</a>

         #1: แตะเพื่อจ่าย นั้นปลอดภัยจริงหรือ?
         ถูกต้อง เช่นเดียวกับการรักษาความปลอดภัยที่รัดกุมของบัตรชิพการ์ด และเมื่อต้องการชำระเงิน เพียงนำบัตรคอนแทคเลสมายื่นให้อยู่ในระยะ 5 เซนติเมตร ของสัญลักษณ์คอนแทคเลส https://usa.visa.com/content/dam/VCOM/global/pay-with-visa/images/contactless-symbol-33x20.png ที่อยู่บนเครื่องชำระเงินเพื่อดำเนินการทำธุรกรรมให้เสร็จสิ้น (วิธีนี้จะช่วยให้ไม่เกิดการทำธุรกรรมแบบไม่ตั้งใจ)

         #2: ทุกคนที่มีเครื่องรับชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (หรือที่รู้จักกันว่าเครื่อง EDC) สามารถสแกนบัตรคอนแทคเลสในกระเป๋าสตางค์ของคุณได้หรือไม่?
         ไม่ต้องกลัวว่าจะมีใครเอาเครื่องรูดบัตรมาใช้โจรกรรม เพราะเครื่องชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์จะออกให้สำหรับผู้ประกอบการที่ได้รับการจดทะเบียนกับธนาคารเท่านั้น นอกจากนี้ การมีบัตรหลายๆ ใบอยู่ติดกันในกระเป๋าจะไม่สามารถทำให้เครื่องสแกนอ่านข้อมูลที่บัตรได้

         #3: การแตะบัตรสองครั้งหมายถึงการเรียกเก็บเงินซ้ำหรือไม่?
         ไม่ใช่ เพราะเครื่องรับชำระเงินได้รับการออกแบบมาให้เรียกเก็บเงินจากบัตรได้ทีละรายการเท่านั้น

         #4: จะทำอย่างไรหากบัตรวีซ่าคอนแทคเลสหรือสมาร์ทโฟนที่มีการผูกบัญชีไว้กับบัตรนั้นสูญหายหรือถูกขโมยไป?
         กรณีที่บัตรวีซ่าของคุณสูญหายหรือถูกขโมย หรือคุณคิดว่ามีการทำธุรกรรมใดๆ จากบัตรที่คุณไม่ได้อนุญาต​ ให้คุณติดต่อกับธนาคารผู้ออกบัตรโดยทันที นอกจากนี้ สมาร์ทโฟนในปัจจุบันมาพร้อมกับระบบรักษาความปลอดภัยที่เสริมขึ้นเป็นพิเศษ อาทิ การสแกนใบหน้า หรือ การสแกนลายนิ้วมือ เป็นต้น  ซึ่งระบบรักษาความปลอดภัยเหล่านี้จะช่วยป้องกันไม่ให้บุคคลอื่นเข้าถึงอุปกรณ์ของคุณได้

การชำระเงินในรูปแบบคอนแทคเลสกำลังได้รับความสนใจจากผู้บริโภคชาวไทย อ้างอิงจากการศึกษาเรื่องทัศนคติการชำระเงินของผู้บริโภคประจำปีของวีซ่า (Visa Consumer Payment Attitudes Study) พบว่าสี่ในห้าของคนไทย (79 เปอร์เซ็นต์) ใช้จ่ายด้วยบัตรคอนแทคเลสที่ชำระเงินด้วยบัตรคอนแทคเลสอยู่แล้วมีการใช้ถี่ขึ้นเมื่อเทียบกับสองปีก่อน ในขณะเดียวกัน สามในสี่ของผู้ที่ยังไม่เคยใช้การชำระเงินรูปแบบนี้แสดงให้เห็นถึงความสนใจอย่างชัดเจนที่จะทดลองใช้การชำระเงินในรูปแบบคอนแทคเลสในอนาคต ด้วยเหตุผลข้อดีด้านนวัตกรรม ความรวดเร็ว และความสะดวกในการใช้งาน

“เทคโนโลยีคอนแทคเลสช่วยให้ประสบการณ์การใช้จ่ายมีความรวดเร็ว สะดวก และปลอดภัย ซึ่งเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีที่จะกำหนดเทรนด์การชำระเงินในอนาคต  ขณะที่เราคิดค้นพัฒนาผลิตภัณฑ์และโซลูชั่นด้านการชำระเงินในรูปแบบดิจิตอลเพื่อตอบสนองความต้องการแก่ลูกค้า และผู้ประกอบการมาอย่างต่อเนื่อง  เรายังเชื่อว่าการนำเสนอข้อมูลที่ถูกต้องมีความสำคัญไม่แพ้การคิดค้นเทคโนโลยี และยังเป็นสิ่งที่ต้องดำเนินควบคู่กันไป ทั้งนี้เพื่อให้การปรับตัวสู่วิธีการชำระเงินรูปแบบใหม่มีความราบรื่น และยั่งยืน” นายสุรพงษ์ กล่าวสรุป


สามารถคลิ๊กรับชมวิดีโอเผยแพร่ความรู้เรื่องการชำระเงินในรูปแบบคอนแทคเลสได้แล้ววันนี้ผ่านช่องทางยูทูปของวีซ่า
« Last Edit: July 02, 2020, 03:26:09 PM by happy »