wmt on February 27, 2020, 03:45:07 PM
24 หน่วยงานภายใต้คณะอนุกรรมการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ขานรับแผนปฏิบัติการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2563 -2565 พร้อมหนุนเสริมชุมชนในทุกมิติ









กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาร่วมกับองค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยว อย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. หน่วยงานหลักในการประสาน ส่งเสริม สนับสนุน การ พัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทย นำโดย นายโชติ ตราชู ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและ กีฬา และนายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการ อพท. ได้จัดกิจกรรม การส่งมอบแผนปฏิบัติการการ ท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2563-2565 ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพภาคเครือข่ายการ ท่องเที่ยวโดยชุมชน เพื่อส่งมอบแผนปฏิบัติการฯ ให้กับผู้บริหารและผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ ในคณะอนุกรรมการการท่องเที่ยวโดยชุมชนนำไปบูรณาการการทำงานร่วมกัน ตามวิสัยทัศน์ที่ว่า “การ ท่องเที่ยวโดยชุมชนของไทยพัฒนาสู่สากลอย่างมีเอกภาพ ยกระดับ มาตรฐานบนฐานการรักษา และ จัดการทรัพยากรชุมชนอย่างสร้างสรรค์สู่ชุมชนแห่งความสุขและยั่งยืน”

นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการ อพท.
ได้กล่าวถึงการจัดงานครั้งนี้วา “แผนปฏิบัติการการ ท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืนฉบับนี้ เป็นผลมาจากการดำเนินการทบทวนแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดย ชุมชนอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2559 – 2563 (CBT Thailand) ซึ่งแผนฯ ดังกล่าวเกิดมาจากผลสำเร็จอย่างเป็น รูปธรรมในการพัฒนาต้นแบบการท่องเที่ยวโดยชุมชน จำนวน 14 ชุมชนในพื้นที่พิเศษ โดย อพท. ได้ ดำเนินการพัฒนาศักยภาพชุมชนต้นแบบร่วมกับคณะกรรมการรับรองแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่ง ประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และสถาบันการศึกษาที่เกี่ยวข้อง ทำให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนที่ มีการบริหารจัดการโดยคนในชุมชน และเกิดการสร้างรายได้และกระจายรายได้สู่ชุมชนอย่างแท้จริง” รัฐบาล เห็นความสำคัญและมอบนโยบายในการขยายผลการพัฒนาและการขับเคลื่อนการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยมุ่ง เป้าหมายสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

หลักการการทบทวนแผนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน พ.ศ. 2563 – 2565 แผน นี้ จัดทำขึ้นภายใต้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เกณฑ์การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโลก (GSTC) แผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทุกภูมิภาคของประเทศไทย โดยการสัมภาษณ์และจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น รวมถึงเวทีผู้ทรงคุณวุฒิด้านการท่องเที่ยว จากผลการประชุม คณะ ที่ประชุมได้ ปรับเปลี่ยนชื่อแผนเป็นแผนปฏิบัติการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน เป็นแผนระดับ 3 และเพิ่มเติมความ เชื่อมโยงและสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติและแผนทุกระดับ เพื่อผลสัมฤทธิ์ตอบเป้าหมาย ยุทธศาสตร์ชาติ รวมถึงบูรณาการการทำงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมและเป็นเอกภาพ ในทิศทางเดียวกันของ24 หน่วยงานภายใต้คณะอนุกรรมการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาค การศึกษาและองค์กรชุมชน จากต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยมอบหมายให้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาเป็น ผู้ดำเนินการทบทวนแผนฯ

แผนปฏิบัติการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่ งยืน พ.ศ. 2563 – 2565  มีแนวคิดหลักในการ พัฒนาตามองค์ประกอบ 4 ประการ ได้แก่

1.  แหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทยมีมาตรฐาน และมีคุณภาพในการรองรับนักท่องเที่ยว ได้ รวมทั้งเป็นต้นแบบในการเรียนรู้ ด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนทั้งในและต่างประเทศ

2.  ยกระดับการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยการเพิ่มคุณค่า มูลค่า

3.  เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วม และการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วน ในทุกระดับ

4.  ส่งเสริมให้เกิดการกระจายรายได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม บนฐานเศรษฐกิจพอเพียงนำไปสู่ ชุมชนแห่งความสุขอย่างยั่งยืน

นายโชติ ตราชู ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะประธานการส่งมอบแผนปฏิบัติการ การท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน พ.ศ.2563-2565 กล่าวว่า “แผนปฏิบัติการการท่องเที่ยวโดยชุมชน อย่างยั่งยืน ปี พ.ศ.2563-2565 เป็นเป้าหมายที่หน่วยงานในคณะอนุกรรมการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ร่วมกันกำหนด และวางกรอบการทำงานเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ของประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี” การพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการ ท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยบูรณาการภาคีทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อน เชื่อมโยงการทำงาน ร่วมกันทั้งห่วงโซ่ คุณค่าการท่องเที่ยว โดยมุ่งเน้นให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการและได้รับผลประโยชน์จากการ ท่องเที่ยวโดยตรง ตอบโจทย์นโยบายรัฐบาล พัฒนาชุมชนฐานรากของประเทศให้มีศักยภาพในการจัดการและ ดูแลทรัพยากรท้องถิ่นของชุมชนบนฐานการพึ่งพาตนเอง ความพอเพียงและยั่ งยืน นำไปสู่เป้าหมายการ อนุรักษ์อัตลักษณ์วิถีวัฒนธรรมและทรัพยากรธรรมชาติ สร้างโอกาสการมีงานทำ สร้างรายได้และกระจาย รายได้สู่ชุมชนอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม พัฒนาคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจฐานราก ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม และนำไปสู่การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในที่สุด

wmt on February 27, 2020, 03:47:39 PM
คำถามสัมภาษณ์ท่านปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

1.เป้าหมายสำคัญของแผนปฏิบัติการการท่องเที่ยวโดยชุมชน

สืบเนื่องจากการที่ในการจัดทำแผนปฏิบัติการการท่องเที่ยวโดยชุมชนนี้ คณะผู้ศึกษาได้จัดให้มีเวทีการรับฟังความคิดเห็นภาคส่วนต่างๆ ในพื้นที่ทุกภาคของประเทศไทย รวมถึงเวทีผู้ทรงคุณวุฒิด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน และได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการการท่องเที่ยวโดยชุมชนแล้ว ดังนั้นแผนนี้จึงเป็นแผนที่ให้ความสำคัญกับความต้องการในการพัฒนาที่แท้จริงของชุมชน
โดยเป้าหมายสำคัญ ของแผน คือ  “การที่จะทำให้การท่องเที่ยวโดยชุมชนของไทยพัฒนาสู่สากลอย่างมีเอกภาพ ยกระดับ มาตรฐานบนฐานการรักษา และจัดการทรัพยากรชุมชนอย่างสร้างสรรค์สู่ชุมชนแห่งความสุขและยั่งยืน”

2.แนวทางในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการการท่องเที่ยวโดยชุมชนต่อจากนี้

การแปลงแผนสู่การปฏิบัติเป็นกลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนของประเทศไทยให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ โดยให้ความสำคัญกับการทำงานเชิงบูรณาของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคีเครือข่ายชุมชน และนักวิชาการ โดยกำหนดให้หน่วยงานกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินงาน โดยมีหน่วยงาน ภายใต้กระทรวง คือ องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (อพท.) สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กรมการท่องเที่ยว และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยหลักและให้มีหน่วยงานบูรณาการร่วมรับผิดชอบ โดยมีการกำหนดบทบาทหน้าที่ให้ชัดเจน

1. การสร้างความเข้าใจในแผนปฏิบัติการการท่องเที่ยวโดยชุมชน พ.ศ. 2563-2565 ในระดับของภาคีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คณะกรรมการการท่องเที่ยวโดยชุมชนระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ รวมไปถึงการสร้างความเข้าใจให้กับหน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องให้เข้าใจและรับรู้เกี่ยวกับแผนการดำเนินงาน เพื่อทำให้เกิดการบูรณาการการทำงานร่วมกันได้

2. การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพให้กับหน่วยงานในระดับพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชน ได้แก่ สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬา การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หน่วยงานปกครองท้องถิ่น สถาบันการศึกษา องค์กร สมาคมและชมรมที่เกี่ยวข้อง โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน การนำแผนและโครงการที่อยู่ในแผนปฏิบัติการสู่การเชื่อมโยงกับแผนและงบประมาณของหน่วยงาน

3. การกำหนดบทบาทในการพัฒนาและขับเคลื่อนโครงการตามแผนงาน คือ การส่งเสริม สนับสนุนอำนวยความสะดวก และหนุนเสริมการดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพ ตลอดจนการเผยแพร่ผลการดำเนินงานให้สาธารณชนทราบตามระยะ

4. การติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามแผน โดยการแต่งตั้งคณะกรรมการติดตามผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ซึ่งคณะกรรมการควรมาจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และมีบทบาทหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย หลักการ การชี้วัดการดำเนินงาน การลงพื้นที่เพื่อติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงาน ตลอดจนประเมินผลกระทบ ความคุ้มค่าที่เกิดจากการดำเนินงาน โดยกำหนดให้มีการประเมินทุกปี

5. การประเมินผลสำเร็จของแผนปฏิบัติการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน พ.ศ.2563-2565

3.โครงการสำคัญที่จะดำเนินการที่จะดำเนินการภายใต้แผนนี้

โครงการสำคัญ อาทิ

1. โครงการการส่งเสริมและยกระดับเครือข่ายการท่องเที่่ยวโดยชุมชน ระดับชุมชนในแนวราบ ให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น ตลอดจนการสนับสนุนหให้เกิดเครือข่ายระดับจังหวัด ระดับภาค และระดับประเทศ

2. การส่งเสริมและสร้างความเข้าใจ ตลอดจนการผลักดันให้ชุมชนเข้าสู่ มาตรฐาน การท่องเที่ยวโดยชุมชนประเทศไทย

3. รางวัล Thailand CBT Star Award

4. การยกระดับสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยวโดยชุมชนของ ประเทศไทยให้ตรงกับความต้องการของกลุ่มนักท่องเที่ยวชุมชน
 
5.การยกระดับอัตลักษณ์ท้องถิ่นให้เกิดคุณค่าและมูลค่ามากขึ้น

6. การจัดงานและการส่งเสริมการเข้าร่วมงานด้านการตลาดและ การขาย การท่องเที่ยวโดยชุมชน ในรูปแบบของ B to B และ B to C ทั้งในและต่างประเทศ

7. การติดตามผลกระทบด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชน ด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม

8. การศึกษาขีดความ สามารถในการรองรับ (Carrying Capacity) ของการท่องเที่ยวโดยชุมชน

9. การประเมินความสุขของชุมชนและนักท่องเที่ยวตามดัชนีชี้วัดความสุข เป็นต้น