news on January 27, 2020, 02:57:02 PM
สวทช. รับมอบใบรับรองฯ ISO 13485 อุปกรณ์นำเจาะสำหรับการฝังรากฟันเทียม
ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ที่ปรึกษาอาวุโสผอ.สวทช. พร้อมทีมวิจัย รับมอบใบรับรองฯ ISO 134852016 จาก TÜV SÜD (Thailand)
ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ที่ปรึกษาอาวุโสผอ.สวทช. รับมอบใบรับรองฯ ISO 134852016 จาก บจก.TÜV SÜD (Thailand)
ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ที่ปรึกษาอาวุโส ผอ.สวทช. และ ดร.กฤษณ์ไกรพ์ สิทธิเสรีประทีป หัวหน้าทีมวิจัยฯ(27 ม.ค. 63) ณ อาคารสำนักงานกลาง อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี - ศ.ดร.ไพรัช ธัชยพงษ์ ที่ปรึกษาอาวุโสผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และประธานกรรมการคณะกรรมการเทคนิคด้านเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) รับมอบใบรับรองการบริหารจัดการคุณภาพอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485:2016 จาก คุณฉัตวิทัย ตันตราภรณ์ General Manager จากบริษัท TÜV SÜD (Thailand) จำกัด เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้ใช้งานและผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมในการที่จะรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อนำไปใช้ผลิตในเชิงพาณิชย์
ดร.กฤษณ์ไกรพ์ สิทธิเสรีประทีป หัวหน้าทีมวิจัยเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ฝังใน (IMT) ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (A-MED) สวทช. เปิดเผยว่า ทีมวิจัยเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ฝังใน (IMT) มีความพยายามในการยกระดับงานวิจัยและพัฒนาด้านเครื่องมือแพทย์สู่การใช้งานจริง เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และเพื่อสร้างอุตสาหกรรมการแพทย์ทางด้านทันตกรรมที่ครบวงจรในประเทศไทย โดยใช้เทคโนโลยีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามมิติด้านทันตกรรม และข้อมูลจากเครื่องสแกนสามมิติในช่องปากมาช่วยในการวางแผนการฝังรากฟันเทียม รวมถึงการออกแบบและผลิตเครื่องมือช่วยในการผ่าตัดเพื่อฝังรากฟันเทียม (Digital Drill Guide) จนได้รับการรับรองระบบการบริหารจัดการคุณภาพอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ ISO 13485:2016 ผลงานที่เกิดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลทางทันตกรรม เพื่อใช้ในการออกแบบและผลิตชิ้นงานทันตกรรมประดิษฐ์ ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาทางทันตกรรม
ดร.กฤษณ์ไกรพ์ สิทธิเสรีประทีป หัวหน้าทีมวิจัยฯ กล่าวต่อว่า “อุปกรณ์ช่วยในการนำเจาะเพื่อฝังรากฟันเทียมหรือ Digital Drill Guide ที่ A-MED สวทช. ทำการวิจัยและพัฒนาขึ้น ด้วยเทคโนโลยี CAD/CAM และเครื่องพิมพ์สามมิติ ทำให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีความถูกต้องแม่นยำ รวดเร็ว และปลอดภัย โดยผลิตภัณฑ์ผ่านการทดสอบความเข้ากันได้ทางชีวภาพ Cytotoxicity Testing (ISO 10993-5) และมีค่าความคลาดเคลื่อนเชิงเส้นไม่เกิน 300 ไมครอน และค่าความคลาดเคลื่อนเชิงมุมไม่เกิน 3 องศา”
อุปกรณ์ช่วยในการนำเจาะเพื่อฝังรากฟันเทียมหรือ Digital Drill Guide
ทั้งนี้ รายชื่อทีมวิจัยเทคโนโลยีเครื่องมือแพทย์ฝังใน (IMT) ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์ (AMED) สวทช. ประกอบด้วย ดร.กฤษณ์ไกรพ์ สิทธิเสรีประทีป, ดร.สิรสา ยอดมงคล, ดร.นฤภร มนต์มธุรพจน์, นายจตุรงค์ จิตต์สะอาด, นายทศพล จันทร์คีรี, นายสุรพล ฉันทวีโรจน์, นายวรวุฒิ สิริวินยานนท์, น.ส.ทักษร จิรธรรมประดับ, น.ส.จิราภรณ์ รัตนพิบูลย์ และ น.ส.กตัญชฬี นามปักษา
« Last Edit: January 27, 2020, 02:59:53 PM by news »
Logged