enjoyjam.net » เทคโนโลยีใหม่ๆ » เทคโนโลยีใหม่ๆ - Smart Phone - PC - IT (Moderators: happy, pooklook) » สวทช. ขยายผลสตาร์ทอัพเฮลท์เทค สู่ โรงพยาบาลกระบี่ มุ่งพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพ « previous next » Print Pages: [1] Go Down news on December 25, 2019, 07:57:47 AM สวทช. ขยายผลนวัตกรรมสตาร์ทอัพเฮลท์เทค สู่ โรงพยาบาลกระบี่สวทช. ขยายผลสตาร์ทอัพเฮลท์เทค สู่ โรงพยาบาลกระบี่ มุ่งพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพและการแพทย์ ตอบโจทย์ BCG นโยบายเศรษฐกิจรัฐบาลแอปพลิเคชัน PharmaSafePharmaSafe present 2019การขยายผลแอปพลิเคชัน PharmaSafe ในโรงพยาบาลกระบี่สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย ศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี (BIC) ภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) สนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมใหม่ในโครงการ Startup Voucher (โครงการสร้างผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีนวัตกรรม) ปี 2561 ในการขยายผลการใช้นวัตกรรมของสตาร์ทอัพเฮลท์เทค เรื่องนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยา (Pharma Safe smart medication care platform) โรงพยาบาลกระบี่ จ.กระบี่ พร้อมเดินหน้าสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการแพทย์และสุขภาพ ส่งเสริมการเป็นโรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital) ตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ต่อไปดร.ฐิตาภา สมิตินนท์ รองผู้อำนวยการ สวทช. และผู้อำนวยการศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี สวทช. กล่าวว่า สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) มีภารกิจมุ่งสนับสนุนนักวิจัยและผู้ประกอบการต่าง ๆ ในการนำผลงานการค้นพบและเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ซึ่ง ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี มีหน่วยงานย่อยภายใต้ศูนย์ฯ เช่น ศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี (BIC) และโปรแกรมสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ITAP) เป็นต้น ที่ทำงานขับเคลื่อนการนำผลงานวิจัยพัฒนาไปใช้ และสนับสนุนภาคเอกชนให้เกิดการยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมสินค้า ผลิตภัณฑ์ หรือบริการแล้วเป็นจำนวนมากมาย ในการสร้างธุรกิจที่ใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.) เป็นฐาน มีความสำคัญต่อการสร้างความเข้มแข็งให้เศรษฐกิจไทย ดังนั้น การพัฒนาและส่งเสริมผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีให้มีความสามารถทั้งในเชิงเทคโนโลยี การตลาด การบริหารธุรกิจ และการคิดค้นสินค้า หรือบริการใหม่ ๆ เพื่อต่อยอดธุรกิจให้มีความแตกต่างเหนือคู่แข่งและมีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น รวมถึงช่วยสนับสนุนให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงบริการส่งเสริมของภาครัฐได้สะดวกยิ่งขึ้น สามารถเลือกบริการให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการเอง จึงเป็นส่วนสำคัญช่วยสร้างระบบนิเวศน์ในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้ออกสู่เชิงพาณิชย์ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นที่มาของ “โครงการสร้างผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีนวัตกรรม (Startup Voucher)” ภายใต้การดำเนินของศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี (BIC)“โครงการ Startup Voucher สนับสนุนด้านการเงินให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงและสร้างโอกาสการขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงบริการของหน่วยงานต่าง ๆ อาทิ การร่วมวิจัย การรับถ่ายทอดผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์นวัตกรรม การศึกษาตลาด การพาออกตลาดทั้งในและต่างประเทศ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและธุรกิจ การจ้างงานพัฒนาเทคโนโลยี การทำเนื้อหา เป็นต้น อันจะนำมาสู่การขยายตลาดและสร้างรายได้อย่างก้าวกระโดด จากการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อให้ทันกับการแข่งขันในระดับสากล ซึ่ง Startup Voucher เริ่มมาตั้งแต่ปี 2559 จนถึงปัจจุบัน มีผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมใหม่หรือสตาร์ทอัพที่ได้รับ Voucher แล้วกว่า 300 ราย ข้อมูล ณ 30 เมษายน 2561 พบว่า โครงการฯ สามารถสร้างรายได้รวม 354 ล้านบาท ซึ่งบริษัท วายอิง จำกัด ผู้พัฒนาแอปพลิเคชัน PharmaSafe ถือเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมใหม่ ที่เข้าร่วมโครงการฯ ในปี 2561 และได้มีการขยายผลนวัตกรรมเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการใช้ยา (Pharma Safe smart medication care platform) สู่การใช้งานจริงในโรงพยาบาลกระบี่ จ.กระบี่”ดร.ฐิตาภา กล่าวต่อว่า “ในด้านการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการแพทย์และสุขภาพ สวทช. โดย ศูนย์พัฒนาผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยี (BIC) ได้ดำเนินโครงการพัฒนาเทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรในโรงพยาบาล (2P Safety Tech) โดยร่วมกับ สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) หรือ สรพ. ตั้งแต่ปี 2561 มีโรงพยาบาลทั่วประเทศที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการ 18 แห่ง พร้อมด้วยบริษัทเทคโนโลยีการแพทย์ 12 แห่ง และสามารถพัฒนานวัตกรรมต้นแบบได้ถึง 15 ผลงาน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สามารถนำมาใช้ได้จริงในโรงพยาบาล โดยนวัตกรรมนั้น ๆ จะสามารถช่วยแก้ไขปัญหาและป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยและบุคลากรที่ปฏิบัติงานของในโรงพยาบาลได้ โดยในปีถัดไปจะมุ่งเน้นในเทคโนโลยีด้าน ROBOT สำหรับแก้ปัญหาในโรงพยาบาล ด้าน AI สำหรับแก้ปัญหาในสาธารณสุข และด้าน Logistic ในโรงพยาบาล ซึ่งการขับเคลื่อนโครงการดังกล่าวจะเป็นหนึ่งในฟันเฟืองเพื่อสนับสนุนนโยบายของรัฐบาลในการเป็นโรงพยาบาลอัจฉริยะ (Smart Hospital) ตามนโยบายประเทศไทย 4.0 ต่อไป”นพ.สุพจน์ ภูเก้าล้วน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกระบี่ กล่าวว่า “โรงพยาบาลกระบี่ เป็นโรงพยาบาลทั่วไป ระดับ S ขนาด 341 เตียง มีประชากรในพื้นที่ 466,393 ราย โรงพยาบาลมีบุคลากรจำนวน 1,085 คน ให้บริการผู้ป่วยนอกโดยเฉลี่ย 1,282 รายต่อวัน ผู้ป่วยใน 314 รายต่อวัน ผลลัพธ์ของการให้บริการโดยภาพรวม มีระยะเวลาในการรอคอยในการค้นประวัติผู้ป่วย 20 นาที/ราย รอพบแพทย์ 96.25 นาที/ราย รอรับยาหลังแพทย์ตรวจเสร็จ 40.16 นาที/ราย ซึ่งจากการสำรวจมีร้อยละความพึงพอใจในการรับบริการผู้ป่วยนอกร้อยละ 80.02 และผู้ป่วยใน ร้อยละ 86.18 ซึ่งที่ผ่านมา โรงพยาบาลกระบี่วางความสำคัญในด้านการนำวัตกรรมไอทีมาใช้กับงานบริการในลำดับต้น ๆ ของการพัฒนาระบบบริการเรื่อยมา อย่างการนำนวัตกรรมแอปพลิเคชัน PharmaSafe ไปใช้ประโยชน์ในโรงพยาบาล จะช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยใช้ยาได้ถูกต้อง ปลอดภัยและเคร่งครัดมากขึ้น ถูกต้องในที่นี้คือ ถูกโรค ถูกคน ถูกวิธี ถูกขนาด และถูกเวลา เสมือนหนึ่งเป็นผู้ช่วยเตือนผู้ป่วยอีกทางหนึ่ง ผู้ป่วยใช้ยาอย่างถูกต้องตามคำสั่งแพทย์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการรักษาโรคของผู้ป่วย”ในปีงบประมาณ 2560 - 2562 โรงพยาบาลกระบี่ได้ลงทุนทางด้าน IT infrastructure อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนปรับปรุงซอฟต์แวร์ในงานบริการเพื่อรองรับนวัตกรรมไอทีใหม่ ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอีก 1 เดือนข้างหน้า โดยจะเริ่มให้บริการระบบตรวจรักษาแบบ Electronic medical record ระบบคิวอัตโนมัติ ระบบลงทะเบียนด้วยตัวเอง ระบบซักประวัติด้วยตัวเอง (Self-history taking) ระบบซักประวัติ Online เป็นต้น พร้อมกันนี้ จะพัฒนาระบบบริการ และระบบงานต่าง ๆ เพื่อเข้าสู่ Smart hospital ตามนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขโดยการเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้าน People ware เจ้าหน้าที่และผู้บริหารทุกกลุ่มวัยจะต้องได้รับความรู้ความเข้าใจด้านเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างทั่วถึง ด้านซอฟต์แวร์ โรงพยาบาลกระบี่จะไม่หยุดนิ่งต่อการพัฒนาระบบบริการโดยเฉพาะการสร้าง Smart tools ต่าง ๆ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และด้านฮาร์ดแวร์ โรงพยาบาลพร้อมลงทุนด้านอุปกรณ์และเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนางานขององค์กร และการให้บริการผู้ป่วยด้าน นายจักร โกศัลยวัตร CEO บริษัท วายอิง จำกัด ผู้ก่อตั้งแอปพลิเคชัน PharmaSafe กล่าวว่า ระบบ PharmaSafe (ฟาร์มาเซฟ) คือระบบผู้ดูแลการใช้ยาส่วนบุคคลอันดับ 1 ของไทย พัฒนาขึ้นเพื่อลดปัญหาการใช้ยาผิดของผู้ป่วย เพิ่มประสิทธิภาพการรักษาและความคุ้มค่าทางด้านงบประมาณและด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญอันดับต้น ๆ ของการรักษาพยาบาลทั่วโลก โดย PharmaSafe เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ป่วยใช้ยาได้ครบและถูกต้องตามที่แพทย์สั่ง ด้วยระบบให้ข้อมูลและการเตือนเวลาการใช้ยาอัตโนมัติทางมือถือ อีกทั้งช่วยเตือนยาที่แพ้ ยาซ้ำ ยาที่ตีกัน หรือยาที่อาจเป็นอันตรายกับผู้ป่วย ซึ่งเชื่อมข้อมูลจากโรงพยาบาลที่ใช้ระบบ PharmaSafe และผู้ป่วยยังสามารถบันทึกและตั้งเตือนการใช้ยาเพิ่มได้ด้วยตัวเอง สามารถแชร์ข้อมูลการใช้ยาให้กับคนในครอบครัว ซึ่งเป็นประโยชน์ในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินสำหรับผู้ป่วยแล้ว ได้รับประโยชน์ในเรื่องของการใช้ยาถูกชนิด ถูกวิธี ถูกเวลา สามารถทานยาตรงตามที่แพทย์สั่ง หายไว ไม่ป่วยเรื้อรัง และมั่นใจว่าได้รับยาที่ถูกต้อง มีข้อมูลครบถ้วน รวมถึงมีข้อมูลยาติดตัวตลอดเวลา เมื่อมีเหตุฉุกเฉิน ทั้งยังป้องกันความเสี่ยงก่อนเกิดอันตรายจากยาด้วย ในขณะที่ผู้ให้บริการคือ จะช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้ป่วย (Patient engagement) ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์กับผู้ป่วยในการช่วยดูแลความปลอดภัยในการใช้ยา และเพิ่มคุณภาพการรักษาและให้บริการด้านยา รวมถึงเป็นระบบอัตโนมัติและส่งเสริมแนวทาง Self-care และ Prevention (ป้องกัน) ลดภาระบุคลากรในระยะยาว และเป็นระบบ Paperless (ลดใช้กระดาษ) ลดต้นทุน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนช่วยลดอุบัติเหตุจากการใช้ยาและลดความขัดแย้งกับผู้ป่วย เช่น การฟ้องร้องแพทย์ เป็นต้น ทั้งนี้ ปัจจุบัน PharmaSafe ได้เริ่มให้บริการกับผู้ใช้ยาทั่วไป ซึ่งสามารถดาวน์โหลดและใช้งานได้ฟรี ส่วนการใช้งานระบบแนะนำการใช้ยาอัตโนมัติ จะให้บริการในโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนกว่า 10 โรงพยาบาล เช่น สถาบันมะเร็งแห่งชาติ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โรงพยาบาลกระบี่ โรงพยาบาลสมุทรปราการ โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา เป็นต้น และมีแผนจะขยายไปสู่ร้านขายยา และสถานพยาบาลอื่น ๆ ต่อไป“การได้รับการสนับสนุนจาก สวทช. ผ่านโครงการ Startup Voucher ทำให้ PharmaSafe สามารถจัดโครงการ Roadshow ในโรงพยาบาลกลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการด้านสาธารณสุข อันเป็นการสร้างประโยชน์ให้กับสถานบริการ และเป็นการส่งเสริมการตลาดให้กับบริการ PharmaSafe ได้ในตัวอีกด้วย นอกจากนี้ ยังมองว่า ในประเทศไทย 40% ของคนที่ใช้ยาที่บ้านใช้ยาไม่ถูกต้อง ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญหนึ่งของปัญหาสุขภาพในหลาย ๆ ด้านและเป็นภาระด้านงบประมาณด้านสาธารณสุขที่ใหญ่ที่สุด PharmaSafe มุ่งพัฒนาที่จะเป็นแพลตฟอร์มและเครื่องมือสุขภาพส่วนบุคคลทางมือถือสำหรับผู้ป่วยในระดับประเทศ มุ่งเป้าที่จะให้บริการในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน รวมถึงร้านขายยา ให้ครอบคลุมจนสามารถแก้ปัญหาการดูแลสุขภาพด้วยยา ให้มีการใช้ยาผิดในผู้ป่วยลดลง 50% ภายใน 4 ปี”ด้านผู้ใช้งานแอปพลิเคชัน PharmaSafe นายไมตรี องค์ศาลา ประธานชุมชนกระบี่ท่าเรือ เปิดเผยว่า “ตนเป็นคนชอบใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการสื่อสาร จึงมีความสนใจแอปพลิเคชันนี้ เพราะอยากจะเผยแพร่ให้สมาชิกในชุมชุนรู้ โดยส่วนตัวคิดว่า การใช้งานแอปนี้ไม่ยากจนเกินไป อย่างตนในวัย 70 ยังสามารถใช้งานได้ เพราะเราเลือกใช้งานตามหมวดต่าง ๆ ดูเวลากินยา จำนวนยาที่ต้องกิน สำหรับผู้สูงอายุต้องการเพียงเท่านี้ ซึ่งการนำนวัตกรรมไอทีที่นำมาปรับใช้ในโรงพยาบาล จึงเห็นว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะตัวผู้ป่วยเองจะได้ไม่ลืมกินยา แล้วในมุมคนที่ดูแลจะได้ช่วยเตือน และติดตามการนัดพบแพทย์ด้วย” « Last Edit: December 25, 2019, 08:04:27 AM by news » Logged Print Pages: [1] Go Up « previous next » enjoyjam.net » เทคโนโลยีใหม่ๆ » เทคโนโลยีใหม่ๆ - Smart Phone - PC - IT (Moderators: happy, pooklook) » สวทช. ขยายผลสตาร์ทอัพเฮลท์เทค สู่ โรงพยาบาลกระบี่ มุ่งพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพ