MSN on October 05, 2019, 01:19:35 PM
ประกาศผลการตัดสินรอบแรก “ประกวดผลงานศิลปะสร้างสรรค์จากวรรณกรรมไทย ปี 13” ศิลปินชั้นครูปลื้มผลงานเด็กประถม ชมถ่ายทอดจินตนาการได้ดี






ประกาศผลการตัดสินรอบแรกเป็นที่เรียบร้อยสำหรับ โครงการจินตนาการ สืบสาน วรรณกรรมไทยกับอินทัช ปีที่ 13 โดยบริษัท อินทัช โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ชวนจิตรกรรุ่นใหม่ร่วมปลดปล่อยจินตนาการผ่านการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะที่ได้จากการอ่านวรรณกรรมไทย ในหัวข้อ “บวร (บ้าน วัด โรงเรียน) ความสุข ความผูกพันของสังคมไทย” โดยการประกวดปีนี้ ได้รับความสนใจจากเยาวชนทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษาทั่วประเทศส่งผลงานเข้าร่วมประกวดเป็นจำนวนมาก ทำให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิแห่งวงการศิลปะและวรรณกรรม ร่วมพิจารณาผลงานอย่างละเอียดลึกซึ้ง เพื่อค้นหาผลงานที่มีอัตลักษณ์ แปลกใหม่ ร่วมสมัย และถ่ายทอดจินตนาการที่ได้จากวรรณกรรมเล่มโปรดได้อย่างสมบูรณ์แบบ

ศาสตรเมธี ดร.เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) ประจำปี พ.ศ. 2554 และหนึ่งในคณะกรรมการตัดสิน กล่าวว่า “ปีนี้ผลงานของเด็กประถมสุดยอดมากทั้งในเชิงอิสรภาพและความคิด แต่ก็มีผลงานบางชิ้นสอดแทรกความคิดหรือทักษะของผู้ใหญ่เข้ามาด้วย ทำให้คณะกรรมการต้องพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบมากขึ้น ขณะที่ผลงานของเด็กมัธยมสะท้อนความสับสนของวัยที่กำลังค้นหาตัวตน ยิ่งในยุคดิจิทัลเราต้องค้นหามุมมองใหม่ ๆ และแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ผลงานที่แปลกใหม่ แต่อย่าเลียนแบบเทคนิคหรืออัตลักษณ์ของคนอื่น ดังนั้นเราต้องดูงานให้มาก ค้นคว้าหาความรู้ให้มาก แล้วสะท้อนกลับเข้ามาในตัวเราเพื่อค้นหาอัตลักษณ์ของตัวเองให้เจอ ถึงจะสะท้อนให้เห็นว่าศิลปะอยู่ในใจของเราแล้ว เราจึงสร้างสรรค์ผลงานที่แตกต่างและไม่เหมือนใคร สุดท้ายมันจะเป็นผลงานที่ชนะใจกรรมการและผู้ชม สำคัญที่สุดมันต้องชนะใจตัวเอง”

สอดคล้องกับมุมมองของ อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติสาขาวรรณศิลป์ (กวีนิพนธ์) ประจำปี พ.ศ.2536 ที่กล่าวว่า “ปีนี้มีผลงานหลายชิ้นที่ประทับใจแต่ยังไม่โดดเด่น ส่วนใหญ่เป็นผลงานที่สะท้อนการค้นหาตัวตนและมีรูปแบบที่ใกล้เคียงกัน จริง ๆ แล้วการทำงานศิลปะรูปแบบนี้มันยากนะ มันเป็นงานที่เรียกว่า “ศิลปะส่องทางกัน” หมายถึง การเชื่อมโยงศิลปะทุกแขนงเข้าด้วยกัน ผ่านการซึมซับอารมณ์ความรู้สึกของศิลปินแล้วนำมาถ่ายทอดเป็นผลงานศิลปะที่มีอัตลักษณ์ของตัวเอง ส่วนหนึ่งเพราะดิจิทัลเข้ามามีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ผลงานของเยาวชนค่อนข้างมาก ทำให้หลายคนไม่รู้จักตัวเอง ตกเป็นเหยื่อของสิ่งที่เข้ามามีอิทธิพลต่อจิตใจอย่างรวดเร็ว ถ้าเด็ก ๆ รู้เท่าทันและคิดตามได้ก็จะสามารถนำมาต่อยอดเป็นไอเดียในการสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ขึ้นมา เรียกว่าเป็นยุคสมัยที่ท้าทายภูมิปัญญาของคนที่กล้าสร้างสรรค์ผลงาน ซึ่งคนที่จะก้าวสู่การเป็นศิลปินจะต้องอาศัยความเข้าใจ คิดต่อ และคิดต่างขึ้นมาให้ได้”
 




ทั้งนี้ ผลการตัดสินรอบแรกของโครงการจินตนาการ สืบสาน วรรณกรรมไทยกับอินทัช ปีที่ 13 ภายใต้การพิจารณาของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 7 ท่าน  ได้แก่ ศาสตรเมธี ดร. เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์, อาจารย์เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ , อาจารย์ปัญญา วิจินธนสาร , ดร.สังคม ทองมี , อาจารย์เสฐียรพงษ์ วรรณปก , คุณหญิงวิมล ศิริไพบูลย์ และคุณธวัชชัย สมคง แบ่งผลงานออกเป็นระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษาตอนต้น มัธยมศึกษาตอนปลาย และอุดมศึกษา ดังนี้

ประถมศึกษา
เข้ารอบชิงชนะเลิศ ได้แก่
1.   เด็กหญิงชลธิชา ปิตตาทะสา โรงเรียนบ้านไทยสามัคคี
•   ชื่อผลงาน “หมู่บ้านแห่งความสุข”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “เด็กชายกับใบโพธิ์”
2.   เด็กชายธนกร แสนทวีสุข โรงเรียนบ้านไทยสามัคคี
•   ชื่อผลงาน “มหกรรมในท้องทุ่ง”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “มหกรรมในท้องทุ่ง”
3.   เด็กหญิงรยาพร ทองฉวี บ้านสวนศิลป์ลูกเจี๊ยบ
•   ชื่อผลงาน “ความสุขใต้ร่ม”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “เมื่อยายอายุเท่าหนู”
4.   เด็กหญิงสลิล ตั้งฟุ้งเกียรติ โรงเรียนเทศบาลวัดขจรรังสรรค์
•   ชื่อผลงาน “บวร”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “ม่าเหมี่ยวและเพื่อน”

รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง ได้แก่
1.   เด็กหญิงกนกรัตน์ เรืองรัตน์ โรงเรียนบ้านไทยสามัคคี
•   ชื่อผลงาน “ปิดทองลูกนิมิต”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “สนุกกับงานวัด”
2.   เด็กหญิงฑีภัทรวดี สุขฉันทะ ชมรมสอนศิลปะหอศิลป์ปาร์ตี้อาร์ทแกลเลอรี่
•   ชื่อผลงาน “ไก่เลี้ยงของคุณยาย”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก”
3.   เด็กหญิงณิชาภา ทรงผาสุก โรงเรียนบ้านศิลปะ
•   ชื่อผลงาน “บูชาพระยาแถน”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “ความเชื่อเรื่องพระยาแถนของกลุ่มชาติพันธุ์ในสังคมกลุ่มวัฒนธรรมพื้นบ้านภาคอีสาน”
4.   เด็กหญิงภัทรภร นิลวรรณาภา ศิลปะลานคูน
•   ชื่อผลงาน “เข้าโรงเรียน”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “ลูกอีสาน”
5.   เด็กหญิงศรัณย์พร รอดจันทร์ โรงเรียนนาคนาวาอุปถัมภ์
•   ชื่อผลงาน “ปิ่นโตแห่งความสุข”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “ความสุขของกะทิ”

รางวัลพิเศษ ได้แก่
1.   เด็กหญิงกัญญาวีร์ สุทธิสนธิ์ โรงเรียนเทศบาลวัดขจรรังสรรค์
•   ชื่อผลงาน “วิถีชีวิตความเป็นไทย”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “ม่าเหมี่ยวและเพื่อน”
2.   เด็กหญิงฐิติรัตน์ เหลาสกุล โรงเรียนบ้านไทยสามัคคี
•   ชื่อผลงาน “สนุกสนานในงานวัด”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก”
3.   เด็กชายภกร กาญจนิล โรงเรียนวรรัตน์ศึกษา (ตลิ่งชัน)
•   ชื่อผลงาน “บวร ธรรมชาติ และความสุข”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “บึงหญ้าป่าใหญ่”
4.   เด็กชายภัทรพงศ์ ดำสุวรรณ โรงเรียนบ้านคงเวชศิลป์
•   ชื่อผลงาน “บวร สังคมไทย และสังคมแห่งความสุข”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “วัฒนธรรมและสังคมไทย”
5.   เด็กชายศิลป์ชัย ลิ่มพิพัฒน์ บ้านสวนศิลป์ลูกเจี๊ยบ
•   ชื่อผลงาน “สุข ผูกพัน ในท้องทุ่ง”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “เมื่อยายอายุเท่าหนู”

มัธยมศึกษาตอนต้น
เข้ารอบชิงชนะเลิศ ได้แก่
1.   เด็กหญิงเปรมมิกา มีพารา โรงเรียนบางแคเหนือ
•   ชื่อผลงาน “ความสุข”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “บ้านชายทุ่ง”
2.   เด็กชายพู่กัน สร่องศรี โรงเรียนสารวิทยา
•   ชื่อผลงาน “ชักพระ”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “บ้านชายทุ่ง”
3.   เด็กหญิงสุเนตรา คงเวช โรงเรียนบ้านคงเวชศิลป์
•   ชื่อผลงาน “บ้าน วัด โรงเรียน สายสัมพันธ์สู่ความสำเร็จ”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “หลายชีวิต (โนรี)”
4.   เด็กหญิงสิริรัช รัตตมณี บ้านสวนศิลป์ลูกเจี๊ยบ
•   ชื่อผลงาน “ความดีงาม”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “ผีเสื้อและดอกไม้”

รางวัลรองชนะเลิศอันดับสอง ได้แก่
1.   เด็กหญิงชลธิชา ดียางหวาย โรงเรียนแก้งคร้อวิทยา
•   ชื่อผลงาน “วิถีชีวิตไทยสมัยก่อน”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “เมื่อยายอายุเท่าหนู”
2.   เด็กหญิงณัฏฐณิชา วีรเสนีย์ โรงเรียนศรียาภัย
•   ชื่อผลงาน “อนุรักษ์โขน”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “วัยใสหัวใจโขน”
3.   เด็กหญิงดาราได จงจีระ โรงเรียนเทศบาลวัดขจรรังสรรค์
•   ชื่อผลงาน “วิถีไทย”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “บ้านชายทุ่ง”
4.   เด็กชายทิภัทรฐา สุวรรณรัฐภูมิ โรงเรียนเทศบาลวัดขจรรังสรรค์
•   ชื่อผลงาน “วัยเด็ก”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “เมื่อยายอายุเท่าหนู”
5.   เด็กหญิงศิริกุลวดี ประเสริฐวิทย์ บ้านสลัดศิลป์
•   ชื่อผลงาน “ความผูกพัน”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “สี่แผ่นดิน”

รางวัลพิเศษ ได้แก่
1.   เด็กชายเจษฎา อ่ำประสิทธิ์ โรงเรียนเทศบาล 1 (ทีโอเอวิทยา)
•   ชื่อผลงาน “บวร”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “ขวัญสงฆ์”
2.   เด็กชายชัยวัทน์ ภูมิลำเนา โรงเรียนวัดนวลนรดิศ
•   ชื่อผลงาน “เดินทางกลับบ้าน”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “ลูกอีสาน”
3.   เด็กหญิงดากานดา จีนเจนพจน์ ชมรมสอนศิลปะหอศิลป์ปาร์ตี้อาร์ตแกลลอรี่
•   ชื่อผลงาน “เรียนรู้ วิถีโขน”
•    แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก”
4.   เด็กหญิงดาวประดับใจ วงษ์ประเสริฐ โรงเรียนชลกันยานุกูล
•   ชื่อผลงาน “วันรวย”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “แว้งที่รัก”
5.   เด็กชายวรเชษฐ์ พันธุระ โรงเรียนบุญวัฒนา
•   ชื่อผลงาน “ความสุขที่อาจลืม”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “เกิดเป็นเด็กตลาด”
มัธยมศึกษาตอนปลาย
เข้ารอบชิงชนะเลิศ ได้แก่
1.   นางสาวมนทกานติ  ฤทธิ์จำนงค์ โรงเรียนศรียาภัย
•   ชื่อผลงาน “ความรู้สึกข้างใน”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “เสียงเตือนในเสียงหวูดรถไฟ”
2.   นางสาววนวรรณ ศิริจินโน ชมรมสอนศิลปะหอศิลป์ปาร์ตี้อาร์ตแกลลอรี่
•   ชื่อผลงาน “ข้าวก้นบาตรของหลวงปู่”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “คนอยู่วัด”
3.   นางสาวศรัญญา ชัยวงศ์ โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย
•   ชื่อผลงาน “หนูลูกพระ”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “ขวัญสงฆ์”

รางวัลพิเศษ ได้แก่
1.   นายธนาดล มองฤทธิ์ โรงเรียนแก้งคร้อวิทยา
•   ชื่อผลงาน “ตาโขนสไตล์”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “ผีตาโขนมรดกแผ่นดินศรีสองรัก”
2.   นางสาวเบญจพร สาธรราช โรงเรียนอนุบาลพุทธเมตตา
•   ชื่อผลงาน “ลูกอีสาน”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง    “ลูกอีกสาน”
3.   นางสาววลัยลักษณ์ ปิ่นทอง โรงเรียนศรียาภัย
•   ชื่อผลงาน “สมานฉันท์”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “แว้งที่รัก”
4.   นางสาวสุจิตา คงเวช วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฏร์ธานี
•   ชื่อผลงาน “บวร ความสุข ความผูกพันของสังคมไทย”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “วัดกับชุมชน”
5.   นายอรรณพ  สัทธศรี โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย
•   ชื่อผลงาน “เวลาในขวดแก้ว”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “เวลาในขวดแก้ว”
อุดมศึกษา
เข้ารอบชิงชนะเลิศ ได้แก่
1.   นายผจงภักดิ์ เอาเจริญภักดิ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ (เพาะช่าง)
•   ชื่อผลงาน “โฮปเฟล”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “ไผ่แดง”
2.   นายพงศธร ทิพาเสถียร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
•   ชื่อผลงาน “เรื่องราวของเจ้าทองเทา”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “หมา (อยู่) วัด”
3.   นางสาวพิสชา พ่วงลาภ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์
•   ชื่อผลงาน “แสงสว่างแห่งศรัทธา”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “ตำนานภูเขาทอง”

รางวัลพิเศษ ได้แก่
1.   นายกตัญญู วัฒนาประดิษฐชัย วินเซ็นต์แกลลอรี่
•   ชื่อผลงาน “เรื่องของเห็ด”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “แก้วจอมแก่น”
2.   นายธฤทธิ์ภูมิ นามวิชา ชมรม Art Gallery Painting 12
•   ชื่อผลงาน “วิถีชีวิตและความเป็นอยู่”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “ลูกอีสาน”
3.   นายธนพล ดาทุมมา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
•   ชื่อผลงาน “สีสันงานอุปสมบท”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “สืบสานตำนานงานบุญประเพณี”
4.   นายวชิร รุจิพงษ์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
•   ชื่อผลงาน  “รูปเคารพแห่งยุค หมายเลข 2”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “ไตรภูมิพระร่วง”
5.   นางสาวสุภัชชา บุญเหลือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
•   ชื่อผลงาน  “สัตหีบบ้านฉัน”
•   แรงบันดาลใจจากวรรณกรรมเรื่อง “เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก”

ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถติดตามผลการประกวดรอบชิงชนะเลิศของโครงการจินตนาการ สืบสาน วรรณกรรมไทยกับอินทัช ปีที่ 13 ได้ในเดือนตุลาคมนี้ รวมถึงร่วมซื้อภาพผลงานของเยาวชนที่ได้รับรางวัล รายได้ทั้งหมดไม่หักค่าใช้จ่าย สมทบทุนมูลนิธิสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เพื่อเป็นทุนการศึกษาของนักเรียนที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ได้ที่ www.intouchcompany.com / FB : intouchstation  หรือสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร. 082-796-1670-1, 02-934-6767 และ 02-118-6953 หรือ Line ID: Jintanakarn.intouch
« Last Edit: October 05, 2019, 01:21:33 PM by MSN »