happy on September 22, 2019, 06:03:45 PM

ผู้บริหารองค์กรธุรกิจในเอเชียแปซิฟิกเริ่มหันมาใช้เทคโนโลยีเพื่อรองรับ
กระแสเศรษฐกิจแบบออนดีมานด์ที่กำลังเติบโต


ผลสำรวจจากซีบราพบว่ามากกว่าครึ่งของผู้นำธุรกิจที่มีอำนาจตัดสินใจด้านคลังสินค้าวางแผนเปลี่ยนการทำงาน
บางส่วนเป็นระบบอัตโนมัติและนำระบบเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถของพนักงานภายในปี 2024

ซีบรา เทคโนโลยีส์ (สัญลักษณ์หุ้นในตลาด NASDAQ: ZBRA) ผู้นำด้านนวัตกรรมผ่านโซลูชั่นที่ทันสมัยและเครือข่ายคู่ค้าที่ครอบคลุมเพื่อเสริมประสิทธิภาพให้องค์กรยุคใหม่ เผยผลสำรวจเกี่ยวกับ เทรนด์ในอนาคตด้านการจัดการคลังสินค้าในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (Warehousing Asia Pacific Vision Study)

โดยผลสำรวจดังกล่าวเป็นการศึกษาสำรวจข้อมูลจากผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจด้านไอทีและระบบปฏิบัติงานตั้งแต่อุตสาหกรรมการผลิต, การขนส่งและโลจิสติกส์, ค้าปลีก, การจัดส่งทางไปรษณีย์และพัสดุและการกระจายสินค้า ในการวิเคราะห์ถึงกลยุทธ์ที่ใช้ในการดำเนินงานปัจจุบันและแนวทางในการวางแผนในการพัฒนาคลังสินค้า, ศูนย์กระจายสินค้า และฟูลฟิลล์เมนท์ เซ็นเตอร์


มร. อิ๊ก จิน  ทาน, ผู้จัดการฝ่ายเวอร์ติคอลโซลูชั่น อุตสาหกรรมการผลิต การขนส่ง และโลจิสติกส์ ประจำเอเชียแปซิฟิก กล่าวว่า “การจัดการด้านคลังสินค้า, การกระจายสินค้า และบริการด้านฟูลฟิลล์เมนท์ กำลังก้าวเข้าสู่รูปแบบการปฏิวัติครั้งใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นในยุคเศรษฐกิจแบบออนดีมานด์ ปัจจุบันผู้นำด้านการจัดการคลังสินค้าหันมาใช้เทคโนโลยีเพื่อต่อสู้กับความท้าทายทางธุรกิจที่เกิดขึ้นอันเป็นผลมาจากการพฤติกรรมความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปทั่วโลก โดยเริ่มประยุกต์ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงผนวกกับการเพิ่มขีดความสามารถให้กับพนักงานเพื่อยกระดับการทำงานให้มีประสิทธิภาพ การขยายพื้นที่ปฏิบัติงาน กระบวนการดำเนินงานรูปแบบใหม่ รวมไปถึงการปรับปรุงบริหารจัดการ ซึ่งเหล่านี้เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของการปฏิวัติเท่านั้น ภายในปี 2567 ผู้นำด้านการจัดการคลังสินค้าจะมุ่งเน้นใช้โซลูชั่นการทำงานแบบบูรณาการเพื่อสร้างระบบการทำงานของข้อมูลที่สมดุลกันระหว่างพนักงานและระบบอัตโนมัติในคลังสินค้า และท้ายสุดเพื่อเพิ่มศักยภาพการทำงานของพนักงานที่ต้องพบปะลูกค้าให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น”

การสำรวจเกี่ยวกับกลยุทธ์ด้านการจัดการฟูลฟิลล์เมนท์ที่หลายองค์กรกำลังให้ความสำคัญเพื่อรับมือกับการเติบโตของเศรษฐกิจแบบออนดีมานด์พบว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจจะวางแผนให้ความสำคัญกับทั้งระบบอัตโนมัติและระบบเทคโนโลยีที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถของพนักงาน มากกว่า 3 ใน 4 (81 เปอร์เซ็นต์) ของผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยว่าการเพิ่มจำนวนพนักงานพร้อมกับเทคโนโลยีเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการนำไปสู่ระบบคลังสินค้าอัตโนมัติ แต่มีเพียง 34 เปอร์เซ็นต์ เท่านั้นที่เข้าใจอย่างชัดเจนว่าจะเริ่มต้นระบบการทำงานอัตโนมัติอย่างไร ปัจจุบันผู้มีอำนาจในการตัดสินใจมากกว่า 88 เปอร์เซ็นต์ อยู่ในระหว่างการจัดการหรือกำลังวางแผนขยายคลังสินค้าภายในปี 2567 ในขณะเดียวกันมากกว่า 85  เปอร์เซ็นต์ คาดว่าจะเพิ่มจำนวนคลังสินค้าในช่วงเดียวกัน


คุณศิวัจน์  โรจนเต็มศักดิ์, ผู้จัดการประจำประเทศไทย, ซีบรา เทคโนโลยีส์ กล่าวว่า “ผู้บริโภคในปัจจุบันค้นหาสินค้าและซื้อสินค้าตลอด 24 ชั่วโมง พฤติกรรมผู้บริโภคที่ว่า “ฉันต้องการสินค้าเดี๋ยวนี้” ส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชนทั้งในด้านการผลิต ค้าปลีก และระบบปฏิบัติการคลังสินค้า ให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างทันท่วงที ผลสำรวจของซีบราพบว่า 49 เปอร์เซ็นต์ ของผู้มีอำนาจในการตัดสินใจเผยว่าความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นถือเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของการเติบโตธุรกิจ โดยเกือบ 40 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าการลดระยะเวลาการดำเนินงานให้สั้นลงเป็นสิ่งสำคัญในแผนการขยายธุรกิจและนำสู่การวางแผนกลยุทธ์รูปแบบใหม่”

จากรายงานยังมีผลสำรวจที่น่าสนใจได้แก่:
ภายในปี 2567 ระบบอัตโนมัติจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานมากกว่าเข้ามาแทนที่พนักงาน


•   57 เปอร์เซ็นต์ ของผู้มีอำนาจในการตัดสินใจวางแผนเปลี่ยนการทำงานบางส่วนเป็นระบบอัตโนมัติและนำระบบเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มขีดความสามารถของพนักงานในจัดการคลังสินค้า

•   70 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถามเผยว่าการบริหารจัดการโดยพนักงานเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความสมดุลของระบบคลังสินค้า โดย 43 เปอร์เซ็นต์ ต้องการใช้ระบบทำงานอัตโนมัติจัดการในบางส่วน (พนักงานยังคงมีส่วนร่วม) และ 27 เปอร์เซ็นต์ ต้องการใช้ระบบการทำงานร่วมกัน (พนักงานทำงานร่วมกับอุปกรณ์ดีไวซ์)

•   ภายในปี 2567 ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจคาดว่าจะใช้หุ่นยนต์เพื่อจัดการสินค้าคงคลังขาเข้า (27 เปอร์เซ็นต์) การบรรจุภัณฑ์ (24 เปอร์เซ็นต์) และสินค้าที่อยู่ในระหว่างการขนส่ง/การรับสินค้า (21 เปอร์เซ็นต์)


การวางแผนกลยุทธ์ด้านฟูลฟิลล์เมนท์และการปฏิบัติงานยังคงมีบทบาทสำคัญมากที่สุดในการรับมือกับความท้าทายที่เกิดขึ้นใหม่ในระบบคลังสินค้า

•   68 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถามคาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า อัตราการใช้กําลังการผลิต (Capacity Utilization) ถือเป็นหนึ่งในความท้าทายที่สำคัญ

•   68 เปอร์เซ็นต์ ขององค์กรเผยว่าการจัดหาพนักงาน/ประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานและประสิทธิภาพผลผลิตนั้นเป็นความท้าทายสำคัญที่องค์กรต้องเผชิญ ซึ่ง 62 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถามต้องการพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานของพนักงานหรือเพิ่มผลผลิตของการทำงานเป็นทีม ในขณะที่ยังคงสอดคล้องกับขั้นตอนการทำงานที่ลื่นไหล

•   ในอีก 5 ปีข้างหน้า การใช้ประโยชน์ด้านไอที/เทคโนโลยีถือเป็นความท้าทายด้านการปฏิบัติงานที่ใหญ่ที่สุด (68 เปอร์เซ็นต์) รวมถึงการเพิ่มผลลัพธ์ระยะยาวสำหรับระบบการตรวจสอบสถานะสินค้า, เครื่องแนะนำการดำเนินงานอัตโนมัติแบบเรียลไทม์ และการวิเคราะห์เชิงข้อมูลเพื่อขับเครื่องธุรกิจ

•   เมื่อคลังสินค้าขยายพื้นที่เพิ่มมากขึ้น ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจจึงต้องการเพิ่มระบบการตรวจสอบสถานะตำแหน่งสินค้าและการดำเนินงานโดยเพิ่มจำนวนหุ่นยนต์ในการจัดการระบบปฏิบัติงาน (85 เปอร์เซ็นต์), วางแผนเส้นทางของการปฏิบัติงาน (85 เปอร์เซ็นต์), บริการเสริมเพิ่มเติม (84 เปอร์เซ็นต์) และผู้ให้บริการโลจิสติกส์ (88 เปอร์เซ็นต์)


การลงทุนและการนำเทคโนโลยีรูปแบบใหม่เข้ามาใช้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจแบบออนดีมานด์

•   เกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม (48 เปอร์เซ็นต์) ระบุว่าความรวดเร็วในการจัดส่งสินค้าให้แก่ผู้รับถือเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญต่อการเติบโตของธุรกิจคลังสินค้า

•   จำนวน 3 ใน 4 ของผู้ที่มีอำนาจการตัดสินใจ (75 เปอร์เซ็นต์) มีความเห็นตรงกันว่าพวกเขาจำเป็นจะต้องปรับปรุงการดำเนินงานระบบคลังสินค้าให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น เพื่อข้อได้เปรียบในเชิงแข่งขันยุคเศรษฐกิจแบบออนดีมานด์ แต่ยังอย่างไรก็ตามองค์กรยังคงปรับตัวอย่าล่าช้าสำหรับการใช้งานอุปกรณ์แบบพกพาและเทคโนโลยี

•   73 เปอร์เซ็นต์ ของบริษัทต่างๆ กำลังอยู่ในช่วงการปรับปรุงระบบคลังสินค้าให้มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น โดยได้มีการนำอุปกรณ์ดีไวซ์แบบพกพาเข้ามาเป็นเครื่องมือให้กับพนักงานภายในองค์กร ซึ่งภายในปี 2567 การทำงานแบบทันสมัยนี้จะถูกขับเคลื่อนโดยคอมพิวเตอร์พกพาระบบแอนดรอยด์โซลูชั่น (90 เปอร์เซ็นต์) ระบบระบุตำแหน่งแบบเรียลไทม์ (RTLS) (60 เปอร์เซ็นต์) และระบบการจัดการคลังสินค้าเต็มรูปแบบ (WMS) (55 เปอร์เซ็นต์)

•   66 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถาม เผยว่าในระยะเวลาอีก 3 ปีข้างหน้า เครื่องพิมพ์ฉลากบาร์โค้ดแบบพกพาหรืออุปกรณ์เครื่องพิมพ์เทอร์มอลจะเป็นสิ่งสำคัญที่องค์กรพิจารณาลงทุนเพิ่มจำนวนและอัพเกรดให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้น


จากการสำรวจพบว่า

ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก


•   ภายในปี 2567 จำนวน 87 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ตอบแบบสอบถาม มีการวางแผนที่จะใช้ระบบอุปกรณ์แบบพกพา เพื่อช่วยให้การทำงานของพนักงานในพื้นที่คลังสินค้าเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

•   73 เปอร์เซ็นต์ ของผู้ที่มีอำนาจการในตัดสินใจ เผยว่าภายในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า พวกเขามีการวางแผนที่จะลงทุนใช้สมาร์ทวอทช์, แว่นตาอัจฉริยะ และอุปกรณ์ดีไวซ์พกพาแบบคาดเอว


ความเป็นมาและขั้นตอนการสำรวจ

การศึกษาเทรนด์ในอนาคตด้านการจัดการระบบคลังสินค้าภายในปี 2567 ได้ทำการสำรวจจากผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 1,403 คน (352 ราย มาจากภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก) ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้เชี่ยวชาญทางด้านไอทีและผู้มีอำนาจในการตัดสินใจการดำเนินงานด้านระบบอุตสาหกรรมการผลิตและการขนส่ง, การค้าปลีก, การขนส่งทางไปรษณีย์ และตลาดผู้ค้าส่งในทวีปอเมริกาเหนือ, ละตินอเมริกา และเอเชียแปซิฟิก โดยใช้บริษัท Qualtrics ในการสำรวจ

###

เกี่ยวกับซีบรา เทคโนโลยีส์

ซีบรา (NASDAQ: ZBRA) ช่วยเพื่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับธุรกิจและอุตสาหกรรมไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมค้าปลีก/e-commerce อุตสาหกรรมโรงงานการผลิต อุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมเพื่อสุขภาพ และอื่นๆ ผ่านการทำงานควบคู่กับพันธมิตรกว่า 10,000 รายใน 100 ประเทศทั่วโลกเพื่อนำเสนอนวัตกรรมที่ตรงต่อความต้องการที่แตกต่างของแต่ละอุตสาหกรรม อีกทั้งเป็นนวัตกรรมที่ช่วยเชื่อมต่อการทำงานระหว่างคน วัตถุ และข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อสร้างประสิทธิภาพให้แก่ทุกธุรกิจและอุตสาหกรรม โซลูชั่นของซีบราช่วยยกระดับคุณภาพการบริการให้แก่ธุรกิจค้าปลีก ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการค้นหาและระบุตำแหน่งให้ธุรกิจซัพพลายเชน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยให้แก่อุตสาหกรรมเพื่อสุขภาพ ซีบราถูกยกย่องให้เป็นหนึ่งในร้อยบริษัทอเมริกันที่น่าทำงานมากที่สุด 4 ปีติดต่อกันโดยนิตยสารฟอร์บส ซีบราเพิ่มประสิทธิภาพให้ลูกค้าเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าชมได้ที่ https://www.zebra.com หรือติดตามข่าวสารได้ทาง LinkedIn, Twitter, Facebook