news on July 24, 2019, 03:29:09 PM
อัพเดทสภาวะการณ์ตลาดไอทีเซอร์วิสประเทศไทย ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2561

ตลาดไอทีเซอร์วิส (IT Services) ของประเทศไทยในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2561 นั้นมีมูลค่าสูง 47 พันล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโตที่ 9.3% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า ส่งผลให้มูลค่าตลาดรวมของทั้งปี 2561 นั้นอยู่ที่ 92 พันล้านบาท โดยที่ประเทศไทยนั้นมีมูลค่าการใช้จ่ายด้านไอทีเซอร์วิส ใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของภูมิภาคอาเซียนรองจากประเทศสิงคโปร์

ปัจจัยที่ขับเคลื่อนให้มีการใช้จ่ายด้านไอทีเซอร์วิสในประเทศนั้นมีหลายปัจจัย ครอบคลุมในแทบทุกอุตสาหกรรม อาทิเช่น การมีบริการใหม่ๆที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีบล็อคเชน (blockchain) หรือคริปโตเคอเรนซี (cryptocurrencies) ในภาคธุรกิจการเงิน การลงทุนและการพัฒนาด้านไอโอที โรโบติกส์ ออโตเมชัน และ โลเคชันเบสเซอร์วิสสำหรับการจัดการด้านโลจิสติกส์ที่เพิ่มขึ้นในภาคโรงงานอุตสาหกรรม การริเริ่มใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการปรับปรุงพัฒนาการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนในประเทศ ยกตัวอย่างเช่น แผนการลงทุนในเทคโนโลยีตรวจสอบและจดจำใบหน้าออนไลน์ (online facial recognition system) ของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ที่มีวัตถุประสงค์ในการลดขั้นตอนและปรับปรุงกระบวนการทำงานให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงการลดโอกาสการเกิดข้อผิดพลาดจากการทำงานของมนุษย์ เป็นต้น

ตลาดไอทีเซอร์วิสในภาพรวมนั้น สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆ ตามลักษณะและรูปแบบของการให้บริการตามนิยามของบริษัทไอดีซี (International Data Corporation - IDC) ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาและวิจัยข้อมูลการตลาดชั้นนำระดับโลก ซึ่งทั้ง 3 กลุ่มจะมีคุณลักษณะเฉพาะร่วมที่สำคัญ (key attributes) ดังนี้

-   Project-oriented market จะมีสัญญาการจ้างงานระยะสั้น ข้อเสนอและงานบริการปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้า ความเป็นเจ้าของด้านสินทรัพย์ (assets) ไม่มีการเปลี่ยนแปลงโอนย้ายระหว่างลูกค้าและผู้ให้บริการ และมีการสัมฤทธิ์ผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ตั้งแต่ต้นเป็นผลสำเร็จของงานที่คาดหมายไว้

-   Managed services market จะมีสัญญาการจ้างงานระยะยาว ข้อเสนอและงานบริการปรับเปลี่ยนได้ตามความต้องการของลูกค้า สินทรัพย์บางส่วนจะมีผู้ให้บริการเป็นเจ้าของและรับผิดชอบดูแลแทนลูกค้า และการรักษามาตรฐานการให้บริการ (on-going service level agreement - SLA) และการปรับใช้ให้เหมาะสมถือเป็นผลสำเร็จของงานที่คาดหมายไว้

-   Support services market จะมีสัญญาการจ้างงานระยะยาว ข้อเสนอและงานบริการเป็นรูปแบบมาตรฐานไม่สามารถปรับเปลี่ยนได้ ความเป็นเจ้าของด้านสินทรัพย์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงโอนย้ายระหว่างลูกค้าและผู้ให้บริการ และมีการแก้ปัญหาที่ตกลงไว้ได้สำเร็จถือเป็นผลงานที่คาดหมายไว้
ภาพรวมทิศทางของตลาดไอทีเซอร์วิสประเภท project-oriented ในครึ่งปีหลังของปี 2561

ปัจจัยสำคัญที่ขับเคลื่อนการขยายตัวของตลาดไอทีเซอร์วิสในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2561 คือการริเริ่มต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการทำดิจิทัลทรานสฟอร์มเมชัน (DX) ในด้านที่เกี่ยวข้องและส่งเสริมเทคโนโลยี บิ๊กดาต้า เอไอ บล็อกเชน และการพัฒนาคลาวด์เบสแอปพลิเคชัน นอกจากนั้นยังมีการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานไอทีขนาดใหญ่ ขับเคลื่อนโดยโครงการต่าง ๆ หลากหลาย อาทิเช่นโครงการสมาร์ทซิตี้ ที่ช่วยเพิ่มความต้องการงานไอทีเซอร์วิสในด้านงานที่ปรึกษา (IT consulting services) และงานรวมระบบ (systems integration services) ให้กับอุตสาหกรรมการขนส่งและการก่อสร้าง ในขณะที่ธุรกิจการบริการส่วนบุคคลจะมีความต้องการการพัฒนาในเรื่องของแอปพลิเคชันในแบบ customized มากขึ้น

ในด้านฝั่งธุรกิจภาคการเงินการธนาคารมีความต้องการพัฒนาปรับใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับเอไอและบล็อกเชนสูงมากขึ้น และภาคโรงงานอุตสาหกรรมมีความต้องการใช้งานเทคโนโลยีด้านไอโอที ส่งผลต่อการเติบโตที่มีนัยยะของงานไอทีเซอร์วิสด้านงานที่ปรึกษาด้านเน็ตเวิร์คและงานรวมระบบ (network consulting services & integration)

ภาพรวมทิศทางของตลาดไอทีเซอร์วิสประเภท managed services ในครึ่งปีหลังของปี 2561

หลาย ๆ องค์กรที่ได้ดำเนินการปรับเปลี่ยน ทรานสฟอร์มองค์กร ให้ตอบรับกับการพัฒนาด้านเศรษฐกิจดิจิทัล และได้มีการวางแผนด้านเงินลงทุนรายปีโดยเฉพาะเพื่อการพัฒนาในด้านดิจิทัลนั้น มีความพยายามในการเข้าถึงเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น และเน้นในเรื่องของนวัตกรรม ทำให้งานด้านไอทีบางส่วนที่มีลักษณะงานประจำ (routine tasks) ทำซ้ำ ๆ (repeatable tasks) ภายในองค์กรเหล่านี้ถูกโอนย้ายไปจัดการโดยผู้ให้บริการภายนอก ซึ่งในภาพรวมนั้นมีต้นทุนที่ถูกกว่าการจ้างพนักงานเพื่อมาดูแลงานประจำเหล่านั้นโดยเฉพาะ และยังสามารถใช้ประโยชน์จากแรงงานด้านไอทีที่มีอยู่เพื่อบริหารจัดการงานที่ซับซ้อนมากขึ้นจากเทคโนโลยีใหม่ที่เพิ่มเติมเข้ามาในองค์กรได้ดีขึ้น

การลงทุนพัฒนาแอปพลิเคชัน โดยเฉพาะคลาวด์เบสแอปที่เติบโตเพิ่มขึ้นในภาคธุรกิจการเงินการธนาคาร การค้าปลีก การบริการส่วนบุคคล และภาคการขนส่งนั้น นับว่าเป็นตัวเร่งให้เกิดการเติบโตขึ้นมากของงานไอทีเซอร์วิสในกลุ่ม hosted application management นอกจากนั้น การพัฒนาเครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการสร้างและพัฒนาแอปพลิเคชัน (tools) อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ทีมนักพัฒนา (AppDev) สามารถผลิตและออกแอปเวอร์ชันใหม่ ๆ หรือออกฟีเจอร์ใหม่ ๆ ได้รวดเร็วขึ้น ส่งผลต่อการเติบโตของตลาดในภาพรวม

ภาพรวมทิศทางของตลาดไอทีเซอร์วิสประเภท support services ในครึ่งปีหลังของปี 2561

จากแนวโน้มของการย้ายโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีมาที่ระบบคลาวด์ส่วนตัวแบบออนพรีมิส (on-premise private cloud) ขององค์กรต่าง ๆ ทำให้เกิดความต้องการอัพเกรดระบบอุปกรณ์โครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ให้ตอบสนองต่อการทำงานที่เปลี่ยนไปด้วย รวมไปถึงการเก็บรวบรวม คัดแยก และใช้ประโยชน์จากดาต้าหลากหลายที่มาและหลากหลายรูปแบบ เพื่อเพิ่มที่มาของแหล่งรายได้ให้กับองค์กรนั้น ส่งผลให้องค์กรต่าง ๆ มีการลงทุนในฮาร์ดแวร์จำพวก SOL server และ stimulation systems ตลอดไปจนถึงซอฟท์แวร์ด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ และ อนาไลติกส์ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งโดยปกติการลงทุนในระบบโดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ จะต้องมีการอบรมพนักงานให้สามารถใช้งานเครื่องมือต่าง ๆ รวมไปถึงวิธีการทำงานที่อาจเปลี่ยนแปลงไปตามรูปแบบของระบบเหล่านั้นให้สอดคล้องและสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งงานซับพอร์ตเซอร์วิสในส่วนนี้ที่เป็นไอทีเซอร์วิสประเภทIT education and training ส่วนใหญ่จะถูกระบุรวมอยู่ในสัญญาการจ้างงานเพื่อลงระบบอยู่แล้ว

news on July 24, 2019, 03:30:17 PM
Thailand’s IT Services Update in 2H2018

Thailand IT Services market’s second half of 2018 recorded value at 47.7 billion baht with the growth rate year-on-year of 9.3% compare with the same period in 2017. It resulted of total spending at 92.3 billion baht in 2018, making Thailand the second biggest country spent on IT Services in ASEAN after Singapore.

The continuous growth of IT Services market in Thailand has several drivers in cross-industries; include new services related to blockchain or cryptocurrencies in financial industry, an increase in investment on development of IoT, robotics, automation and location-based services for logistic management in manufacturing industry, initiatives to leverage on digital technologies to develop the country’s public services and also to improve the citizen’s lives by the public sector e.g. the online facial recognition system implementation plan to improve the work productivity and performance of the Office of Public Sector Anti-Corruption Commission (PACC) by using digital technology to streamline their work process and reduce human errors, to mention a few.

IT Services in general can be divided into 3 primary markets which consists of project-oriented market, managed services market and support services market. The key attributes of these 3 primary markets have in common could be identified as following;

Project-oriented market would have short term contract length, customized offerings, no assets transferred between customer and vendor, and has predefined goal achievement as outcome.

Managed services market would have long term contract length, customized offerings, some degree of asset ownership transferred from customer responsibility to vendor responsibility, and ongoing service level agreement is maintained or optimized would be the expected outcome.

Support services market would have long term contract length, standardized offerings, no assets transferred, and outcome would be the issue is resolved.

1. The overview of project-oriented market in 2H2018

The key drivers of the project-oriented services market in 2H2018 were DX-related (Digital Transformation) initiatives around big data, AI, blockchain, and cloud-based application development. There was also a large sum of investment poured into IT infrastructure development, driven by the smart city initiatives that drove the demand of IT consulting and systems integration services within the transportation and construction industries, while demand for custom application development was driven by demand from the personal and consumer services industry.

Demand for development of AI and blockchain solutions was high in the financial services sector, the sector with the largest IT spending in 2H2018. The adoption of IoT technology also gained significant interest from the manufacturing sector, which drove the growth of the network consulting and integration market in 2H2018.

2. The overview of managed services market in 2H2018

Many organizations are being anchored by both top management and their IT executives to transform digitally, with at least 10%-15% of their annual IT budget allocated to the area of development of innovative solutions. This has led to increase of delegation of routine and repeatable IT tasks to managed service providers, as that would prove to be cheaper than hiring permanent IT talent in their organizations.

The growth of application deployment, especially cloud-based applications in the financial services, retail, personal services, and transportation sectors were the main catalyst of the hosted application management market’s healthy growth. In addition, the launch of new innovative tools for AppDev teams (Application Development) to develop new applications at a faster pace indirectly helped drive the market growth as well.

3. The overview of support services market in 2H2018

The trend of migrating IT infrastructure to on-premise private cloud has become increasingly common among private and public organizations in 2H2018, which drove the demand for upgrade of IT infrastructure. Another large factor for deployment services is the need to digitalize their data and connect data from various sources within the organization to further support and create new revenue stream. This led to the growth of hardware deployment of hardware such as SQL server and simulation systems, and software deployment of security software, and analytics software this cycle.

Most of the new hardware and software deployment contracts are bundled with organization’s staff training courses as well due to the lacking in technology related knowledge.