enjoyjam.net » news & activity » news & activity (Moderators: happy, sianbun) » ลิ้นหัวใจ“เอออร์ติก”เสื่อม เปลี่ยนได้ด้วยเทคนิคสายสวน TAVI « previous next » Print Pages: [1] Go Down MSN on July 24, 2019, 02:23:04 PM ลิ้นหัวใจ“เอออร์ติก”เสื่อม เปลี่ยนได้ด้วยเทคนิคสายสวน TAVIโรคลิ้นหัวใจเสื่อม ถือเป็นโรคที่หลายคนได้ยินมากขึ้นในยุคปัจจุบัน ลิ้นหัวใจของมนุษย์มีทั้งหมด 4 ลิ้น อยู่ในตำแหน่งต่างกัน มีหน้าที่หลักคือ ทำให้เลือดไหลไปในทิศทางเดียวกันไม่ไหลย้อนทาง มีหน้าที่เสมือนประตูในหัวใจ ลิ้นหัวใจเอออร์ติกนับว่ามีความสำคัญมาก เนื่องจากมีตำแหน่งกั้นอยู่ระหว่างหัวใจห้องซ้ายล่างและหลอดเลือดแดงใหญ่ หากลิ้นหัวใจเกิดปัญหาทำงานผิดปกติขึ้นมา หัวใจของเราก็ไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ร้ายที่สุดอาจถึงขั้นหัวใจวายได้ นพ.ระพินทร์ กุกเรยา หัวหน้าอายุรแพทย์หัวใจ มัณฑนากรหลอดเลือดหัวใจ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ ให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจเสื่อมเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุที่ลิ้นหัวใจใช้มานานมาก ก็ย่อมที่จะมีความเสื่อมตามวัย หรือในบางราย ลิ้นหัวใจอาจถูกเร่งให้เสื่อมจากโรคเรื้อรังต่างๆ อาทิ ความดันโลหิตสูง ไขมันในเส้นเลือด รวมถึงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ เมื่อลิ้นหัวใจมีความเสื่อม ก็จะมีไขมัน หินปูนหรือแคลเซียมมาเกาะ ทำให้ลิ้นหัวใจแข็ง ไม่ยืดหยุ่น เปิด ปิดได้ไม่เต็มที่ บางคนมีแคลเซียมเข้าไปเกาะบริเวณที่เป็นแฉกลิ้น ทำให้เปิดไม่ได้ เมื่อเปิดไม่ได้เลือดก็ไม่สามารถไปเลี้ยงหัวใจได้เต็มที่ อาการแสดงที่ส่งสัญญาณถึงความผิดปกติของลิ้นหัวใจที่เปิดหรือปิดไม่สนิท เกิดภาวะลิ้นหัวใจตีบ ที่เห็นได้ชัดคือ เหนื่อยง่าย หน้ามืดเป็นลมบ่อยๆ เจ็บหน้าอก อย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ เมื่อลิ้นหัวใจเริ่มแข็งตัวเพิ่มขึ้น หัวใจก็จะทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือด ผนังหัวใจจะหนา หากปล่อยทิ้งไว้ ไม่ได้รับการรักษาก็จะนำไปสู่ภาวะหัวใจวายได้ โดยเฉลี่ยประมาณ 3% ของคนไข้ที่มีอายุ 80 ปี จะเริ่มมีลิ้นหัวใจผิดปกติทั้งผู้หญิงและผู้ชาย แต่ตามสถิติผู้ชายมักจะเป็นมากกว่า คือประมาณ 60% ขณะที่ผู้หญิงอยู่ที่ประมาณ 40% ซึ่งภาวะเสื่อมของลิ้นหัวใจที่ถือว่าอันตรายมากคือ ลิ้นหัวใจเอออร์ติก เป็นลิ้นหัวใจที่กั้นระหว่างหัวใจช่องล่างซ้ายกับหลอดเลือดแดงใหญ่ ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ที่หากมีภาวะเสื่อม หรือเปิด ปิดไม่ได้ เลือดก็จะไปเลี้ยงทั้งร่างกายไม่ได้นพ.ระพินทร์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ภาวะลิ้นหัวใจเสื่อม ไม่สามารถรักษาได้ด้วยยา เพราะปัญหาคือลิ้นหัวใจตีบ การรักษาคือ ต้องทำให้ลิ้นหัวใจหายตีบ สมัยก่อนจะใช้วิธีการผ่าตัดแบบเปิดหน้าอกเพื่อเปลี่ยนลิ้นหัวใจเทียมเข้าไป ซึ่งลิ้นหัวใจเทียมมีทั้งชนิดที่ทำจากเนื้อเยื่อ และทำจากโลหะ ซึ่งมีข้อดีและข้อเสียต่างกัน ลิ้นหัวใจที่ทำจากโลหะสามารถอยู่ได้นานแต่ผู้ป่วยต้องกินยาละลายลิ่มเลือด ส่วนลิ้นหัวใจที่ทำมาจากเนื้อเยื่อไม่ต้องใช้ยาละลายลิ่มเลือด แต่อายุการใช้งานอาจไม่เท่าลิ้นที่ทำจากโลหะ ซึ่งสมัยก่อนไม่ว่าจะเปลี่ยนลิ้นหัวใจแบบไหนก็ต้องทำโดยวิธีการผ่าตัดเท่านั้น แต่ในปัจจุบัน ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้ามากขึ้น และขณะเดียวกันสังคมโลกก็กำลังก้าวเข้าสู่สังคมสูงอายุ การผ่าตัดแบบเปิดหน้าอกอาจจะไม่เหมาะกับคนที่อายุมากๆ เนื่องจากสภาพร่างกายไม่แข็งแรงพอเพราะคนไข้จะฟื้นตัวช้า ทั้งนี้ ในปี ค.ศ.1985 ศาสตราจารย์ นพ. Alan Cribier ของฝรั่งเศส ได้ทดลองวิธีการนำลิ้นหัวใจใส่สายสวนเพื่อเข้าไปเปลี่ยนลิ้นหัวใจแทนการผ่าตัด โดยเรียกเทคนิคนี้ว่า TAVI ( Transcatheter Aortic Valve Implantation) เป็นการเปลี่ยนลิ้นหัวใจด้วยสายสวน โดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ซึ่งเหมาะกับคนไข้ที่มีปัญหาในเรื่องของ ลิ้นหัวใจเออร์ติก (Aortic Valve) ข้อดีของการใช้เทคนิค TAVI นี้ก็เพื่อซ่อมหรือเปลี่ยนลิ้นหัวใจ ด้วยสายสวนโดยไม่ต้องผ่าตัด คือ คนไข้เสียเลือดน้อย ลดความเสี่ยงจากการดมยาโดยไม่จำเป็น และไม่ต้องใช้ปอดกับหัวใจเทียมเหมือนการผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจแบบเปิดหน้าอก คนไข้สามารถฟื้นตัวจากการผ่าตัดได้รวดเร็วเพียง 2-3 วันก็สามารถกลับบ้านได้ ขณะที่คนไข้ผ่าตัดแบบเปิดหน้าอกต้องพักรักษาตัวอยู่โรงพยาบาลเป็นระยะเวลาประมาณ 7-10 วันEdwards TAVI Delivery SystemEdwards TAVI SAPIEN3 Valveหลักการของ TAVI จะเป็นการใช้ลิ้นหัวใจแบบเนื้อเยื่อยึดติดอยู่กับขดลวดพิเศษซึ่งสามารถม้วนให้เล็กเพื่อเข้าไปอยู่ในท่อเล็กประมาณ 8-10 มิลลิเมตรของระบบนำส่ง จากนั้นก็สอดระบบนำส่งไปตามหลอดเลือดแดงบริเวณขาหนีบไปที่ยอดของหัวใจห้องล่างซ้ายจนถึงตำแหน่งของลิ้นหัวใจเอออร์ติก จากนั้นจึงทำการปล่อยตัวลิ้นหัวใจที่ม้วนอยู่ออกมาจากระบบนำส่ง ซึ่งจะทำให้ลิ้นหัวใจกางออกกลายเป็นลิ้นหัวใจใหม่ โดยที่คนไข้จะมีแผลเล็กๆ บริเวณขาหนีบ หรือบริเวณหน้าอกด้านซ้ายหรือด้านบนของหน้าอกข้างขวา ขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ใส่ขดลวดพิเศษ การพัฒนาเทคนิค TAVI เริ่มจากให้ทำกับผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงจากการผ่าตัดจนไม่มีทางยอมรับได้ เมื่อทำต่อมาเรื่อยๆ และมีการติดตามอาการผู้ป่วย พบว่าเป็นการรักษาที่ได้ผลดี จากลิ้นหัวใจที่เคยอยู่ได้ 2-3 ปี กลายเป็น 5 ปี ทำให้ปัจจุบัน เทคนิค TAVI กลายเป็นการรักษาทางเลือกของผู้ป่วยโรคลิ้นหัวใจตีบ ไม่ใช่เฉพาะผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงหรือปานกลางเท่านั้น สำหรับการใส่ขดลวดพิเศษ สามารถใส่ได้หลายทางทั้งทางขาหนีบ ไหล่ ทางเส้นเลือดใหญ่ที่ต้นแขน ทางขวาของหน้าอกผ่านเส้นเลือดใหญ่ที่ออกมา จากหัวใจและทางแผลเล็ก บริเวณยอดหัวใจ แต่ส่วนใหญ่ 80% จะใส่จากทางขาหนีบเพราะเส้นเลือดมีขนาดใหญ่ ยกเว้นว่า เส้นเลือดที่ขาหนีบของคนไข้มีขนาดเล็กหรือเส้นเลือดอุดตันเข้าไม่ได้ถึงจะไปทำที่ตำแหน่งอื่นแทน การเปลี่ยนลิ้นหัวใจโดยใช้สายสวนนี้ ใช้เวลาการทำ 2 ชั่วโมงโดยประมาณ ข้อควรระวังในการทำคือ กลุ่มคนไข้ติดเชื้อ หรือมีแบคทีเรียอยู่ในกระแสเลือด คนไข้ที่หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน คนไข้ที่มีลิ่มเลือดอยู่ในหัวใจ คนไข้ที่หัวใจเต้นผิดจังหวะเร็วมากๆ คนไข้ที่เพิ่งเป็นอัมพาตใหม่ๆ (เพราะต้องให้ยาละลายลิ่มเลือด) คนไข้ที่หลอดเลือดเลี้ยงหัวใจตีบและมีอาการ เมื่อผ่าตัดเสร็จช่วง 3 เดือนแรก อาจต้องกินยาละลายลิ่มเลือด ไม่ออกกำลังกายหรือทำอะไรหักโหม หลังพักฟื้น 3 เดือนคนไข้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ ช่วยให้คนไข้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น Logged Print Pages: [1] Go Up « previous next » enjoyjam.net » news & activity » news & activity (Moderators: happy, sianbun) » ลิ้นหัวใจ“เอออร์ติก”เสื่อม เปลี่ยนได้ด้วยเทคนิคสายสวน TAVI