MSN on July 11, 2019, 02:41:40 PM
ธนาคารซิตี้แบงก์ เผยแนวโน้มเศรษฐกิจโลกครึ่งหลังปี 62 คาดการณ์อัตราเติบโตผลกำไรแตะ 4.0% พร้อมแนะลงทุนหลากหลายภูมิภาค

•       “5จี - สังคมสูงวัย - นโยบายโครงสร้างพื้นฐาน” ดันหุ้นวัฏจักรกลุ่มสื่อสาร เทคโนโลยีสุขภาพ วัสดุการผลิต และสุขภาพครองตลาด 

•   อัตราเติบโตของผลกำไรตลาดเกิดใหม่สิ้น 62 ขยายแตะ 4.3% พร้อมทะยานแตะ 4.6% ในปี 2563 ด้านตลาดพัฒนาแล้ว แนวโน้มโตชะลอตัวลงเล็กน้อยที่ 1.8% และ 1.5%  ตามลำดับ






กรุงเทพฯ 11 กรกฎาคม 2562 - ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย เผยผลการวิเคราะห์เศรษฐกิจโลกช่วงกลางปี 62 ชี้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวเล็กน้อยสู่ระดับการขยายตัว 2.9% จาก 3.2% ในปี 61 โดยคาดการณ์อัตราเติบโตของผลกำไรทั่วโลกสิ้นปี 62 ที่ 4.0 % ต่ำกว่าระดับประมาณการในครั้งก่อนเล็กน้อย ด้วยปัจจัยสถานการณ์การคลังของบางภูมิภาค ความไม่แน่นอนด้านภูมิศาสตร์การเมือง รวมถึงปัจจัยสำคัญอย่างความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน แต่จะมีสัญญาณบวกและไต่ระดับขึ้นที่ 11.0% ในปี 63 ด้านค่าเงินสหรัฐมีแนวโน้มอ่อนค่าลงในภาพรวม ขณะที่ค่าเงินบาทไทยมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับแข็งค่าในระยะปานกลาง ซึ่งคาดว่าโดยส่วนใหญ่จะอยู่ในกรอบ 31.20 – 31.50 ไปจนถึงช่วงกลางปี 63   
ด้านนักกลยุทธ์ซิตี้ แนะนักลงทุนให้น้ำหนักในกลุ่มตลาดเกิดใหม่ โดยเฉพาะเอเชีย เช่น ตราสารทุนในหุ้นวัฏจักรกลุ่มการสื่อสาร สุขภาพ และวัสดุการผลิต ตราสารหนี้ในภูมิภาคเอเชีย รวมถึงตราสารหนี้เอกชนสหรัฐฯ ระดับน่าลงทุน (US Investment Grade) ตลอดจนกระจายพอร์ตการลงทุนในกองทุนผสมที่มีการลงทุนในทองคำ และน้ำมัน เพื่อรักษาผลประโยชน์ในระยะยาว ท่ามกลางสภาวะผันผวน นอกจากนี้ควรเฝ้าติดตามประเด็นสำคัญ อาทิ ความไม่แน่นอนด้านการเมืองในแต่ละภูมิภาค สงครามการค้า และความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงตึงเครียด การเปลี่ยนแปลงของนโยบายการเงิน  และการปรับตัวของค่าเงินทั่วโลก   

ทั้งนี้ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย ได้จัดงาน “Mid-2019 Outlook” แถลงข้อมูลทิศทางเศรษฐกิจและการลงทุนช่วงกลางปี 2562 เมื่อเร็วๆ นี้ ณ โรงแรมสยามเคมปินสกี้ กรุงเทพฯ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย หรือ www.citibank.co.th


นางสาวนลิน ฉัตรโชติธรรม นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจโลก มีแนวโน้มชะลอตัวลงสู่ระดับการขยายตัว 2.9% จาก 3.2% ในปี 2561 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อมีโอกาสชะลอลงเล็กน้อยจาก 2.7% ในปี 2561 มาอยู่ที่ 2.4% อันเป็นผลจากสถานการณ์การคลังของแต่ละภูมิภาค ความไม่แน่นอนด้านการเมือง รวมถึงปัจจัยสำคัญอย่างความตึงเครียดทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน ทั้งนี้สำหรับเศรษฐกิจระดับภูมิภาคคาดว่ากลุ่มตลาดเกิดใหม่มีแนวโน้มเติบโต 4.3% ในปี 2562 ก่อนที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะ 4.6% ในปี 2563 ในทางกลับกัน ด้านตลาดพัฒนาแล้วมีแนวโน้มการเติบโตชะลอตัวลงเล็กน้อยแตะระดับ 1.8% และ 1.5% ตามลำดับ จากผลกระทบของนโยบายระหว่างประเทศความตึงเครียดทางการค้าของประเทศยักษ์ใหญ่ การชะลอตัวของตลาดแรงงาน และราคาสาธารณูปโภคในประเทศที่เพิ่มขึ้น

สำหรับค่าเงินยังคงมีความผันผวนสูง และต้องจับตาเป็นพิเศษ โดยเฉพาะค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีแนวโน้มอ่อนค่าลง ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐเนื่องจากผลของนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจทยอยหมดลง ตลอดจนการส่งสัญญาณจากธนาคารกลางสหรัฐฯ (FED) ที่พร้อมผ่อนคลายนโยบายการเงินเมื่อจำเป็น ทำให้ค่าเงินสกุลอื่นมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นโดยเปรียบเทียบ ได้แก่ เยนญี่ปุ่น (JPY) หยวนจีน (CNY) ดอลลาร์แคนาดา (CAD) รวมถึงเงินบาท ด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบายช่วงปลายปี 2562 คาดว่า FED จะยังคงอัตราดอกเบี้ยจนถึงช่วงกลางปี 2563 ซึ่งเปลี่ยนไปจากที่คาดการณ์เมื่อต้นปีว่าจะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับธนาคารกลางยุโรป (ECB) และญี่ปุ่น (BoJ) ที่จะยังคงอัตราดอกเบี้ยที่ 0% และ -0.1% ตามลำดับ ไปจนถึงช่วงกลางปี 2563

ด้านเศรษฐกิจไทย ธนาคารฯ ได้ปรับลดประมาณการเติบโตมาอยู่ที่ 3.3% ในปี 2562 โดยการชะลอตัวของเศรษฐกิจส่วนหนึ่ง มาจากการชะลอการลงทุนภาคไตรมาสที่ 1 โดยคาดว่าปี 2563 มีโอกาสฟื้นตัวขึ้นเล็กน้อยที่ 3.7% ในครึ่งปีหลัง 2562 คาดการณ์ว่าการส่งออก และการท่องเที่ยว ยังมีโอกาสขยายตัวในระดับที่ดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงต้นปีที่ผ่านมา ขณะที่ค่าเงินบาทไทย มีแนวโน้มอยู่ในระดับที่แข็งค่าไปจนถึงช่วงต้นปี 2563 โดยคาดว่าส่วนใหญ่จะอยู่ในกรอบ 31.20 – 31.50 และยังต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่า ระดับค่าเงินบาทปัจจุบัน ที่แข็งค่าอยู่ในระดับ 30.60 - 30.70 ที่ได้รับอานิสงส์ส่วนหนึ่งมาจากเงินทุนไหลเข้าระยะสั้น จะคงอยู่ได้นานหรือไม่ ทั้งนี้เพราะรายได้จากต่างประเทศจากการส่งออก และการท่องเที่ยวยังไม่ได้ดีขึ้นชัดเจน นางสาวนลิน กล่าวสรุป


นายบุญนิเศรษฐ์ ธัญวรอนันต์ ที่ปรึกษาทางการลงทุน ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย
กล่าวว่า คาดการณ์อัตราเติบโตของผลกำไรต่อหุ้นทั่วโลกในปี 2562 จะอยู่ที่ 4.0% ต่ำกว่าระดับประมาณการเดิมเล็กน้อย สำหรับการลงทุนในช่วงครึ่งปีหลังนี้จึงแนะนำให้กระจายการลงทุนไปในสินทรัพย์หลากหลายชนิด โดยเพิ่มการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีคุณภาพสูง เช่น กลุ่มตราสารหนี้เอกชนสหรัฐฯ ที่จัดอยู่ในระดับน่าลงทุน (US Investment Grade) นอกจากนี้ควรพิจารณาลงทุนในกองทุนรวมแบบผสม (Multi-Asset Fund) และกองทุนรวมทางเลือก (Alternative Mutual Fund) เพื่อกระจายความเสี่ยงในช่วงที่มีภาวะความผันผวนที่สูงขึ้นในปีนี้

ขณะที่เศรษฐกิจโลกกำลังเข้าสู่ช่วงที่ยังเติบโตแต่โตน้อยลงเช่นนี้ นักวิเคราะห์ของซิตี้จึงมีมุมมองเป็นบวกต่อ 4 กลุ่มหุ้นวัฐจักร ได้แก่ กลุ่มสุขภาพ กลุ่มวัสดุการผลิต กลุ่มพลังงาน และกลุ่มเทคโนโลยี ที่ได้แรงหนุนจากการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย และเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่พัฒนาก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว อย่างไรก็ตาม กลุ่มธุรกิจสินค้าโภคภัณฑ์ หรือคอมโมดิตี้ ยังทำผลงานได้เป็นที่น่าจับตา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับน้ำมัน และน้ำมันดิบที่มีอุปสงค์เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และคาดว่าจะส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบเบรนท์แตะ 75 ดอลลาร์สหรัฐต่อบารร์เรล และมีแนวโน้มทะลุ 78 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล ส่วนทองคำยังเป็นที่ต้องการของตลาด และมีกรอบมูลค่าราว 1,300 – 1,400 ดอลลาร์สหรัฐต่อออนซ์ แตะระดับสูงสุดในรอบ 5 ปี

ทั้งนี้ การลงทุนปี 2562 ยังคงมีความท้าทายสูง โดยนักลงทุนควรติดตามอย่างใกล้ชิด สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ จีน ยุโรป และญี่ปุ่น ความไม่แน่นอนระหว่างสหรัฐ ตะวันออกกลางและเกาหลีเหนือ ข้อตกลงเบร็กซิท การเลือกตั้งในภูมิภาค และนโยบายงบการคลังของคณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้อัตราการลงทุนทั่วโลกมีแนวโน้มชะลอลง โดยเฉพาะในช่วงเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนสิงหาคม ที่ตลาดมีความเคลื่อนไหวน้อยที่สุดในรอบปี นายบุญนิเศรษฐ์ กล่าวทิ้งท้าย


ด้าน นายดอน จรรย์ศุภรินทร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายบุคคลธนกิจ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย
กล่าวว่า ปัจจุบันธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย มีพันธมิตรกองทุนชั้นนำทั้งใน และต่างประเทศรวมกว่า 17 แห่ง อาทิ AllianceBernstein Allianz Global Investors Schroders UBS Asset Management ฯลฯ ซึ่งครอบคลุมหลากหลายรูปแบบการลงทุน ตอบโจทย์ทุกสถานการณ์เศรษฐกิจ อาทิ กองทุนรวมที่เน้นการลงทุนในเทรนด์ตลาดน่าสนใจ อย่างกองทุนรวมเทคโนโลยี กองทุนตราสารรายได้คงที่ศักยภาพสูง ฯลฯ เพื่อเป็นทางเลือกกองทุน ช่วยบาลานซ์พอร์ต และรักษาผลตอบแทนการลงทุนสำหรับลูกค้า ท่ามกลางภาวะตลาดที่มีความท้าทายสูง

นอกจากนี้ ธนาคารฯ ยังเตรียมพัฒนาบริการดิจิทัลแบงก์กิ้ง เพื่อประสบการณ์การลงทุนที่ดีที่สุดสำหรับลูกค้า อาทิ ออนไลน์ฟีเจอร์ ให้ลูกค้าสามารถยืนยันการทำธุรกรรมการลงทุน ผ่านซิตี้ โมบายล์ แอปพลิเคชัน รวมถึงสิทธิประโยชน์ อย่าง ซิตี้ โกลบอล วอลเลท ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็ว คุ้มค่า และเพิ่มความปลอดภัยให้กับการทำธุรกรรมการเงินต่างประเทศ โดยลูกค้าสามารถเปิดบัญชีเงินตราต่างประเทศได้ 8 สกุลเงินได้ทันทีผ่านฟีเจอร์บนแอปพลิเคชั่นของทางธนาคาร  แลกเปลี่ยนเงินระหว่างบัญชีแบบเรียลไทม์ ในเรทแลกเปลี่ยนสุดคุ้ม สามารถโอนเงินระหว่างบัญชีธนาคารซิตี้แบงก์ทั่วโลก โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม สามารถใช้เงินในสกุลที่เปิดไว้โดยไม่มีค่าบริการเพิ่มเติม เมื่อทำการใช้จ่ายผ่านบัตรซิตี้โกลด์ เดบิต มาสเตอร์การ์ด ในต่างประเทศ โดยระบบจะจับคู่สกุลเงิน ณ ประเทศนั้นๆ แล้วตัดยอดใช้จ่ายจากบัญชีออมทรัพย์สกุลเงินดังกล่าวที่ลูกค้าแลกเปลี่ยนเงินไว้โดยอัตโนมัติ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตในโลกยุคใหม่ได้อย่างลงตัว

เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้านการลงทุน ทางธนาคารฯ ยังออกฟีเจอร์เพิ่มเพื่อให้มอบบริการที่รวดเร็ว ลดขั้นตอนการดำเนินเอกสารให้แก่ลูกค้า ด้วย Authorization corner หรือเอกสารการทำธุรกรรม ฟีเจอร์ใหม่ในซิตี้ โมบายล์ แอปฯ และซิตี้แบงก์ออนไลน์ ที่ให้ลูกค้าสามารถยืนยันรายการซื้อขายกองทุน และตราสารหนี้ได้ง่ายๆ สะดวก รวดเร็ว ซึ่งผู้ดูแลบัญชีสามารถส่งรายการซื้อขายนั้นๆ ไปให้ลูกค้ายืนยันคำสั่งการลงทุนด้วย OTP ผ่านเมนูในแอปฯ โดยลูกค้าไม่จำเป็นจะต้องเดินทางมาที่สาขาเพื่อเซ็นเอกสาร และให้ลูกค้ามีช่วงเวลาทำรายการที่นานขึ้นก่อน cutoff time สำหรับบางกองทุนที่อาจจะมี cutoff time ค่อนข้างเร็ว นายดอน กล่าวสรุป

ทั้งนี้ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย ได้จัดงาน “Mid-2019 Outlook” แถลงข้อมูลทิศทางเศรษฐกิจและการลงทุนช่วงกลางปี 2562 เมื่อเร็วๆ นี้ ณ โรงแรมสยามเคมปินสกี้ กรุงเทพฯ สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย หรือ www.citibank.co.th

บทสัมภาษณ์เพิ่มเติม นางสาวนลิน ฉัตรโชติธรรม นักเศรษฐศาสตร์ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย
   แม้เศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลง แต่ยังมองเห็นการเติบโต จากการค้าปลีกที่มีตัวเลขเป็นบวกของบางประเทศ อาทิ จีน และกลุ่มประเทศเกิดใหม่ ขณะที่การผลิต และการส่งออกยังไม่ฟื้นตัวเท่าใดนัก แต่ยังคงมีสัญญาณบวก อย่างไรก็ดี นักวิเคราะห์ยังไม่เห็นการใช้มาตรการทางเศรษฐกิจอย่างชัดเจนของธนาคาร และเชื่อว่าหากเกิดขึ้นจริง เศรษฐกิจโลกน่าจะฟื้นตัวได้ดียิ่งขึ้น

   ด้านอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ยังมีการทรงตัว คาดว่าในกลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่จะมีแนวโน้มปรับดอกเบี้ยลงอีก ส่งผลให้สภาพคล่องดีขึ้น ช่วยผยุงเศรษฐกิจในประเทศ ด้านกลุ่มประเทศพัฒนาน่าจะคงอัตราดอกเบี้ยต่ำไปจนถึงสิ้นปีหน้า ขณะที่ FED มีลุ้นปรับตัวลดลง เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัว แม้ว่าจะมีการจ้างงานสูงขึ้นก็ตาม

   ส่วนของค่าเงินมีความผันผวนมาก โดยเฉพาะดอลลาร์สหรัฐฯ ที่อ่อนตัวชัดเจนเมื่อเทียบกับค่าเงินใน G10 และค่าเงินประเทศตลาดเกิดใหม่ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงห้าปีที่ผ่านมา ที่ดอลลาร์ปรับตัวขึ้นราว 20% ขณะที่ค่าเงินประเทศตลาดพัฒนาแล้วมีโอกาสแข็งค่า มากกว่าค่าเงินตลาดเกิดใหม่ ที่บางประเทศยังประสบปัญหาการส่งออก นอกจากนี้ ในช่วงสองไตรมาสข้างหน้า ควรจับตาดูค่าเงินหยวนจีน ที่มทางการจีนจะพยายามควบคุมไม่ให้เกิน 7.0 เพื่อสร้างสเถียรภาพทางการเงิน แต่ยังมีความเสี่ยงจากสงครามการค้า และมาตรการกีดกันที่อาจส่งผลให้มีเกิดการปรับตัวทะลุ 7.0 ขึ้นไป

   ด้านเศรษฐกิจไทย แม้จีดีพีจะมีการปรับลดมาสองครั้งในปีนี้แต่เชื่อว่าน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในปีหน้า การบริโภคภายในประเทศยังคงสูง ด้านสินค้าเกษตรแม้จะยังไม่ดีมากนัก แต่ก็มองเห็นการฟื้นตัว ขณะที่ค่าจ้างแรงงานนอกภาคเกษตรตฺบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไป และยังคงต้องรอมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ชัดเจนของทางภาครัฐ ซึ่งน่าจะมีส่วนช่วยผลักดันเศรษฐกิจจากการชะลอตัวช่วงต้นปี ด้านการส่งออก และการท่องเที่ยวยังคงต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด ส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบายน่าจะควอัตราไปจนถึงปลายปีหน้า ผิดไปจากแนวโน้มแบงก์ชาติเมื่อต้นปีที่มีทีท่าจะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ประมาณการค่าบาทไทยทั้งปีอยู่ระหว่างกรอบ 31.00 - 32.00 ต่อดอลลาร์สหรัฐฯ 

ตารางแสดงคาดการณ์การขยายตัวทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ
   GDP    Inflation   2018   2019   2020   2018   2019   2020
Global   3.2%   2.9%   2.8%   2.7%   2.4%   2.4%
US   2.9%   2.6%   2.0%   2.0%   1.3%   1.7%
Europe   1.8%   1.1%   1.3%   1.8%   1.2%   1.3%
Japan   0.8%   0.6%   0.1%   1.0%   0.5%   0.6%
Latin America   1.4%   1.3%   2.3%   7.5%   8.4%   6.1%
Emerging Europe   3.1%   1.6%   2.8%   5.9%   6.6%   6.0%
Middle East & North Africa   2.4%   2.7%   3.6%   4.6%   3.6%   4.9%
Asia   5.9%   5.7%   5.5%   2.3%   2.6%   2.6%
China   6.6%   6.4%   6.0%   2.1%   2.6%   2.3%
Hong Kong   3.0%   2.1%   2.1%   2.4%   2.0%   2.3%
India   6.8%   7.0%   7.4%   3.4%   3.8%   4.2%
Malaysia   5.2%   5.0%   4.9%   3.2%   3.3%   3.9%
Philippines   4.7%   4.7%   4.7%   1.0%   1.3%   2.5%
Singapore   6.2%   6.2%   6.5%   5.2%   2.8%   3.0%
South Korea   3.1%   2.0%   2.2%   0.4%   0.7%   1.2%
Taiwan   2.7%   2.1%   2.2%   1.5%   1.0%   1.5%
Thailand   2.6%   2.1%   1.9%   1.3%   0.8%   1.3%
Vietnam   4.1%   3.3%   3.7%   1.1%   1.2%   0.9%

ที่มาของข้อมูล: Citi Research. 26 มิถุนายน 2562

ตารางแสดงคาดการณ์อัตราแลกเปลี่ยน (เทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ)     3Q19    4Q19    1Q20    2Q20

Europe    1.13    1.15    1.16    1.19
Japan    107   105    104    101
UK    1.28    1.32    1.35    1.39
Australia    0.68    0.68    0.68    0.69
China    6.97    6.93    6.88    6.76
Hong Kong    7.84    7.84    7.83    7.82
India    69.1    68.5    68.1    68.9
Indonesia    14380    14230    14121    14280
Malaysia    4.18    4.16    4.13    4.06
Philippines    52.3    52.5    52.6    52.5
Singapore    1.37    1.37    1.36    1.35
South Korea    1201    1190    1178    1166
Taiwan    31.4    31.4    31.3    31.1
Thailand    31.4    31.3    31.2    31.4

ที่มาของข้อมูล: Citi Research. 19 มิถุนายน 2562
ตารางแสดงคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบาย

     Current   3Q19   4Q19   1Q20   2Q20
US    2.50%   2.50%   2.50%   2.50%   2.50%
Europe    0.00%   0.00%   0.00%   0.00%   0.00%
Japan    -0.10%   -0.10%   -0.10%   -0.10%   -0.10%
Australia    1.00%   1.00%   1.00%   1.00%   1.00%
UK    0.75%   0.75%   0.75%   0.75%   1.00%

ที่มาของข้อมูล: Citi Research. 26 มิถุนายน 2562 / อัตราดอกเบี้ยนโยบายปัจจุบัน ณ วันที่ 5 กรกฎาคม 2562

เกี่ยวกับ “ซิตี้”
ธนาคารชั้นนำของโลก ที่ให้บริการแก่ลูกค้ากว่า 200 ล้านราย ในกว่า 160 ประเทศและเขตปกครองทั่วโลก ซิตี้นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่หลากหลายให้กับลูกค้าบุคคล องค์กร ภาครัฐและสถาบันต่างๆ โดยธุรกิจหลักครอบคลุมการธนาคารและสินเชื่อเพื่อลูกค้าบุคคล (สายบุคคลธนกิจ) ธนาคารเพื่อองค์กรและการลงทุน (สายสถาบันธนกิจและวาณิชธนกิจ) ธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์ บริการธุรกรรมทางการเงินต่างๆ รวมถึงบริการบริหารความมั่งคั่ง ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.citigroup.com | ทวิตเตอร์: @Citi | ยูทูป: www.youtube.com/citi | บล็อก: http://new.citi.com | เฟซบุ๊ก: www.facebook.com/citi | ลิงก์อิน: www.linkedin.com/company/citi
« Last Edit: July 11, 2019, 02:46:22 PM by MSN »