เจดี สปอร์ตส์ มอบเงินสนับสนุนโครงการ “Better Me”
เปิดห้องเรียนสอนภาษาอังกฤษ และหลักสูตรการพัฒนาตนเอง
แก่สตรีผู้ด้อยโอกาสในประเทศไทย ณ มูลนิธิกลุ่มปรารถนาดี
แจ็คลิน แทน ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการตลาด เจดี สปอร์ตส์ (ที่ห้าจากขวา) และวราทร รัตน์ดิลกพานิชย์ ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท เจดี สปอร์ตส์ แฟชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (ที่สี่จากขวา) ผู้แทนจำหน่ายรองเท้า เสื้อผ้ากีฬาแฟชั่น และสตรีทแวร์จากแบรนด์ดังระดับโลก ตระหนักถึงความสำคัญของผู้หญิง การศึกษา และการส่งเสริมอาชีพ จึงร่วมกับมูลนิธิกลุ่มปรารถนาดี จัดกิจกรรมเปิดห้องเรียนสอนทักษะภาษาอังกฤษ และหลักสูตรการพัฒนาตนเอง ตลอดจนการให้คำปรึกษาในการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมอย่างเป็นสุข โดยมอบเงินสนับสนุนโครงการ “Better Me” เพื่อเป็นทุนการศึกษาให้แก่สตรีในประเทศไทยที่ขาดโอกาส โดยมีสโรชินี อัญญเวชสัมฤทธิ์ ผู้อำนวยการมูลนิธิฯ เป็นผู้รับมอบและให้การต้อนรับ ณ มูลนิธิกลุ่มปรารถนาดี กรุงเทพฯ เมื่อเร็ว ๆ นี้###
เกี่ยวกับเจดีเจดี คือผู้แทนจำหน่ายเสื้อผ้ากีฬาแฟชั่น ซึ่งครอบคลุมทั้งสินค้ารองเท้าและเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายทั้งสำหรับสวมใส่ และยังจำหน่ายสินค้าเครื่องประดับอีกหลากหลายรายการ โดยบริษัทก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1981 ปัจจุบันมีร้านค้าราว 800 ร้านทั่วโลกและมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในเมืองบิวรี่ สหราชอาณาจักร ด้วยประสบการณ์ 30 ปีในธุรกิจค้าปลีกเสื้อผ้ากีฬาแฟชั่น เจดีได้นำเสนอสินค้าเสื้อผ้าสตรีทแวร์จากแบรนด์ดังระดับโลกมาแล้วมากมายสู่ผู้บริโภคในหลายประเทศ ซึ่งนอกเหนือจากแบรนด์ชั้นนำอย่าง adidas, Nike, Puma, Reebok, New Balance, Converse, Lacoste, Fila, Supply & Demand และ Pink Soda เจดียังมีกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมและความเข้าใจที่ถ่องแท้ในรองเท้ากีฬา ทำให้เจดีมีชื่อเสียงโด่งดังจนได้รับสมญานามว่า “King of Trainers” นอกเหนือจากรองเท้ากีฬา เจดียังมีสินค้าเสื้อผ้ากีฬาแฟชั่นและสตรีทแวร์อีกมากมาย ทั้งสำหรับผู้ชาย ผู้หญิง และเด็กเกี่ยวกับ มูลนิธิกลุ่มปรารถนาดีมูลนิธิกลุ่มปรารถนาดี จดทะเบียนจัดตั้งขึ้นในปี 2543 มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการศึกษา โดยการอบรมให้ความรู้และทักษะในด้านชีวิตและการทำงานให้กับผู้หญิงและเยาวชนหญิงในประเทศไทย ให้คำแนะนำในเรื่อง การประกอบอาชีพ ตลอดจนส่งเสริมให้รู้และตระหนักในเรื่องสิทธิ โดยมีสำนักงานอยู่ที่กรุงเทพฯ และจังหวัดอุบลราชธานี มูลนิธิเป็นองค์กรขนาดเล็กที่ทำงานภายใต้การสนับสนุนจากคณะกรรมการมูลนิธิ อาสาสมัครทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยมูลนิธิสามารถจัดการอบรมให้ความรู้ แนะนำเรื่องการประกอบอาชีพ และการให้คำปรึกษาให้กับผู้หญิง ขาดโอกาสที่ต้องการพัฒนาตนเอง ตลอดจนการให้ความรู้ในเรื่องการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพ และสิทธิควรรู้กับเยาวชนหญิงในโรงเรียนในภาคอีสานของประเทศไทย เป็นจำนวนรวมมากกว่า 3,000 คนต่อปี