MSN on June 24, 2019, 01:08:36 PM
ข่าวประชาสัมพันธ์ เอบีม คอนซัลติ้ง เปิดรายงานเชิงลึกธุรกิจการเงินไทย แนะต้องตั้งโจทย์ให้ชัดเจนก่อนวิเคราะห์บิ๊กดาต้า






บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยจากข้อมูลรายงานเชิงลึก หรือ ไวท์เปเปอร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับบิ๊กดาต้าในธุรกิจบริการทางการเงินของไทย พบ 73.2% ขององค์กรธุรกิจบริการทางการเงินกำลังศึกษาเกี่ยวกับบิ๊กดาต้าและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงทำนาย ใช้ตอบโจทย์ความท้าทายทางธุรกิจ และเพิ่มความพร้อมในการรับมือกับความท้าทายใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ชี้เทคโนโลยีใหม่อย่าง AI และอื่น ๆ ถูกนำมาใช้ในธุรกิจเพื่อใช้ประโยชน์จากบิ๊กดาต้า ส่งผลให้ธุรกิจฟินเทคเกิดขึ้นมากมาย ทั้งในด้านการบริการทางการเงินก้าวหน้า (Advanced Financial Services) การเพิ่มประสิทธิภาพในขั้นตอนการบริการ รวมไปถึงมาตรการความปลอดภัยและวิธีการปฏิบัติตามข้อกำหนด แนะกำหนดเป้าหมายทางธุรกิจ พร้อมเผย 3 ปัจจัยความสำเร็จก่อนเริ่มการวิเคราะห์บิ๊กดาต้า ที่สำคัญคือเลือกทำงานกับพันธมิตรที่มีศักยภาพในการทำบิ๊กดาต้าแบบครบวงจร


นายอิชิโระ ฮาระ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทที่ปรึกษาระดับโลก ผู้ให้บริการที่มีความเชี่ยวชาญด้านการปรับเปลี่ยนองค์กรธุรกิจในรูปแบบดิจิทัลทรานสฟอร์เมชั่น ในเครือบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง จำกัด ประเทศญี่ปุ่น
กล่าวว่าบริษัทฯ ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับบิ๊กดาต้าในธุรกิจบริการทางการเงินของประเทศไทยออกมาเป็นไวท์เปเปอร์ เพื่อเป็นข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับองค์กรธุรกิจ ซึ่งจากการศึกษาดังกล่าวพบว่า 73.2% ขององค์กรธุรกิจด้านบริการทางการเงินกำลังศึกษาเกี่ยวกับบิ๊กดาต้าและการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงทำนาย และ 70% รายงานว่าบิ๊กดาต้าเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งกับองค์กรสำหรับใช้รับมือกับความท้าทายสำคัญ ด้วยการยกระดับความต้องการของธุรกิจ (Business Requirement)

“ปัจจุบันความท้าทายของสถาบันการเงินและธุรกิจประกัน ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจบริการทางการเงิน มาจาก 4 ด้าน คือ จากคู่แข่งเดิมที่มีการแข่งขันที่สูงด้วยการสร้างความแตกต่างด้วยฟีเจอร์ทางดิจิทัล ส่งผลให้ส่วนแบ่งการตลาดผันผวน ในขณะที่คู่แข่งใหม่จากธุรกิจ FinTech และ InsurTech สามารถเข้าสู่ตลาดการแข่งขันได้ง่ายขึ้น จากการใช้ประโยชน์จากข้อมูลลูกค้าในการดิสรัปท์อุตสาหกรรม นอกจากนี้ พฤติกรรมของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงทั้งเรื่องการหาข้อมูลและการเลือกใช้บริการอย่างฉลาด รวมทั้งกฎระเบียบข้อบังคับของภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ล้วนเป็นความท้าทายที่องค์กรในธุรกิจกลุ่มนี้ต้องเผชิญ” นายฮาระ กล่าว

นายฮาระ กล่าวเสริมว่า
ตัวอย่างของการรับมือกับสภาพแวดล้อมที่ท้าทายด้วยการเริ่มต้นที่การตั้งความต้องการของธุรกิจ คือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ที่ตั้งความต้องการของธุรกิจให้เป็นธนาคารที่คนชอบมากที่สุด โดยได้เป้าความท้าทายไปที่ดิจิทัล ดิสรัปชั่นและการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภค ก่อนที่จะตั้ง “SCB Abacus” เพื่อใช้บิ๊กดาต้า ทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลและ AI สนับสนุนดิจิทัลแพลตฟอร์มต่าง ๆ เพื่อตอบโจทย์ดังกล่าว

ทั้งนี้ธุรกิจบริการทางการเงินจำเป็นต้องใช้ประโยชน์จากบิ๊กดาต้า ไปใช้ตอบโจทย์ความท้าทายทางธุรกิจ และเพิ่มความพร้อมในการรับมือกับความท้าทายใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน แต่เนื่องจากลักษณะของบิ๊กดาต้าจะเป็นข้อมูลที่มีขนาดใหญ่และมีปริมาณมาก มีความหลากหลาย มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอย่างรวดเร็ว และไม่มีความชัดเจน ทำให้มีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อมาใช้ประโยชน์จากบิ๊กดาต้า เช่น Artificial Intelligence หรือ AI, Blockchain, Internet of Things หรือ IOT เป็นต้น ส่งผลให้ธุรกิจฟินเทคเกิดขึ้นมากมาย ทั้งในด้านการบริการทางการเงินก้าวหน้า (Advanced Financial Services) การเพิ่มประสิทธิภาพในขั้นตอนการบริการ รวมไปถึงมาตรการความปลอดภัยและวิธีการปฏิบัติตามข้อกำหนด

“ตัวอย่างของการนำ AI มาใช้ในบริการทางการเงิน เช่น AI Trading อย่าง บริษัทหลักทรัพย์ เออีซี จำกัด (มหาชน) ได้นำบริการ AI Trading ที่ชื่อว่า “AIPRO” ด้วยการสร้างกลยุทธ์การซื้อขายจากการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและเรียนรู้ในการปรับกลยุทธ์การซื้อขายจากสถานการณ์การตลาดที่เปลี่ยนแปลงและประวัติรูปแบบการซื้อขาย บริการลูกค้าด้วย Chatbot ซึ่งเป็นโปรแกรมแชทโดย AI ถูกนำมาใช้จากหลายธนาคาร ไม่ว่าจะเป็น SCB “Connect”, Krungsri “Bella” หรือ TMB “Me” นอกจากนี้ ยังมีการใช้ AI ในอีกหลายบริการ ไม่ว่าจะเป็นการนำ AI มาทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำด้านการลงทุนตามเป้าหมายและตรวจสอบโปรไฟล์ความเสี่ยงของลูกค้า รวมทั้งตามสถานการณ์ของตลาดปัจจุบัน ประกอบกับการนำข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ร่วมในการให้คำปรึกษา เป็นต้น” นายฮาระ กล่าวเสริม

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าบิ๊กดาต้าจะเป็นเทรนด์ที่ธุรกิจนำมาใช้กัน แต่มีหลายองค์กรล้มเหลวในการทำบิ๊กดาต้าตั้งแต่เริ่มโครงการ เนื่องจากไม่ได้กำหนดความต้องการทางธุรกิจให้ชัดเจน ดังนี้ องค์กรธุรกิจที่ให้บริการทางการเงินควรเริ่มจาก 3 ปัจจัยหลัก ก่อนเริ่มทำโครงการวิเคราะห์บิ๊กดาต้า คือ 1. การระบุความท้าทายและผลกระทบจากความท้าทายที่องค์กรทำลังเผชิญ 2. กำหนดปัจจัยความสำเร็จในการทำโครงการบิ๊กดาต้า และ 3. ประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการ ทั้งนี้ จำเป็นต้องเลือกทำงานกับพันธมิตรที่มีความรู้ด้านการวิเคราะห์เชิงลึก มีทีมงานที่เป็นมืออาชีพด้านการวิเคราะห์ข้อมูลในธุรกิจที่เกี่ยวข้องอย่างธุรกิจธนาคารหรือธุรกิจประกัน รวมทั้งมีทีมงานสนับสนุนในการขับเคลื่อนโครงการครบทุกขั้นตอนของการวิเคราะห์บิ๊กดาต้า

เกี่ยวกับบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด เป็นบริษัทในเครือบริษัท เอบีม คอนซัลติ้ง จำกัด โดยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีทีมงานกว่า 6,000 คน ที่ให้บริการลูกค้ากว่า 700 รายทั่วภูมิภาคเอเชีย อเมริกา และยุโรป นับตั้งแต่เปิดให้บริการที่ปรึกษาในประเทศไทยเมื่อปี 2548 เอบีม คอนซัลติ้ง (ประเทศไทย) มีทีมงานผู้เชี่ยวชาญกว่า 350 คน ที่ให้บริการลูกค้ามากกว่า 150 ราย ในประเทศไทย ด้วยความเชี่ยวชาญในบริการด้านด้านดิจิทัลทรานสฟอร์เมชั่น เพื่อช่วยสร้างความได้เปรียบเชิงกลยุทธ์ การปรับปรุงกระบวนการทางธุรกิจ ใช้ประโยชน์จากนวัตกรรมเทคโนโลยี และยกระดับผลการดำเนินงานขององค์กรด้วย ERP และโซลูชั่นอื่น ๆ ทั้งหมด รวมถึงการให้คำปรึกษาด้านการจัดการ, Digital BPI, การวิเคราะห์ข้อมูล, การจัดการโครงการด้านไอที และเอาท์ซอร์สสำหรับบริษัทชั้นนำต่าง ๆ ในประเทศไทย นอกจากนี้ บริษัท เอบีม ยังเป็นพันธมิตรที่ดีกับ SAP โดยให้บริการด้วยทีมที่ปรึกษาที่ได้รับใบรับรองจาก SAP เพื่อความสำเร็จในการทรานสฟอร์มของเอบีมร่วมมือกับลูกค้าในการวินิจฉัยและแก้ไขความท้าทายที่แท้จริงด้วยโซลูชั่นที่รวมการปฏิบัติที่ดีที่สุดและการดำเนินงานเข้ากับความเชี่ยวชาญทางเทคนิคในอุตสาหกรรม โดยเน้นใช้วิธีการปฏิบัติได้จริง (Pragmatic Approach) เพื่อมั่นใจว่าลูกค้าจะได้รับผลลัพธ์ที่รวดเร็ว คุ้มค่า และวัดผลได้ เอบีมมีปรัชญาการบริหารจัดการคือ “Real Partner” ด้วยการให้บริการที่ปรึกษาด้วยบุคลากรที่มีทักษะ มีความรู้ มีความเชี่ยวชาญ พร้อมโซลูชั่นที่แก้ปัญหาได้จริง และให้ผลลัพธ์ที่เป็นความสำเร็จของลูกค้าอย่างแท้จริง ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.abeam.com/th/en