โนโวเทล สุวรรณภูมิ แอร์พอร์ต จัดนิทรรศการ "มหามงคล พระราชพิธีบรมราชาภิเษก"
เนื่องในโอกาสมิ่งมหามงคล พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ์ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย โรงแรมโนโวเทล สุวรรณภูมิ แอร์พอร์ตร่วมกับกลุ่มศิลปินสุวรรณภูมิจัดนิทรรศการ “มหามงคล พระราชพิธีบรมราชาภิเษก” ภายในงานได้จัดแสดงความเป็นมาของพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์และพระบรมรูปปั้น ซึ่งเป็นผลงานประติมากรรมต้นแบบปูนปลาสเตอร์ สำหรับแกะสลักเป็นหินอ่อนพระบรมรูปปั้น โดยนที เกวลกุล ทางสถาบันพระปกเกล้าได้จัดสร้างพระบรมรูปปั้นนี้ เพื่อทูลเกล้าถวายฯ เนื่องในวโรกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ วันที่ 28 กรกฎาคม 2555 นิทรรศการดังกล่าว จัดแสดงตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2562 ณ บริเวณล๊อบบี้ โรงแรมโนโวเทล สุวรรณภูมิ แอร์พอร์ตจากภาพ (จากซ้าย) นฤมล เฑียรฆโรจนกุล, ผู้จัดการฝ่ายสื่อสารการตลาด โรงแรมฯ ให้การต้อนรับกลุ่มศิลปินสุวรรณภูมิ ประกอบด้วย นที เกวลกุล, สุรัชต์ สดแสงสุก, ดินหิน รักพงษ์อโศก, พรชัย สินนท์ภัทร, สุวิทย์ ใจป้อม, ลาภ อำไพรัตน์, บรรจบ ปูธิปิน, ชิงชัย อุดมเจริญกิจ และวัฒนา พูลเจริญประติมากรรมต้นแบบ ปูนปลาสเตอร์ (เพื่อใช้ในการวัดขนาด สำหรับแกะสลักเป็นหินอ่อน ) การแกะสลักหินอ่อน ตามเทคนิคแบบอิตาเลี่ยนในสมัยก่อน มักจะใช้วิธีการปั้นรูปต้นแบบด้วยดินเหนียวก่อนเพื่อกำหนดรูปทรงปริมาตร และองค์ประกอบ หลังจากนั้นจึงหล่อเป็นปูนปลาสเตอร์ เพื่อคงสภาพต้นแบบไว้ เพื่อใช้ในการวัดขนาดด้วยเครื่องมือเฉพาะ โดยการวัดหนึ่งครั้งจะทำสัญลักษณ์กำกับไว้เป็นหนึ่ง “จุด” ร่องรอยดินสอที่จุดไว้บนรูปต้นแบบปูนนี้จะถูกถ่ายเพื่อไปกำหนด “จุด” บนบล็อกหินอ่อนที่แกะสลักเพื่อวัดความลึกของแต่ละส่วนจนครบ ก่อนจะทำการแกะสลักเก็บรายละเอียดและลบรอยตำแหน่งที่กำหนดไว้ออกไปจนหมดเกี่ยวกับศิลปิน นที เกวลกุล เกิดเมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2522 จังหวัดกรุงเทพ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะจิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ และศิลปะไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร หลังจบการศึกษาได้เป็นอาจารย์พิเศษในรายวิชา เทคนิคการแกะสลักประติมากรรมหินอ่อน มหาวิทยาลัยศิลปากร ในปี 2543 ได้ศึกษาต่อที่เมือง Carrara ประเทศอิตาลี ภาควิชาประติมากรรม ที่ Accademia di Belle Arti di Carrara ระหว่างศึกษา ได้ทำงานเป็นประติมากร อยู่ที่ Studio Arte di Cave Michelangelo และ Marble Studio Stagetti ปลายปี 2551 ได้ย้ายกลับมาประเทศไทย และเปิดสตูดิโอที่กรุงเทพ เพื่อทำงานประติมากรรมและสลักหินอ่อน อย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน