news on April 23, 2019, 02:05:01 PM
การเติบโตอย่างมหาศาลของข้อมูลก่อเกิดความท้าทายให้องค์กรธุรกิจในเอเชียแปซิฟิคและญี่ปุ่นมากกว่า 9 ใน 10 เผชิญอุปสรรคในการปกป้องข้อมูล

80 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรต้องประสบกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และเกือบหนึ่งในสาม (32 เปอร์เซ็นต์) ได้รับความเดือดร้อนจากเหตุการณ์การสูญหายของข้อมูลอย่างถาวรในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา


●   องค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่นมีการจัดการข้อมูล 8.13 เพตะไบต์ (PB) ในปี 2561 หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตอย่างมหาศาลที่ 384 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับ 1.68 เพตะไบต์ (PB) ในปี 2559

●   90 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรธุรกิจมองเห็นคุณค่าจากข้อมูล แต่มีเพียง 35 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่สามารถสร้างรายได้จากข้อมูลได้แล้ว

●   94 เปอร์เซ็นต์เผชิญหน้ากับความท้าทายในด้านการปกป้องข้อมูล และเป็นจำนวนถึง 43 เปอร์เซ็นต์ที่ประสบกับความท้าทายในการหาโซลูชันการปกป้องข้อมูลที่เหมาะสมสำหรับเทคโนโลยีใหม่กว่า อาทิ ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีน เลิร์นนิ่ง

●   มากกว่าหนึ่งในสาม (34 เปอร์เซ็นต์) ของผู้ตอบแบบสอบถามมั่นใจเป็นอย่างมากว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านการปกป้องข้อมูลของพวกเขาสอดคล้องกับข้อกำหนดระเบียบปฏิบัติภายในภูมิภาค แต่มีเพียง 18 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เชื่อว่าโซลูชั่นการป้องกันข้อมูลของพวกเขาจะสอดคล้องกับความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

องค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและญี่ปุ่น (APJ) ในปัจจุบันกำลังจัดการข้อมูลที่เพิ่มเกือบ 5 เท่าของจำนวนข้อมูลที่เคยจัดการในปี 2559 และมีเพียง 13 เปอร์เซนต์ของธุรกิจที่จัดอยู่ในกลุ่ม “ผู้นำ” (leaders) ด้านการปกป้องข้อมูล ตามรายงาน ดัชนีการปกป้องข้อมูลระดับโลกของเดลล์ อีเอ็มซี ครั้งที่ 3 (Dell EMC Global Data Protection Index) ด้วยความร่วมมือกับแวนสัน บอร์น (Vanson Bourne)

งานวิจัยซึ่งสำรวจผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีจำนวนทั้งหมด 2,200 คนจากทั้งภาครัฐและเอกชนที่มีพนักงานมากกว่า 250 คนใน 18 ประเทศ และ 11 อุตสาหกรรม เผยให้เห็นถึงสถานะของการปกป้องข้อมูลในกลุ่มองค์กรต่างๆ ในประเทศออสเตรเลีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย และสิงคโปร์ ท่ามกลางสถานการณ์การเติบโตอย่างมหาศาลในปัจจุบันของข้อมูลภายในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตัวดัชนีได้รายงานให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นอย่างมากมายของปริมาณข้อมูลที่ถูกจัดการ จากจำนวน 1.68 เพตะไบต์ (PB) ในปี 2559 เป็น 8.13 เพตะไบต์ (PB)  ในปี 2561 และการเพิ่มขึ้นที่สอดคล้องกันของการความสำคัญของข้อมูลในเชิงธุรกจิ ซึ่งในความเป็นจริง 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามมองเห็นถึงคุณค่าของข้อมูล และ 35 เปอร์เซ็นต์สามารถสร้างรายได้จากข้อมูลที่มีอยู่

อย่างไรก็ตาม ดัชนียังพบว่าแม้จะมีการเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างน่าประทับใจของกลุ่ม “ผู้นำ (จาก 1 เปอร์เซ็นต์เป็น 13 เปอร์เซ็นต์( และ “ผู้เริ่มต้น” (adopters) (จาก 8 เปอร์เซ็นต์ขึ้นเป็น 53 เปอร์เซ็นต์) ตั้งแต่ช่วงปี 2559 เป็นต้นมา ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ยังคงเผชิญความท้าทายในการหามาตรการด้านการปกป้องข้อมูลที่เหมาะสมพื่อจัดการกับการเติบโตอย่างรวดเร็วของข้อมูล และการเพิ่มสูงขึ้นของการใช้งานเทคโนโลยีเกิดใหม่ (emerging technologies)

สถานภาพของการปกป้องข้อมูลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค
เหตุการณ์การหยุดชะงักและการสูญหายของข้อมูลที่เกิดขึ้นด้วยระดับความถี่ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกขององค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคเน้นให้เห็นชัดถึงความจำป็นที่เร่งด่วนในการจัดการและปกป้องข้อมูลภายในภูมิภาค โดย 80 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคประสบกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่อง ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมาเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่ 76 เปอร์เซ็นต์ โดย 32 เปอร์เซ็นต์ในจำนวนนี้ไม่สามารถกู้คืนข้อมูลได้ด้วยโซลูชันปกป้องข้อมูลที่มีอยู่แต่เดิม

แม้ว่าการหยุดทำงาน (downtime) ของระบบที่เกิดขึ้นโดยไม่ได้วางแผนไว้จะสามารถพบได้อยู่บ่อยครั้งกว่า แต่การสูญเสียข้อมูลพิสูจน์ให้เห็นแล้วว่ามีผลกระทบที่สูงยิ่งกว่านั้นมากนักสำหรับองค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค โดยเฉลี่ยแล้ว การเกิดดาวน์ไทม์ 20 ชั่วโมงในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลกระทบกับองค์กรที่เสียโอกาสในการดำเนินธุรกิจมีมูลค่าโดยรวม 494,869 ดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่บริษัทที่สูญเสียข้อมูลโดยเฉลี่ยที่ 2.04 เทราไบต์ จะเสียโอกาสในการดำเนินธุรกิจมีมูลค่าโดยรวมสูงถึง 939,703 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ส่งผลกระทบต่อองค์กรในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่เข้าสู่ตลาด (time-to-market) และการสูญเสียฐานลูกค้า ยิ่งกว่านั้น ความเป็นไปได้ของการหยุดชะงักของระบบจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเวลาผ่านไปเมื่อเทียบกับปี 2559 และปี 2561

ทั้งนี้ 9 ใน 10 ขององค์กรธุรกิจตระหนักถึงคุณค่าของข้อมูล และ 88 เปอร์เซ็นต์ขององค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคระบุว่าพวกเขาให้ความสำคัญกับการปกป้องข้อมูลอย่างจริงจังมากขึ้นสำหรับประเภทของข้อมูลที่มีมูลค่าในการสร้างรายได้มากที่สุด อย่างไรก็ตาม สถานะของการปกป้องข้อมูลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น โดยธุรกิจมากกว่า 6 ใน 10 (64 เปอร์เซ็นต์) ยังไม่ได้สร้างรายได้จากสินทรัพย์ที่เป็นข้อมูล และองค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคส่วนใหญ่ยังคงถูกจัดอยู่ในกลุ่ม “ล้าหลัง” (laggards) "กำลังประเมิน" (evaluators) หรือ "เริ่มต้นแล้ว" (adopters) ในแง่ของความพร้อมอย่างเต็มที่ (maturity) ในด้านการปกป้องข้อมูล ซึ่งตรงกันข้ามกับการเป็น “ผู้นำ” (leaders)

“ในปัจจุบัน มูลค่าทางธุรกิจส่วนใหญ่ขององค์กรเชื่อมโยงกับข้อมูลอย่างแยกไม่ออก บริษัทในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค อยู่ในสถานะที่มีลักษณะเฉพาะในการที่จะขับเคลื่อนด้วยข้อมูลอย่างแท้จริง ดูได้จากปริมาณของข้อมูลที่ภูมิภาคนี้ผลิตขึ้นมา” อเล็กซ์ เลย์ รองประธาน ฝ่ายดาต้า โพรเท็คชั่น โซลูชัน เดลล์ อีเอ็มซี ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค กล่าว “องค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จคือกรอบการทำงานด้านการปกป้องข้อมูลที่แข็งแกร่งซึ่งมีความสำคัญออย่างแท้จริงในการที่จะได้รับความไว้วางใจ ความเชื่อมั่นจากลูกค้า”

การเติบโตของข้อมูลและเทคโนโลยีเกิดใหม่ก่อให้เกิดความท้าทาย
องค์กรธุรกิจในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคกำลังเผชิญกับความท้าทายในการเลือกโครงสร้างพื้นฐานและมาตรการที่เหมาะสมในการเผชิญกับการเติบโตอย่างรวดเร็วของข้อมูล และการนำเทคโนโลยีเกิดใหม่เข้ามาใช้งาน ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ (94 เปอร์เซ็นต์) พบกับอุปสรรคอย่างน้อยหนึ่งอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับการปกป้องข้อมูล โดยความท้าทายในสามอันดับแรกในภูมิภาค รวมถึง

1.   46 เปอร์เซ็นต์ – การปกป้องข้อมูลจากการพัฒนาระบบ DevOps และการพัฒนาระบบคลาวด์ ที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว
2.   45.6 เปอร์เซ็นต์ - ความซับซ้อนของการกำหนดค่าและฮาร์ดแวร์/ซอฟต์แวร์ปฏิบัติการด้านการปกป้องข้อมูล
3.   43.4 เปอร์เซ็นต์ - การขาดโซลูชั่นการปกป้องข้อมูลสำหรับเทคโนโลยีเกิดใหม่

สำหรับผู้ที่ประสบกับความท้าทายในการหาโซลูชั่นการป้องกันข้อมูลที่เพียงพอสำหรับเทคโนโลยีที่ใหม่ว่า มากกว่าครึ่ง (54 เปอร์เซ็นต์) ระบุว่าพวกเขาไม่สามารถหาโซลูชันการปกป้องข้อมูลที่เหมาะสมสำหรับปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีน
เลิร์นนิ่ง ดาต้าได้ ตามด้วยแอพพลิเคชั่นสำหรับคลาวด์ (49 เปอร์เซ็นต์) และ IoT (40 เปอร์เซ็นต์)

ความท้าทายเกิดขึ้นจากเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่ พร้อมกับการเติบโตอย่างรวดเร็วของข้อมูลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคกำลังออยู่ในขั้นเริ่มต้นในการก่อตัวเป็นรูปเป็นร่าง ด้วยเหตุนี้ จึงมีเพียง 18 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่เชื่อว่าโซลูชั่นการป้องกันข้อมูลในปัจจุบันจะสามารถตอบสนองความท้าทายทางธุรกิจในอนาคตได้ทั้งหมด

“เทคโนโลยีเกิดใหม่ขับเคลื่อนโดยข้อมูลกำลังเริ่มที่จะเอื้อผลประโยชน์ทางธุรกิจที่แท้จริงให้กับภูมิภาคนี้ องค์กรที่ต้องการเร่งรัดการดำเนินการปฏิรูปไปสู่ดิจิทัล (Digital Transformation) จำเป็นที่จะต้องมองไปสู่การทำให้การปกป้องข้อมูลให้เกิดขึ้นแพราะข้อมูลจะเคลื่อนตัวผ่านทุกภาคส่วนของระบบบเครือข่าย ตั้งแต่ที่อุปกรณ์ปลายทาง (edge) ไปสู่ส่วนกลางที่เป็นส่วนสำคัญของธุรกิจ (core) ไปจนกระทั่งเข้าสู่ระบบคลาวด์ (cloud)  กลยุทธ์ด้านข้อมูลของบริษัทธุรกิจจึงยิ่งทวีความซับซ้อนเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากต้องดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับตามความต้องการด้านการจัดการข้อมูล การกำกับดูแล การรักษาความปลอดภัย และความสามารถในการเข้าถึงอย่างครอบคลุมทั่วทั้งโครงสร้างพื้นฐานแบบมัลติ-คลาวด์ ทั้ง Off-premise และ On-premise ไพรเวท คลาวด์ และพับลิค คลาวด์ และเมื่อผลักความท้าทายออกไป โอกาสในการสร้างรายได้จากข้อมูล และข้อมูลในเชิงลึกถือได้ว่าไม่มีที่สิ้นสุดสำหรับองค์กรที่พร้อมเดินหน้าในการปฏิรูป” เลย์ กล่าวเพิ่มเติม

คลาวด์กำลังเปลี่ยนภาพการปกป้องข้อมูล
เทคโนโลยีคลาวด์กำลังกลายเป็นส่วนประกอบสำคัญของแนวการปกป้องข้อมูลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค จากข้อมูลของดัชนี การใช้งานพับลิค คลาวด์เพิ่มขึ้นจาก 27 เปอร์เซ็นต์ของสภาพแวดล้อมทางด้านไอทีทั้งหมดขององค์กรธุรกิจของผู้ที่ตอบแบบสอบถามในปี 2559 ขึ้นมาเป็น 41 เปอร์เซ็นต์ในปี 2561 และเกือบทุกองค์กร (99 เปอร์เซ็นต์) ที่ใช้พับลิค คลาวด์ ต่างเพิ่มขีดความสามารถของคลาวด์ให้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ในการป้องกันข้อมูล โดยกรณีใช้งานอันดับต้นๆ สำหรับการปกป้องข้อมูลภายในพับลิค คลาวด์ ยังรวมไปถึงการบริการสำรองข้อมูล/การทำสแน็ปช็อตเพื่อปกป้องเวิร์คโหลดและซอฟต์แวร์ป้องกันข้อมูลที่เปิดใช้งานบนคลาวด์

การค้นพบนี้ยังชี้ให้เห็นว่าการปกป้องปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นในระบบคลาวด์คือประเด็นสำคัญสำหรับผู้นำทางธุรกิจ โดยมากกว่า 6 ใน 10 ถือว่าตัวเลือกที่สามารถปรับขยายขนาดได้ของโซลูชั่นการปกป้องข้อมูลมีความสำคัญในการคาดการณ์ปริมาณงานคลาวด์ที่หลีกเลี่ยงไม่ได้

กฎระเบียบถูกจัดไว้ในลำดับล่างของรายการที่ลำดับความสำคัญ
นอกจากนี้ ดัชนียังแสดงให้เห็นว่าการปฏิบัติตามกฎระเบียบการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ อาทิ General Data Protection Regulation หรือ GDPR ของสหภาพยุโรป ไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญสำหรับองค์กรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิค  การปฏิบัติตามกฎระเบียบนั้นถูกจัดไว้ในอันดับที่หกในรายการด้านความท้าทายการปกป้องข้อมูลสูงสุด ด้วยจำนวนเพียง 36 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถาม
และทัศนคติดังกล่าวกำลังแปลงมาสู่ความเป็นจริงเนื่องจากมีเพียงประมาณหนึ่งในสาม (34 เปอร์เซ็นต์) ที่มั่นใจเป็นอย่างยิ่งว่ากระบวนการ และโครงสร้างพื้นฐานด้านการปกป้องข้อมูลในปัจจุบันขององค์กรสอดคล้องกับระเบียบข้อบังคับของภูมิภาค

คำกล่าวของลูกค้า
“ส่วนประกอบที่สำคัญในการมอบประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้กับลูกค้าคือการให้การปกป้องข้อมูลของพวกเขา” เจมส์ ไมสแตคีดีส ผู้บริหารกลุ่ม Macquarie Telecom กล่าว “ในวันนี้ ข้อมูลต้องการลำดับชั้นของการปกป้องที่แข็งแกร่ง ตั้งแต่การสำรองข้อมูลและการกู้คืน ไปจนถึงความคงทนและความยืดหยุ่นต่อการโจมตีบนไซเบอร์ (cyber resilience) และการปฏิบัติตาม การมีพันธมิตรด้านเทคโนโลยีหนึ่งราย เราสามารถไว้วางใจได้ด้วยทุกๆ กิโลไบต์ของข้อมูลที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดทั้งต่อเราและต่อลูกค้าของเรา”

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
●   ดูรายละเอียดของดัชนีการปกป้องข้อมูลทั่วโลก รวมถึงอินโฟกราฟฟิกของทั้งทั่วโลกและในภูมิภาค ได้ที่นี่ http://www.dellemc.com/th-th/data-protection/gdpi/index.htm.
●   Discover Your Cost to Protect with Dell EMC Data Protection

เกี่ยวกับดัชนีการปกป้องข้อมูลทั่วโลก ของเดลล์ อีเอ็มซี
เดลล์ อีเอ็มซี ให้การสนับสนุน Vanson Bourne ในการจัดทำดัชนีการปกป้องข้อมูลทั่วโลกเป็นครั้งที่ 3 โดยทำการสำรวจผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีจำนวน 2,200 รายจากองค์กรภาครัฐฯ และเอกชนที่มีพนักงานมากกว่า 250 คน ครอบคลุม 11 อุตสาหกรรม ใน 18 ประเทศ เกี่ยวกับการเติบโตของกลยุทธ์ด้านการปกป้องข้อมูล ทั้งนี้ Vanson Bourne ได้ทำการสำรวจในช่วงระหว่างเดือนกันยายน จนถึงเดือนธันวาคม ปี 2018 ครอบคลุมประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเยอรมัน โดยมีผู้ตอบการสำรวจ 200 รายในแต่ละประเทศ รวมถึง แคนาดา แมกซิโก บราซิล แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิตาลี สวิสเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ อินเดีย และสิงคโปร์ ซึ่งมีผู้ตอบการสำรวจ 100 รายในแต่ละประเทศ

เกี่ยวกับเดลล์ เทคโนโลยีส์
เดลล์ เทคโนโลยีส์ ประกอบด้วยกลุ่มธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะที่มอบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นและสำคัญในการสร้างอนาคตดิจิทัลให้แก่องค์กรธุรกิจ ทั้งเปลี่ยนรูปแบบของไอที และให้การปกป้องข้อมูลที่ถือเป็นสินทรัพย์สำคัญ เดลล์ เทคโนโลยีส์ให้การดูแลสนับสนุนลูกค้าทุกขนาดองค์กรใน 180 ประเทศ หรือ 99 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับใน Fortune 500 ไปจนถึงลูกค้ารายย่อย ด้วยสายผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่สมบูรณ์พร้อมที่สุดตั้งแต่อุปกรณ์ปลายทาง ไปถึงส่วนกลางในการประมวลผล ตลอดจนถึงคลาวด์

Copyright © 2019. All Rights Reserved. Dell, Dell EMC, Dell Technologies and the Dell Technologies logo are trademarks of Dell Inc. in the United States and/or other jurisdictions. All other marks and names mentioned herein may be trademarks of their respective companies.
« Last Edit: April 23, 2019, 02:07:55 PM by news »