news on March 26, 2019, 03:42:27 PM
ข่าวประชาสัมพันธ์ ผลวิจัยใหม่จากเดลล์ อีเอ็มซี เผย ธุรกิจทั่วโลกส่วนใหญ่ ตระหนักดีถึงคุณค่าของข้อมูลพร้อมพยายามเต็มที่ ในการหาระบบปกป้องข้อมูลได้อย่างเพียงพอ
องค์กรธุรกิจที่ไม่สามารถกู้คืนข้อมูลหลังเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด มีจำนวนสูงถึงเกือบ 2 เท่าจากปี 2016 ตามรายงานจากดัชนีการปกป้องข้อมูลทั่วโลก ที่สำรวจผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีจำนวน 2,200 รายจาก 18 ประเทศกรุงเทพฯ ประเทศไทย – 25 มีนาคม 2562
• องค์กรธุรกิจ มีการบริหารจัดการข้อมูลในปี 2018 โดยเฉลี่ยที่ 9.70PB ซึ่งแสดงถึงการเติบโตอย่างมหาศาลถึง 569 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับปริมาณที่มีการบริหารจัดการในปี 2016 ที่ 1.45PB
• 92 เปอร์เซ็นต์ของธุรกิจในทั่วโลก ยอมรับข้อมูลเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กร โดยองค์กร 36 เปอร์เซ็นต์ สามารถทำเงินจากข้อมูลได้แล้ว
• 76 เปอร์เซ็นต์ของผู้ร่วมการสำรวจ เล็งเห็นและรับรู้ถึงการเติบโตอย่างรวดเร็วของข้อมูลภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา และ 27 เปอร์เซ็นต์ มีประสบการณ์ข้อมูลสูญหายยากที่จะกู้คืนได้ คิดเป็นจำนวนเกือบสองเท่าของ 14 เปอร์เซ็นต์ในปี 2016
• กว่า 3 ใน 4 (35 เปอร์เซ็นต์) ของผู้ตอบสำรวจ มั่นใจมากว่าระบบโครงสร้างด้านการปกป้องข้อมูลขององค์กรตนทำงานได้สอดคล้องตามกฏระเบียบที่มี แต่มีเพียง 16 เปอร์เซ็นต์ ที่เชื่อว่าโซลูชันด้านการปกป้องข้อมูลของตนจะรองรับความท้าทายในอนาคตได้ทั้งหมด
• เกือบครึ่ง (45 เปอร์เซ็นต์) ของผู้เข้าร่วมการสำรวจกำลังพยายามหาโซลูชันด้านการปกป้องข้อมูลที่เหมาะกับเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ และ แมชชีน เลิร์นนิ่ง
เดลล์ อีเอ็มซี เผยผลการสำรวจเกี่ยวกับดัชนีการปกป้องข้อมูลทั่วโลก (Global Data Protection Index) โดยจัดทำขึ้นเป็นครั้งที่ 3 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอัตราเติบโตอย่างรวดเร็วของข้อมูลที่สูงถึง 569 เปอร์เซ็นต์ และผู้ที่นำระบบปกป้องข้อมูลมาใช้ มีอัตราเพิ่มแบบก้าวกระโดด สูงถึงเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ตั้งแต่ปี 2016 โดยงานวิจัยครั้งนี้ได้มีการสำรวจผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีจำนวน 2,200 รายจากองค์กรภาครัฐฯ และเอกชนที่มีพนักงาน 250 คนขึ้นไป ครอบคลุม 18 ประเทศและ 11 อุตสาหกรรม เพื่อให้ความเข้าใจที่ครบถ้วนเกี่ยวกับการปกป้องข้อมูลและการเติบโตของกลยุทธ์ด้านการปกป้องข้อมูล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ดัชนีดังกล่าวได้เปิดเผยถึงปริมาณข้อมูลที่มีการบริหารจัดการซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย จาก 1.45 เพตะไบต์ (PB) ในปี 2016 เป็น 9.70PB ในปี 2018 พร้อมการตระหนักถึงคุณค่าของข้อมูลอย่างจริงจัง จากข้อเท็จจริง มีผู้ตอบสำรวจจำนวน 92 เปอร์เซ็นต์ มองเห็นความเป็นไปได้ในการสร้างคุณค่าจากข้อมูล และ 36 เปอร์เซ็นต์ สามารถทำเงินจากข้อมูลได้แล้ว ในขณะที่การรับรู้เป็นไปในทิศทางที่ดี ผู้ตอบสำรวจส่วนใหญ่ก็กำลังพยายามหาทางปกป้องข้อมูลอย่างถูกต้องและเหมาะสม การผสมผสานกันขององค์ประกอบเหล่านี้เป็นปัจจัยผลักดันผลลัพธ์ของการสำรวจในหลายประเด็นด้วยกัน
องค์กรสูญเสียโอกาสในการดำเนินธุรกิจคิดเป็นมูลค่ามหาศาลเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด
ทั้งปริมาณข้อมูลที่มาก และความสำคัญของข้อมูลต่อการดำเนินธุรกิจ ทำให้การปกป้องข้อมูลมีความท้าทายมากยิ่งขึ้น เหตุการณ์ที่ทำให้เกิดความขัดข้องเกิดบ่อยขึ้น แต่สิ่งที่น่าตระหนักมากขึ้น ก็คือจำนวนข้อมูลที่สูญหายและไม่สามารถกู้คืนได้มีมากขึ้น มีผู้ตอบสำรวจจำนวนมากกว่า 3 ใน 4 (76 เปอร์เซ็นต์) ในทั่วโลกที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ความขัดข้องบางประเภทภายในช่วงเวลา 12 เดือน และ 27 เปอร์เซ็นต์ ไม่สามารถใช้โซลูชันด้านการปกป้องข้อมูลที่มีอยู่กู้คืนข้อมูลโดยได้ นับเป็นอัตราการเพิ่มเกือบสองเท่า (14 เปอร์เซ็นต์) ของปี 2016
ผลสำราจพบว่า ผู้ตอบสำรวจจำนวน 76 เปอร์เซ็นต์ ทั่วโลก ต่างใช้ระบบปกป้องข้อมูลจากอย่างน้อย 2 โซลูชัน ที่แตกต่างกัน ซึ่งทำให้ 35 เปอร์เซ็นต์มีแนวโน้มว่าเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับความขัดข้องบางประเภทระหว่างช่วงระยะเวลา 12 เดือน เมื่อเทียบกับรายที่ใช้โซลูชันเดียว การที่ระบบเกิดดาวน์ไทม์โดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้า นับเป็นความขัดข้องที่เกิดขึ้นมากที่สุดสำหรับองค์กรที่ใช้ระบบปกป้องข้อมูล 2 โซลูชัน ตามมาด้วยการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ (ransomware attack) ซึ่งป้องกันไม่ให้เข้าถึงข้อมูล (32 เปอร์เซ็นต์) รวมถึงทำให้ข้อมูลสูญหาย (29 เปอร์เซ็นต์)
แม้ว่าการเกิดดาวน์ไทม์ของระบบโดยไม่ได้วางแผน มีให้เห็นมากขึ้นก็ตาม แต่การสูญเสียข้อมูลนั้นมีราคาแพงยิ่งกว่า ตัวอย่างคือ บรรดาผู้ที่ต้องเผชิญหน้ากับดาวน์ไทม์ต่างมีประสบการณ์เกี่ยวกับการดาวน์ไทม์โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 20 ชั่วโมงภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา คิดเป็นค่าใช้จ่าย 526,845 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่ผู้ที่ข้อมูลสูญหายเฉลี่ยอยู่ที่ 2.13 เทราไบต์ ซึ่งคิดเป็นมูลค่าอยู่ที่เกือบ 1 ล้านเหรียญสหรัฐ นอกจากนี้ ผู้ที่มีประสบการณ์ความขัดข้องหลายราย ยังชี้ถึงผลกระทบต่อธุรกิจที่มากกว่านั้น จากการที่ลูกค้าเสียความเชื่อมั่นในคุณค่าของแบรนด์ และส่งผลกระทบถึงประสิทธิผลของพนักงาน และอื่นๆ อีกมากมาย
นอกจากปริมาณข้อมูลที่สูญหายจะมีราคาแพงแล้ว คุณค่าของข้อมูลเป็นสิ่งที่มีราคาแพงเช่นกัน สิ่งที่เห็นได้ชัดคือองค์กรจำนวนมากคิดเป็น 81 เปอร์เซ็นต์ กล่าวว่าการปกป้องข้อมูลเป็นเรื่องที่ต้องให้ความใส่ใจอย่างจริงจังโดยเฉพาะข้อมูลประเภทที่ให้คุณค่าในการสร้างเม็ดเงินได้มากที่สุด
ความท้าทายด้านการปกป้องข้อมูล
ในขณะที่ผู้ที่ถูกจัดประเภทว่าเป็น adopters ที่เริ่มนำระบบปกป้องข้อมูลมาใช้ จะมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ (จาก 9 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2016 เป็น 57 เปอร์เซ็นต์ในปี 2018) และ leaders หรือผู้ที่เป็นผู้นำในการใช้งาน มีอัตราเพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์ (จาก 2 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2016 เป็น 12 เปอร์เซ็นต์ในปี 2018) ธุรกิจส่วนใหญ่ก็ยังพยายามหาทางติดตั้งโซลูชันที่ตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างเพียงพอ โดยผู้ตอบสำรวจส่วนใหญ่ (95 เปอร์เซ็นต์) ต้องเผชิญกับความท้าทายด้านการปกป้องข้อมูลอย่างน้อย 1 ประการ ซึ่งความท้าทายหลัก 3 ประการที่เจอทั่วโลก ได้แก่
1. ความซับซ้อนของการตั้งค่าและจัดการกับฮาร์แวร์/ซอฟต์แวร์ด้านการปกป้องข้อมูล และค่าใช้จ่ายที่บานปลายในการจัดเก็บและบริหารจัดการกับข้อมูลสำรองอันเนื่องมาจากการเติบโตอย่างรวดเร็วของข้อมูลที่เป็นความท้าทายอันดับแรกอยู่ที่ 46 เปอร์เซ็นต์
2. การขาดโซลูชันด้านการปกป้องข้อมูลสำหรับเทคโนโลยีเกิดใหม่ ถูกจัดเป็นอันดับสอง อยู่ที่ 45 เปอร์เซ็นต์
3. การทำให้มั่นใจว่ามีการบังคับใช้งานข้อมูลตามกฏระเบียบ เช่น GDPR ถูกจัดเป็นอันดับสาม อยู่ที่ 41 เปอร์เซ็นต์
สำหรับบรรดาองค์กรที่กำลังพยายามอย่างยิ่งในการหาโซลูชันด้านการปกป้องข้อมูลสำหรับเทคโนโลยีใหม่ๆ กว่าครึ่ง (51 เปอร์เซ็นต์) กล่าวว่าไม่สามารถหาโซลูชันปกป้องข้อมูลที่เหมาะสำหรับ AI และ ML ตามด้วยแอปพลิเคชันที่ใช้บนคลาวด์ (47 เปอร์เซ็นต์) และ IoT (40 เปอร์เซ็นต์)
ความท้าทายที่มาจากเทคโนโลยีเกิดใหม่ และการเติบโตอย่างรวดเร็วของข้อมูล เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น เพราะมี 16 เปอร์เซ็นต์ที่เชื่อว่าโซลูชันด้านการปกป้องข้อมูลปัจจุบันจะสามารถตอบโจทย์ความท้าทายด้านธุรกิจทั้งหมดในอนาคตได้
คลาวด์กำลังเปลี่ยนภาพการปกป้องข้อมูล
จากดัชนีการปกป้องข้อมูลทั่วโลก (Global Data Protection Index) การนำพับบลิคคลาวด์มาใช้ในสภาพแวดล้อมไอทีขององค์กรที่ตอบสำรวจ มีอัตราเพิ่มขึ้นจาก 28 เปอร์เซ็นต์ในปี 2016 เป็น 40 เปอร์เซ็นต์ในปี 2018 โดยเฉลี่ย องค์กรเกือบทั้งหมด ที่ใช้พับบลิคคลาวด์ (98 เปอร์เซ็นต์) ยังใช้คลาวด์เป็นส่วนหนึ่งของระบบโครงสร้างด้านการปกป้องข้อมูลด้วยเช่นกัน กรณีการใช้งานหลักๆ สำหรับการปกป้องข้อมูลบนพับบลิคคลาวด์ ได้แก่
1. บริการ backup/snapshot เพื่อปกป้องเวิร์กโหลดบนพับบลิคคลาวด์ที่ใช้สถาปัตยกรรมแอปพลิเคชันแบบใหม่ (41 เปอร์เซ็นต์)
2. การทำแบ็กอัพสำหรับเวิร์กโหลด/ข้อมูล ณ ไซต์งาน (41 เปอร์เซ็นต์)
3. ปกป้องแอปฯ SaaS โดยเฉพาะ (40 เปอร์เซ็นต์)
4. ซอฟต์แวร์ปกป้องข้อมูล ณ ไซต์งานเวอร์ชั่นที่ใช้บนคลาวด์ เพื่อปกป้องเวิร์กโหลดบนพับบลิคคลาวด์ (40 เปอร์เซ็นต์)
5. บริการ backup/snapshot เพื่อปกป้องเวิร์กโหลดบนพับบลิคคลาวด์ที่ใช้สถาปัตยกรรมแอปพลิเคชันแบบดั้งเดิม (38 เปอร์เซ็นต์)
เมื่อพิจารณาโซลูชันด้านการปกป้องข้อมูลในสภาพแวดล้อมพับบลิคคลาวด์ การเติบโตของข้อมูลทั้งหมดในโลกมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งโดยเฉพาะ เนื่องจาก 64 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบสำรวจต่างระบุว่าทางเลือกด้านการขยายขีดความสามารถของระบบเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 41 เปอร์เซ็นต์อ้างถึงผลกระทบของระบบโครงสร้างหรือบริการด้านการปกป้องข้อมูล ที่จำเป็นต้องรองรับการขยายการปกป้องได้ ในขณะที่ 40 เปอร์เซ็นต์ อ้างถึงความสามารถในการขยายขอบเขตการบริการในกรณีที่มีเวิร์กโหลดบนพับบลิคคลาวด์เพิ่มขึ้น
กฏระเบียบเป็นอุปสรรคที่ขัดขวางการพัฒนา
กฏระเบียบด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เช่น กฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของพลเมืองที่อยู่ในเขตสหภาพยุโรป (GDPR) ค่อนข้างเป็นเรื่องใหม่ และสร้างผลกระทบอย่างแท้จริงต่ออุตสาหกรรมข้อมูล ซึ่งคนยังไม่ค่อยตระหนักกันดี อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ได้กลายเป็นประเด็นสำคัญอย่างรวดเร็วเนื่องจากการบังคับใช้งานที่สอดคล้องตามกฏระเบียบถูกจัดให้เป็นความท้าทายด้านการปกป้องข้อมูลสำคัญ 3 อันดับต้นจากผู้ตอบสำรวจจำนวน 14 เปอร์เซ็นต์
ยิ่งไปกว่านั้นคือ มีเพียง 35 เปอร์เซ็นต์ที่มั่นใจว่า ระบบโครงสร้างด้านการปกป้องข้อมูลขององค์กรตน รวมไปถึงกระบวนการต่างๆนั้น สอดคล้องตามกฏระเบียบในภูมิภาคที่มีการบังคับใช้ในปัจจุบัน และอย่างน้อย 12 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบสำรวจที่อยู่ในองค์กรที่เคยมีประสบการณ์ข้อมูลสูญหายหรือเกิดดาวน์ไทม์แบบไม่ได้ตั้งใจ ภายใน 12 เดือนที่ผ่านมา รายงานถึงผลที่ได้รับคือต้องจ่ายค่าปรับจากเหตุการณ์ดังกล่าว
คำกล่าวสนับสนุน
“แม้เทคโนโลยีเกิดใหม่ อย่าง AI และ IoT จะเป็นจุดมุ่งเน้นในการปฏิรูปสู่ดิจิทัลขององค์กรก็ตาม แต่ข้อมูลที่เทคโนโลยีเหล่านี้สร้างขึ้น ก็นับเป็นหัวใจสำคัญของการก้าวสู่การปฏิรูปอย่างแน่นอน” เบธ ฟาเลน ประธานและผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายปกป้องข้อมูล ของเดลล์ อีเอ็มซี กล่าว “ด้วยการเติบโตของผู้ที่นำระบบป้องกันข้อมูลมาใช้ ในอัตราที่สูงเกือบ 50 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงความจริงที่ว่าองค์กรธุรกิจส่วนใหญ่ในปัจจุบันต่างตระหนักถึงคุณค่าของข้อมูล นับเป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้เห็นว่าเรามาถูกทางแล้วในการปกป้องและควบคุมการใช้งานข้อมูลที่ผลักดันความก้าวหน้าของมนุษย์”
แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
• ดูรายละเอียดของดัชนีการปกป้องข้อมูลทั่วโลก รวมถึงอินโฟกราฟฟิกของทั้งทั่วโลกและในภูมิภาค ได้ที่ www.dellemc.com/gdpi
เกี่ยวกับดัชนีการปกป้องข้อมูลทั่วโลก ของเดลล์ อีเอ็มซี
เดลล์ อีเอ็มซี ให้การสนับสนุน Vanson Bourne ในการจัดทำดัชนีการปกป้องข้อมูลทั่วโลกเป็นครั้งที่ 3 โดยทำการสำรวจผู้มีอำนาจตัดสินใจด้านไอทีจำนวน 2,200 รายจากองค์กรภาครัฐฯ และเอกชนที่มีพนักงานมากกว่า 250 คน ครอบคลุม 11 อุตสาหกรรม ใน 18 ประเทศ เกี่ยวกับการเติบโตของกลยุทธ์ด้านการปกป้องข้อมูล ทั้งนี้ Vanson Bourne ได้ทำการสำรวจในช่วงระหว่างเดือนกันยายน จนถึงเดือนธันวาคม ปี 2018 ครอบคลุมประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเยอรมัน โดยมีผู้ตอบการสำรวจ 200 รายในแต่ละประเทศ รวมถึง แคนาดา แมกซิโก บราซิล แอฟริกาใต้ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ อิตาลี สวิสเซอร์แลนด์ เนเธอร์แลนด์ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น จีน เกาหลีใต้ อินเดีย และสิงคโปร์ ซึ่งมีผู้ตอบการสำรวจ 100 รายในแต่ละประเทศ
เกี่ยวกับเดลล์ เทคโนโลยีส์
เดลล์ เทคโนโลยีส์ ประกอบด้วยกลุ่มธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะที่มอบโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นและสำคัญในการสร้างอนาคตดิจิทัลให้แก่องค์กรธุรกิจ ทั้งเปลี่ยนรูปแบบของไอที และให้การปกป้องข้อมูลที่ถือเป็นสินทรัพย์สำคัญ เดลล์ เทคโนโลยีส์ให้การดูแลสนับสนุนลูกค้าทุกขนาดองค์กรใน 180 ประเทศ – หรือ 99 เปอร์เซ็นต์ของบริษัทที่ได้รับการจัดอันดับใน Fortune 500 ไปจนถึงลูกค้ารายย่อย – ด้วยสายผลิตภัณฑ์นวัตกรรมที่สมบูรณ์พร้อมที่สุดตั้งแต่อุปกรณ์ปลายทาง ไปถึงส่วนกลางในการประมวลผล ตลอดจนถึงคลาวด์
« Last Edit: March 26, 2019, 03:45:11 PM by news »
Logged