บทความพิเศษ เรื่อง : ลดปัญหาปุ๋ยแพงด้วยการทำปุ๋ยละลายช้าแบบง่ายๆ สไตล์ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ
ปุ๋ยเคมี (Fertilizer) ในประเทศไทยเรานั้น ส่วนใหญ่จะละลายออกมาอย่างรวดเร็วเมื่อโดนหรือสัมผัสน้ำ ไม่ว่าจะเป็นน้ำฝนหรือน้ำที่สาดราดรดมาจากน้ำมือของมนุษย์ โดยการใช้เครื่องจักรหรือจากตะบวยแบบเก่าก่อนก็ตาม ปุ๋ยที่ละลายรวดเร็วรากพืชไม่สามารถที่จะดูดจับ (Absorb) ซับกินได้ทัน รากพืชจะถูกนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงๆ ประมาณ 20 – 30 % ส่วนที่เหลือก็จะสูญสลายหายไปกับสายลม อากาศและแสงแดด จะทำอย่างไรให้ปุ๋ยอยู่กับพืชไปนานๆ และเขียวนาน เขียวทน เนื่องด้วยปุ๋ยมีราคาแพง!! เชื่อว่าเกษตรกรหลายคนอยากจะแก้ปัญหานี้ ก่อนจะไปตรงจุดนั้นต้องดูกันเสียก่อนนะครับ ว่าทำไมเมื่อใส่ปุ๋ยแล้วพืชจึงสามารถใช้ประโยชน์จากปุ๋ยได้ไม่นาน หลังจากนั้นก็ทำท่าอิดโรย ขาดอาหาร ใบเหลืองซีด ปัญหาดังกล่าวทำให้มีคนคิดเรื่องการผลิตปุ๋ยละลายช้าออกมาจำหน่าย ส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมักจะมีชื่อลงท้ายด้วยคำว่า “โค๊ท” อะไรที่ลงท้ายด้วย “โค๊ท” ก็จะรู้กันทันทีว่าคือปุ๋ยละลายช้า แต่ปัญหาของเกษตรกรมืออาชีพที่ทำเกษตรแปลงใหญ่ ใหญ่กว่าเกษตรกรในเมืองที่เพาะปลูกในกระถางเพียงไม่กี่ต้น และมีเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อจึงไม่เดือดร้อนกับการซื้อปุ๋ยละลายช้าที่มีราคาแพง แต่ถ้าเกษตรกรตามหัวไร่ปลายนานำมาใช้เห็นทีจะต้องทำนาปลูกข้าวไปอีกหลายปีกว่าจะได้กำไรคืนทุนกลับมา ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการแก้ปัญหาว่าจะทำอย่างไรให้ปุ๋ยเคมีทั่วไปที่ละลายง่าย กลายเป็นปุ๋ยละลายช้า เพื่อพี่น้องเกษตรกรโดยทั่วไปจะได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง ชมรมเกษตรฯ จึงได้มีการศึกษาคุณสมบัติจากหินแร่ภูเขาไฟ (ภูไมท์ ,สเม็คไทต, พูมิช, ม้อนท์โมริลโลไนท์, ไคลน็อพติโลไลท์) ที่โดดเด่นในเรื่องของการมีความสามารถในการจับตรึงและแลกเปลี่ยนประจุ (Cation Exchange Capacity) ค่อนข้างดี สะดวกและหาง่ายกว่าวัสดุอีกหลายชนิดเมื่อนำมาคลุกผสมกับปุ๋ยเคมีทั่วไปในท้องตลาด เช่น ปุ๋ยสูตร 15-15-15, 16-20-0, 8-24-24, 25-7-7 ฯลฯ ในอัตรา 1 ส่วน ต่อ 5 ส่วน ช่วยทำให้ปุ๋ยเคมีทั่วในท้องตลาดกลายเป็นปุ๋ยละลายช้าแบบเมดอินไทยแลนด์ ราคาประหยัด และสามารถนำไปใช้ได้ทั่วไปไม่ต้องเปลี่ยนแปลงวิถีการทำงานมากนัก เมื่อนำปุ๋ยเคมีเหล่านี้คลุกผสมกับหินแร่ภูเขาไฟ (Zeolite, Volcanic Rock) จึงทำให้ปุ๋ยที่ละลายเร็ว เป็นประโยชน์ต่อพืชได้น้อยกลายเป็นปุ๋ยละลายช้า เปรียบเหมือนกับคอยทำหน้าที่เป็นตู้เย็นให้กับพืช พืชหิวก็เปิดตู้เย็นกิน อิ่มก็ปิด แต่สารอาหารยังคงอยู่ ไม่สูญสลายหายไป เหมือนเมื่อตอนแรกที่ยังไม่คลุกผสมกับหินแร่ภูเขาไฟ การทำปุ๋ยละลายช้ายังสามารถช่วยลดต้นทุนค่าปุ๋ย ค่าแรงประมาณ 50% ในขณะที่ผลผลิตยังคงเดิม นอกจากนี้ยังช่วยปรับปรุงความเสื่อมโทรมของดิน และปุ๋ยเคมีที่ประกอบด้วยธาตุอาหารตามระยะความต้องการของพืช ซึ่งปุ๋ยจะค่อยๆ ปล่อยธาตุอาหารพืชออกมา จะช่วยให้พืชได้รับสารอาหารอย่างสม่ำเสมอ แบบค่อยเป็นค่อยไป ลดความเสี่ยงจากภาวะที่พืชอาจได้รับปุ๋ยมากเกินไปในช่วงแรก และพืชอาจได้รับปุ๋ยน้อยเกินไปช่วงหลัง จากการที่สารอาหารถูกชะล้างไปลึกกว่าระดับรากพืช จนไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งพืชก็จะขาดสารอาหารได้ ดังนั้นเกษตรกรสามารถลดปัญหาปุ๋ยแพงด้วยการทำปุ๋ยละลายช้าแบบง่ายๆ สไตล์ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ โดยไม่ต้องกลัวว่าเมื่อเป็นปุ๋ยละลายช้าแล้ว พืชจะไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มที่ อันนี้ก็เป็นความเชื่อที่ผิด เพราะว่าคำว่า “ละลายช้า” ไม่ได้แปลว่า “ละลายยาก” นะครับ ละลายยากนี่คือปุ๋ยที่ไปเอาดินเหนียว อิฐ หิน ปูน ทรายมาผสม จึงทำให้เมื่อเวลารดน้ำแล้ว สสารของปุ๋ยละลายหายไป แต่ที่เหลืออยู่คือดินหรือ อิฐ หิน ปูน ทรายนั่นเอง สนับสนุนบทความโดยนายมนตรี บุญจรัส กรรมการผู้จัดการบริษัท ไทยกรีน อะโกร จำกัด (ชมรมเกษตรปลอดสารพิษ)
สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยหรือต้องการคำปรึกษา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทร. 02 986 1680 – 2