MSN on February 27, 2019, 03:43:09 PM
ข่าวประชาสัมพันธ์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โชว์ผลงานวิจัย “น้ำผลมะม่วงหิมพานต์” มีประโยชน์ต่อสมองและกล้ามเนื้อ เผยความสำเร็จครั้งแรกในไทย





ทีมวิจัยคณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เผยความสำเร็จผลงานวิจัย “น้ำผลมะม่วงหิมพานต์”มีประโยชน์ต่อสมองและเพิ่มสมรรถนะการทำงานของกล้ามเนื้อ ปลื้มเป็นงานวิจัยครั้งแรกในประเทศไทย หวังต่อยอดพัฒนาไปสู่กลุ่มธุรกิจอาหารบำบัด หรือแพทย์ทางเลือกพร้อมสานต่อโปรเจ็กต์“เพิ่มมูลค่ามะม่วงพิมพานต์” ทุน สวก.และเอกชน ร่วมสนับสนุนลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง


รศ.ดร.จินตนาภรณ์ วัฒนธร รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพัฒนาศักยภาพมนุษย์และการสร้างเสริมสุขภาพ ภาควิชาสรีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
กล่าวว่าแนวคิดที่มาก่อนที่จะเริ่มมาทำงานวิจัย“น้ำผลมะม่วงหิมพานต์” นั้น มีแรงบันดาลใจมาจากเป็นคนที่สนใจในเรื่องของอาหารบำบัด หรือเรื่องของแพทย์ทางเลือก จึงเกิดไอเดียว่าพวกผักผลไม้มีโอกาสที่จะเอามาใช้ประโยชน์ในเรื่องของอาหารบำบัดได้ เพราะเป็นเหมือนสมุนไพรอยู่แล้ว มีสารที่มีประโยชน์อยู่เยอะ วันหนึ่งได้ดื่มน้ำมะม่วงหิมพานต์รู้สึกแปลกไม่เหมือนเครื่องดื่มอื่นน่าสนใจดี จึงมาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมพบว่ามะม่วงหิมพานต์สรรพคุณในการบำรุงกำลัง และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระจึงเป็นพืชที่มีศักยภาพนอกจากนั้นจะเห็นว่าปัจจุบันมะม่วงหิมพานต์เป็นพืชเศรษฐกิจตัวใหม่ที่สำคัญของประเทศไทย ดังนั้นการพัฒนาต่อยอดเครื่องดื่มมะม่วงหิมพานต์เป็นผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพจะสามารถช่วยสร้างประโยชน์ได้ครบทั้งห่วงโซ่ ตั้งแต่ภาคเกษตร และอุตสาหกรรม สร้างประโยชน์ทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค นอกจากจะมีศักยภาพในการที่จะวิจัยพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพแล้วเรามองตั้งแต่กระบวนการวิจัยจนกระทั่งถึงผู้บริโภค 

ปัจจุบันสังคมไทยเข้าสู่ช่วงสังคมผู้สูงอายุ เราจึงเล็งเห็นว่า น้ำผลมะม่วงหิมพานต์ มีประโยชน์ต่อกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มักจะพบปัญหาเรื่องสมองกับกล้ามเนื้อ ซึ่งที่ผ่านมาทีมวิจัยได้ใช้ระยะเวลาประมาณ5 ปี ทำการวิจัยพบว่าในน้ำมะม่วงหิมพานต์มีสารพฤกษเคมีที่เป็นประโยชน์มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและเพิ่มสารสื่อประสาทที่สำคัญหลายอย่างมะม่วงหิมพานต์ไม่เพียงถูกนำมาใช้เป็นอาหารแต่ในประเทศแถบลาตินอเมริกามีการนำมาใช้เป็นยาด้วย เช่น บำรุงกำลัง รักษาแผล จุดนี้เองจึงเป็นที่มาและสนใจที่จะทำงานวิจัย“น้ำผลมะม่วงหิมพานต์”  ซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์โดยใช้เป็นอาหารสร้างเสริมสุขภาพไม่ใช่แค่เพียงเครื่องดื่มธรรมดา

“ในผู้สูงอายุนั้นจะมีการเสื่อมของระบบต่างๆรวมทั้งมีการตายของเซลล์ประสาทในสมองและมีสลายของกล้ามเนื้อทำให้นอกจากจะหลงๆลืมยังหกล้มง่าย ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ล้มง่ายก็มาจากปัญหาของกล้ามเนื้อเราคิดว่าสมองเป็นตัวที่น่าสนใจที่สุด เพราะทุกคนอยากมีสมองดี ฉะนั้นเวลาเราทดสอบก็จะทดสอบที่เกี่ยวข้องกับสมองก่อนเป็นอันดับแรก มะม่วงหิมพานต์สามารถทำให้สื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบของประสาทโดยเฉพาะระบบการเรียนรู้และความจำมันทำงานได้ดี และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระดีด้วย เพราะเราพบในผู้สูงอายุมีอนุมูลอิสระเยอะ และการทำงานของระบบต่างๆ ก็เสื่อมลงด้วยและที่สำคัญผลจากการทดลองที่หนูถีบจักรยังพบอีกว่าสารสกัดผลมะม่วงหิมพานต์ สามารถเพิ่มขนาดของใยกล้ามเนื้อของกล้ามเนื้อ นับเป็นความสำเร็จที่เราได้ศึกษาฤทธิ์ของสารสกัดจากมะม่วงหิมพานต์ในการเพิ่มความสามารถในการทำงานของกล้ามเนื้อและสมอง มีการผลิตออกมาเป็นสูตรที่เราเห็นแล้วว่ามันได้ผล และเราพัฒนาตรงนี้ได้ดีค่อนข้างมากด้วย”

รศ.ดร.จินตนาภรณ์ กล่าวอีกว่า สำหรับมหาวิทยาลัยขอนแก่น เราเป็นกลุ่มแรกเลยที่จะเริ่มทำในเรื่องผลของอาหารสุขภาพโดยเฉพาะมะม่วงหิมพานต์ต่อของสมอง โดยทำแบบบูรณาการ มีการร่วมงานภาควิชาจิตเวช ภาควิชาอายุรศาสตร์ ฯลฯตลอดจนผู้เชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ที่ผ่านมาทางคณะแพทย์ศาสตร์ ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับอาหารบำบัดอย่างต่อเนื่องแล้วก็อยากจะพัฒนางานวิจัยมะม่วงหิมพานต์ตรงนี้ขึ้นมา อีกทั้งนโยบายของภาครัฐ ที่ได้มีการส่งเสริมการปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดนี้ซึ่งนอกจากทางภาคใต้ที่มีการปลูกมาดั้งเดิมนั้นปัจจุบันก็ยังได้ขยายพันธ์ไปทั่วทุกภูมิภาค  เช่น ภาคอีสานมะม่วงหิมพานต์พันธุ์ศรีษะเกษส่วนภาคเหนือสายพันธุ์อุตรดิตถ์เป็นต้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทยที่ยังปลูกกันไม่เยอะจนล้นตลาด  ในขณะที่งานวิจัยของเราได้มองประโยชน์ที่เกิดในทุกๆด้านไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่วัตถุดิบด้านการเกษตร ซึ่งเป็นจุดเริ่มที่จะการสนับสนุนวัตถุดิบให้ผู้ประกอบการ หรือนำผลสำเร็จจากงานวิจัยไปใช้ประโยชน์พัฒนาผลิตภัณฑ์ในเชิงพาณิชย์ ก่อให้เกิดมูลค่าทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในท้ายที่สุด

อย่างไรก็ตาม นอกจากน้ำผลมะม่วงหิมพานต์ ที่ประสบความสำเร็จและเป็นความภาคภูมิใจของคณะทีมวิจัยนั้น  ล่าสุดโดยสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)หรือ สวก และบริษัท ไอยราแพลนเน็ต จำกัดบริษัทเอกชนผู้ผลิตผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มจาก “น้ำผลมะม่วงหิมพานต์” ได้ลิขสิทธิ์นำมาจำหน่ายภายใต้แบรนด์ ”ไอยรา”ยังให้การสนับสนุนในเรื่องงบประมาณพัฒนางานวิจัยต่อเนื่องในส่วนของ “การเพิ่มมูลค่ามะม่วงหิมพานต์ในรูปอาหารสุขภาพ”ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการพัฒนางานวิจัย คาดว่าน่าจะแล้วเสร็จประมาณ 3 ปี

ตัวอย่างผลงานวิจัย รศ.ดร.จินตนาภรณ์วัฒนธร รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพัฒนาศักยภาพมนุษย์และการสร้างเสริมสุขภาพ ภาควิชาสรีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

1.   การพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพในการลดภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทที่พบในภาวะเบาหวานจากข้าวโพดสีม่วง II
2.   การพัฒนาอาหารสุขภาพบำรุงสมองและลดความเสี่ยงของโรคกระดูกพรุนในหญิงวัยทอง
3.   การพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพสำหรับผู้สูงอายุจากข้าวโพด ข้าวกล่ำ บัวหลวง อัญชัน ขิง และ กรุงเขมา
4.   การสำรวจศักยภาพของมะรุม บัวหลวง ในการต้าน stress related disorders II
5.   ศักยภาพของผักพื้นบ้านในการชะลอความเสื่อมของระบบประสาทและต้านโรคสมองเสื่อม II
6.   การสำรวจฤทธิ์ในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองของมะม่วงหิมพานต์
7.   ศักยภาพของผักพื้นบ้านในการชะลอความเสื่อมของระบบประสาทและต้านโรคสมองเสื่อม
8.   ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดอ้อยในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของกล้ามเนื้อ
9.   การพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพในการลดภาวะแทรกซ้อนทางระบบประสาทที่พบในภาวะเบาหวานจากข้าวโพดสีม่วงและของสารสกัดมะม่วงผสมผักแพว
10.   ฤทธิ์และกลไกของสกัดลูกใต้ใบ ต่อการลดภาวะความจำบกพร่องและการตายของเซลล์ประสาทในสัตว์ทดลองที่เป็นแบบจำลองของโรคสมองเสื่อม
11.   การศึกษาศักยภาพน้ำมะม่วงหิมพานต์ในการเพิ่มสมรรถนะการทำงานของกล้ามเนื้อ
12.   ฤทธิ์ปกป้องตับของย่านางและของกรุงเขมา
13.   การศึกษาประสิทธิภาพระบบนำส่งยาด้วยนาโนเทคโนโลยีเพื่อรักษาโรคทางระบบประสาท
14.   การศึกษาฤทธิ์ในการป้องกันและรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารของสารสกัดจากขมิ้นชัน
15.   การศึกษาศักยภาพของพริกไทยดำในการป้องกันและลดการทำลายของเซลล์ประสาทและความบกพร่องของความจำใน Alzheimer

ตัวอย่างรางวัลเกียรติยศ
1.   รางวัลครูตัวอย่างด้านจริยธรรมด้านปรีคลินิกปี 2546 ของกองทุนพิสิฎฐ์-เนตรเฉลียว สัณหพิทักษ์
2.   ได้รับรางวัลชนะเลิศการนำเสนอผลงงานวิชาการภาคนิทรรศการในงาน มหกรรมงานวิจัยส่วนภูมิภาค ครั้งที่ 1  “Regional Research Expo 2013” ระหว่างวันที่ 13-15 มีนาคม 2556  ณ โรงแรมเซ็นทารา แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จ.ขอนแก่น  หน่วยงานจัดการประชุม: สำนักงานคณะกรรมการวิขัยแห่งชาติ (วช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นและสถาบันในเครือข่ายวิจัยภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3.   ได้รับรางวัลชนะเลิศการนำเสนอผลงานวิจัยประเภท poster award ในการประชุม “The 21st Century Future Medicine: Harmonization of Traditional Medicine and Science” ที่ Novotel Ambassador, Busan, Korea
4.   รางวัลการนำเสนอ poster ลำดับที่ 1 ชื่อเรื่อง: ThePotentialNeuroprotective and the Cognitive Enhancing Effect of Phyllantus amarus in Animal Model of Alzheimer’s Disease ในการประชุมวิชาการประจำปี 2554 ของ สมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, เรื่อง Building Up Healthcare Network in North-East Thailand for Neurological Pateintsณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  วันที่จัดงานประชุม: 14-16 กันยายน 2554
5.   รางวัลผลงานวิจัยดีเด่นของซุปเปอร์คลัสเตอร์เกษตรและอาหาร จากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในการประชุม โครงการสุดยอดมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ 3 ประชุมวันที่ 31 กค- 1สค2557 โรงแรมแกรนด์เซ็นทารา กรุงเทพ
6.   รางวัลนักวิจัยระดับเงิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปี 2557
7.   รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น ปี 2557  สภาวิวิจัยแห่งชาติ