ราชสกุลจิตรพงศ์ยื่นฟ้องศาลปกครองกรณี คชก. กทม.
ให้ความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA Report)
ของโครงการอาคารชุดที่ตั้งอยู่ติดประชิดกับพระตำหนักปลายเนิน
วันที่ 25 กุมภาพันธุ์ 2562 เวลา 13.00 น. ผู้ฟ้องคดีจำนวน 19 ราย นำโดยผู้ฟ้องคดีจำนวน 19 ราย นำโดยหม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ (ที่สองจากซ้าย) หม่อมราชวงศ์ กัลยา ติงศภัทิย์ (ที่สองจากขวา) หม่อมหลวงสุธานิธิ จิตรพงศ์ (ขวาสุด) และนางอภิรดี พิชัยศรทัต (ซ้ายสุด) ตัวแทนราชสกุลจิตรพงศ์ พระทายาทในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครอง กลางกรณีที่คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน กรุงเทพมหานคร (คชก. กทม.) กรณีที่คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ด้านอาคาร การจัดสรรที่ดิน และบริการชุมชน กรุงเทพมหานคร (คชก.กทม.) มีมติเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 ให้ความเห็นชอบรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA Report) ของโครงการอาคารชุดที่ตั้งอยู่ติดประชิดกับพระตำหนักปลายเนินซึ่งเป็นสถานที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และวัฒนธรรมของประเทศ โดยผู้ฟ้องคดีได้พิจารณาแล้วเห็นว่า มติของ คชก.กทม. ไม่ชอบด้วยกฏหมาย มีข้อบกพร่องอย่างร้ายแรง และผิดพลาดในการพิจารณา และมติดังกล่าวอาจสร้างผลกระทบร้ายแรงต่อพระตำหนักปลายเนินอันเป็นสถานที่ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และวัฒนธรรมของประเทศได้"พระตำหนักปลายเนินเป็นอดีตที่ประทับในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ผู้ทรงสร้างสรรค์ผลงานทั้งสถาปัตยกรรม ทัศนศิลป์ วิจิตรศิลป์ นาฏศิลป์ ไว้มากมายจนทรงได้รับการเชิดชูพระเกียรติยศโดยองค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ในฐานะบุคคลสำคัญของโลกเมื่อปี พ.ศ. 2506 โดยทรงเป็นคนไทยคนที่สองที่ได้รับการยกย่องในระดับสากลเช่นนี้ในบริเวณพระตำหนักปลายเนินมีสถาปัตยกรรมสำคัญ ๆ รวมทั้งผลงานศิลปะมากมายหลายชิ้นล้วนที่แต่มีความสำคัญต่อประเทศไทย และยังเป็นสถานที่ตั้งของมูลนิธินริศรานุวัดติวงศ์ ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อมอบ “รางวัลนริศ” เพื่อให้เป็นเกียรติและสนับสนุนค่าใช้จ่ายแก่นิสิต นักศึกษาและนักเรียนจากทั่วประเทศ ในการศึกษา เรียนรู้ และวิจัยศิลปไทยทุกแขนง มาเป็นเวลามากกว่า 50 ปี เพื่อส่งเสริมศิลปินที่มีความรู้ความสามารถให้สืบสานงานศิลป์คู่กับแผ่นดินไทยพระทายาทในสมเด็จ ฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ หรือสมเด็จครูวางผังแม่บทอนาคตของบ้านปลายเนินด้วยการจัดทำทะเบียนภาพแบบร่างฝีพระหัตถ์ ศิลปวัตถุโบราณที่ทรงสะสม และข้าวของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันส่วนพระองค์ อีกทั้งเตรียมการซ่อมแซมและอนุรักษ์อาคารสำคัญภายในบริเวณทั้งหมด ได้แก่ ตำหนักไทย ตำหนักตึก เรือนคุณย่า และเรือนละคร ด้วยความตั้งใจว่าจะได้อนุรักษ์เพื่อเปิดเป็นพิพิธภัณฑ์ ศูนย์เรียนรู้ และสถานที่อบรมที่สาธารณชนทั่วไปสามารถเข้าชมและศึกษาได้ในวันข้างหน้า