enjoyjam.net » เทคโนโลยีใหม่ๆ » เทคโนโลยีใหม่ๆ - Smart Phone - PC - IT (Moderators: happy, pooklook) » อาจารย์จุฬาฯ และ มจธ. คว้านักวิจัยแกนนำ 2561 รับงบวิจัยขนาดใหญ่ 20 ล้านบาท « previous next » Print Pages: [1] Go Down news on December 22, 2018, 01:27:19 PM อาจารย์จุฬาฯ และ มจธ. คว้านักวิจัยแกนนำ 2561 รับงบวิจัยขนาดใหญ่ 20 ล้านบาท สานต่องานด้านอุตสาหกรรมและการแพทย์มอบป้ายสนับสนุนการวิจัยให้กับนักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2561 ทั้ง 2 ท่านพิธีลงนามในสัญญาให้ทุนโครงการนักวิจัยแกนนำมอบป้ายสนับสนุนการวิจัยให้นักวิจัยแกนนำ ศ.ดร.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร จุฬาฯมอบป้ายสนับสนุนการวิจัยให้นักวิจัยแกนนำ ศ.ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ มจธ.(21 ธ.ค. 61) กรุงเทพฯ : กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประกาศผู้ได้รับรางวัล“นักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2561” ได้แก่ ศ.ดร.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ จากโครงการวิจัยทางการแพทย์ฟื้นฟูภาพดีเอ็นเอ และตรวจกรองมะเร็งจากโปรตีนหรืออาร์เอ็นเอในเม็ดเลือดขาว และ ศ.ดร.สมชายวงศ์วิเศษ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จากโครงการวิจัยพัฒนากระบวนการถ่ายเทความร้อนสมัยใหม่สำหรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย รับทุนสนับสนุนวิจัย 20 ล้านบาทต่อโครงการในระยะเวลา 5 ปี ซึ่ง สวทช. สนับสนุนอย่างต่อเนื่องในการให้ทุนวิจัยขนาดใหญ่ กับนักวิจัยแกนนำที่มีขีดความสามารถสูงทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ คล่องตัว และเกิดทีมวิจัยที่เข้มแข็ง รวมถึงมีส่วนเชื่อมโยงภาคความรู้ ภาคการผลิตและบริการ และภาคสังคม เพื่อยกระดับการวิจัยและพัฒนาของไทยในอนาคต โดยมี ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผอ.สวทช. ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ ดร.นพ.ปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ร่วมแสดงความยินดีดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการ สวทช.เปิดเผยว่าโครงการนักวิจัยแกนนำเป็นกลไกหนึ่งที่ สวทช. เล็งเห็นว่า สามารถสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นในประชาคมวิจัย ซึ่งจะเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันระดับนานาชาติ การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคม จนนำไปสู่การพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน จากข้อเสนอโครงการวิจัยที่ส่งเข้ามารับการพิจารณาในปี 2561 จำนวน 13 โครงการ คณะกรรมการมีมติเอกฉันท์ในการคัดเลือกนักวิจัยแกนนำ ประจำปี 2561 และกลุ่มวิจัยของนักวิจัย 2 ท่าน ได้แก่ ศาสตราจารย์ ดร.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร สังกัด คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากโครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนานวัตกรรมใหม่ในทางการแพทย์ที่มีมูลค่าและคุณค่าสูง: ฟื้นฟูภาพดีเอ็นเอ โดยโมเลกุลที่ทำให้จีโนมเสถียร และการตรวจกรองมะเร็งจากโปรตีน หรืออาร์เอ็นเอในเม็ดเลือดขาว และ ศาสตราจารย์ ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ สังกัด คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จากโครงการวิจัย เรื่อง “การพัฒนากระบวนการถ่ายเทความร้อนสมัยใหม่ สำหรับอุตสาหกรรมที่ใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต” ผลงานของ ศาสตราจารย์ ดร.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร โดยศาสตราจารย์ ดร.นพ.อภิวัฒน์ มุทิรางกูร เป็นนักวิจัยที่เชี่ยวชาญด้านอณูพันธุศาสตร์ และสภาวะเหนือพันธุกรรม โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับโรคมะเร็ง ผลงานวิจัยที่ผ่านมาได้รับการยอมรับและตีพิมพ์ในวารสารที่มีชื่อเสียงระดับนานาชาติ สำหรับโครงการวิจัยนี้มุ่งหมายจะค้นคว้า ค้นพบทฤษฎีใหม่ทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างนวัตกรรม 2 เรื่อง ได้แก่ 1) การลดอายุและเพิ่มความเสถียรของดีเอ็นเอ ด้วยโมเลกุลที่ทางทีมวิจัย เรียกว่า มณีแดง ที่จะสามารถใช้แก้ไขความชราของเซลล์ได้ งานวิจัยนี้อาจนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของโลกได้ในอนาคต และ 2) การพัฒนาการตรวจคัดกรองมะเร็งจากโปรตีนหรืออาร์เอ็นเอในเม็ดเลือดขาว ที่จะมีความไวและจำเพาะสูงกว่าวิธีในปัจจุบัน ทำให้การตรวจคัดกรองมะเร็ง เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นในอนาคตผลงานของ ศาสตราจารย์ ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ และ ศาสตราจารย์ ดร.สมชาย วงศ์วิเศษ เป็นนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญและมีผลงานวิจัยที่โดดเด่นด้านวิศวกรรมเครื่องกล งานวิจัยส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับพลังงาน การถ่ายเทความร้อน อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน จากกรอบความคิดการวิจัยที่ว่า หากอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนถูกออกแบบมาอย่างเหมาะสม การถ่ายเทความร้อนจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และจะช่วยเพิ่มสมรรถนะของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน งานวิจัยนี้จึงเป็นการศึกษา การเพิ่มประสิทธิภาพการถ่ายเทความร้อนของอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน ซึ่งจะได้หลักการทางวิชาการ สำหรับการออกแบบ และปรับปรุงกระบวนการการถ่ายเทความร้อนให้มีสมรรถนะสูงขึ้น สามารถนำไปใช้ได้จริงในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเป้าหมายที่มีศักยภาพและขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ผลงานวิจัยเหล่านี้ จะสร้างคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ และยังเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อมของโลกในอนาคต “ผลงานที่จะเกิดขึ้นภายใต้การดำเนินงานของนักวิจัยแกนนำทั้ง 2 ท่านจะนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ ต้นแบบผลิตภัณฑ์ ต้นแบบเทคโนโลยี และสิทธิบัตร จำนวนหนึ่ง โดยองค์ความรู้ใหม่ที่ค้นพบ ตั้งเป้าหมายการเผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มี Impact Factor สูง ระดับ Nature Index Journal หรือในวารสารระดับ Top ของสาขาวิศวกรรมศาสตร์ นับเป็นการมุ่งเน้นการผลิตผลงานวิจัยเชิงคุณภาพสูงให้มากขึ้น รวมถึงมีส่วนเชื่อมโยงระหว่างภาคความรู้ ภาคการผลิตและบริการ และภาคสังคม เพื่อยกระดับการวิจัยและพัฒนาของไทยในอนาคตด้วย” ผู้อำนวยการ สวทช. ระบุด้าน ศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รักษาการรองผู้อำนวยการ สวทช. และเลขานุการโครงการนักวิจัยแกนนำ กล่าวเสริมว่า “โครงการนักวิจัยแกนนำ ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2552 เพื่อส่งเสริมให้นักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญและประสบการณ์สูง ได้สร้างสรรค์งานอย่างมีอิสระทางวิชาการ เป็นพลังขับเคลื่อนในการนำมาซึ่งความเจริญก้าวหน้าด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย โดยปัจจุบันมีนักวิจัยแกนนำภายใต้การสนับสนุนของ สวทช. ทั้งสิ้น 17 ท่าน เป็นด้านการแพทย์ 11 ท่าน ด้านเกษตรและอาหาร ด้านอุตสาหกรรมการผลิตและบริการ และด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ด้านละ 2 ท่าน ซึ่งนักวิจัยแกนนำและทีมวิจัยดังกล่าวได้สร้างองค์ความรู้ใหม่ในหลากหลายสาขาวิชา สามารถผลิตผลงานที่มีคุณภาพในระดับสูง มีผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ สิทธิบัตร การผลิตบุคลากรในระดับปริญญาโท ปริญญาเอก และนักวิจัยหลังปริญญาเอก อีกทั้งยังมีการนำผลงานวิจัยไปเผยแพร่ใช้ประโยชน์ในเชิงสาธารณะแล้ว” Logged Print Pages: [1] Go Up « previous next » enjoyjam.net » เทคโนโลยีใหม่ๆ » เทคโนโลยีใหม่ๆ - Smart Phone - PC - IT (Moderators: happy, pooklook) » อาจารย์จุฬาฯ และ มจธ. คว้านักวิจัยแกนนำ 2561 รับงบวิจัยขนาดใหญ่ 20 ล้านบาท