แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ผุดแนวคิดวัฒนธรรมของนวัตกรรม เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จ
ในยุคของการเปลี่ยนแปลงและเกิดนวัตกรรมใหม่ๆ ขึ้นทำให้บริษัทและองค์กรต่างๆ มีการลงทุนเทคโนโลยีนำไปพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพกับศักยภาพขององค์กรและบุคลากร ซึ่งการสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ด้วยวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมถือเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จ แมนพาวเวอร์กรุ๊ป โดยไรท์ เมเนจเมนท์ (Right Management)ได้ทำการศึกษาและนำกรณีศึกษาของทอมทอม(TomTom)บริษัททางด้านซอฟต์แวร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรที่มีแนวทางการเพิ่มพลังของคนเพื่อขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงสู่ความสำเร็จองค์กรต่างๆในปัจจุบันสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการองค์กรคุณสู่การเผยศักยภาพของคนในการสร้างนวัตกรรมและไปให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้
ปัจจุบันบริษัทและองค์กรที่เปิดรับกับการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมกำลังสร้างวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม ซึ่งเป็นสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ผู้นำปลูกฝังขึ้นเพื่อสนับสนุนการคิดนอกกรอบ ประยุกต์ใช้กระบวนการใหม่ๆ และส่งเสริมนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ธุรกิจในระยะยาว
ยุคดิจิทัล ทรานฟอร์เมชั่น (Digital transformation)หรือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้กับทุกส่วนของธุรกิจกำลังเกิดขึ้นแบบก้าวกระโดด ทำให้โลกเชื่อมต่อกันมากขึ้นและสร้างโอกาสใหม่ๆ ในการเติบโตแก่บริษัท ถึงแม้ว่าทุกองค์กรจะมีการเปลี่ยนแปลงและปรับเปลี่ยนตลอดเวลา แต่การสร้างวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมเป็นการลงทุนในอนาคตของทุกธุรกิจ เพื่อเป็นรากฐานที่แข็งแกร่งของทุกองค์กร
จากบทความที่มีชื่อว่า “จากยุคผู้บริหารระดับสูงสู่ยุคดิจิทัล: การนำพาองค์กรข้ามการเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัล” (From C-Suite to Digital Suite: How to Lead Through Digital Transformation) เราได้กล่าวถึงความสำคัญของผู้นำยุคดิจิทัลที่ขับเคลื่อนวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมเพื่อนำพาบุคลากรผ่านการเปลี่ยนแปลง จึงขอหยิบยกขั้นตอนที่องค์กรต่างๆ ควรปฏิบัติเพื่อสร้างสรรค์วัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม และการสร้างผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้ และมองเห็นผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ที่มีนัยสำคัญดังนี้
ความสำคัญของผู้นำ ในช่วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่านขององค์กรและภาคอุตสาหกรรม ผู้นำในปัจจุบันและอนาคตต้องเปิดรับการเปลี่ยนแปลง และพร้อมที่จะรับความเสี่ยงตามสถานการณ์ ทักษะพื้นฐานของการเป็นผู้นำ เช่น ความอดทนและการรู้จักปรับตัว ยังคงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง แต่ในยุคดิจิทัลผู้นำที่มีประสิทธิภาพยังต้องปลดปล่อยศักยภาพในตัวคนและบางครั้งต้องรู้จักความล้มเหลวเพื่อประสบความสำเร็จ องค์กรที่ลงทุนในผู้นำที่มีทักษะเหล่านี้จะสามารถปรับตัวให้เข้ากับความเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัลได้เร็วกว่า
นอกจากนี้การพัฒนาวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมต้องอาศัยกระบวนการทางความคิดขององค์กรที่ยกระดับและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของพนักงานแต่ละคน ซึ่งจะต้องเริ่มตั้งแต่บนสุด กระบวนการนี้ไม่ได้เกิดขึ้นง่ายๆ แต่หากใช้แนวทางที่ถูกต้อง ธุรกิจก็จะสามารถดำรงไว้ซึ่งความทุ่มเทต่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องพร้อมกับการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนเพื่อบรรลุผลเป้าหมายตอบแทนจากการลงทุนทั้งระยะสั้นและระยะยาว ท้ายที่สุดวัฒนธรรมองค์กรควรเป็นมากกว่านามธรรม แต่ควรสร้างการเปลี่ยนแปลงในเชิงปริมาณที่สามารถวัดผลได้อย่างเป็นรูปธรรม
สำหรับการนิยามวัฒนธรรมแนวความคิดทางธุรกิจแบบเดิมจะประเมินค่าขององค์กรจากทรัพย์สินที่มีตัวตน ไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้าง ตราสินค้าและทุนมนุษย์ องค์กรยุคดิจิทัลในปัจจุบันถูกตัดสินจากปัจจัยรอบด้านกว่า ทั้งความเชื่อ จุดมุ่งหมาย ลักษณะเฉพาะ และการตัดสินใจ องค์ประกอบเหล่านี้เป็นรากฐานของวัฒนธรรม กล่าวโดยสรุปคืออัตลักษณ์ขององค์กรถูกกำหนดขึ้นจากคำตอบของคำถามที่ว่า “อะไรคือสิ่งที่กำหนดนิยามขององค์กร และองค์กรต้องการจะเป็นอะไร?”
ทั้งนี้ปัจจัยหลักที่สำคัญในการขับเคลื่อนนวัตกรรมองค์กรประกอบด้วย 1.การแสดงออกซึ่งค่านิยมและความเชื่อ 2.วิธีการทำงานและการมีปฏิสัมพันธ์ 3. พฤติกรรม นโยบาย กระบวนการตัดสินใจ 4.โครงสร้างอำนาจและการไหลของข้อมูล 5.ปฏิสัมพันธ์และความสัมพันธ์ 6.ระบบควบคุม 7.ลักษณะเฉพาะในการดำเนินการและ 8.ธรรมเนียมและเรื่องราว
พร้อมกันนี้ยังได้นำกรณีศึกษาของ TomTomซึ่งได้นำแนวคิดในการเพิ่มพลังของคนเพื่อขับเคลื่อนความเปลี่ยนแปลงสำหรับเทคโนโลยีของบริษัท TomTom ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางทุกที่ ในแต่ละวันมีคนกว่า 800ล้านคนทั่วโลกใช้เทคโนโลยีในรถแท็กซี่ บนโทรศัพท์มือถือ และเพื่อให้สามารถส่งของได้ตรงเวลา ทั้งนี้เพื่อรักษาขีดความสามารถในการแข่งขัน บริษัทได้เปิดรับความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ในขณะที่โลกดิจิทัลกำลังก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว บริษัท TomTom หันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับตลาด B2B (ธุรกิจกับธุรกิจ) โดยใช้ความเชี่ยวชาญในระบบจีพีเอส การหาตำแหน่ง การกำหนดเส้นทาง การนำร่องและแผนที่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการติดต่อสื่อสารผ่านเครือข่ายไร้สาย
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้สร้างผลกระทบกับทุกระดับในองค์กร ผู้นำของ TomTom ตระหนักว่ายุคดิจิทัลต้องอาศัยกระบวนการทางความคิดใหม่ๆ และวิธีการทำงานแบบใหม่ทั้งองค์กร เป้าหมายของพวกเขาคือการเผยศักยภาพของคนในการสร้างนวัตกรรม และเพื่อที่จะไปให้ถึงเป้าหมายที่ตั้งไว้นี้ ก็จำเป็นต้องประเมินและวัดศักยภาพของผู้นำและวัฒนธรรมขององค์กร
จากความร่วมมือระหว่าง TomTom กับ Right Management บริษัทในเครือแมนพาวเวอร์ กรุ๊ป เพื่อการประเมินภาวะผู้นำของตนและระบุตัวคนเก่งที่จะนำพาองค์กรให้ก้าวผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ โมเดลการประเมินภาวะผู้นำด้วยหลัก P3 ที่ประกอบด้วย People (คน) Purpose (จุดมุ่งหมาย) และ Performance (ผลงาน) ของ Right Management ถูกนำมาใช้ร่วมกับโมเดลสมรรถนะผู้นำของ TomTom ในเวลา 6 เดือน ได้ทำการประเมินผู้จัดการ 750 คนใน 35 ประเทศ การลงทุนเพื่อระบุตัวผู้นำที่ใช่นี้เองที่ช่วยให้ TomTom ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคดิจิทัลขององค์กรและขับเคลื่อนอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) สำหรับบริษัท
“วันนี้ TomTom มีพนักงานกว่า 5,000 คนที่กระหายจะเอาชนะการแข่งขันและทำให้ลูกค้าพึงพอใจด้วยโซลูชั่นใหม่ สำหรับ TomTom แล้วมันเป็นเรื่องของการเดินทาง – และจุดหมายปลายทาง”
นอกจากนี้การตอบคำถามว่า ทำไมต้องเปลี่ยน? การวัดผลตอบแทนจากวัฒนธรรมคืออะไร ในช่วงเวลาของการเปลี่ยนผ่าน วัฒนธรรมเป็นตัวช่วยหลักที่ทำให้เกิดการเติบโต การศึกษาแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนถึงผลตอบแทนจากการลงทุนในวัฒนธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรม ซึ่งบริษัทจะมุ่งเน้นที่พรุ่งนี้ให้มากเท่ากับวันนี้อีกทั้งยังแสดงให้เห็นความสำเร็จ อาทิเช่น
-ผู้นำในกลุ่มอุตสาหกรรมสามารถเพิ่มผลิตภาพจากการลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ๆ มากกว่าผู้ตาม (ร้อยละ 70 ต่อร้อยละ 30)
-บริษัทที่จัดสรรงบประมาณด้านการวิจัยและพัฒนาตั้งแต่ร้อยละ 25 ขึ้นไปให้กับซอฟต์แวร์และการบริการ (เมื่อเทียบกับผลิตภัณฑ์) มีอัตราการเติบโตของรายได้เร็วกว่าคู่แข่งสำคัญที่จัดสรรงบส่วนนี้น้อยกว่า
-องค์กรที่มีระบบและโครงสร้างนวัตกรรมอย่างเป็นทางการได้รับผลตอบแทนอย่างมีนัยสำคัญ: ร้อยละ 51เริ่มทำตลาดด้วยนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์และบริการใหม่มากที่สุด
-ร้อยละ 34 ของผู้นำธุรกิจได้เห็นผลกระทบด้านบวกจากการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลของตนเอง ทั้งนี้เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่เป็นบวกจากวัฒนธรรมองค์กร ผู้นำต้องยอมรับก่อนว่าการสร้างวัฒนธรรมแห่งนวัตกรรมที่จับต้องได้เป็นหนึ่งในความท้าทายสูงสุดของตน
นอกจากนี้การการลงมือทำ โดยการขยับจากความคิดสร้างสรรค์ไปสู่นวัตกรรมต้องอาศัยการคิด การวางแผนและการลงมือทำอย่างหนักแน่นจริงจัง หลายองค์กรพยายามจะปิดช่องว่างนี้ แม้ว่าจะมีความคิดสร้างสรรค์เป็นจำนวนมาก แต่ยุทธศาสตร์และการลงมือทำจะนำความคิดเหล่านี้ไปสู่ความจริง การลงมือปฏิบัติอย่างเต็มที่ในโลกแห่งความจริงนั่นเองคือสิ่งที่ทำให้ความคิดสร้างสรรค์เป็นไปได้
หากลองจินตนาการดูว่าถ้าองค์กรสามารถเปลี่ยนความคิดสร้างสรรค์ของตนแค่ร้อยละ 20 ให้กลายเป็นจริง ความคิดเหล่านี้ย่อมหมายถึงการเติบโตเหนือกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ การเปลี่ยนแปลงเชิงบวกครั้งใหญ่ และผลิตภัณฑ์และบริการที่ใหม่และมีประโยชน์มากกว่าของคู่แข่ง ความสามารถและวัฒนธรรมที่ใช่ทำให้ความคิดสร้างสรรค์สามารถออกมาโลดแล่นในโลกแห่งความจริง
องค์กรต้องมีความชัดเจนในการสร้างวัฒนธรรมที่ให้ความสำคัญกับการทำตามที่พูด พนักงานจะไม่กล้าลงมือทำสิ่งต่างๆ เพื่อบริษัทถ้าพวกเขาต้องถูกลงโทษหากทำอะไรที่ถือเป็นการเสี่ยง เว็บไซต์ขององค์กรไม่อาจมีข้อความเกี่ยวกับการให้ความสำคัญกับนวัตกรรมถ้าองค์กรมุ่งเน้นแต่การตัดค่าใช้จ่ายเพื่อสร้างผลลัพธ์ระยะสั้น นี่เป็นการสร้างสมดุลสำหรับการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมองค์กร
อย่างไรก็ตามแทนพาวเวอร์มีความมุ่งมั่นว่าบทความและกรณีศึกษาดังกล่าวจะเป็นส่วนหนึ่งที่องค์กรยุคดิจิทัลจะสามารถนำประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมเพื่อนำไปสู่ความสำเร็จและความยั่งยืนขององค์กรธุรกิจของคุณและในบทความต่อไปจะมาพูดถึงดัชนีชี้วัดการมีนวัตกรรมขององค์กรกันต่อ