happy on November 25, 2018, 03:11:11 PM
ดีแทคเริ่มแล้วลุยพัฒนาระบบแจ้งพิกัดสู่รูปแบบใช้งาน 5G

·      มั่นใจพัฒนาจากโครงข่ายดีแทค 5G-Ready

·      เดินหน้าต่อเนื่องโครงการร่วมมือกับดีป้าพัฒนาสัญญาณแจ้งตำแหน่งที่สมาร์ทซิตี้ 7 จังหวัด

·      แสดงผล GNSS RTK แม่นยำสูงเพื่อต่อยอดโซลูชั่นบริการ 5G



22 พฤศจิกายน 2561 – ดีแทคเดินหน้าพัฒนาระบบแจ้งค่าพิกัดแบบ GNSS RTK รากฐานสำคัญต่อบริการ 5G ในอนาคต ชี้ระบบแจ้งตำแหน่งต้องถูกต้องแม่นยำตอบโจทย์โซลูชั่นยุค 5G ที่มีค่าความหน่วงของสัญญาณที่ต่ำ (Ultra-low latencies) และการตอบสนองที่เร็ว โครงข่าย 5G จะทำให้นักพัฒนาออกแบบสู่บริการใหม่ เช่น โซลูชั่นเฮลท์แคร์ ระบบขนส่ง ยานยนต์ไร้คนขับ โดรนขนส่งสินค้า และโดรนเพื่อการเกษตร เป็นต้น

จากเดือนกันยายนที่ผ่านมาสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) และดีแทคได้ลงนามความร่วมมือเพื่อพัฒนาระบบแจ้งพิกัด แบบ GNSS RTK (Real-time kinematic for improving accuracy on positioning of Global Navigation Satellite System)  ซึ่งเป็นระบบที่นำไปประยุกต์ใช้งานดิจิทัล ในการระบุพิกัดสถานที่ต่างๆ และตำแหน่ง ที่มีความแม่นยำสูงมาก ลดข้อผิดพลาดด้วยสัญญาณเชื่อมต่อจากโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ และการระบุตำแหน่งผ่านดาวเทียม ให้แม่นยำได้ถึงระดับเซนติเมตร โดยโครงการได้คืบหน้าและเริ่มทดสอบเฟสแรกเพื่อปรับค่าสัญญาณตามแผนความร่วมมือแล้ว

ในส่วนของเทคโนโลยี  5G-Ready ดีแทคเป็นรายแรกที่การนำเทคโนโลยีโครงข่ายระบบชุมสายเสมือน (Visualized Core Network: VCN) มาดำเนินงาน ซึ่งเป็นเทคโนโลยีทันสมัยที่สุด และรองรับการใช้งาน 5G เพียงอัปเกรดเทคโนโลยีสู่ 5G สามารถพร้อมให้บริการได้ทันที

โครงการดังกล่าวได้พัฒนาจากโครงข่ายดีแทคในระยะเวลา 3 ปี จนถึงเดือนกันยายน 2564 ตั้งเป้าสู่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล 5G เพื่อรากฐานบริการเชิงตำแหน่ง (Location based service) นำสู่ทุกนวัตกรรมดิจิทัลที่กำลังถูกออกแบบพึ่งพาการใช้ข้อมูลจากค่าพิกัดที่ต้องการความแม่นยำสูง และด้วยโครงข่าย 5G จะเชื่อมต่ออุปกรณ์นับล้านชิ้นไว้ด้วยกันจึงต้องมีแพลตฟอร์มที่พัฒนาเพื่อรองรับการตอบสนองสัญญาณแบบเรียลไทม์ (Real time) ด้วยจุดเด่นค่าความหน่วงสัญญาณที่ต่ำ (Ultra-low latencies) พร้อมทั้งดีแทคและดีป้ามีแนวคิดร่วมต่อยอดเป็นแพลตฟอร์มเชิงพาณิชย์สนับสนุนทุกอุตสาหกรรม



นายราจีฟ บาวา รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มกิจการองค์กรและพัฒนาธุรกิจ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า "เรากำลังเริ่มต้นพัฒนาแพลตฟอร์มที่สำคัญที่จะมีผลต่อการแจ้งเกิดเทคโนโลยีในยุค 5G โดยการสื่อสารดิจิทัลในโลกความเร็วสูงจะถูกออกแบบให้สัมพันธ์กับพิกัด หรือระบุตำแหน่งที่แม่นยำ เพื่อพลิกโฉมบริการใหม่ เช่น การนำยานยนต์ไร้คนขับมาให้บริการ การใช้โดรนขนส่งสินค้าทางอากาศสู่จุดรับสินค้าหรือผู้รับที่แม่นยำ รวมทั้งการใช้งานของเกษตรกรรมแนวใหม่ เช่น สามารถใช้โดรนในการฉีดยาควบคุมแมลงได้ถึงระดับเฉพาะต้นในแปลงเพราะปลูก เป็นต้น"

ดังนั้น การเปิดตัว 5G จะไม่ใช่แค่กรณีของผู้ประกอบการโทรคมนาคมที่จะเปลี่ยนอุปกรณ์โครงข่ายของตน หรือผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารจะเปิดตัวสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่เพียงเท่านั้น แต่รวมถึงการมีส่วนร่วมทั้งอุตสาหกรรมสู่การเชื่อมต่อธุรกิจสู่ธุรกิจ และธุรกิจสู่ผู้บริโภค รวมทั้งยังพลิกโฉมอุตสาหกรรมและธุรกิจด้วยวิธีการใหม่ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและความยั่งยืนสู่กลยุทธ์ 5G ของไทย

ที่ผ่านมาบริการที่ใช้งานค้นหาตำแหน่งสถานที่เชื่อมโยงพิกัดจากแอปพลิเคชันหรือเว็บไซต์ต่างๆ จะมีค่าผิดพลาดในการระบุตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์แบบละติจูดและลองจิจูด (Latitude/Longitude) ด้วยข้อจำกัดเทคโนโลยีแบบเดิมมีค่าความคลาดเคลื่อนได้มากถึง 5-10 เมตร จึงทำให้เกิดผลเสียในการใช้แผนที่นำทาง หรือระบุจุดหมายสถานที่ได้ โครงการที่ดีแทคพัฒนาร่วมกับดีป้า จะทำให้การแจ้งพิกัดทำได้แม่นยำโดยมีค่าผิดพลาดเพียงระดับเซนติเมตรเท่านั้น ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างมากในการต่อยอดจากเทคโนโลยี 5G ที่มีความจำเป็นอย่างมากต่อหลายอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาสินค้าและบริการที่เกี่ยวข้องกับการระบุตำแหน่ง เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนายานยนต์ไร้คนขับ อุตสาหกรรมการแพทย์ ที่มีการใช้การบังคับเครื่องมือแพทย์จากแพทย์ผู้ชำนาญการที่อยู่ระยะไกลๆ  การบริหารคลังสินค้าซึ่งสามารถระบุชั้นและตำแหน่งได้อย่างแม่นยำ เป็นต้น




dtac Develops High-Precision Positioning System to Enable 5G

·        dtac is developing a positioning solution with centimeter-level precision in partnership with DEPA

·        The GNSS RTK positioning system is essential to mission-critical 5G applications

·        It constitutes an important step in dtac's 5G roadmap to support the development of 7 smart cities in Thailand by 2021



22nd November 2018 – dtac is now developing a critical technology to benefit 5G networks by enhancing the precision of global navigation satellite systems (GNSS). Using real-time kinematic (RTK) and developed in partnership with The Digital Economy Promotion Agency (DEPA), the technique allows for geo-localization with a precision of a few centimeters versus the 5-10 meter precision of current technology. GNSS RTK is therefore a key milestone enabling 5G's mission critical applications, such as autonomous vehicles.

Last September, DEPA and dtac signed a memorandum of understanding to develop the GNSS RTK, which can provide real-time corrections to a device's coordinates by combining location data from the mobile network and satellite navigation. The result is centimeter-level accuracy. The project has now entered the first phrase of the testing, by adjusting signals to achieve the desired accuracy.

The launch of GNSS RTK is part of dtac's overall 5G readiness roadmap. dtac is already the first operator in Thailand to channel all its data with a Virtualized Core Network, an essential building block of 5G networks. dtac is also the first to operate a single block of spectrum of 60 MHz, the largest one in Thailand. By using Time Division Duplexing, the spectrum is the first to be in commercial operation via 64x64 massive MIMO antennas, enabling another important 5G technology—beamforming.

The GNSS RTK partnership lasts through September 2021, with the aim of supporting 5G's location-based services and empowering digital innovation which relies on information from the high-precision positioning system. Along with additional 5G features such as ultra-low latencies and network slicing, the GNSS RTK partnership between dtac and DEPA will allow mission-critical 5G applications such as remotely operated vehicles, autonomous vehicles and precision tracking Internet of Things solutions.



Mr. Rajiv Bawa, Chief Corporate Affairs & Business Development Officer, Total Access Communication PLC. or dtac said, "We are developing a critical platform to support 5G use cases. High-precision coordinates are a key requirement towards 5G applications such as driverless vehicles, logistics using drones and new agriculture services such as insecticides or fertilizers delivered by drones. Centimeter-level precision can even allow for location and tracking of goods within a warehouse and further applications in the fields of health and smart cities."

The partnership between DEPA and dtac will focus on developing seven smart cities in Thailand for its first phase: Bangkok, Chiang Mai, Phuket, Khon Kaen , Chonburi, Rayong and Chachoengsao.

As 5G will not be limited only to faster network speeds for consumers, dtac's strategy is to build viable 5G ecosystems connecting device manufacturers, local governments, government agencies, businesses, telecommunication operators and consumers. The GNSS RTK partnership is therefore an important step to show the performance and sustainability of Thailand's 5G strategy.