กทปส. มอบทุน ม.มหิดล สร้างสรรค์คอนเทนต์คุณภาพ
ปูพื้นฐานความรู้วิทยาศาสตร์-สังคมด้วยสื่อปลอดภัย
กทปส. มอบทุน ม.มหิดล สร้างสรรค์คอนเทนต์น้ำดีปูรากฐานความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และสังคมเพื่อเด็กและเยาวชนไทย ผ่านสื่อออนไลน์หวังกระตุ้นและนำองค์ความรู้จากรายการไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ และยังช่วยเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ด้วยสื่อปลอดภัย ชี้ปัจจัยหนุนเนื่องจากปัจจุบันเด็กและเยาวชนเข้าถึงเนื้อหาที่หลากหลายเพียงแค่เสิร์ชในอินเทอร์เน็ต แต่คอนเทนต์ที่มีการสอดแทรกองค์ความรู้และความสนุกที่จะเหมาะกับเด็กแต่ละช่วงวัยเป็นสิ่งที่หาได้ยาก ดร.ระพี บุญเปลื้อง ดร.ระพี บุญเปลื้อง” รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า ปัจจุบันการผลิตรายการเพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว ในช่องดิจิทัลทีวีมีจํานวนน้อยเกินไป ซึ่งอาจเกิดจากปัจจัยที่ช่องต่าง ๆ ต้องคํานึงถึงผลกำไรทางธุรกิจส่งผลให้การผลิตรายการต่าง ๆ จึงต้องมุ่งเน้นผลิตเนื้อหาเพื่อให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายหลักที่สามารถตอบโจทย์การประกอบธุรกิจได้ ทำให้รายการโทรทัศน์สำหรับเด็กที่มีเนื้อหาเหมาะสมจึงลดลงไปด้วย สำนักงาน กสทช. โดยการดำเนินงานของ กทปส. ได้เล็งเห็นถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการผลิตเนื้อหาและการออกอากาศรายการสําหรับเด็ก เยาวชน และครอบครัว เพื่อให้เกิดประโยชน์แก่เยาวชนในการรับชมรายการที่สร้างสรรค์ ปลอดภัย ส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา ผ่านการให้ทุนสนับสนุนแก่มหาวิทยาลัยมหิดลในการผลิตรายการสำหรับเด็ก เนื่องจากเห็นว่าโครงการดังกล่าวสอดคล้องกับการผลิตรายการที่ผ่านมาของมหาวิทยาลัย ในช่อง มหิดลแชนแนล (Mahidol Channel) ซึ่งทาง มหาวิทยาลัยมหิดลดำเนินงานมาตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปัจจุบัน โดยเผยแพร่ทางโทรทัศน์เคเบิ้ล ช่อง CTH ทางโทรทัศน์สาธารณะ (Free TV) และทางสื่อออนไลน์ผ่านช่องทาง YouTube Channel และมีการเพิ่มช่องทางการเผยแพร่ทางสื่อออนไลน์ YouTube Channel รวมทั้งสถานีโทรทัศน์ในระบบดิจิทัล อาทิ สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส, สถานีโทรทัศน์ MCOT Family และไทยรัฐทีวี “มหาวิทยาลัยมหิดลเรามีความตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะเป็นปัญญาของแผ่นดิน โดยโครงการฯ ที่ผ่านมาจากการได้รับทุนสนับสนุนของ กทปส. มุ่งเจาะไปที่กลุ่มเด็กและเยาวชนแบ่งเป็น 2 ระดับกลุ่มประถมวัยอายุระหว่าง 3-5 ปีและระดับมัธยมฯ อายุระหว่าง 6-12 ปี ในโครงการที่ทำนี้เลือก 2 รายการ คือ รายการ Animals Speak ซึ่งได้รับความนิยมจากผู้ชมอย่างมากช่องทาง YouTube และมีจํานวนผู้ชมมากที่สุดถึง 4,101,200 ครั้ง ตอน “คนดีพาเที่ยวฟาร์มจระเข้” (คนดีคือชื่อพิธีกรเด็กในรายการ) นอกจากนี้รายการ Animals Speak ยังออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสด้วย โดยมีผู้จํานวนผู้ชมหรือเรทติ้งสูงสุด 855,000 คน จากตอน “คนดีสู้เสือ” ดร. ระพี กล่าวเตรียมสร้างคอนเทนต์ตอบโจทย์ทุกวัยจากการตอบรับของกลุ่มผู้ชมที่มีต่อรายการ Animals Speak ประกอบกับองค์ความรู้ต่าง ๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดลเกี่ยวกับการพัฒนาเด็กและเยาวชน ทั้งในด้านสุขภาพ อารมณ์สังคม และสติปัญญาทั้งในด้านวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยจึงได้เพิ่มช่องใหม่ในชื่อ Mahidol Channel Kids ซึ่งมีการผลิตรายการได้แก่ Animals Speak โดย Mihidol Channel Kids เป็นช่องรายการใหม่ที่ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจาก กทปส. ประจำปี 2561 ซึ่งถือเป็นโครงการที่ 2 ของทางมหาวิทยาลัยมหิดลที่ได้รับการสนับสนุนจาก กทปส. โดยจะเริ่มลงนามในสัญญารับทุนปลายปี 2561 นี้และสามารถดำเนินการได้ทันทีในต้นปี 2562 ซึ่งรูปแบบการนำเสนอรายการจะเปลี่ยนแปลงจากเดิมโดยในครั้งนี้จะนำเสนอรูปแบบรายการผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์เป็นหลักซึ่งจะเข้าถึงและตอบโจทย์พฤติกรรมของผู้ชมที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัยของความนิยมตามเทรนด์เทคโนโลยีในปัจจุบัน คอนเทนต์ปลูกฝังองค์ความรู้สู่การแบ่งปันสำหรับสิ่งที่ต่อยอดมาจากรายการ Animals Speak ที่เคยได้รับทุนสนับสนุนจากทาง กทปส. นั้นได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้ชม ทางมหาวิทยาลัยมหิดลจึงได้นำเสนอผลิตรายการกับทาง กทปส. เกี่ยวกับสัตว์อนุรักษ์ขึ้นเพิ่มเติมจำนวน 14 ตอน โฟกัสไปที่กลุ่มเด็ก 3-12 ปี โดยเนื้อหารายการจะทำให้เด็กเข้าใจธรรมชาติของสัตว์ ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต และสามารถอยู่ร่วมกันได้กับสิ่งมีชีวิตในโลก นอกจากนี้ยังเป็นการปลูกฝั่งเรื่องความรับผิดชอบให้แก่เด็ก ๆ ยกตัวอย่าง หากเด็กจะมีสัตว์เลี้ยงสักหนึ่งตัว เด็กๆจะต้องรู้ว่าธรรมชาติของสัตว์เป็นอย่างไร และยังต้องมีความรักความใส่ใจต่อสัตว์เลี้ยง ไม่ใช่แค่ว่าคิดจะเลี้ยงก็เลี้ยง พอเบื่อก็ปล่อยไป อีกทั้งเด็กๆ สามารถยังนำความรู้จากรายการไปถ่ายทอดให้กับผู้ปกครองหรือเพื่อนๆ ได้อีกด้วย
สำหรับรายการฟิสิกส์สนุก ซึ่งทุกคนมักจะคิดว่าฟิสิกส์เป็นเรื่องยาก แต่ในความเป็นจริงฟิสิกส์อยู่ในชีวิตประจําวันของเรา ตั้งแต่ตื่นเช้าจนถึงเข้านอนไม่ว่าจะอาบนํ้า กินอาหาร เดินทาง เล่นกีฬา ไปซื้อของ ฯลฯ ทุกอย่างที่อยู่รอบตัวเราสามารถนำหลักการทางฟิสิกส์ไปใช้ได้ รายการนี้จะโฟกัสที่กลุ่มเด็กอายุ 6 - 12 ปี ซึ่งจะโตขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง โดยรายการนี้จะมีการอธิบายหลักการทางฟิสิกส์ง่ายๆ ที่ทำให้เด็กช่วงวัยนี้เข้าใจได้ง่าย จุดประสงค์รายการฟิสิกส์สนุกจึงอยากปลูกฝังให้เด็กๆ เข้าใจว่าฟิสิกส์เป็นเรื่องใกล้ตัว สนุก น่าค้นหา น่าเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อชีวิตทุกคน อีกทั้งยังเป็นการปลูกฝังให้เด็กรักวิทยาศาสตร์ มีทัศนคติกับการเรียนวิทยาศาสตร์ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ยากจนไม่สามารถเรียนรู้และเข้าใจได้ รวมถึงยังจะส่งผลให้เด็กมีแรงบันดาลใจในการเป็นนักวิทยาศาสตร์ในอนาคต ทั้งนี้ ทาง กทปส. และมหาลัยมหิดลคาดหวังว่าเด็กๆ ได้นําความรู้ที่ได้จากรายการไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ใยชีวิตประจำวันได้
“รายการที่ทางมหิดลเลือกนำเสนอน่าจะเป็นจุดเริ่มต้นและส่งเสริมการปลูกฝังความรู้ให้แก่เด็ก ผมเห็นว่ารายการสำหรับเด็กที่มีคุณภาพของไทยมีน้อย โดยเฉพาะรายการเกี่ยกับสัตว์ และวิทยาศาสตร์ ส่วนใหญ่รายการที่เห็นจะเป็นของต่างประเทศมากกว่า ซึ่งข้อดีก็มีทำให้เด็กๆ ได้ฝึกภาษาอังกฤษไปด้วย แต่ในมุมมองของผมเห็นว่าเด็กเล็กอาจจะยังไม่ถนัดกับภาษาอังกฤษมาก ดังนั้น หากเรามีรายการที่มีเนื้อหาเป็นภาษาไทยก็จะทำให้เด็กได้เรียนรู้เข้าใจได้ง่ายขึ้น” ดร.ระพี กล่าว
มหาวิทยาลัยมหิดลเชื่อมั่นว่ารายการสําหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัวที่ผลิตโดยมหาวิทยาลัยเพื่อนําองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ผลิตเป็นรายการที่เข้าใจง่าย ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง มีสาระและบันเทิงจะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมายของโครงการดังกล่าว นอกจากนี้ช่องทางหลักในการเข้าชมรายการต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเข้าไปที่ Mahidol Channel มหิดล แชนแนล ทาง YouTube www.youtube.com/c/mahidolchannel หรือ Facebook http://www.facebook.com/mahidolchannel หรือ Mahidol University มหาวิทยาลัยมหิดล : https://www.mahidol.ac.th/th หรือ Website : http://www.mahidolchannel.com
“ทางมหิดลมีการติดตามและประเมินผลเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยตามกรอบที่ กทปส. โครงการแรกกำหนดมาต้องมีอย่างน้อย 1 ตอน 1 รายการจะต้องมีผู้ชมอย่างน้อย 100,000 รายการ Animal Speak ออกอากาศทางช่องไทย พีบีเอส จำนวน 14 ตอนซึ่งมีผู้ชมเกือบทุกตอนตามข้อกำหนด ส่วนรายการ ฟิสิกส์ สนุก ออกอากาศทางช่อง MCOT Family 14 ซึ่งจำนวนเฉลี่ยของผู้ชมอยู่ที่ 20,000 คนต่อตอน สำหรับช่องแฟมิลี่อาจจะไม่ใช่ช่องที่ผู้ชมรู้จักและเลือกรับชม รวมกับรายการที่ผู้ชมอาจจะเห็นว่าเป็ฯเรื่องไกลตัวด้วย แต่ในมุมมองของผมเห็นว่าช่องดิจิทัลทีวี มีผู้ชมเท่านี้นับว่าผลตอบรับดีแล้ว นอกจากนี้ผู้ชมยังสามารถชมย้อนหลังหรือชมผ่านช่องทางออนไลน์ได้อีก สำหรับการประเมินเชิงคุณภาพทางมหิดลมีการจัดโฟกัส กรุ๊ป จากกลุ่มผู้ชมจำนวนหนึ่ง และมีคำถามซึ่งยาวมากให้ตอบ เพื่อนำมาประเมินในโครงการส่วนใหญ่ผลตอบรับดีมาก ทั้งนี้กลุ่มที่ใช้ประเมินจะเป็นพ่อผู้ปกครอง ซึ่งเป็นบุคลลที่เลือกคอนเทนต์ให้เด็กๆ โดยเฉพาะช่องทาง YouTube จะมีการกำหนดการเข้าถึงและเลือกชมรายการตามอายุทางผู้ปกครองสามารถกำหนดส่วนนี้ได้” ดร.ระพี กล่าว
“มุมมองเกี่ยวกับคอนเทนต์ที่มหิดลได้จัดทำขึ้นและสามารถนำไปปรับประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตของเด็กและเยาวชนในปัจจุบัน จากการทำโครงการแรกเชื่อว่าการที่เด็กและผู้ชมมีทัศคติที่ดีกับสิ่งมีชีวิตอื่นนอกจากมนุษย์ และรู้จักการรักษาทรัพยากรที่มีชีวิตอื่นนั้นถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนที่ดี และการที่มีทัศนคติที่ดีกับวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งหลายคนอาจมองว่าเป็นยาขม แต่เมื่อชมรายการทำให้เห็นว่าวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องสนุก ทำให้คิดแบบวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย ตรรกะ มีเหตุและผล ซึ่งการคิดแบบมีวิจารณญาณเป็นสิงสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะในยุคดิจิทัลขณะนี้ เพราะข้อมูลข่าวสาร และคอนเทนต์ในแต่ละวันมีจำนวนมาก ในอนาคตจะยิ่งเพิ่มขึ้น ดังนั้นกระบวนการคิดเชิงวิทยาศาสตร์จึงจำเป็นและสำคัญอย่างมาก” ดร.ระพี กล่าว
“ผมเชื่อว่า การที่เราให้เด็กและเยาวชนเลือกใช้โซเชียลมีเดียและสมาร์ทดีไวซ์ 100 เปอร์เซ็นต์อยู่ในการตัดสินใจของลูกและเด็กๆ อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดี เพราะเราจะไม่มีทางรู้ได้ว่าในช่วงเวลา 8 ชั่วโมงนั้นเด็กๆ เข้าถึงคอนเทนต์อะไรบ้าง แต่การที่มีรายการที่ดีมีคุณภาพและสามารถนำไปสู่การมีแนวคิดเชิงตรรกะ มีเหตุมีผล และมีวิจารณญาณได้นั้น จะทำให้เด็กมีต้นทุนในการพัฒนาตัวเองรวมถึงนำไปสู่การเรียนและใช้ชีวิตในสังคมที่มีภูมิคุ้มกันที่ดี นอกจากนี้ยังเป็นเครื่องมือของพ่อแม่เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กและเยาวชนได้ใช้เวลาอย่างมีคุณค่าและได้รับสื่อดี ๆ” ดร.ระพี กล่าว
ทั้งนี้อาจจะคาดการณ์ไม่ได้ว่าในอนาคตพฤติกรรมผู้ชมจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร แต่หวังทางมหาลัยเป็นอย่างยิ่งว่า กทปส. จะมอบทุนในการส่งเสริมและสนับสนุนโครงการทางด้านเด็ก เยาวชนและครอบครัวเพื่อสร้างคอนเทนต์ดี ๆ ที่มีคุณภาพต่อไป สุดท้ายขอฝากให้องค์กร หน่วยงาน ภาคการศึกษาที่มีโครงการดี ๆ และสนใจสามรถยื่นขอทุนเข้าไปที่ กทปส. ได้ และก็ขอให้ กทปส. สนับสนุนโครงการลักษณะนี้อย่างต่อเนื่อง นายนิพนธ์ จงวิชิต นายนิพนธ์ จงวิชิต รักษาการผู้จัดการ กองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียง กิจการ โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม เพื่อประโยชน์สาธารณะ หรือ กทปส. เสริมว่า กทปส. ให้การส่งเสริมและสนับสนุนด้านการผลิตและออกอากาศรายการโทรทัศน์เพื่อเด็ก เยาวชน และครอบครัว เพราะเห็นว่ารายการสำหรับเด็กในช่องดิจิทัลทีวีมีจำนวนน้อยเกินไป ซึ่ง กทปส. เล็งเห็นและความสำคัญในการผลิตคอนเทนต์ สำหรับเด็กและเยาวชนให้สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากรายการไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ และยังช่วยเสริมพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ส่วนทางด้านผู้ปกครองจะมีสื่อปลอดภัยและให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ในการปลูกฝังค่านิยมที่ดีสำหรับเด็ก อีกทั้งผู้ปกครองสามารถใช้ความรู้และคุณค่าที่ได้จากรายการไปประยุกต์และปรับสอนหรือทำกิจกรรมภายในครอบครัวเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีในครอบครัวอีกด้วย
ทั้งนี้แนวทางการพัฒนาการส่งเสริมด้านการผลิตรายการสำหรับเด็ก เยาวชนและครอบครัวให้เกิดความยั่งยืนในอนาคต กทปส. เชื่อมั่นในศักยภาพของมหาวิทยาลัยมหิดลที่ได้รับทุนครั้งนี้ ซึ่งเป็นองค์กรทางด้านการศึกษาที่มีคณะทำงานทั้งคณาจารย์ นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญจากทุกหน่วยงาน รวมถึงผู้ผลิตรายการมืออาชีพที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการผลิตรายการระดับสากล นอกจากนี้มหาวิทยาลัยมหิดลยังมีการเผยแพร่รายการทาง YouTube เพื่อเพิ่มช่องทางการเข้าถึงที่มีการประชาสัมพันธ์รายการผ่านทาง Facebook Mahidol Channel ด้วยในการกระตุ้นการรับรู้และทำให้ผู้ชมทุกวัยสามารถเข้าชมรายการอย่างต่อเนื่อง