MSN on October 24, 2018, 09:33:53 PM

ปฏิทินข่าว Beauty and Ugliness : Aesthetic of Marsi ความงามและความน่าเกลียด :สุนทรียศิลป์แห่งมารศี






มูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงมารศีสุขุมพันธุ์บริพัตรร่วมกับพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ขอเชิญชมนิทรรศการศิลปะ Beauty and Ugliness : Aesthetic of Marsiความงามและความน่าเกลียด : สุนทรียศิลป์แห่งมารศีนิทรรศการใหญ่ครั้งแรกในรอบ 5 ปีที่จะนำผู้ชมร่วมค้นหาความหมายแห่งสุนทรียศาสตร์จากผลงานจิตรกรรมฝีพระหัตถ์อันทรงคุณค่ากว่า 40 ชิ้นของหม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์บริพัตรจิตรกรหญิงชาวไทยผู้สร้างสรรค์ผลงานอันเปี่ยมล้นด้วยตัวตนและจิตวิญญาณณพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหอศิลปถนนเจ้าฟ้าตั้งแต่ 7 พฤศจิกายนถึง 23 ธันวาคมพ.ศ.2561 เวลา 09.00-18.30 น. (ปิดวันจันทร์-อังคาร)

ในแวดวงศิลปะผลงานจิตรกรรมของหม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธ์บริพัตรล้วนได้รับการยกย่องทั้งในแง่ของความละเอียดอ่อนมีจินตนาการและใช้ภาพสัญลักษณ์ที่แฝงปรัชญาผสมผสานรวมกันจากแนวคิดทั้งตะวันออกและตะวันตกที่ผ่านมามูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงมารศีสุขุมพันธุ์บริพัตรได้จัดแสดงนิทรรศการภาพเขียนฝีพระหัตถ์ของหม่อมเจ้ามารศีฯในประเทศไทยมาแล้ว 2 ครั้งเมื่อปี พ.ศ.2553 และ พ.ศ.2556 ภายใต้แง่มุมและหัวข้อที่แตกต่างกันโดยในครั้งที่ 3 นี้ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดร.ศุภชัยอารีรุ่งเรืองภัณฑารักษ์นิทรรศการได้เลือกหยิบมุมมองเกี่ยวกับการตีความเรื่องสุนทรียศาสตร์ในผลงานของหม่อมเจ้ามารศีฯมานำเสนอผ่านผลงานจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ตลอดจนภาพวาดเส้นวัตถุสิ่งของหนังสือและภาพยนตร์สารคดีส่วนพระองค์เพื่อสะท้อนให้เห็น “ความงามและความน่าเกลียด : สุนทรียศิลป์แห่งมารศีBeauty and Ugliness : Aesthetic of Marsiโดยตีความออกมาเป็นคำสำคัญ 4 คำผ่านการจัดแสดง 4 ห้องหลักได้แก่

1) ความงาม (Beauty)  การสร้างความเข้าใจและตีความผลงานในด้านความงามแบบหม่อมเจ้ามารศีฯผ่านสัญลักษณ์ภาพแทนจากดอกไม้สัตว์เลี้ยงคนรวมถึงตัวบทวรรณกรรม

2) ความน่าเกลียด (Ugliness)แสดงผลงานที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้ภาพสัญลักษณ์ของความน่าเกลียดความตายความอัปลักษณ์ของรูปกายที่ไม่จีรังโครงกระดูกภาพครึ่งคนครึ่งสัตว์ราวกับการสร้างอุปลักษณ์ให้ปรากฏในภาพจิตรกรรม

3) เส้นทางศิลปะของหม่อมเจ้ามารศีฯ (Chronology of Marsi and Art History)  แสดงเนื้อหาพัฒนาการในด้านการสร้างสรรค์งานศิลปะของท่านด้วยการเทียบลำดับเวลาของเหตุการณ์ศิลปินปรากฏการณ์ทั้งในประเทศไทยเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และโลกเป็นการสร้างการเรียนรู้ให้เข้าใจว่างานของท่านจัดอยู่ในพื้นที่ประวัติศาสตร์ศิลป์ที่ทำให้เกิดการกระตุ้นให้สนใจศึกษาเปรียบเทียบงานในเชิงลึกต่อไป

4) สัจจะ (Truth) แสดงเนื้อหาเกี่ยวกับสิ่งที่หม่อมเจ้ามารศีฯได้พิสูจน์ให้เห็น “สัจจะ” ในเส้นทางเลือกที่จะเป็น “ศิลปิน” จนกระทั่งถึงวาระสุดท้ายของชีวิตและผลงานของท่านแสดงให้เห็นถึง “สัจจธรรม” ของชีวิตมนุษย์ที่มีทั้งความรักความสุขความตาย
นอกเหนือจากผลงานศิลปะในงานที่เปิดให้เข้าชมแล้วภายในงานยังมีกิจกรรมส่งเสริมด้านศิลปศึกษาไม่ว่าจะเป็นการเสวนาประเด็นเรื่องความงามและความน่าเกลียด (Beauty and Ugliness) ที่ปรากฏในผลงานหม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์บริพัตรกิจกรรมเวิร์คช้อปฯลฯนอกจากนี้โดยได้รับการสนับสนุนจากFlynow III ร่วมถ่ายทอดจินตนาการดังกล่าวผ่านแฟชั่นและผลิตภัณฑ์คอลเลคชั่นพิเศษ


เกี่ยวกับหม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธ์บริพัตร

หม่อมเจ้ามารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร ทรงเป็นพระธิดาพระองค์เดียวของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุมภฏพงษ์บริพัตร กรมหมื่นนครสวรรค์ศักดิพินิต และหม่อมราชวงศ์พันธุ์ทิพย์ (เทวกุล) บริพัตร ประสูติเมื่อปี ๒๕ สิงหาคม๒๔๗๔

หม่อมเจ้ามารศีฯ ทรงมีพระอัจฉริยภาพหลายด้าน อาทิ อักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลป์ วาดภาพ และดนตรี ทรงสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกในสาขาวรรณคดีจากมหาวิทยาลัย ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส และปริญญาเอกในสาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ จากมหาวิทยาลัยแห่งมาดริด จากนั้นได้ทรงงานในแวดวงวิชาการอยู่ระยะหนึ่ง ก่อนเริ่มทรงศึกษาศิลปะด้วยพระองค์เอง และทรงสร้างสรรค์ผลงานภาพเขียนที่โดดเด่น งดงามเหนือจินตนาการ สะท้อนปรัชญาชีวิต จนมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในระดับสากล

หม่อมเจ้ามารศีฯ ทรงใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายที่พระตำหนักใน Annotเมืองเล็กๆ ทางตอนใต้ของฝรั่งเศสกว่า ๔๐ ปี แวดล้อมไปด้วยดอกไม้ ลำธาร และสัตว์เลี้ยงนานาชนิด ซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งในภาพเขียนของท่านเสมอมา หลังจากประชวรเมื่อปี ๒๕๔๗ จึงไม่ทรงสามารถสร้างสรรค์งานศิลปะได้เช่นเดิม แต่ยังคงประทับ ณ พระตำหนัก "Vellara" ในเมือง Annotประเทศฝรั่งเศส ท่ามกลางธรรมชาติ เสียงดนตรี และสัตว์เลี้ยง จวบจนวาระสุดท้ายของพระชนม์ชีพ เมื่อวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๕๖

เกี่ยวกับมูลนิธิ:
มูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงมารศีสุขุมพันธุ์ บริพัตร จัดตั้งขึ้นเมื่อปี ๒๕๕๒ เพื่อส่งเสริมการศึกษาด้านศิลปะในประเทศไทย และดำเนินกิจกรรมสงเคราะห์สัตว์  ที่ผ่านมามูลนิธิฯ ได้จัดแสดงนิทรรศการภาพเขียนฝีพระหัตถ์ของหม่อมเจ้ามารศีฯ ในประเทศไทยมาแล้ว  ๒ ครั้ง เมื่อปี ๒๕๕๓ และปี ๒๕๕๖ นอกจากนี้ ยังได้จัดทำหนังสือภาพวาดฝีพระหัตถ์ ๓ ภาษา (ไทย อังกฤษ ฝรั่งเศส) มอบทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาด้านศิลปะในระดับปริญญาตรีต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี ๒๕๕๔ตลอดจนให้การสนับสนุนนิทรรศการแสดงผลงานศิลปะของนักศึกษาและศิลปินรุ่นใหม่ในหอศิลป์ต่างๆ
« Last Edit: October 24, 2018, 09:37:26 PM by MSN »