pooklook on January 27, 2010, 09:03:07 PM
''เปลือยเพื่อชาติ'' ที่ว่านี่ไม่ใช่การถอดเสื้อผ้าโชว์หุ่น แต่กระทรวงไอซีทีกำลังขอร้อง (แกมบังคับ) ให้ชาวเน็ตเมืองไทยยอมให้กระทรวงเข้ามาตรวจสอบการใช้งานอินเทอร์เน็ตใน ประเทศไทยอย่างเต็มรูปแบบ เพื่อฆ่าตัดตอนซอฟต์แวร์ผี เพลงเถื่อน และภาพยนตร์ผิดลิขสิทธิ์ ให้หมดสิ้นไปจากน่านฟ้าอินเทอร์เน็ตเมืองไทย
     
      หัวหน้าคณะทำงานระบุสิ่งที่ไอซีทีกำลังทำไม่ ใช่การ Sniff หรือการแอบดักจับข้อมูลของประชากรชาวอินเทอร์เน็ตมาเก็บไว้ทุกอย่างตาม อำเภอใจ แต่ไอซีทีจะใช้ระบบตรวจตราเพื่อเฝ้าระวังปัญหาแบบมีจรรยาบรรณ ไม่ต่างจากการที่คนไข้ต้องยอมให้หมอรับรู้ข้อมูลความลับทุกอย่าง เพื่อการรักษาโรคให้ได้ผลดีที่สุด
     
      ชาวอินเทอร์เน็ตที่หวงแหนความเป็นส่วนตัวที่สุดอาจจะแย้งว่า คนไข้ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะเลือกได้ว่าจะรักษาตัวเองหรือไม่ แต่จริงๆแล้วคนไข้ที่ไอซีทีต้องการอาสาตัวเป็นหมอรักษาไม่ใช่ชาวอิน เทอร์เน็ต กลับเป็นประเทศไทยที่มีปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เรื้อรังในระดับรุนแรง ซึ่งหัวหน้าคณะทำงานปราบคอนเทนท์เถื่อนบนอินเทอร์เน็ตในสังกัดไอซีทียืนยัน ว่า การติดตั้งระบบตรวจข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะช่วยป้องกันการละเมิด ทรัพย์สินทางปัญญาบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตอย่างได้ผล และยังสามารถขยายผลไปปราบเว็บไซต์หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ รวมถึงอบายมุขออนไลน์อื่นๆ เช่น เว็บไซต์รับพนัน หรือเว็บไซต์ขายยาเสพติดได้อีก
     
      ''ปกติทราฟฟิกการใช้อินเทอร์เน็ตวิ่งผ่านไอเอส พีอยู่แล้ว เมื่อมีปัญหา แล้วมีเจ้าทุกข์แจ้งความเพื่อขอให้ไอเอสพีเปิดเผยข้อมูล ไอเอสพีก็ค่อยดู แบบนี้เป็นการแก้ที่ปลายเหตุ เพราะมีการกระทำผิดไปแล้ว เราต้องการดูอีกแบบ เราต้องการเลือกทราฟฟิกที่มีความเสี่ยงมาช่วยตรวจ เรียกว่าเฝ้าระวัง ขอให้ไอเอสพีส่งข้อมูลทราฟฟิกมาให้ทีมมอนิเตอร์ที่กระทรวงแบบเรียลไทม์ แต่เดิมไม่ส่งมา เราก็ทำอะไรไม่ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่หลายคนเคยต่อว่าว่าไอซีทีไม่ดำเนินการอะไร''
     
      ความเคลื่อนไหวขณะนี้ของคณะทำงานโครงการของไอซีที คือการมีมติเสนอให้ กทช. (คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ) เพิ่มหลักเกณฑ์ในการออกใบอนุญาตให้กับผู้ประกอบการบริการอินเทอร์เน็ต ว่าจะต้องติดตั้งระบบตรวจตราหรือ Monitor Systems ไว้ที่เกตเวย์เพื่อใช้ดักอ่านข้อมูลที่วิ่งไปมาบนระบบ (Traffic) สร้างกระแสไม่พอใจให้ชาวอินเทอร์เน็ตเนื่องจากทิศทางที่ชี้ว่า ไอซีทีต้องการบังคับให้ไอเอสพีทุกค่ายดักเก็บข้อมูลผู้ใช้ทุกคน เพื่อตรวจว่าลูกค้ารายใดใช้งานคอนเทนท์เถื่อนผิดลิขสิทธิ์จากแหล่งใด



เก็บหมดแต่ดูไม่หมด
     
      นายอาจิน จิรชีพพัฒนา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ประธานคณะทำงานกำกับดูแลและเฝ้าระวังการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาบนเครือข่าย อินเทอร์เน็ต ยืนยันว่าสิ่งที่ไอซีทีกำลังผลักดันอยู่นั้นไม่ใช่การ Sniff หรือการแอบดักจับข้อมูล
     
      ''ไม่ใช่ sniff แต่มันคือระบบตรวจตราหรือมอนิเตอร์ซิสเต็มส์ ไอเอสพีเป็นประตูที่มีทราฟฟิกวิ่งผ่าน ระบบนี้คือขอให้ไอเอสพีส่งทราฟฟิกให้เราด้วย เราจะช่วยตรวจและเฝ้าระวัง เรื่องที่ว่าไอซีทีจะรู้หมดว่าใครทำอะไร มันไม่ต่างจากหมอ คนไม่สบายที่มีปัญหาแล้วกลัว ไม่ยอมบอกหมอ สุดท้ายพอตายก็โทษหมอว่าหมอไม่ทำอะไรเลย ซึ่งจริงๆ หมอต้องรู้ข้อมูลคนไข้แต่ต้องมีจรรยาบรรณ ต้องมาคุยเรื่องนั้นกันมากกว่า ต้องมีกฏขึ้นมา ยกประเด็นนี้ผมเองก็เสียว ผมเองก็ดูรูปโป๊ แต่เราประกาศให้ทุกคนรู้ ไม่ได้มุบมิบทำ ให้ทุกคนระวังตัว''
     
      อาจินยอมรับว่า ข้อมูลที่ไอซีทีจะเก็บจากระบบเฝ้าระวังนี้จะมีรายละเอียดเต็มรูปแบบ ต่างจากประวัติการใช้อินเทอร์เน็ตหรือล็อกไฟล์ที่ไอเอสพีเก็บเฉพาะหัว เรื่องอยู่ประจำ โดยไอซีทีจะเก็บข้อมูลเป็นเวลาอย่างน้อย 90 วัน กรณีที่มีคดีจึงเก็บมากกว่านั้น เนื่องจากระบบเก็บข้อมูลหรือสตอเรจของศูนย์เฝ้าระวังนั้นมีไม่มาก
     
      ''เราจะไม่ตรวจสอบทราฟฟิกทั้งหมด แต่เราจะสนใจทราฟฟิกที่มีชื่อไฟล์ผิดปกติ เพลง หรือเว็บที่มีข้อความบางอย่าง ข้อความในอีเมลอาจจะไม่สนใจ ข้ามผ่านไปไม่ได้ตรวจสอบ แต่หากทราฟฟิกใดมีไฟล์ที่ผิดปกติก็ขอติดตามดูต่อ ไฟล์ที่ส่งระหว่างคน 2 คนอาจจะไม่ต้องติดตาม แต่ถ้ามีการส่งต่อเป็นทีมจำนวนมากและเข้าข่ายน่าสงสัย ก็จะติดตามจัดการ แจ้งตำรวจดำเนินคดีต่อไป''
     
      อาจินระบุว่า เหตุที่ต้องประสานให้กทช.ออกกฏบังคับไอเอสพี เนื่องจากไอเอสพีหลายรายไม่ยินยอมดำเนินการตามที่ไอซีทีเรียกร้อง คณะทำงานจึงมีมติเห็นควรว่าต้องติดระบบที่ไอเอสพีทุกราย
     
      "ถ้าไม่ได้ทำผิด ก็ไม่ต้องกลัว เรื่องเสียความเป็นส่วนตัวต้องเสียอยู่แล้ว เราหวังว่าประชาชนจะเห็นประโยชน์ โดยเฉพาะในแง่ของการรักษาความมั่นคงปลอดภัย"
     
      ความกังวลเรื่องหากเครือข่ายแชร์ไฟล์บนอินเทอร์เน็ตถูกปราบปราม แผ่นผีและซีดีเถื่อนอาจจะระบาดขึ้นอีก จุดนี้อาจิณระบุว่าอินเทอร์เน็ตคือแหล่งก่อปัญหาที่ร้ายแรงที่สุดแล้ว การผลิตและจำหน่ายแผ่นผีสามารถติดตามจับกุมได้
     
      ''สำหรับกรณีพบว่าเว็บไซต์ที่กระทำผิดใช้ เซิร์ฟเวอร์ต่างประเทศ เราก็สามารถบล็อกไม่ให้ทราฟฟิกของคนไทยออกไป แต่ถ้าเซิร์ฟเวอร์อยู่ในเมืองไทย ก็สามารถดำเนินการจับกุม การใช้เทคนิคต่างๆเพื่อปลอมแปลงที่อยู่ยังไงก็ต้องรู้และตามเจอได้ ตรวจยังไงต้องเจอ''
     
      อาจินไม่เปิดเผยกรอบเวลาว่าวางแผนให้โครงการนี้แล้วเสร็จเมื่อใด ระบุเพียงว่าศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต หรือ Internet Security Operation Center (ISOC) ศูนย์เฝ้าระวังที่ก่อนหน้าใช้ชื่อว่าห้องวอร์ รูม (War Room) ของไอซีทีนั้นได้รับงบประมาณแก้ไขปัญหาบนอินเทอร์เน็ต 120 ล้านบาท



''thainosniff'' ขอรัฐอย่า Sniff
     
      ทันทีที่ข่าวนโยบายการเก็บข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตใน ประเทศไทยแพร่กระจายไป ชาวอินเทอร์เน็ตในเมืองไทยพากันจับกลุ่มวิจารณ์และไม่เห็นด้วย กระทั่งล่าสุด มีการจัดตั้งกลุ่ม thainosniff ขึ้นมา เรียกร้องไม่ให้ภาครัฐทำการดักจับข้อมูลด้วย Sniffer โปรแกรมดักจับข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
     
      ความเคลื่อนไหวล่าสุดของกลุ่ม thainosniff คือการเผยแพร่รูปภาพอธิบายผลเสียของการถูก Sniff แก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ในรูประบุว่า thainosniff ไม่เห็นด้วยกับตรรกะ ''ไม่ผิดก็เปิดดูข้อมูลได้'' โดยย้ำให้ชาวอินเทอร์เน็ตเห็นถึงการถูกรุกล้ำสิทธิส่วนบุคคล และเรียกร้องให้ทุกคนช่วยกันทวีต (Tweet) โดยแนบคำว่า #thainosniff เพื่อแสดงตนเป็นกลุ่มผู้ต่อต้านการดักจับข้อมูลให้ภาครัฐฯมองเห็นพลังมวลชน พร้อมยืนยันว่าวิธีนี้ไม่ใช่การปราบปรามที่ได้ผล เนื่องจากผู้ใช้สามารถเข้ารหัสไฟล์เพื่อรับส่งข้อมูลได้อยู่ดี
     
      ปรเมศวร์ มินศิริ เว็บมาสเตอร์กระปุกดอทคอม แสดงความกังวลว่าเครื่องมือตรวจสอบประวัติการใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นดาบสอง คมซึ่งหากใช้ในทางที่ถูกต้องก็จะสามารถช่วยให้ผู้ดูแลระบบได้สอดส่องมองหา ความผิดปกติในเครือข่ายเพื่อแก้ไขและปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดีขึ้นได้ แต่ประเด็นที่สังคมให้ความสนใจคือ หากมีการใช้เพื่อดักรับข้อมูลการใช้งานของผู้ใช้โดยทั่วไป โดยไม่ได้ระบุว่าเป็นการตรวจจับเฉพาะจุดที่สงสัยว่าจะมีการกระทำความผิดนั้น น่าเป็นห่วง
     
      ''การดักรับข้อมูลส่วนนี้จึงไม่ควรสามารถกระทำ ต่อบุคคลทุกคนในทันที นอกจากจะมีหมายศาลให้ดำเนินการกับผู้ต้องสงสัยว่ากระทำความผิดตามที่กฎหมาย รองรับ'' ปรเมศวร์กล่าว
     
      ความกังวลที่เกิดขึ้นในขณะนี้มี 3 ประเด็นใหญ่ 1. ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตชาวไทยอาจกำลังจะถูกรุกล้ำความเป็นส่วนตัว 2. ต้นทุนของผู้ประกอบการเกตเวย์ (ISP : Internet Service Provider) อาจจะสูงขึ้นจนเป็นภาระกลับไปยังผู้บริโภคที่ต้องจ่ายค่าอินเทอร์เน็ตแพง ขึ้น 3. หากข้อมูลที่ดักเก็บไว้ถูกนำไปใช้ในทางไม่ชอบก็จะมีผลเสียหายตามมา
     
      เชื่อขนมกินได้เลยว่า การพิจารณาเพื่อหาทางเดินที่ดีที่สุดของเรื่องนี้จะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง กว่าทุกอย่างจะลงตัว
     

pooklook on January 27, 2010, 09:04:32 PM
Baby, Don't Sniff! การ์ตูนเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ Sniffer ที่ @tpagon วาดขึ้นมาเพื่อเผยแพร่ในกลุ่ม #thainosniff สามารถเข้าไปชมภาพขนาดใหญ่ได้ที่นี้



อ้างอิง http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9530000010530

gokoon on January 27, 2010, 10:19:07 PM
สรุปให้สั้นๆ คือการตรวจจับการใช้อินเตอร์เน็ตโดยผู้ให้บริการ แต่วันนี้ฟังวิทยุ หนุ่ยพงศ์สุข เห็นว่าได้ข้อสรุปแล้วนะว่าจะไม่ใช้ สนิฟเฟอร์ อะ เพราะมันจะหาใครมานั่งดูข้อมูลวันละมหาศาล
« Last Edit: January 27, 2010, 10:21:16 PM by gokoon »