MSN on October 06, 2018, 03:09:22 PM




ใหม่ ดาวิกา ร้องเพลงช้าง ชวนคนไทย #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้างกับองค์กรไวล์ดเอด และกรมอุทยานฯ
   


กรุงเทพมหานคร (5 ตุลาคม 2561) – องค์กรไวล์ดเอด (WildAid) เปิดตัวคุณใหม่ ดาวิกา โฮร์เน่ นักแสดงชื่อดัง เป็นทูตด้านช้างคนล่าสุดขององค์กร พร้อมโฆษณารณรงค์ที่มีคุณดาวิกานำแสดง และร่วมร้องเพลงช้าง เพลงที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี เพื่อชวนทุกคนหยุดซื้อ หยุดใช้ และหยุดรับผลิตภัณฑ์งาช้าง ภายใต้โครงการรณรงค์ #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง โดยมีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สนับสนุนงานรณรงค์ลดความต้องการผลิตภัณฑ์งาช้าง ร่วมกับองค์กรไวล์ดเอด

“ช้าง เป็นสัตว์ที่มีความสำคัญและเป็นที่รักของคนไทยมาโดยตลอด ทุกๆ คนรวมทั้งใหม่ เติบโตมากับเพลงช้างใหม่ว่ามันเป็นเรื่องน่าเศร้าที่ความต้องการซื้อและใช้ผลิตภัณฑ์งาช้างทุกวันนี้ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชากรช้างโลกโดยเฉพาะในทวีปแอฟริกาลดลงอย่างต่อเนื่อง” คุณดาวิกา กล่าว

ทุกปี มีช้างมากถึง 33,000 ตัวถูกฆ่าเพื่อเอางา แม้แนวโน้มการฆ่าช้างแอฟริกันจะลดลงจากจุดสูงสุดเมื่อปี พ.ศ.2554  แต่จำนวนช้างที่ถูกฆ่ายังอยู่ในระดับสูงเมื่อดูภาพรวมทั้งทวีป และประชากรช้างแอฟริกายังคงมีแนวโน้มลดลงเมื่อดูจากจำนวนในปี พ.ศ.2559

ขณะที่ผลการวิจัยผู้บริโภคผลิตภัณฑ์งาช้างของโครงการยูเอสเอดไวล์ดไลฟเอเชียซึ่งเปิดเผยเมื่อเดือนมิถุนายน2561 ระบุว่าผู้บริโภคจำนวนหนึ่งซื้อผลิตภัณฑ์งาช้างเพื่อเป็นของขวัญในวาระต่างๆและผลิตภัณฑ์งาช้างที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือเครื่องประดับ และอัญมณีผู้โดยหญิงเป็นกลุ่มผู้บริโภคหลักที่ซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทดังกล่าวเพราะเชื่อว่าสวยงามแต่จริงๆแล้วงาควรเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตช้างเท่านั้น

 “ใหม่อยากให้ทุกคนมองความสวยงามของงาช้างเสียใหม่ ว่างาจะสวยเมื่ออยู่กับช้าง งาช้างไม่ใช่เครื่องประดับเพื่อแสดงถึงความงามหรือแฟชั่นอีกต่อไป”  คุณดาวิกากล่าวเสริม

โฆษณารณรงค์ชิ้นล่าสุดขององค์กรไวล์ดเอดดำเนินเรื่องด้วย ‘เพลงช้าง’ เพลงที่คนไทยรู้จักกันอย่างดี โดยในเรื่องมีคุณดาวิกาพาเด็กๆ เดินหาช้าง แต่แล้วเสียงร้องอันสดใสของเด็กๆ ก็ได้เปลี่ยนเป็นเสียงของความโหดร้ายของนายพราน ที่ต้องการฆ่าช้างเพื่อเอางา ปิดท้ายที่คุณดาวิกาพูดว่า “งาจะสวยเมื่ออยู่กับช้าง”

ช้างเป็นสัตว์ประจำชาติของไทยการอนุรักษ์และปกป้องช้างจึงถือเป็นความภาคภูมิใจและเป็นสิ่งที่ปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนานรัฐบาลไทยดำเนินมาตรการหลายอย่างเพื่อคุ้มครองช้างและแก้ปัญหาการค้างาช้างผิดกฎหมายอย่างต่อเนื่องเมื่อปี2558ไทยออกพระราชบัญญัติงาช้างเพื่อควบคุมตลาดค้างาช้างถูกกฎหมาย ที่มาจากช้างบ้านของไทยที่เป็นช้างเอเชียเท่านั้นและรัฐบาลยังได้แก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพ.ศ. 2535 กำหนดให้ช้างแอฟริากันเป็น 1 ในสัตว์คุ้มครองของไทยมีผลห้ามการซื้อขายหรือครอบครอง งาช้างแอฟริกันและตั้งแต่พระราชบัญญัติงาช้างมีผลบังคับใช้จนถึงปัจจุบันมีร้านค้างาช้างจำนวน100 ร้าน (47%) จาก 215ร้าน ได้แจ้งยกเลิกการค้างาช้างด้วยความสมัครใจและการซื้อขายงาช้างถูกกฎหมายที่ได้ขึ้นทะเบียนแล้ว ก็ลดลงไปร้อยละ58 เปรียบเทียบกับกลางปี2559

"ประเทศไทยมุ่งมั่นในการปราบปรามการค้างาช้างผิดกฎหมายมาโดยตลอดเราเชื่อว่าการบังคับใช้กฎหมายและการลดความต้องการผลิตภัณฑ์งาช้างจำเป็นต้องดำเนินการควบคู่กันไปเพื่อให้การปราบปรามได้ผลมากที่สุดเราหวังว่าความร่วมมือกับองค์กรไวล์ดเอดเพื่อลดความต้องการผลิตภัณฑ์งาช้างผ่านโครงการรณรงค์ไม่เอางาไม่ฆ่าช้างจะเป็นการยืนยันเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นของไทยที่จะป้กป้องช้างไทยและขยายผลไปถึงการปกป้องช้างโลกต่อไป” นายปิ่นสักก์สุรัสวดีรองอธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืชกล่าว

โฆษณา ‘เพลงช้าง’ ถือเป็นสื่อรณรงค์ภายใต้โครงการ ‘ไอวอรี่ ฟรี’ (Ivory Free) ขององค์กรไวล์ดเอด ที่ได้ดำเนินโครงการรณรงค์เพื่อลดความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์งาช้างมาตั้งแต่ปี 2547 ทั้งในสหรัฐฯ จีน ฮ่องกง และเริ่มกิจกรรมรณรงค์ในไทยตั้งแต่ 3 ปีที่ผ่านมา

“บทบาทใหม่ของคุณดาวิกาในฐานะทูตด้านช้าง ถือว่าสำคัญอย่างยิ่ง  เพราะยิ่งคนไทยรับรู้ถึงผลกระทบที่เกิดจากการซื้อการใช้ผลิตภัณฑ์งาช้างมากเท่าไหร่พวกเขาก็จะไม่อยากเกี่ยวข้องกับเบื้องหลังการค้า อันโหดร้ายมากเท่านั้นการได้รับการสนับสนุนจากคุณดาวิกาหน่วยงานทั้งภาครัฐภาคเอกชนรวมถึงพันธมิตรสื่อมวลชนเป็นสิ่งสําคัญอย่างมาก เพื่อที่จะทำให้การ #ไม่เอางาไม่ฆ่าช้าง เป็นวิถีใหม่ของคนในสังคม ร่วมกันเปลี่ยนมุมมองที่มีต่องาช้างและปกป้องช้างโลกไปด้วยกันเพราะหยุดซื้อ คือ หยุดฆ่า” นายจอห์น เบเกอร์ ผู้อำนวยการโครงการรณรงค์ องค์กรไวล์ดเอด กล่าว

องค์กรไวล์ดเอดเตรียมเผยแพร่โฆษณารณรงค์ ‘เพลงช้าง’ รวมถึงสื่อประเภทบิลบอร์ดของคุณดาวิกา ไปยังสื่อหลายประเภททั้งโซเชียล มีเดีย สนามบินสุวรรณภูมิ และได้รับความร่วมมือจากสถานีโทรทัศน์ หลายช่องให้ความอนุเคราะห์เวลาออกอากาศ

นอกจากนั้น ภายในงานที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 5-6 ตุลาคม ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ยังมีนิทรรศการเกี่ยวกับวิกฤตการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นกับประชากรช้างโลก พร้อมกิจกรรมสนุกๆ สำหรับทุกคนในครอบครัวจากลุ่มเนเจอร์ เพลิน (Nature Play and Learn Club) เพื่อให้ทุกคนรู้จัก เรียนรู้ และรักช้างมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

เกี่ยวกับWildAid
WildAid (www.wildaid.org) คือองค์กรไม่แสวงผลกำไรมีเป้าหมายหลักเพื่อยุติการค้าสัตว์ป่าและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าผิดกฎหมายWildAidเน้นรณรงค์เพื่อลดความต้องการบริโภคและความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์สัตว์ป่าโดยเราหวังว่าผู้บริโภคจะไม่กินหูฉลามไม่ซื้องาช้างนอแรดและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ป่าอื่นๆอีกต่อไปWildAidได้รับการสนับสนุนจากบุคคลที่มีชื่อเสียงระดับโลกกว่า 100 คนร่วมเผยแพร่ข้อความรณรงค์ให้ผู้คนตระหนักถึงปัญหาการฆ่าและค้าสัตว์ป่าผิดกฎหมายผ่านสโลแกนหลักขององค์กร“When the Buying Stops, the Killing Can Too หยุดซื้อคือหยุดฆ่าเราทำงานรณรงค์ที่เอเชียเป็นหลักในประเทศที่ยังมีความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์สัตว์ป่าสูงและได้ทำโครงการรณรงค์Ivory Free หยุดซื้องาช้างในประเทศจีนฮ่องกงและล่าสุดในไทย

www.wildaidthai.org www.facebook.com/wildaidthailand IG: @wildaidthailand
« Last Edit: October 06, 2018, 03:11:23 PM by MSN »

MSN on October 06, 2018, 03:16:05 PM




POPULAR THAI ACTRESS AND STYLE ICON DAVIKA HOORNE SAYS NO TO IVORY IN WILDAID CAMPAIGN

BANGKOK (05th October 2018) — As part of its Ivory Free campaign, WildAid launched a new video and billboard series in Thailand featuring leading actress and international fashion icon, ‘Mai’ Davika Hoorne, with an endorsement from Thailand’s Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation.


Davika, known as one of the most successful actresses of her generation and representing Thailand at Milan and Paris Fashion Week, has a deep affinity for elephants: “Elephants are close to all Thai people’s hearts as everyone grew up with the children’s song called the ‘Elephant Song.’ It saddens me to learn that today the human demand for ivory is the leading cause of a declining elephant population in Africa,” said Davika.

Every year up to 33,000 African elephants are killed so their ivory can be made into everything from decorative items to trinkets. The International Union for Conservation of Nature (IUCN) estimates that the population of African elephants has declined by 111,000 in a 10-year period. While the overall trend of African elephant poaching shows a decline from a peak in 2011, they are still at levels too high when viewed continent-wide.

According to USAID Wildlife Asia’s June 2018 study, Research on Consumer Demand for Ivory and Tiger Products in Thailand, ivory is perceived as the “perfect gift,” and ivory accessories and jewelry remain popular with female consumers because of its perceived beauty and attractiveness. 

“I urge all Thais to be ivory free and no longer use accessories and jewelry made from ivory to define beauty or fashion. Ivory belongs to elephants and is beautiful only on elephants,” added Davika.

The campaign includes a new video message inspired by an iconic children’s song known to most Thai citizens, the Elephant Song. In the video, Davika sings a new version of the song while leading a group of children to see elephants in the wild. The video concludes with the message: “Ivory is beautiful only on elephants.” 

There is considerable national pride and heritage associated with protecting elephants. In 2015, the Thai government enacted strong regulations to control the ivory trade, including introducing the Elephant Ivory Act and prohibiting the domestic sale of African elephant ivory by listing the African elephant as a protected species in Thailand. Since the ivory act was introduced, 47% of all traders (100 in total) voluntarily filed to revoke their licenses until now. Thailand has also seen a 58% decrease in sales of registered ivory items compared to mid-2016.

 “Thailand is committed to tackling the illegal ivory trade and we believe that to completely end it, law enforcement and reducing demand among consumers must go hand in hand. We hope that our partnership with WildAid to reduce consumer demand through the Ivory Free campaign will prove that we will keep up our fight to protect the world’s elephants,” said Pinsak Suraswadi, Deputy Director General to Department of National Parks, Wildlife and Plant Conservation, Thailand.

The Davika video launch is part of a broader effort by WildAid’s Ivory Free campaign, which aims to reduce demand for ivory in the United States, mainland China, Hong Kong and Thailand. There are signs the public awareness campaign is working. The price of ivory has declined by 70% in mainland China and Hong Kong, from $2,100 per kilo to around $500 per kilo. China, once the world’s largest ivory market, banned all domestic ivory sales in 2017.

“Mai Davika so eloquently expresses an important message, and the more people learn about the impacts of using ivory products, the less they will want to take part in this cruel trade. With help from such influential voices, government agencies, corporate and media partners, we aim to establish a new societal norm around ivory and protecting elephants. Together, we can end the demand for ivory and save dwindling elephant populations, because when the buying stops, the killing can too,” said John Baker, Chief Program Officer, WildAid.

The public service announcement and print billboards will be widely distributed throughout Thailand, including Suvarnabhumi Airport in Bangkok, several national television channels and multiple social media platforms. 

The campaign and WildAid ambassador launch was held at CentralWorld Department Store alongside an exhibit showcasing the threat to elephants from the illegal ivory trade as well as the importance of reducing demand for ivory products. The exhibit is running 5th-6th October 2018 and includes edutainment activities from Nature Play and Learn Club.

About WildAid
WildAid is a nonprofit organization with a mission to end the illegal wildlife trade in our lifetimes. While most conservation groups focus on directly protecting wildlife from poaching, WildAid primarily works to reduce global consumption of wildlife products, such as shark fin and elephant ivory, by changing attitudes and behavior, and providing comprehensive enforcement of marine sanctuaries. In Asia, where demand for ivory is highest, WildAid runs its Ivory Free campaigns in China, Hong Kong and now Thailand. With a global media partner network and a team of celebrity ambassadors including Prince William, Yao Ming and Lupita Nyong’o, WildAid leverages over $289 million in annual pro bono media support with a simple yet powerful message: When the Buying Stops, the Killing Can Too. For more information, visit http://www.wildaid.org/ www.ivoryfreethai.org