MSN on October 03, 2018, 08:25:07 AM
นักธุรกิจชั้นนำของเมืองไทยตบแถวลุยลงทุนสตาร์ทอัพในซิลิคอนวัลเลย์ผ่าน “กองทุนครีเอทีฟเวนเจอร์” ที่ประกาศความพร้อมในการลงทุนร่วมกับกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีวิสัยทัศน์และเห็นโอกาสลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ที่เป็นเทรนด์ของโลก

“ครีเอทีฟเวนเจอร์” กองทุนร่วมลงทุนสัญชาติสหรัฐฯ ที่จัดตั้งโดยคนไทย ประกาศความพร้อมจากการระดมทุนในไทยเพื่อนำเงินไปลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพในซิลิคอนวัลเลย์ และประเทศที่มีสตาร์ทอัพชั้นนำอย่างอิสราเอล สิงคโปร์ และไต้หวัน โดยได้นักธุรกิจชั้นนำแถวหน้าของเมืองไทยลงขันร่วมลงทุน นำโดย “ต็อบ เถ้าแก่น้อย” “สิงห์เวนเจอร์” “ บีซีเอช เวนเจอร์ส” “กึ้ง-เฉลิมชัย” “โก้-อนันดา” และ กองทุนร่วม Moonshot Ventures


กรุงเทพฯ --3 ต.ค. – นายปุณยธร สุทธิพงษ์ชัย ผู้จัดการหุ้นส่วน บริษัท ครีเอทีฟเวนจอร์ จำกัด (Creative Ventures) ซึ่งเป็นธุรกิจกองทุนร่วมลงทุน (Venture Capitalist) ที่จัดตั้งขึ้นในสหรัฐอเมริกา เปิดเผยว่าหลังจากที่บริษัทได้เปิดตัวกองทุนร่วมลงทุนกองที่สอง มูลค่า 50 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ประมาณ 1,650 ล้านบาทและได้ออกมาระดมเงินทุนจากนักธุรกิจในไทยและสิงคโปร์ ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดี จากนักธุรกิจรุ่นใหม่ที่มีวิสัยทัศน์และเห็นโอกาสการลงทุนในธุรกิจใหม่ๆ ที่เป็นเทรนด์หรือทิศทางของโลก   โดยขณะนี้บริษัทได้รับเงินลงทุนจากนักธุรกิจและนักลงทุนผู้มีวิสัยทัศน์ได้เพียงพอต่อการเริ่มต้นลงทุนแล้ว  แม้กองทุนนี้ จะมีเป้าหมายที่จะปิดการระดมทุนในเดือนมีนาคม ปี 2562  โดยขณะนี้ยังคงมีนักลงทุนทั้งไทยและนักลงทุนสิงคโปร์สนใจเข้ามาพูดคุยเพื่อร่วมลงทุนอย่างต่อเนื่อง       
                                                                       
ทั้งนี้ บริษัทจะนำเงินไปลงทุน ในบริษัทสตาร์ทอัพที่อยู่ในซิลิคอน วัลเลย์  ซึ่งเป็นศูนย์รวมของบริษัทที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Tech) สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ที่เป็นทิศทางหรือเทรนด์ของโลก(Mega Trend)  เพื่อช่วยให้มนุษย์มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นและแก้ไขปัญหาสำคัญของโลก โดยมุ่งเน้นใน 3กลุ่มธุรกิจ คือ ธุรกิจแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรม, ปัญหาเกษตรกรรมและอาหารจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ หรือ ภาวะโลกร้อน, และการใช้เทคโนโลยีสุขภาพที่ช่วยดูแลประชากรผู้สูงอายุ ,  โดยที่ผ่านมาบริษัทได้จัด Innovation Tour พากลุ่มนักลงทุนที่สนใจเดินทางไปศึกษาข้อมูลและพบปะพูดคุยกับสตาร์ทอัพที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการลงทุนของกองทุนที่ซิลิคอน วัลเลย์  ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกามาแล้วด้วยเช่นกัน
“ เราเชื่อว่าการลงทุนในธุรกิจที่มีการสร้างนวัตกรรมเทคโนโลยี ที่มีความจำเป็นหรือความต้องการในการแก้ปัญหาหรืออำนวยความสะดวกให้กับการดำเนินชีวิตให้มีคุณภาพและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ตลอดจนการลดต้นทุนและสร้างประสิทธิภาพให้กับธุรกิจ จะให้ผลตอบแทนทางการเงินที่เหนือกว่าในระยะยาว ”

ด้านนายเท็ด โปษะกฤษณะ ถิระพัฒน์ หุ้นส่วนดำเนินการ บริษัท ครีเอทีฟเวนจอร์ จำกัด กล่าวต่อว่านักลงทุนที่เข้าร่วมลงทุนกับกองทุนกองที่สองนี้ประกอบไปด้วยนักลงทุนที่มีวิสัยทัศน์และประสบความสำเร็จในธุรกิจ โดยมีทั้งการลงทุนผ่านบริษัทและในนามส่วนตัว เช่น นายอิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทเถ้าแก่น้อย ฟู๊ดแอนด์มาร์เก็ตติ้ง จำกัด(มหาชน) หรือรู้จักกันดีในนาม “ต็อบ เถ้าแก่น้อย” นายภูริต ภิรมย์ภักดี ประธานกรรมการบริหาร กองทุนสิงห์เวนเจอร์, นายพิรชัย เบญจรงคกุล Investment Director บริษัท บีซีเอช เวนเจอร์ส จำกัด ในกลุ่มบริษัท เบญจจินดา โฮลดิ้ง  ผู้ให้บริการด้านโครงข่ายสื่อสารโทรคมนาคมและเทคโนโลยีสารสนเทศในประเทศไทยและเมียนมาร์, นายเฉลิมชัย มหากิจศิริ กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทรีเซน ไทย เอเยนต์ซีส์ และผู้ก่อตั้งกองทุนร่วมทุนวิชั่นนิตี้เวนเจอร์, กองทุน Moonshot Ventures, นายชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) บริษัทอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำของไทย, นายสิทธิชัย ลีสวัสดิ์ตระกูล เพื่อสร้างโอกาสในการเข้าถึงเพื่อใช้งานเทคโนโลยีขั้นสูง (Deep Tech) และการคาดหวังผลตอบแทนในระยะยาว

นายภูริต ภิรมย์ภักดี เปิดเผยว่า ทีมงานของสิงห์เวนเจอร์ ได้มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมชม การทำงานของบริษัทครีเอทีฟ เวนเจอร์ และบริษัทสตาร์ทอัพ ในซิลิคอน วัลเลย์ ที่ถือเป็นแหล่งกำเนิดเทคโนโลยีต่างๆ ที่ซาน ฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริการ่วมกับทางทีมครีเอทีฟเวนเจอร์และทำให้เห็นถึงการทำงานของครีเอทีฟ เวนเจอร์ ที่เข้าใจ เข้าถึงและเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายสตาร์ทอัพของที่นั่น ซึ่งเป็นสิ่งที่ตนและนักลงทุนที่สนใจลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพในสหรัฐฯ กำลังต้องการพันธมิตรที่มีศักยภาพและประสบการณ์ในการทำงานที่มากพอ เพื่อเข้ามาช่วยเสริมสร้างในส่วนนี้ให้ดียิ่งขึ้น เราเลือกลงทุนกับครีเอทีฟเวนเจอร์เพราะมองเห็นถึงคุณสมบัติเหล่านี้ และเชื่อมั่นว่าการทำงานร่วมกันจะทำให้สิงห์เวนเจอร์ได้เข้าถึงสตาร์ทอัพดีพเทคในสหรัฐฯได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ขณะที่นายอิทธิพัทธ์ พีระเดชาพันธ์ หรือ “ต็อบเถ้าแก่น้อย” กล่าวว่า ได้เดินทางไปเยี่ยมชมบริษัทต่างๆ ในสหรัฐฯเช่นเดียวกัน และได้เห็นการทำงานของ “แชมป์ ปุณยธร สุทธิพงษ์ชัย”และทีมงาน ทำให้เชื่อมั่นว่าทางทีมจะสามารถนำเงินทุนที่ได้จากการระดมทุนในครั้งนี้ ไปบริหารจัดการและลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ จุดเด่นสำคัญของบริษัทครีเอทีฟเวนเจอร์ คือการมีทีมงานประจำอยู่ทั้งที่เมืองไทยและสิงคโปร์ ทำให้การติดต่อพูดคุยเรื่องของแผนการดำเนินการและสอบถามข้อมูลต่างๆ ทำได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น ลดปัญหาช่องว่างเรื่องเวลาและสถานที่ระหว่างไทยกับสหรัฐฯไปได้มาก

นายพิรชัย เบญจรงคกุล Investment Director บริษัท บีซีเอช เวนเจอร์ส จำกัด ในกลุ่มบริษัท เบญจจินดา โฮลดิ้งกล่าวว่า  BCH VENTURES ก่อตั้งขึ้นเพื่อหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ทั้งด้านเทคโนโลยีดิจิทัลที่ ก้าวล้ำ รวมทั้งการลงทุนในการสร้างโครงข่ายโทรคมนาคมและบริการดิจิทัลต่างๆ ในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยมุ่งเน้นการลงทุนในบริษัทที่มีนวัตกรรมที่สนับสนุนการต่อยอดการเป็นผู้ให้บริการดิจิทัลโซลูชั่นของกลุ่มบริษัทเบญจจินดา โฮลดิ้ง ดังนั้นการลงทุนใน Deep Technology   จึงเป็นส่วนสำคัญที่จะสร้างโอกาสในการเติบโตอย่างก้าวกระโดดให้กับกลุ่มบริษัทฯ และคงความเป็นผู้นำด้วยบริการเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีประสิทธิภาพสูงให้กับลูกค้าทั้งในประเทศไทยและอาเซียน

“เราเลือกการลงทุนใน ครีเอทีฟ เวนเจอร์ เพราะเห็นศักยภาพที่จะพาเราไปพบกับสินค้าหรือบริการที่แตกต่างจากภูมิภาคนี้ ซึ่ง Deep Technology จะสามารถทำให้ธุรกิจเติบโตแบบ Exponential และมีขีดความสามารถในการแข่งขันที่เหนือกว่าคู่แข่ง  รวมถึงนำเทคโนโลยีมาเสริมศักยภาพบนโครงสร้างพื้นฐานทางสื่อสารโทรคมนาคม ตามเป้าหมายกลุ่มบริษัทฯ  เพื่อจะเป็นผู้นำการให้บริการทั้งในประเทศไทยและในอาเซียน นั่นหมายถึงเราจะต้องมีความแข็งแกร่งด้านกลยุทธ์  นำบริการใหม่ๆ เข้าไปช่วยเสริมศักยภาพให้กับลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว ก่อนผู้ให้บริการรายอื่น” นายพิรชัย กล่าว

นายปุณยธร หุ้นส่วนผู้จัดการของครีเอทีฟเวนเจอร์ได้กล่าวปิดท้ายว่า มั่นใจว่าการลงทุนในกองทุนที่สองนี้ จะสามารถสร้างผลตอบแทนที่น่าพอใจให้กับนักลงทุนและประสบความสำเร็จเหมือนกองทุนแรกของบริษัทมีวงเงิน   11 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยได้เข้าลงทุนในสตาร์ทอัพ ที่สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆมากกว่า 10 บริษัท เช่น  Dishcraft  สตาร์ทอัพที่สร้างนวัตกรรมหุ่นยนต์ที่ปฏิบัติงานในห้องครัวที่สมบูรณ์แบบที่สุด ซึ่งเข้ามาช่วยแก้ปัญหาแรงงานขาดแคลนในธุรกิจบริการด้านโรงแรม ภัตตาคาร และธุรกิจเอนเตอร์เทนเมนต์ขนาดใหญ่ นอกจากนี้ ยังได้เข้าลงทุนใน  ALICE Technologies ซึ่งเป็นการสร้างระบบ AI ซอฟต์แวร์  ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ การจัดการการก่อสร้างในโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นตึกสูง ที่จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและลดเวลาในการก่อสร้าง ทำให้ประหยัดทั้งในส่วนของนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และบริษัทรับเหมาก่อสร้าง โดยที่ผ่านมา บริษัทอนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด  (มหาชน) หรือ ANAN ได้นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ในอุตสาหกรรมนี้แล้ว
ทั้งนี้ Creative Ventures มีแผนที่จะขยายบริษัท จากเดิมที่มีทีมงานประจำอยู่ในซิลิคอนวัลเลย์และกรุงเทพ ก็จะทำการเปิดออฟฟิศที่อิสราเอลที่เป็นพื้นที่ที่มีบริษัทเทคโนโลยีขั้นสูงที่มีศักยภาพมากแก่การลงทุน รวมทั้งสิงคโปร์และไต้หวันเนื่องจากมีบริษัทและนักลงทุนที่ผ่านมาได้มีความสนใจใน Creative Ventures จำนวนมากอยู่ที่นั่น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นไปตามแผนการดำเนินการเดิมที่จะทำให้ Creative Ventures เป็นกองทุนระดับโลกต่อไป

เกี่ยวกับ Creative Ventures
   Creative Ventures  เป็นธุรกิจร่วมลงทุน ที่ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ.2559  ได้เข้าลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพในสหรัฐอเมริกา โดยทีมงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ด้านการเงินการลงทุน และประสบการณ์ ด้านนวัตกรรมขององค์กรและการสร้างธุรกิจ startups ในสหรัฐฯและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   สำหรับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่ Creative Ventures มุ่งเน้นที่จะเข้าไปลงทุนประกอบด้วย

•ธุรกิจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ – หลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาการก้าวสู่สังคมผู้สูงวัย การมีจำนวนประชากรผู้สูงวัยที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีความต้องการการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพและคุ้มค่า มากกว่าความต้องการบริการด้านการรักษาพยาบาล
•อุตสาหกรรม – อุตสาหกรรม เช่น การก่อสร้างและการผลิตที่กำลังเผชิญปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก ในขณะที่มีความต้องการประสิทธิภาพทางการผลิตเพิ่มขึ้น 
•การเกษตร – ปัญหาผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลง อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กับ ความต้องการที่เพิ่มขึ้น จากประชากรโลกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น หมายความว่า โลกจะต้องการอาหารเพิ่มขึ้นอีก ประมาณ 35% และน้ำเพิ่มขึ้น 40% ในปี 2583 เมื่อเทียบกับปัจจุบัน
« Last Edit: October 03, 2018, 09:46:49 PM by MSN »

MSN on October 06, 2018, 12:57:14 PM


ภาพข่าวประชาสัมพันธ์ ครีเอทีฟเวนจอร์ เตรียมสยายปีกลงทุน “อิสราเอล-สิงคโปร์-ไต้หวัน”

คุณปุณยธร สุทธิพงษ์ชัย (ที่ 3 จากซ้าย) ผู้จัดการหุ้นส่วน คุณเท็ด โปษะกฤษณะ ถิระพัฒน์ (ที่ 4 จากซ้าย) หุ้นส่วนดำเนินการ บริษัท ครีเอทีฟเวนจอร์ จำกัด คุณพิรชัย เบญจรงคกุล (ที่ 5 จากซ้าย) Investment  Director บริษัท บีซีเอช เวนเจอร์ส จำกัด ในกลุ่มบริษัท เบญจจินดา โฮลดิ้ง คุณทวันทว์  บุณยะวัฒน์ (ที่ 6 จากซ้าย) Investment and Management คุณเฉลิมชัย มหากิจศิริ (ที่ 7 จากซ้าย) กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทรีเซน ไทย เอเยนต์ซีส์ และผู้ก่อตั้งกองทุนร่วมทุนวิชั่นนิตี้เวนเจอร์ คุณวรภัทร ชวนะนิกุล (ที่ 1 จากซ้าย) ผู้จัดการ Singha Ventures และคุณสิทธิชัย ลีสวัสดิ์ตระกูล (ที่ 2 จากซ้าย) ถ่ายภาพร่วมกัน ในงานแถลงข่าวประกาศความพร้อมจากการระดมทุนในไทย เพื่อนำเงินไปลงทุนในธุรกิจสตาร์ทอัพในซิลิคอนวัลเลย์และประเทศที่มีสตาร์ทอัพชั้นนำ นอกจากนี้ยังมีแผนที่จะขยายบริษัทไปยังอิสราเอล สิงคโปร์และไต้หวัน เนื่องจากมีนักลงทุนให้ความสนใจใน Creative Ventures จำนวนมากอีกด้วย

เกี่ยวกับ Creative Ventures
Creative Ventures  เป็นธุรกิจร่วมลงทุน ที่ก่อตั้งขึ้นในปีพ.ศ.2559  ได้เข้าลงทุนในบริษัทสตาร์ทอัพในสหรัฐอเมริกา โดยทีมงานที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ ด้านการเงินการลงทุน และประสบการณ์ ด้านนวัตกรรมขององค์กรและการสร้างธุรกิจ startups ในสหรัฐฯและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   สำหรับธุรกิจหรืออุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่ Creative Ventures มุ่งเน้นที่จะเข้าไปลงทุนประกอบด้วย
•ธุรกิจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ –  หลายประเทศทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาการก้าวสู่สังคมผู้สูงวัย การมีจำนวนประชากรผู้สูงวัยที่เพิ่มขึ้น ทำให้มีความต้องการการดูแลสุขภาพที่มีคุณภาพและคุ้มค่า มากกว่าความต้องการบริการด้านการรักษาพยาบาล

•อุตสาหกรรม – อุตสาหกรรม เช่น การก่อสร้างและการผลิตที่กำลังเผชิญปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก ในขณะที่มีความต้องการประสิทธิภาพทางการผลิตเพิ่มขึ้น   

•การเกษตร – ปัญหาผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลง อันเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กับ ความต้องการที่เพิ่มขึ้น จากประชากรโลกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น หมายความว่า โลกจะต้องการอาหารเพิ่มขึ้นอีก ประมาณ 35% และน้ำเพิ่มขึ้น 40% ในปี 2583 เมื่อเทียบกับปัจจุบัน