MSN on September 25, 2018, 02:51:39 PM
ประธานกลุ่มซีไอเอ็มบีประกาศอำลาตำแหน่ง มีผลวันที่ 31 ธ.ค.61
กัวลาลัมเปอร์: รายงานข่าวจากกลุ่มซีไอเอ็มบีเมื่อวันที่ 24 ก.ย.61 แจ้งว่า ดาโต๊ะ ศรี นาเซียร์ ราซัค ประธานกลุ่มซีไอเอ็มบี ประกาศอำลาตำแหน่งประธานกลุ่มซีไอเอ็มบี รวมถึงตำแหน่งอื่นๆทุกตำแหน่งในกลุ่มซีไอเอ็มบี มีผลวันที่ 31 ธ.ค.2561 คณะกรรมการกลุ่มซีไอเอ็มบีได้เริ่มกระบวนการสานต่อและส่งต่อภารกิจประกอบการตัดสินใจสรรหาผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งประธานคนต่อไป รวมถึงวันที่ผู้นำคนใหม่จะเข้ามารับช่วงต่อ
ดาโต๊ะ ศรี นาเซียร์ ร่วมงานกับซีไอเอ็มบีมา 29 ปี นับตั้งแต่ปี 2532 โดยทำงานในตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร 15 ปี ก่อนรับตำแหน่งประธานกลุ่มซีไอเอ็มบีเมื่อปี 2557 ภายใต้การบริหารงานของเขา กลุ่มซีไอเอ็มบีขยับจากกลุ่มการเงินที่เปรียบเหมือนนกกำลังหัดบิน เติบโตเป็นวาณิชธนกิจชั้นนำของมาเลเซีย และก้าวขึ้นเป็นกลุ่มการเงินครบวงจรชั้นนำของภูมิภาคอาเซียน เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในปี 2546 ด้วยสินทรัพย์ 9.6 พันล้านริงกิต มูลค่าตลาดรวม1.5 พันล้านริงกิต จนปัจจุบัน สินทรัพย์ ณ 30 มิ.ย.61 เติบโตเป็น 5.15 แสนล้านริงกิต มูลค่าตลาดรวมเพิ่มเป็น 5.8 หมื่นล้านริงกิต
ดาโต๊ะ ศรี นาเซียร์ ราซัคเปิดเผยว่า “เป็นเรื่องยากเสมอสำหรับผม ในการจะหาช่วงเวลาที่ลงตัวที่สุดเพื่อวางมือจากซีไอเอ็มบี ช่วงไหนจะไม่เร็วเกินไป หรือไม่สายเกินไป โดยยึดผลประโยชน์ของบริษัทเป็นที่ตั้ง จนเมื่อ 2-3 สัปดาห์ก่อน ผมใช้เวลาครุ่นคิดถึงเรื่องนี้ และตัดสินใจว่าช่วงเวลานี้เหมาะสมที่สุดแล้ว เป็นปีที่โครงการ T18 ซึ่งเป็นแผนระยะ4 ปีของซีไอเอ็มบีที่เริ่มทำเมื่อปี 2557 เพื่อปรับองค์กรกำลังจะเสร็จสิ้นสมบูรณ์ท้ายที่สุดแล้ว ภาระหน้าที่ของผมคือการพาซีไอเอ็มบีก้าวขึ้นเป็นกลุ่มการเงินชั้นนำของอาเซียน โดยก้าวสำคัญเกิดขึ้นในปี 2557ได้มีการปรับบทบาทผมจากประธานเจ้าหน้าที่บริหารของกลุ่มซีไอเอ็มบีเป็นประธานกลุ่มซีไอเอ็มบี เพื่อเตรียมพร้อมในการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารระดับสูงโดยเริ่มจากการส่งมอบความรับผิดชอบในการบริหารงานต่อให้เต็งกู ดาโต๊ะ ศรี ซาฟรูล อาซิสเพื่อพัฒนาองค์กรในขั้นต่อไปสู่การเป็นธนาคารครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งผมยังเป็นผู้ช่วยเหลือให้คำแนะนำในระดับกรรมการพร้อมกันนั้นได้เริ่มต้นโครงการ T18 จุดประสงค์เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งให้โครงสร้าง กระบวนการทำงาน กระบวนการตรวจสอบและถ่วงดุล ขององค์กรแห่งนี้ที่เติบโตรวดเร็วจากการควบรวมซื้อกิจการ และการขยายธุรกิจไปทั่วภูมิภาคถึงตอนนี้ T18 ใกล้ถึงเวลาสิ้นสุดซีไอเอ็มบีมีฐานะการเงินแข็งแกร่ง องค์กรแข็งแรง เป็นสถาบันที่มีความมั่นคง เรามีคณะผู้บริหารมืออาชีพ นำโดยเต็งกู ดาโต๊ะ ศรี ซาฟรูล อาซิส และทีมทำงานของเขาที่มีความสามารถน่าจับตาเป็นหน่วยสนับสนุน การที่องค์กรแห่งนี้สามารถเดินหน้าต่อไปได้ด้วยดีแม้ผมวางมือแล้ว จะเป็นสิ่งยืนยันว่าภารกิจของผมที่ซีไอเอ็มบีได้เดินมาถึงจุดที่ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้แล้ว”
ดาตุก์ โมห์ นาเซียร์ อาหมัด กล่าวในฐานะ กรรมการอิสระอาวุโส กลุ่มซีไอเอ็มบี ว่า “ดาโต๊ะ ศรี นาเซียร์ ราซัค มีวิสัยทัศน์ความเป็นผู้นำ มีไหวพริบเฉียบแหลมทางธุรกิจ และมีความเป็นมืออาชีพ ทำให้ซีไอเอ็มบีมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก เป็นสถาบันการเงินชั้นนำของอาเซียน และการที่ธุรกิจสามารถเดินหน้าประสบความสำเร็จได้อย่างต่อเนื่องนับเป็นมรดกที่เขาทิ้งไว้ให้ซีไอเอ็มบี ในฐานะประธาน เขาจะคอยสนับสนุนคณะกรรมการให้ธำรงไว้ซึ่งหลักการและธรรมาภิบาล ความโปร่งใสและความรับผิดชอบ พร้อมกับพันธกิจสร้างคุณค่าแห่งความยั่งยืนให้ผู้ถือหุ้น การตัดสินใจจากลาซีไอเอ็มบีของเขานำมาซึ่งความเศร้าและใจหายของพวกเราทุกคนแต่พวกเราเคารพในการตัดสินใจของเขา”
เต็งกู ดาโต๊ะ ศรี ซาฟรูล อาซิส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มซีไอเอ็มบี กล่าวว่า “ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมงานกับดาโต๊ะ ศรี นาเซียร์ ที่เป็นทั้งผู้สนับสนุนหลัก ผู้ให้คำปรึกษา และเหนือสิ่งอื่นใด เป็นเพื่อนแท้ของผมสิ่งที่เป็นซีไอเอ็มบีในวันนี้ ‘ยูนิเวอร์แซลแบงกิ้งชั้นนำของอาเซียนที่ขับเคลื่อนธุรกิจอย่างเป็นระบบบนรากฐานที่มั่นคง’ เป็นผลลัพธ์จากวิสัยทัศน์ของเขา เขาจะให้ความสำคัญกับผู้ถือหุ้นและการทำธุรกิจบนความยั่งยืน ซึ่งเป็นปรัชญาที่ฝ่ายบริหารจัดการต่างยึดมั่นเขาจะเป็นคนที่พวกเราระลึกถึงอย่างสุดซึ้ง แต่สิ่งที่เขาทิ้งไว้ให้จะยังคงปรากฎและตอกย้ำอยู่ในความสำเร็จของซีไอเอ็มบีในอนาคต”
ทั้งนี้ จะมีการประกาศชื่อผู้ที่จะทำหน้าที่แทน ดาโต๊ะ ศรี นาเซียร์ ในลำดับต่อไป สำหรับภารกิจหลักของดาโต๊ะ ศรี นาเซียร์ ช่วง 2-3 สัปดาห์หลังจากนี้ คือ การทำให้ T18 สำเร็จสมบูรณ์ ตามด้วยการสรุปพิมพ์เขียวยุทธศาสตร์ใหม่ และการส่งมอบภารกิจให้ผู้นำคนถัดไปด้วยความเรียบร้อยราบรื่น
About CIMB Group
CIMB Group is one of ASEAN’s leading universal banking groups and is Malaysia’s second largest financial services provider, by assets. It offers consumer banking, commercial banking, investment banking, Islamic banking, asset management and insurance products and services. Headquartered in Kuala Lumpur, the Group is now present in nine out of 10 ASEAN nations (Malaysia, Indonesia, Singapore, Thailand, Cambodia, Brunei, Vietnam, Myanmar and Laos). Beyond ASEAN, the Group has market presence in China, Hong Kong, India, Sri Lanka, Korea, the US and UK.
CIMB Group has the most extensive retail branch network in ASEAN of around 830 branches as at 30 June 2018. CIMB Group’s investment banking arm is also one of the largest Asia Pacific-based investment banks, offering amongst the most comprehensive research coverage of around 700 stocks in the region.
CIMB Group operates its business through three main brand entities, CIMB Bank, CIMB Investment Bank and CIMB Islamic. CIMB Group is also the 92.5% shareholder of Bank CIMB Niaga in Indonesia, and 94.1% shareholder of CIMB Thai in Thailand.
CIMB Group is listed on Bursa Malaysia via CIMB Group Holdings Berhad. It had a market capitalisation of approximately RM 51 billion as at 30 June 2018. The Group has over 36,000 employees located in 15 countries.
« Last Edit: September 25, 2018, 08:38:57 PM by MSN »
Logged