happy on September 23, 2018, 08:02:58 PM
คิง เพาเวอร์ รางน้ำ ยกเทศกาลญี่ปุ่นมาไว้กลางเมือง
ภายใต้งาน “AKI-GUCHI” (อาคิ-กุจิ) ครบครันศิลปะวัฒนธรรมญี่ปุ่น โชว์ตระการตา อาหารเลิศรส และอีกมากมาย

กรุงเทพฯ 20 กันยายน 2561 – คิง เพาเวอร์ รางน้ำ มิติใหม่ที่เป็นมากกว่าดิวตี้ฟรี ความภาคภูมิใจที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก มอบประสบการณ์แบบเหนือระดับให้แก่นักท่องเที่ยวคนไทย และจากทั่วทุกมุมโลก ภายใต้คอนเซปท์ “EXPLORE ENDLESSLY” การค้นพบไม่มีวันสิ้นสุด ชวนนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติ มาร่วมสัมผัสประสบการณ์สุดพิเศษ ในงาน “AKI-GUCHI” (อาคิ-กุจิ) เทศกาลเพื่อคนรักญี่ปุ่นโดยเฉพาะ รวบรวมศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัย และเข้าใกล้ถึงวิถีชีวิตแบบชาวญี่ปุ่นหลากหลายแขนง เสมือนยกดินแดนปลาดิบมาไว้ใจกลางเมือง ผ่านเทศกาลสุดประทับใจแบบไม่ต้องบินไปไกลถึงญี่ปุ่น ซึ่งการจัดงานในครั้งนี้ได้รับการสนับสนุนจาก สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย (Embassy of Japan in Thailand) และ มูลนิธิญี่ปุ่น (The Japan Foundation) โดยงานนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 – 30 กันยายน 2561 ตั้งแต่เวลา 16.00 – 22.00 น. ณ ฟาวน์เท่น สแควร์ คิง เพาเวอร์ รางน้ำ

AKIGUCHI3.....อภิเชษฐ์ ศรีวัฒนประภา ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฎิบัติการ กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ (กลาง) เป็นประธานเปิดงาน  AKI-GUCHI (อาคิ-กุจิ) เทศกาลเพื่อคนรักญี่ปุ่นโดยเฉพาะ รวบรวมศิลปะวัฒนธรรมร่วมสมัย และเข้าใกล้ถึงวิถีชีวิตแบบชาวญี่ปุ่นหลากหลายแขนง งานนี้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-30 กันยายน 2561 ตั้งแต่เวลา 16.00 – 22.00 น. โดยมี ชิเงกิ โคบายาชิ ที่ปรึกษาและผู้อำนวยการสำนักข่าวสารญี่ปุ่น สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย (ที่ 5 จากซ้าย) อาซาโกะ ซากุราอิ  รองประธาน องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น (ที่ 6 จากซ้าย) และ โนริฮิโกะ โยชิโอกะ ผู้อำนวยการบริหาร เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ (ที่ 3 จากซ้าย) ให้เกียรติมาร่วมงานในครั้งนี้ ณ ฟาวน์เท่น สแควร์ คิง เพาเวอร์ รางน้ำ

จากซ้ายไปขวา

ศิรนุช โรจนเสถียร                                เซเลบริตี้
มาริโอ้ เมาเร่อ                                    ดารานักแสดง
โนริฮิโกะ โยชิโอกะ                              ผู้อำนวยการบริหาร เจแปนฟาวน์เดชั่น กรุงเทพฯ
อภิเชษฐ์ ศรีวัฒนประภา                         ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฎิบัติการ กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์
ชิเงกิ โคบายาชิ                                  ที่ปรึกษาและผู้อำนวยการสำนักข่าวสารญี่ปุ่น สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
อาซาโกะ ซากุราอิ                               รองประธาน องค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น
จรสพรรณ สวัสดิวัตน์ ณ อยุธยา                เซเลบริตี้


                        เทศกาล 秋口, あきぐち หรือ AKI-GUCHI (อาคิ-กุจิ) คือ การก้าวเข้าสู่เทศกาลแห่งการเริ่มต้นเฉลิมฉลองฤดูกาลใบไม้ร่วง (Beginning of Autumn) เต็มเปี่ยมไปด้วยสีสันของใบไม้เปลี่ยนสี ดั่งถูกย้อมสีอย่างพร้อมเพรียงกัน เหตุนี้ คิง เพาเวอร์ จึงนำเอาความงดงามแห่งมนต์เสน่ห์นี้มารวมไว้ที่ คิง เพาเวอร์ รางน้ำ แบบครบสูตร

                        ภายในงานพบกับร้านค้าและซุ้มกิจกรรมกว่า 40 ร้าน ในสไตล์ญี่ปุ่นแท้ ๆ พร้อมร่วมสัมผัสกับสุนทรีย์ไปกับรสชาติอาหารอันโอชะจากหลากหลายร้านดัง เช่น ซูชิร้านดัง Seiryu Sushi, ราเมงในตำนานและเนื้อวากิวชั้นเยี่ยมจากร้าน Yamagoya, คาเฟ่ขนมหวานสุดน่ารักจากร้าน Hello Kitty House, แพนเค้กสไตล์ญี่ปุ่น Iwane U, ซอฟท์เสิร์ฟไอศครีมชื่อดัง ขนานแท้จากฮอกไกโด Hokkaido Softkream พบกับซุ้มขายสินค้าและผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น รองเท้าแสนชิค, หมวกทรงเก๋ไก๋ และเครื่องปั้นหลากดีไซน์  เพลิดเพลินไปกับกิจกรรมที่น่าสนใจอีกมากมาย อาทิ การพับกระดาษโอริกามิ (Origami), กิจกรรม DIY ทำเครื่องรางในแบบฉบับญี่ปุ่นด้วยตัวเอง, เขียนข้อความขอพรทานาบาตะ (Tanabata) โชว์การแสดงสุดอลังการ อาทิ การเต้นรำซามูไรแบบญี่ปุ่นร่วมสมัย (Samurai), การแสดงจินตลีลาในชุด Soran Energetic Dance, พบกับการสาธิตศิลปะการป้องกันตัวแบบญี่ปุ่น อาทิ เคนโด้ (Kendo) วิถีแห่งดาบของชาวญี่ปุ่น, คาราเต้โด (Karatedo) การต่อสู้ด้วยมือเปล่า และไอคิโด (Aikido) ที่สลับสับเปลี่ยนมาให้ชมกันอย่างจุใจ นอกจากนี้ยังจะได้พบกับศิลปินดาราอีกมากมาย เช่น นนท์ - ธนนท์ จำเริญ, เต้-ดาวิชญ์ กรีพลฤกษ์ และตี๋-ธนพล จารุจิตรานนท์ และมินิคอนเสิร์ตจาก โพลีแคท, สครับบ์, ภูมิ - วิภูริศ ศิริรัตน์ และลิเดีย - ศรัณย์รัชต์ ดีน








                        อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ กล่าวว่า “การจัดงาน “AKI-GUCHI” (อาคิ-กุจิ) ในครั้งนี้ มุ่งสร้างประสบกาณ์สุดพิเศษให้ลูกค้าและประชาชนทั่วไป ให้ได้ดื่มด่ำกับกลิ่นไอวัฒนธรรมญี่ปุ่นแบบดั่งเดิมครบทุกมิติ ทั้งการแสดงสุดตระการตา อาหารรสชาติยอดเยี่ยม กิจกรรมเวิร์คช็อปต่าง ๆ และพบกับสินค้าสไตล์ญี่ปุ่นอีกมากมาย อีกทั้งยังถือโอกาสอันดีนี้กระตุ้นการจับจ่ายภายในประเทศให้สะพัดขึ้น และช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์อันดีให้กับประเทศไทย ทั้งในสายตาชาวไทย และชาวต่างชาติอีกด้วย”

                        สำหรับพิธีเปิดงานในวันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน 2561 พบกับความพิเศษสุดอลังการของการแสดงในรูปแบบ Japan Fan & Umbrella Dance ภายใต้ชื่อชุด “Shūki Sutāto” ซึ่งเกิดขึ้นจากการรวมตัวของกลุ่มคนที่ชื่นชอบศิลปะการแสดงด้านต่าง ๆ ซึ่งชุดการแสดงนี้เป็นศิลปะการแสดงวัฒนธรรมญี่ปุ่นที่ถ่ายทอดผ่านอุปกรณ์พัด และร่ม พร้อมชมไฮไลต์โชว์จาก มาริโอ้ เมาเร่อ ที่มาวาดลวดลายวิถีดาบในโชว์ชุด 侍の旅 Samurai No Tabi ที่นำเสนอเรื่องราวการเดินทางของซามูไรและนินจาในฤดูใบไม้ร่วง ซึ่งเป็นการแสดงที่ผสมผสานวัฒนธรรมการละครของญี่ปุ่น (Kabuki & Noh) ผนวกเข้ากับการเต้นสมัยใหม่ (Popping) ในรูปแบบของ Contemporary Dance








ตารางการแสดงและกิจกรรมต่างๆ ระหว่างวันที่ 20 -30 กันยายน 61

ตารางการแสดง (SHOW)


•   Shūki Sutāto: Japanese Fan & Umbrella Dance

การแสดงจินตลีลาสไตล์ญี่ปุ่นอันดัดแปลงมาจากศิลปะการแสดงวัฒนธรรมระบำญี่ปุ่นแบบโบราณ เพื่อแสดงถึงการเฉลิมฉลองมนต์เสน่ห์ของสีสัน ความงดงามแห่งการมาถึงของฤดูใบไม้เปลี่ยนสี ถ่ายทอดผ่านลีลา และท่วงท่าที่งดงาม ทั้งยังสนุกสนาน น่าตื่นตาภายใต้เครื่องแต่งกายแบบชาวญี่ปุ่นแท้ ๆ พร้อมอุปกรณ์ประกอบการร่ายรำทั้งพัด และร่มญี่ปุ่น

•   Samurai No Tabi: Japanese Contemporary Dance

การแสดงร่ายรำแบบญี่ปุ่นร่วมสมัยโดยรูปแบบการโชว์จะเป็นการแสดง Kabuki และ Noh ประสมประสานเสียงเพลงจากเครื่องดนตรีญี่ปุ่น และดนตรีสไตล์ Hip-hop – Electronic  พร้อมการร่ายรำแบบ Jazz Dance และ Popping Dance เพื่อเล่าเรื่องราวฤดูกาลใหม่ที่เข้ามาถึงผ่านเหล่าผู้กล้าซามูไร และ 3 นินจาที่ออกเร่ร่อนพเนจรไปตามที่ต่าง ๆ จนพบกับความเปลี่ยนแปลงแห่งสีสันของฤดูกาลใบไม้ร่วงที่นำความสุขมาถึงผู้คน

•   Kabuki

“คาบูกิ” เป็นศิลปะการแสดงแบบดั้งเดิมที่เป็นที่รู้จักกันดีอีกอย่างหนึ่งของญี่ปุ่น เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 17 ในการแสดงคาบูกินั้น ตัวละครจะมีการเคลื่อนไหวที่กระฉับกระเฉง แสดงออกซึ่งท่าทางที่มีความหมาย เช่น ร้องไห้ เสียใจ ดีใจ โกรธ บ้าคลั่ง ฯลฯ จึงทำให้ละครคาบูกิเป็นที่นิยมดูกัน การแสดงถูกพัฒนามาเรื่อย ๆ จนกลายเป็นที่นิยมที่สุดในสมัยเอโดะศตวรรษที่ 20

•   Yosakoi Dance by Thai-Nichi Intitue of Technology

“โยซาโค่ย” นำแสดงโดยกลุ่มนักเรียนจากสถาบันเทคโนโลยีไทย - ญี่ปุ่น โยซาโค่ยเป็นรูปแบบการเต้นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น มีการแสดงในเทศกาล และงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยท่าเต้นเป็นการผสมผสานวัฒนธรรมดั้งเดิมกับการเต้นยุคใหม่ให้มีชีวิต ชีวา ประกอบกับดนตรีสมัยใหม่ให้มีความสนุกสนาน มีสีสันมากยิ่งขึ้น มีต้นกำเนิดมาจากเมือง Kochi ซึ่งตั้งอยู่ในหมู่เกาะ Shikoku ของญี่ปุ่น

•   Ninja Dance

การแสดงโชว์อันน่าตื่นตาตื่นใจของเหล่า “นินจา” อันมีเรื่องราวมาจากกลุ่มคนที่ได้ชื่อว่าเป็นกลุ่มสายลับในช่วงสมัยเปลี่ยนการปกครองของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นนักสู้ที่เน้นการต่อสู้เบื้องหลัง แม้ในปัจจุบันเชื่อว่าไม่มีร่องรอยของบุคคลที่เป็นนินจาหลงเหลืออยู่แล้ว แต่ชาวญี่ปุ่นเชื่อว่ากลุ่มนินจานี้เกิดขึ้นตั้งแต่ประมาณ 800 ปีก่อน ซึ่งคำว่า “นินจา” หมายถึงบุคคลที่อยู่ในภูเขาและฝึกฝนนินจุสสุ (วิชาต่อสู้เกี่ยวกับการขโมย และการล่องหน) โดยคำว่า “นิน” ในภาษาญี่ปุ่นนี้หมายถึง "คงทน" แต่ในภายหลังคำนี้ได้มีความหมายเพิ่มเติมหมายถึง "การซ่อนตัว" และ "การขโมย" และคำว่า “จา” หมายถึง "บุคคล" นั่นเอง

•   Karate

“คาราเต้” หรือ “คาราเต้โด” มีความหมายว่า “วิถีมือเปล่า” เป็นศิลปะการต่อสู้ถือกำเนิดที่โอะกินะวะ ประเทศญี่ปุ่น เป็นการผสมผสานระหว่างการต่อสู้ของชาวโอะกินะวะ และชาวจีน คาราเต้ได้เผยแพร่เข้าสู่ญี่ปุ่นในปี พ.ศ. 2464 เมื่อชาวโอะกินะวะอพยพเข้าสู่ประเทศญี่ปุ่น คาราเต้มักถูกเข้าใจผิดว่า เป็นการต่อสู้ด้วยการฟันอิฐ แต่ที่จริงแล้ว คือการต่อสู้ด้วยการใช้อวัยวะต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น กำปั้น เท้า สันมือ นิ้ว ศอก เป็นต้น แต่เมื่อถูกดัดแปลงเป็นกีฬาแล้วเหลือเพียงมือและเท้าเท่านั้น

•   Aikido

“ไอกิโด” คือศิลปะการต่อสู้ญี่ปุ่นสมัยใหม่อันเป็นการรวมศิลปะการต่อสู้ ปรัชญา และความเชื่อทางศาสนาไว้ด้วยกัน ไอกิโดแปลว่า "หนทางแห่งการรวมพลังงานชีวิต" หรือ "หนทางแห่งจิตวิญญาณที่ประสานกัน" เป้าหมายของไอกิโดคือสร้างศิลปะที่ผู้ฝึกฝนใช้ป้องกันตัว และป้องกันไม่ให้คู่ต่อสู้บาดเจ็บด้วย ทักษะไอกิโด อันประกอบด้วยการเคลื่อนไหวที่เปลี่ยนทิศทางโมเมนตัมของท่าโจมตีของคู่ต่อสู้ และการทุ่มหรือล็อกข้อต่อที่ยุติทักษะดังกล่าว

•   Kendo

“เคนโด้” คือศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัวของประเทศญี่ปุ่น เคนโด้ มีความหมายว่า "วิถีแห่งดาบ" มีพื้นฐานมาจากการใช้ดาบของซามูไรในสมัยก่อน สืบทอดกันมาตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 1332 เป็นวิชาที่ใช้ดาบไม้ไผ่ในการฝึกด้วยกระบวนท่าการต่อสู้ที่รวดเร็ว รุนแรง เด็ดขาด อย่างต่อเนื่อง จึงเป็นศิลปะการต่อสู้ที่พัฒนามาเป็นกีฬาเคนโด้อันได้รับความนิยมไปกว่า 30 ประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย

•   FAN DANCE AND ENERGETIC DANCE by Japanese Dancing Mai

การแสดงระบำพัด และการเต้นโยซาโค่ย โดยชมรมแม่บ้านญี่ปุ่น Japanese Dancing Mai ก่อตั้งตั้งแต่เดือน มิถุนายน ปี 2010 โดยกลุ่มแม่บ้านชาวญี่ปุ่นแท้ ๆ ผู้มีความรัก และความรู้เรื่องการแสดงแบบญี่ปุ่นดั้งเดิม ชมรม Japanese Dancing Mai ได้ทำการแสดงต่อเนื่องยาวนานมากกว่า 8 ปีในหลากหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และประเทศไทย จุดประสงค์ของชมรมคือเพื่อสืบสาน เผยแพร่ และเชิญชวนให้ผู้คนทั่วโลกรู้จักและเข้าถึงประเพณี และวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่น การเต้นรำในชุดระบำพัดพื้นบ้านเป็นการเต้นรำโบราณที่เน้นความงดงาม และลีลาของท่วงท่าประกอบกับพัดญี่ปุ่น ส่วนการเต้นโยซาโค่ย เป็นการแสดงที่เน้นความสนุกสนาน มีพลัง ตื่นเต้นและน่าติดตามเป็นอย่างมาก

•    Soran

โชรัน เป็นการเต้นรำของชาวประมงในจังหวัดฮอกไกโดทางตอนเหนือของประเทศญี่ปุ่น โดยเลียนแบบคลื่นในมหาสมุทร และท่วงท่าของชาวประมงขณะลากอวน ดึงเชือก และยกกระเป๋าขึ้นเหนือไหล่ พร้อมตะโกนคำว่า "DOKKOISHO! DOKKOISHO!" และ "SORAN! SORAN!" เพื่อปลุกใจชาวประมงในระหว่างการทำงาน

•   Koto

การแสดงโคะโตะโดยคุณครู และศิลปินเครื่องดนตรีประเภทสาย Noriko Tsuboi  “โคะโตะ” คือเครื่องดนตรีประเภทสาย เป็นเครื่องดนตรีโบราณที่มีชื่อเสียงของประเทศญี่ปุ่นอย่างนึงเลย ถูกเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เช่น เรียกว่า Zheng ในประเทศจีน เรียกว่า Yatga ในประเทศมองโกเลีย และเรียกว่า Gayaguem ในเกาหลี โคะโตะ มีความยาวประมาณ 180 เซนติเมตร ทำจากไม้ Kiri มี 13 สาย ซึ่งทำจากเส้นไหม วิธีดีดจะใช้เพียง 3 นิ้ว คือ นิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลาง โดยจะให้เสียงกังวานที่แตกต่างกันไป

กิจกรรม WORKSHOP   

•   Origami Workshop / การพับกระดาษโอริกามิสไตล์ญี่ปุ่น โดย เจเอ็ดดูเคชั่น ตัวแทนคุณภาพ หนึ่งในสมาชิกสมาคมไทยแนะแนวการ ศึกษานานาชาติ

โอริกามิเป็นศิลปะในการพับกระดาษ เพื่อสร้างสรรค์รูปทรงต่าง ๆ ขึ้นมาจากการพับกระดาษ โดยทำการพับทบไปจนเป็นรูปร่าง ซึ่งส่วนมากจะไม่มีการตัดกระดาษในการพับโอริกามิ

วิธีการร่วมกิจกรรม: นำใบเสร็จภายในงาน AKI - GUCHI: Traditional Japan at King Power มูลค่า 300 บาท (จำกัด 1 ใบเสร็จ / 1 สิทธิ์/ 1 ท่าน) มายื่นบริเวณบูธ Workshop สามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมพับกระดาษสไตล์ญี่ปุ่น โอริกามิ จำกัดเพียง 120 ชิ้นต่อวันเท่านั้น


•   Omamori Charm Workshop / การประดิษฐ์เครื่องรางญี่ปุ่น โดย เจเอ็ดดูเคชั่น ตัวแทนคุณภาพ หนึ่งในสมาชิกสมาคมไทยแนะแนวการศึกษานานาชาติ

ทำเครื่องรางของญี่ปุ่นได้ด้วยตัวเองง่าย ๆ สามารถพกติดตัวไปไหนมาไหนได้
 
วิธีการร่วมกิจกรรม : นำใบเสร็จภายในงาน AKI - GUCHI: Traditional Japan at King Power มูลค่า 300 บาท (จำกัด 1 ใบเสร็จ /1 สิทธิ์/ 1 ท่าน) มายื่นบริเวณบูธ Workshop สามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมการประดิษฐ์เครื่องรางญี่ปุ่น จำกัดเพียง 80 ชิ้นต่อวันเท่านั้น


•   JAPANESE MASK PAINTING WORKSHOP/ การเพ้นท์หน้ากากสไตล์ญี่ปุ่น (เฉพาะเสาร์ – อาทิตย์)

วาดลวดลายลงบนหน้ากากสไตล์ญี่ปุ่นกับนักวาดภาพประกอบชื่อดัง คุณหยก กฤติน ธีรวิทยาอาจ เจ้าของเพจ ชื่อดังอย่าง Yoky จะมาช่วยคุณตกแต่งหน้ากากที่นี่ที่เดียว

วิธีการร่วมกิจกรรม : นำใบเสร็จภายในงาน AKI - GUCHI: Traditional Japan at King Power มูลค่า 500 บาท (จำกัด 1 ใบเสร็จ / 1 สิทธิ์/ 1 ท่าน) มา ยื่นบริเวณบูธ Workshop สามารถลงทะเบียนเพื่อเข้าร่วมการเพ้นท์หน้ากาก จำกัดเพียง 10 ท่านต่อชั่วโมง เท่านั้น


                       พบกับประสบการณ์สุดพิเศษในแบบฉบับญี่ปุ่นร่วมสมัย ในงาน “AKI-GUCHI” (อาคิ-กุจิ) ครบครันศิลปะวัฒนธรรม โชว์ตระการตา อาหารเลิศรส และอีกมากมาย ได้ตั้งแต่วันที่ 20 – 30 กันยายน 2561 ตั้งแต่เวลา 16.00 – 22.00 น. บริเวณฟาวน์เท่น สแควร์ คิง เพาเวอร์ รางน้ำ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโทร.1631 และช่องทางการสื่อสารออนไลน์ผ่าน #KingpowerRangnam #ExploreEndlessly #KingpowerAkiguchi2018                              
« Last Edit: September 23, 2018, 08:07:25 PM by happy »