มูลนิธิเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ เตรียมจัดงานเฉลิมฉลอง 150 ปี
มิตรภาพ 2 ราชอาณาจักรไทย-เบลเยียม อย่างยิ่งใหญ่
มูลนิธิเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ เตรียมจัดงานใหญ่ “การเฉลิมฉลอง 150 ปี มิตรภาพของราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรเบลเยียม” เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันยาวนานระหว่างราชอาณาจักรและราชวงศ์ของทั้งสองประเทศ แนวคิดการจัดงาน ได้แรงบันดาลใจจากการเสด็จเยือนประเทศไทย ในปีค.ศ. 1964 ของสมเด็จพระราชาธิบดีโบดวง และสมเด็จพระราชินีฟาบิโอลาแห่งเบลเยียม หนึ่งในกิจกรรมอันสำคัญ ได้แก่ การจัดงานกาลาดินเนอร์อันยิ่งใหญ่ โดยได้รับเกียรติจาก เจ้าหญิงเลอาแห่งเบลเยียม พร้อมด้วยหม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล ผู้แทนพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จเป็นประธาน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่นๆ อีกมากมายที่ได้รับความร่วมมือจากสถานเอกอัครราชทูตแห่งราชอาณาจักรเบลเยียม ประจำประเทศไทย รวมถึงพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน เคานต์เจรัลด์ แวน เดอ สตราเทน พอนโธส ประธานกรรมการมูลนิธิเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ กล่าวว่า “นับตั้งแต่การลงนามสนธิสัญญาไมตรีและการค้าระหว่างไทย-เบลเยียม ในปีค.ศ. 1868 เป็นต้นมา ทั้งสองราชอาณาจักรมีสัมพันธภาพอันดีงามที่แนบแน่น มายาวนานตลอดจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลา 150 ปี ดังนั้น ทางมูลนิธิเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ จึงได้กราบบังคมทูลเชิญเจ้าหญิงเลอาแห่งเบลเยียม เสด็จมายังประเทศไทยเพื่อร่วมงานฉลองต่างๆ มากมาย และเตรียมจัดงาน “การเฉลิมฉลอง 150 ปี มิตรภาพของราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรเบลเยียม” เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันยาวนานและแนบแน่นระหว่างราชอาณาจักรและราชวงศ์ของทั้งสองประเทศ โดยไฮไลท์สำคัญของการจัดงานในครั้งนี้ มีดังต่อไปนี้ “Welcome of HRH Princess Lea of Belgium” พิธีต้อนรับเจ้าหญิงเลอาแห่งเบลเยียม ณ โรงแรม โซ โซฟิเทล เพื่อทอดพระเนตรสะพานไทย-เบลเยียม โดยมีคุณชวรัตน์ ชาญวีรกูล ผู้ก่อตั้ง บริษัท ซิโน-ไทย และเครือ ผู้มีส่วนร่วมในการก่อสร้างสะพานไทย-เบลเยียมในปีค.ศ. 1988 เป็นผู้กล่าวต้อนรับ และร่วมรับประทานอาหารกลางวันพร้อมกับฯพณฯ นายฟิลลิป คริเดลก้า เอกอัครราชทูตเบลเยียมประจำประเทศไทย แขกผู้มีเกียรติและคณะกรรมการหอการค้าเบลเยียม – ลักเซมเบอร์ก/ไทย “The Thailand-Belgium 150 Years Royal Gala Dinner” งานกาลาดินเนอร์เฉลิมฉลองครบรอบ 150 ปี มิตรภาพของราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรเบลเยียม ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 26 กันยายน นี้ ณ โรงแรม ดิ แอทธินี โฮเทล, อะ ลักซ์ชูรี คอลเล็คชั่น โฮเทล แบงค็อก โดยได้รับเกียรติจาก เจ้าหญิงเลอา แห่งประเทศเบลเยียม หม่อมเจ้าเฉลิมศึก ยุคล ผู้แทนพระองค์ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ เสด็จเป็นประธานในงาน สำหรับงานกาลาดินเนอร์ครั้งนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด ย้อนรำลึกความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรไทยและราชอาณาจักรเบลเยียม เมื่อครั้งสมเด็จพระราชาธิบดีโบดวง และสมเด็จพระราชินีฟาบิโอลาแห่งเบลเยียม เสด็จเยือนประเทศไทยในปี ค.ศ. 1964 โดยมีพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ให้การต้อนรับ โดยภายในงานกาลาดินเนอร์จัดให้มีไฮไลท์พิเศษ ได้แก่
• การเสิร์ฟเมนูที่ทรงจัดต้อนรับสมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงและสมเด็จพระราชินีฟาบิโอลาแห่งเบลเยียมในปีค.ศ. 1964 ช่วงเวลาแห่งความประทับใจที่ผู้ร่วมงานจะได้ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงและสมเด็จพระราชินีฟาบิโอลาแห่งเบลเยียม
• ได้รับเกียรติจากทายาทในราชสกุลที่เคยร่วมงานเลี้ยงรับรองเมื่อครั้งสมเด็จพระราชาธิบดีโบดวง และสมเด็จพระราชินีฟาบิโอลาแห่งเบลเยียม เสด็จเยือนประเทศไทยในปีค.ศ. 1964 อาทิ ราชสกุลยุคล ราขสกุลรังสิต ราชสกุลสนิทวงศ์ ราชสกุลเทวกุล ราชสกุลมาลากุล เป็นต้น มาร่วมงาน
• การประดับตกแต่งดอกไม้ไทยเฉกเช่นเดียวกับงานเลี้ยงต้อนรับสมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงและสมเด็จพระราชินีฟาบิโอลาแห่งเบลเยียมในปีค.ศ. 1964 แสดงให้เห็นถึงความงดงามของดอกไม้ไทย
• การเปิดตัวปากกาไทยเบลเยียมประดับเพชรที่ออกแบบโดย Mouawad แบรนด์จิวเวอร์รี่ชั้นนำระดับโลกโดยนำเพชรเบลเยียม Tolkowsky ที่มีชื่อเสียงระดับโลกมาประดับที่ด้านบนของปากกา
• การเปิดตัวสมุดลงนามถวายพระพร “The Golden Book” ที่ถูกจัดทำขึ้นเป็นพิเศษโดย Papeterie Anglaise ในประเทศเบลเยียมเพื่อมาใช้ในงานนี้โดยเฉพาะ ให้แขกผู้มีเกียรติทุกท่านได้มีโอกาสลงนามถวายพระพรเนื่องในโอกาสครบรอบ 150 ปีของมิตรภาพของสองราชอาณาจักร และสมุดทั้งสองเล่มนี้จะนำทูลเกล้าถวายสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร และ สมเด็จพระราชาธิบดีฟีลิปแห่งเบลเยียม
• การฉายภาพยนตร์สั้น 3D Animation ซึ่งจัดทำโดยมูลนิธิเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจที่บอกเล่าเรื่องราวของความสัมพันธ์ตลอด 150 ปีผ่านการเล่าเรื่องโดยคุณปู่และคุณหลานที่เข้าใจง่ายแต่แฝงไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์
• ปิดท้ายด้วยการเดินแฟชั่นโชว์ชุดพิเศษที่นำไฮไลท์เรื่องดอกไม้ของประเทศไทยและประเทศเบลเยียมเข้าไว้ด้วยกัน “Thailand-Belgium 150 Years BTS Skytrains” การตกแต่งรถไฟฟ้าบีทีเอส (BTS) ขบวนพิเศษเป็นตัวการ์ตูน “สเมิร์ฟ” (Smurfs) ตัวการ์ตูนชื่อดังของประเทศเบลเยียม ที่สร้างสรรค์โดย Peyo ศิลปินชื่อดังชาวเบลเยียม เพื่อร่วมฉลองอายุครบ 60 ปีของตัวการ์ตูน Smurfs ซึ่งได้รับเกียรติจาก เจ้าหญิงเลอา แห่งประเทศเบลเยียม ทรงเสด็จเป็นประธานในพิธีเปิดรถไฟฟ้าขบวนพิเศษ ซึ่งขบวนแรกจะเปิดให้บริการคั้งแต่ วันที่ 27 กันยายน และขบวนที่ 2 วันที่ 1 ตุลาคม นี้ “Remember of King Baudouin” จัดขึ้น ณ วังสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร หรือวังวิทยุ โดยหม่อมราชวงศ์ปรียนันทนา รังสิต เพื่อเลี้ยงรับรองเจ้าหญิงเลอา แห่งประเทศเบลเยียม เป็นการส่วนพระองค์เพื่อระลึกถึงสมเด็จพระรามาธิบดีโบดวงและสมเด็จพระราชินีฟาบิโอลาแห่งเบลเยียม ที่ทรงมีความสนิทสนมกับหม่อมเจ้าหญิงวิภาวดี รังสิต พระมารดาของหม่อมราชวงศ์ปรียนันทนา รังสิต “The decoration of the Thai-Belgian Bridge” เพื่อเป็นการต้อนรับเจ้าหญิงเลอา แห่งประเทศเบลเยียม ในการเสด็จเยือนประเทศไทยและเพื่อเป็นการเฉลิมฉลอง หอการค้าเบลเยียม – ลักเซมเบอร์ก/ไทย จึงได้มีการตกแต่งประดับประดาสะพานไทย-เบลเยียม ด้วยธงชาติไทยและเบลเยียม สะพานไทย-เบลเยียม เป็นสะพานที่แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยและประเทศเบลเยียม ซึ่งแต่เดิมสะพานดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของสะพาน VIADUC LEOPOLD ที่ 2 สร้างเพื่ออำนวยความสะดวกในงาน EXPO 1958 จุดเด่นของสะพานคือ เป็นสะพานที่สามารถรื้อถอนไปสร้างที่ใดก็ได้ ต่อมาในปีค.ศ. 1986 ประเทศไทยมีปัญหาเรื่องการจราจรติดขัดบนถนนพระราม 4 ทางประเทศเบลเยียมจึงมอบส่วนหนึ่งของสะพาน VIADUC LEOPOLD ที่ 2 ให้แก่ประเทศไทย และปรับปรุงให้แข็งแรงเพื่อใช้เป็นสะพานถาวรมาจนถึงปัจจุบัน “Inauguration of the new Gallothai Factory” เจ้าหญิงเลอา แห่งประเทศเบลเยียม ทรงเสด็จเป็นประธานเปิดโรงงานแกลโลไทยแห่งใหม่ ที่นิคมอุตสาหกรรมเวลโกรว์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งโรงงานดังกล่าวเป็นโรงงานผลิตช็อคโกแลตเบลเยียม โดยเริ่มเปิดโรงงานให้บริการในปีค.ศ. 1993 ตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ก็ได้มีการขยายโรงงานมาเรื่อยๆ ล่าสุดเตรียมเปิดโรงงานแห่งใหม่ ณ นิคมอุตสาหกรรม จังหวัดฉะเชิงเทรา ใช้งบประมาณในการลงทุนก่อสร้างทั้งสิ้น 40 ล้านบาท “Ancient Thai Cuisine Dinner” งานเลี้ยงรับรองพิเศษสำหรับเจ้าหญิงเลอา แห่งประเทศเบลเยียม ที่เรือนไทยของหม่อมหลวงภูมิใจ ชุมพล ผู้มีชื่อเสียงด้านการปรุงอาหารไทย โดยมีการทำเมนูอาหารไทยโบราณสูตรพิเศษ ในคอนเซ็ปต์ “The Cuisine of the Past” “HRH Princess Lea of Belgium trip to the North” เจ้าหญิงเลอา แห่งประเทศเบลเยียม ทรงเสด็จเยี่ยมเยาวชนผู้ด้อยโอกาสในถิ่นทุรกันดารที่ทรงอุปการะช่วยเหลือ ในพื้นที่จังหวัดเชียงราย ภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของมูลนิธิเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจอีกด้วย ท่านจะได้สัมผัสวิถีชีวิตของชาวท้องถิ่นที่แท้จริง เคานต์เจรัลด์ แวน เดอ สตราเทน พอนโธส กล่าวปิดท้ายว่า “สำหรับทุกกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองความยิ่งใหญ่ของทั้ง 2 ราชอาณาจักร โดยได้รับความมือจากหลายภาคส่วน ได้แก่ สถานเอกอัครราชทูตแห่งราชอาณาจักรเบลเยียม ประจำประเทศไทย, หอการค้าเบลเยียม – ลักเซมเบอร์ก/ไทย, เครือเจริญโภคภัณฑ์, กลุ่มบริษัทโซลเวย์ (Solvay), บริษัท แกลโลไทย จํากัด (Gallothai), Anheuser-Busch InBev (AB InBev), หน่วยงานส่งเสริมการค้าและการลงทุนเขตวาโลเนีย (Wallonia Foreign Trade & Investment), หน่วยงานส่งเสริมการค้าและการลงทุนเขตฟลานเดอร์ (Flanders Investment & Trade), บริษัท เคซีจี คอร์ปอเรชั่น จำกัด (KCG Corporation), บริษัท ไอ แอนด์ วี ไบโอ จำกัด (I&V Bio), Papeterie Anglaise, บริษัท บริวเบอรี่ จำกัด (Brewberry), โบ๊ทลากูลยอชต์ติง (Boat Lagoon Yachting), บริษัท ฟาเบอร์ แฟลกส์ เอเชีย จำกัด (Faber Flags Asia), โรลส์-รอยซ์ (Rolls Royce), ไทยแลนด์อีลิท (Thailand Elite), หน่วยงานส่งเสริมการลงทุนและการส่งออกเขตบรัสเซลส์ (Brussels Invest & Export), บริษัท อินเว (ประเทศไทย) จำกัด (INVE), บริษัท โมอาวาด บางกอก แรร์ จูเว็ลส์ มานูแฟคเจอเรอส์ จำกัด (Mouawad), Tolkowsky, ร้านอาหารบลูเอเลฟเฟ่นท์ (Blue Elephant), บริษัท คาทูน นาที (Katoen Natie), บริษัท ยูมิคอร์ (Umicore) และ บริษัท คิง เพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (King Power) ที่มาร่วมมือช่วยเหลือให้การจัดงานในครั้งนี้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้”###
ข้อมูลเพิ่มเติมมูลนิธิเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2551 โดยชื่อของมูลนิธิถูกตั้งขึ้นตามชื่อของเจ้าพระยาอภัยราชาสยามานุกูลกิจ หรือชื่อจริงว่า กุสตาฟว์ รอแล็ง-ฌักแม็ง (Gustave Rolin-Jacquemyns) หรือที่รู้จักในนาม โรลังยัคมินส์ นักกฎหมายและนักการเมืองชาวเบลเยี่ยมที่เข้ามารับราชการในตำแหน่งที่ปรึกษาราชการแผ่นดินทั่วไปสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (ระหว่างปี พ.ศ. 2435-2444) ด้วยความสามารถรอบด้านและคุณูปการของโรลังยัคมินส์ที่มีต่อประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานสัญญาบัตรให้โรลังยัคมินส์เป็นเจ้าพระยาอภัยราชา สยามานุกูลกิจ สกลนิติธรรมศาสตราจารย์ มหิบาลมหาสวาภักดิ์ ปรมัคราชมนตรี อภัยพิริยปรากรมพาหุ เป็นที่ปรึกษาราชการทั่วไป นับเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งชาวต่างชาติเป็นเจ้าพระยาเทียบชั้นเสนาบดี ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดทางราชการในสมัยนั้น มูลนิธินี้ก่อตั้งขึ้นเพื่อระลึกถึงคุณงามความดีและผลงานของท่าน รวมถึงให้ความช่วยเหลือสังคม โดยที่ผ่านมาได้ให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องแก่เยาวชนที่ด้อยโอกาส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรูปของทุนการศึกษา โครงการส่งเสริมทักษะความรู้และสร้างอาชีพ โครงการล่าสุดของมูลนิธิฯ คือ การก่อสร้างสนามฟุตบอลทั้งสนามในจังหวัดเชียงราย ซึ่งปัจจุบันได้สร้างงานให้เยาวชนคนหนุ่มสาวผู้ด้อยโอกาสจำนวนมากเกร็ดข้อมูลทางประวัติศาสตร์การติดต่อค้าขายระหว่างเบลเยียมและไทยเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยที่เบลเยียมได้ประกาศอิสรภาพในปี ค.ศ.1830 การทำสนธิสัญญาฉบับแรกระหว่างทั้งสองประเทศ (สนธิสัญญาว่าด้วยการเจริญสัมพันธไมตรีและการพาณิชย์) มีการลงนามกันเมื่อ 150 ปีที่ผ่านมา และทั้งสองประเทศได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตเมื่อ 135 ปีก่อน โดยสถานทูตไทยในกรุงลอนดอนเป็นผู้รับผิดชอบประเทศเบลเยียม ขณะที่สถานทูตเบลเยียมในกรุงปักกิ่งดูแลครอบคลุมสยามประเทศ ในปี ค.ศ.1904 หรือเมื่อ 114 ปีที่ผ่านมา เบลเยียมได้รับอนุญาตให้เปิดทำการสถานทูตได้ในกรุงเทพฯ ปัจจุบัน สถานทูตเบลเยียมในกรุงเทพฯ ดูแลครอบคลุมราชอาณาจักรกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ส่วนสถานทูตไทยในกรุงบรัสเซลส์ ได้รับการรับรองโดยสหภาพยุโรปและประเทศลักเซมเบิร์ก หรือเรียกอย่างเป็นทางการว่า ราชรัฐลักเซมเบิร์ก